สรุปภาวะตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในตลาดเยอรมนี เดือนสิงหาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 10, 2010 11:16 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การผลิตและยอดการจำหน่าย

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2553 นี้ และการที่คนงานส่วนใหญ่ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นและยังคงมีการปรับเพิ่มเงินเดือนให้กับคนงานในแขนงอื่นๆ อีกด้วยโดยเฉพาะในกิจการประเภท discounter เหล่านี้ทำให้มีการจับจ่ายซื้อสินค้ากันมากขึ้น รวมทั้งเครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียมด้วย ส่งผลให้การผลิตในประเทศเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วนเครื่องประดับทำด้วยเงิน เครื่องประดับเทียมยังคงมีการผลิตในประเทศที่ลดลง โดยมีการนำเข้าจากตลาดในต่างประเทศแทน เนื่องจากมีราคาต่ำกว่าการผลิตในประเทศ

2. สถานการณ์การนำเข้า

เยอรมนีนำเข้าสินค้าเครื่องประดับแท้และเทียมเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ จะประเทศอื่นๆ ในยุโรป ที่มีส่วนแบ่งรวมกันตลาดกว่าร้อยละ 40 ได้แก่ สวิส อัฟริกาใต้ สหรัฐฯ เบลเยี่ยม และออสเตรีย เป็นต้น สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นทองคำ โลหะมีค่าอื่นๆ และอัญมณีมีค่า เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตในประเทศต่อไป แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ อัฟริกาใต้ เบลเยี่ยม อังกฤษ เป็นต้น มีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 10 สำหรับเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินมีส่วนแบ่งร้อยละ 3.2 แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ ไทย จีน อิตาลี มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 35,25 และ 5 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับเทียม มีส่วนแบ่งร้อยละ 4.5 แหล่งนำเข้าสำคัญๆได้แก่ จีน ออสเตรียและฮ่องกง มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 50, 20 และ 3 ตามลำดับ

3. การส่งออกของไทยไปตลาดเยอรมนี

ในช่วง 7 เดือนแรกปี 2553 (ม.ค.-ก.ค.) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปเยอรมนีเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 122.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 41.16 สินค้าที่ส่งออกมากจะเป็น เครื่องประดับอัญมณีแท้ทำด้วยเงิน มูลค่า 56.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 แหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ จีน สวิส อิตาลี และฝรั่งเศส รองลงมาเป็นเครื่องประดับทำด้วยทองคำ มูลค่า 20.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.6 เครื่องประดับแท้ทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ มูลค่า 16.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ377.1 แหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ จีน อินเดีย และอิตาลี เครื่องประดับอัญมณีเทียม มีการนำเข้ามูลค่า 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 แหล่งนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ จีน ออสเตรียฮ่องกง และโปแลนด์

ปัญหาอุปสรรค

1. ขาดแคลนวัตถุดิบ

2. ขาดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตเครื่องประดับ

3. ขาดบุคลากรด้านฝีมือแรงงานด้านการออกแบบและการผลิตสินค้าระดับสูง

4. การสร้างและพัฒนาตราสินค้ามีน้อย

กลยุทธ์

1. พัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญระดับโลก

2. จัดหาวัตถุดิบจากต่างประเทศในปริมาณที่เพียงพอ

3. พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเครื่องประดับ

4. พัฒนาบุคลากรห้มีความสามารถในการผลิต ออกแบบ สินค้าที่เหมาะสมกับตลาด

5. สร้างภาพลักษณ์ของสินค้าในด้านผู้นำแฟชั่น สินค้าที่เอกลักษณ์ ควบคู่ไปกับศักยภาพทางการค้า/ส่งออก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ