สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-สเปน ช่วง ม.ค.-ก.ค. ปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 24, 2010 15:57 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตารางแสดงมูลค่าการค้าไทย-สเปน ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553

                                  ก.ค. 2553                      ม.ค.-ก.ค.2553
                      มูลค่า (Mil.US$)      เพิ่ม/ลด (%)     มูลค่า (Mil. US$)     เพิ่ม/ลด (%)
                                         จากเดือนก่อน                         ช่วงเดียวกันปีก่อน
ส่งออก                     97.25            -9.66           621.68               +51.28
นำเข้า                     35.37           -18.55           273.95               +33.53
การค้ารวม                 132.62           -12.21           895.63               +45.37
ดุลการค้า                  +61.88            -3.64          +347.73               +68.98
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

          ในเดือนกรกฎาคม 2553 ไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 132.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายส่งออกไปสเปน 97.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -9.66 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีหมวดสินค้าหลักที$ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-28.20%) ยางพารา (-26.46%) กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง (-19.55%) และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-11.41%) ขณะที่นำเข้าจากสเปนรวม 35.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลงร้อยละ -18.55 ทั้งนี้ ไทยได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นอีก 61.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          ในช่วง 7 เดือนแรก ปี 2553 ไทย-สเปน มียอดการค้ารวม 895.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.37 เมื$อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที$ผ่านมา โดยไทยมียอดส่งออกมาสเปนรวม 621.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพมขึน( ร้อยละ 51.28 ซึ$งสามารถแบ่งโครงสร้างสินค้าส่งออก ได้ดังนี้

          ตารางแสดงโครงสร้างสินค้าส่งออกไทยมายังสเปน ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553
ที่    ประเภทสินค้า                        มูลค่า (Mil.USD)    สัดส่วน (%)      เปลี่ยนแปลง (%)
1  เกษตรกรรม (กสิกรรม+ปศุสัตว์+ประมง)          125.5           20.19           +85.02
2  อุตสาหกรรมการเกษตร                        37.4            6.01            -1.27
3  อุตสาหกรรม                               458.8           73.80           +50.40
       รวม                                 621.7           100.0           +51.28
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


          เมื่อเทียบกับช่วง 7 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา พบว่าประเภทสินค้าเกษตรกรรม มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 85.02 และสามารถเพิ่มสัดส่วนได้เกินกว่าร้อยละ 20 อันเนื่องมาจากมีความต้องการยางพาราเพิ่มสูงมาก รวมทั้งการบริโภคสินค้ากุ้งแช่สด/แช่แข็ง ขณะเดียวกัน ประเภทสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรกลับหดตัวลงอีกเล็กน้อยร้อยละ -1.27 และเหลือสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.01 ส่วนสินค้า
          อุตสาหกรรมยังคงรักษาสัดส่วนอย่างคงที$ประมาณ 3 ใน 4 ของสินค้าส่งออกไทยโดยรวม ก็สามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 50.40 หมวดสินค้าหลักดังเดิมทีสามารถกลับมาขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+120.68%) ยางพารา (+326.74%) และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+348.13%)
          ขณะที่นำเข้าจากสเปน 274 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.53 ทำให้ไทยได้ดุลการค้าจากสเปนสะสม จำนวน 347.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.98 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
          จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกที่ผ่อนคลายลง ส่งผลให้สินค้าแทบทุกหมวดของไทยมีอัตราขยายตัวในอัตราเร่ง โดยเฉพาะสินค้าหลักดัAงเดิมของไทยในตลาดนี้ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ยางพารา และรถยนต์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ ต่างมีอัตราเติบโตในระดับสูง นอกจากนั้นยังได้แรงเสริมจากสินค้าหมวดแฟชั่น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ยังเติบโตได้ดีรวมทั้งหมวดสินค้าอาหาร โดยเฉพาะกุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง ที่อาศัยช่วงชิงความได้เปรียบจากประเทศคู่แข่งที่ประสบปัญหาในภาคการผลิต โดยภาพรวมถือได้ว่าผู้บริโภคเริ่มมีความมัน ใจและกล้าจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นซึ่งสังเกตได้ชัดจากสินค้าประเภทคงทน อาทิเช่น รถยนต์ และเครื่องใช้ฟ้า เป็นต้น เริ่มทำยอดขายได้ดีขึ้นหลังจากที่ผู้บริโภคต้องตัดสินใจระงับหรือเลื่อนเวลาการซื้อออกไปในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ที่ได้รับอานิสงค์จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาของรัฐบาลโดยการให้เงินสนับสนุนผู้บริโภคเพื่อโอบอุ้มอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ กอปรกับมาตรการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ทำให้ผู้บริโภคต้องเร่งซื้อก่อนถึงกำหนดขึ้นภาษี อย่างไรก็ตาม
          ในปี 2553 คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสเปนในภาพรวมยังคงอยู่ในแดนลบ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยเฉพาะวิกฤติหนี้ของกรีซที่ส่งผลให้รัฐบาลสเปนต้องออกมาตรการลดยอดขาดดุลการคลังของรัฐบาลที่จำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐในทุกๆด้านจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันต้องเร่งหารายได้เพิ่มจากการขึ้นภาษี รวมทั้งระงับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลง ซึ่งล้วนจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังคงมีสภาพเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจและการเงินของโลกที่ยังมีความผันผวนและอ่อนไหวอีกด้วย
          ในช่วงเดียวกันไทยนำเข้าสินค้าจากสเปน เป็นมูลค่า 274 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 33.53 ซึ่งสินค้าส่วนมากเป็นสินค้าที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก โลหะ และสัตว์น้ำสด เป็นต้น รองลงมาเป็นสินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักรต่างๆและ
ส่วนประกอบ โดยมีรายละเอียดการนำเข้าสินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด ดังนี

      ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสเปน 5 อันดับแรก ช่วง 7 เดือนแรก ปี 2553
สินค้า                             มูลค่า (Mil. USD)      สัดส่วน (%)     เปลี่ยนแปลง (%)
เคมีภัณฑ์                                48.0              17.53         +60.34
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                34.0              12.39         +55.82
ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม              28.0              10.20          +9.43
สัตว์น้ำสดแช่เย็น/แช่แข็ง/แปรรูป/กึ่งสำเร็จรูป    16.2               5.93          +4.55
เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ              14.1               5.15         +64.09
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสเปนและผลกระทบกับการส่งออกของไทย
          ขณะนี้ ประชากรของหลายๆ ประเทศในยุโรปรวมทั้งสเปนกำลังอยู่ในช่วงลาพักผ่อนประจำฤดูร้อนที่ถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตของชาวยุโรป ซึ่งตามปกติจะทยอยกันลาพักผ่อนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ลากยาวไปจนถึงกลางเดือนกันยายน หรือเรียกได้ว่าตลอดช่วงที่โรงเรียนปิดภาคฤดูร้อนนั่นเอง ดังนั้น จึงส่งผลให้ธุรกิจร้านค้าต่างๆ โดยทัวร์ ไปที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวดูซบเซาไปถนัดตา ยังไม่นับธุรกิจรายย่อยอีกจำนวนมากที่ปิดกิจการกันเป็นการชั่วคราวในช่วงนี้เพื่อพาครอบครัวเดินทางไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ อันส่งผลให้ธุรกิจธุรกรรมต่างๆ ชะลอตัว รอเอาไว้เดือนกันยายนจึงค่อยว่ากันใหม่
          ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ภาวะเศรษฐกิจของสเปนมีการกระเตื้องขึ้นบ้างเล็กน้อยประชาชนภาคครัวเรือนก็เริ่มมีความมัน่ใจในการจับจ่ายใช้สอยเลือกซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น แต่จากปัจจัยภายนอก
          ได้แก่ วิกฤติหนี้ของกรีซ รวมทั้งปัญหาการขาดดุลการคลังของอีกหลายๆ ประเทศในยุโรป เป็นสิ่งที่ขัดขวางการฟื้นตัวหลังจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ผ่านพ้นไป ทำให้รัฐบาลต้องเร่งออกมาตรการรัดเข็มขัดพร้อมทั้งถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออก ขณะเดียวกันก็ต้องหารายได้เพิ$มด้วยการปรับเพิ่มภาษี จึงทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะที่ เรียกว่าจะเดินหน้าก็ก้าวขาไม่ออก บวกกับปัญหาการว่างงานที่พุ่งทะยานเกินร้อยละ 20 ที่เป็นตัวถ่วงสำคัญตลอดมา นอกจากนั้น ที่ได้งานทำใหม่ในปีนี้ส่วนมากก็มีเพียงสัญญาจ้างชั่วคราว พร้อมที่จะกลับมาเป็นคนตกงานได้ตลอดเวลา
          จากช่วงความยากลำบากในสองปีท$ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยกับการออมเงินและเลือกซื้อสินค้าโดยใช้ราคาเป็นตัวตัดสินไปแล้ว ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยได้คำนึงถึงตราสินค้าที่ชื่นชอบหรือต้องมีคุณภาพดีกันเท่าไร ขอแค่เป็นสินค้าอย่างเดียวกันแล้วมีราคาถูกกว่าก็ตัดสินใจได้แล้ว จากเหตุนี้ ทำให้ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ต้องปรับตัวหันมาออกสินค้าภายใต้ตราสินค้าของตนเองมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปจะมีราคาถูกว่าตราสินค้าที่เป็นที่นิยมในท้องตลาด และถือว่าประสบความสำเร็จในการสร้างยอดขายได้ในเกือบจะทุกประเภทสินค้าทีเดียว
          ในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อนาคตดูไม่สดใสนักสำหรับสินค้าคงทน ซึ่งไทยมีสินค้าหลักอยู่ในตลาดสเปน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และรถยนต์ ที่น่าจะได้รับผลกระทบมากพอสมควร รวมไปทั้งยางพาราที่มีความสัมพันธ์สูงกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนสินค้าประเภทอื่นของไทย เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูปและอาหารคงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม ต้องพึ่งตระหนักเสมอว่าผู้นำเข้ามองหาแต่สินค้าที่มีราคาไม่แพงเพื่อนำมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
          ถึงแม้สัดส่วนมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสเปนมีเพียงร้อยละ 0.57 ของการส่งออกของไทย แต่ก็สามารถสร้างดุลการค้าให้ไทยได้จำนวนมากในแต่ละปี หากไม่เกิดเหตุการณ์วิกฤติทางเศรษฐกิจอื$นๆของโลกอย่างเฉียบพลันเข้ามาแทรกแซงแล้ว ในปี 2553 สินค้าไทยคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกเพิ$มขึAนไม่ต$ำกว่าร้อยละ 30 และจะได้ดุลการค้าไม่ต$ำกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ