กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดจำหน่ายปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าในสหรัฐฯ ในปี 2550 มีมูลค่าประมาณ 23.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.0 ตลาดแยกสินค้าเป็น 2 กลุ่ม คือเครื่องไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Major Appliances) ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เตาหุงต้มอาหาร และ เครื่องปรับอากาศ มีสัดส่วนตลาดสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 70 และ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อม (Small Appliances) เช่น ตู้อบไมโครเวฟ หม้อต้มกาแฟ หม้อหุงข้าว เครื่องอบขนมปัง พัดลมเครื่องปั่นอาหาร เครื่องเป่าผม เครื่องม้วนผม เครื่องดูดฝุ่น มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 30
ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า Major Appliances มีมูลค่าตลาดประมาณ 16,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า Major Appliances เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศสหรัฐฯ ในอัตราสูงประมาณร้อยละ 70 ผู้ผลิตสหรัฐฯ ที่สำคัญ คือ บริษัท Whirlpool และบริษัท General Electric (GE) รวมไปถึง ผู้ผลิตต่างประเทศที่มาตั้งโรงงาน ผลิตในสหรัฐฯ บริษัท Haier จากประเทศจีน และ สินค้าอีกส่วนหนึ่งนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อมาจำหน่ายในสหรัฐฯ เช่น บริษัท Whirlpool และ บริษัท GE นำเข้าสินค้าจากโรงงานของตนเองในประเทศเม็กซิโก หรือ ผู้ผลิตต่างประเทศ เช่น บริษัท LG Electronics บริษัท Samsung และ บริษัท Electrolux นำเข้าจากโรงงาน ของตนเองในประเทศเม็กซิโก
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อม (Small Appliances) มีมูลค่าประมาณ 6,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อมส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งครองตลาดสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 90 แหล่งนำเข้าของสหรัฐฯ คือ จีน เม็กซิโก เกาหลี ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ และ ภาวะล่มสลายของตลาดที่อยู่อาศัยส่งผลกระทบรุนแรงต่อการลดลงของยอดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในสหรัฐฯ เป็นผลให้ยอดขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 25 ในปี 2552
รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดี Barack Obama นำเสนอโปรแกรม “Cash for Appliances” ซึ่งเป็นมาตรการในพระราชบัญญัติ The American Recovery and Reinvestment Act of 2009 เพื่อช่วยกอบกู้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โปรแกรมดังกล่าวจะให้ส่วนลดแก่ผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือนแบบประหยัดพลังงาน หรือมีเครื่องหมาย Energy Star ผลการดำเนินการของโปรแกรมดังกล่าว ส่งผลต่อการขยายตัวยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2553 โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี (มกราคม-กรกฏาคม) มียอดขายเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 2.6
สมาคม Association of Home Appliance Manufacturers(AHAM) ของสหรัฐฯ รายงานยอดการส่งมอบสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Major Appliances) มีจำนวน 5,590,600 Units ในเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.10 หรือมีจำนวน 27,095,100 Units ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 (มกราคม-พฤษภาคม) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50
สมาคมผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือนของสหรัฐฯ (Association of Home Appliance Manufacturers: AHAM) ของสหรัฐฯ ประมาณการณ์อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบ Major Appliances ในสหรัฐฯ ที่สำคัญ 24 รายการ ดังนี้
ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อายุการใช้งาน ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อายุการใช้งาน 1. Cook Top-Double Built-in 21 ปี 13. Refrigerator Compact 5 ปี 2. Cook Top-Single Built-in 13 ปี 14. Freezer-Chest 18 ปี 3. Range-Slide in Single Oven 17 ปี 15. Freezer-Upright 15 ปี 4. Range-Double Oven 18 ปี 16. Disposal (in the Sink) 12 ปี 5. Range Drop in Single Oven 11 ปี 17. Trash Compactor 14 ปี 6. Oven Built-in 16 ปี 18. Room Air Conditioner 12 ปี 7. Microwave Oven 9 ปี 19. Central Air Conditioner 21 ปี 8. Refrigerator-Side by Side 14 ปี 20. Humidifier 11 ปี 9. Refrigerator-Top Mount 14 ปี 21. Dehumidifier 11 ปี 10. Refrigerator-Bottom Mount 17 ปี 22. Dryer 13 ปี 11. Refrigerator One door 19 ปี 23. Washer-Top Load 14 ปี 12. Refrigerator Built-in 14 ปี 24. Washer-Front Load 11 ปี ที่มา: American Home Appliance Manufacturers 4. การนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟ้ฟ้าของสหรัฐฯ สหรัฐฯ นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้ากลุ่ม Major Appliances ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 (มกราคม-มิถุนายน) เป็นมูลค่า 3,510.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ประมาณร้อยละ 10.82 การนำเข้า Major Appliances ของสหรัฐอเมริกาในช่วงมกราคม-มิถุนายน 2553 หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ รหัส HSC สินค้า ม.ค.—มิ.ย. ม.ค.—มิ.ย. เพิ่ม/ลด (%) 2553 2552 53/52 7321113000 NONPORTBL COOKNG APPLNCS 136.07 114.05 19.31 8415103040 AIR-COND,WIND/WALL,