ปัจจุบัน ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน (Overweight & Obesity) เป็นเรื่อง สำคัญของประชากรสหรัฐฯ จากการสำรวจพบว่า ประชากกร 4 ในจำนวน 10 หรือ ประมาณร้อยละ 31 หรือ จำนวน 51 ล้านคน ของประชากรสหรัฐฯ มีปัญหาเรื่องภาวะน้ำหนักเกิน
ในปัจจุบัน นักโภชนาการสหรัฐฯ มุ่งประเด็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหาภาวะน้ำหนักเกินไปยังการบริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดแบบฟรุคโตสสูง (High Fructose Corn Syrup - HFCS) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของสหรัฐฯ นิยมใช้เป็นส่วนผสมแทนน้ำตาลทราย (Sucrose) แม้แต่ Ms. Michelle Obama ภริยาประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบัน สนับสนุนการรณรงค์เรื่องการลดภาวะน้ำหนักเกินของเด็ก (Child Obesity) กล่าวว่า "เธอไม่เลี้ยงดูลูกด้วยการให้รับประทานอาหารที่มีส่วนผสม HFCS"
น้ำเชื่อมข้าวโพดแบบฟรุคโตสสูง ถูกแนะนำเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตอาหารครั้ง แรกในปีพ.ศ. 2513 HFCS เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งโดยทำจากแป้งข้าวโพด ซึ่งจะถูกนำมาทำให้แตกตัวและสลายด้วยเอนไซม์เพื่อผลิตเป็นน้ำตาลฟรุกโตส ในสหรัฐอเมริกา นิยมใช้ HFCS ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ นับตั้งแต่ซ้อสมะเขือเทศไปจนถึงเครื่องดื่มที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์ ขนมคุ้กกี้ไปจนถึงขนมปัง ล้วนเติม HFCS เนื่องจาก HFCS มีราคาถูกกว่าน้ำตาลทราย ซึ่งช่วยรักษาระดับต้นทุนการผลิตอาหารไม่ให้สูงขึ้น
ปัจจุบัน ผู้นำวงการอาหารและเครื่องดื่มรายสำคัญของสหรัฐฯ ได้ตระหนักถึงผลเสียของ HFCS และได้ยกเลิก หรือ ลดการใช้ HFCS ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม กล่าวคือ
- บริษัท Sara Lee ยกเลิกการใช้ HFCS ในอาหารชั้นนำของบริษัทฯ เช่น ขนมปังปอนด์
- บริษัท Starbucks Coffee ไม่ใช้ HFCS ในขนมแป้งอบชนิดต่างๆ
- บริษัท Kraft Foods เลิกใช้ HFCS และ Sweetener ต่างๆ ในเครื่องดื่ม และไขมันอาหาร Snack Foods หลายๆ ชนิด
- บริษัท Hunts ผู้นำตลาดซ้อสมะเขือเทศ (Ketchup) เลิกใช้ HFCS หรือ Artificial Ingredients เติมในซ้อสมะเขือเทศ
การดำเนินการของผู้นำตลาดสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของสหรัฐฯ เป็นจุดเริ่มต้นใน การแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจะแนวทางชี้นำของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของสหรัฐฯ ในอนาคตได้ว่า การใช้ HFCS จะลดลงเป็นลำดับ และผู้ผลิตจะหันไปไปใช้น้ำตาลทรายมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ ผู้ผลิต/สินค้าอาหารและเครื่องดื่มของไทยที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ ควรจะพิจารณาติดตามและเตรียมปรับตัวในอนาคต
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th