รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคยุโรป (อิตาลี) ระหว่างวันที่ 16-31 สิงหาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 14, 2010 17:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีในช่วง 2 สัปดาห์หลังของเดือนสิงหาคม 2553 ค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากเป็นช่วงหยุดพักร้อนของอิตาลี ประชาชนและบริษัทร้านค้าส่วนใหญ่หยุดดาเนินการ โดยจะเริ่มทะยอยหยุดงานตั้งแต่กลางเดือนกค.และจะเปิดดาเนินการอีกครั้งในช่วงกย. เป็นต้นไป

2. สถาบันศึกษาและวิเคราะห์เศรษฐกิจของอิตาลี (ISAE) ได้รายงานว่าความเชื่อมั่น ผู้บริโภคในเดือนกค. 2553 ลดลงต่าสุดตั้งแต่เดือนมีค. 2552 โดยลดลงในด้านการ ประเมินสถานะรายบุคคล ในขณะที่ความเชื่อมั่นต่อภาพรวมเศรษฐกิจโดยทั่วไปดีขึ้น ทั้งนี้ตั้งแต่กย.2552 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอิตาลีค่อนข้างแกว่งไปมาคือ เพิ่มขึ้น ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 และลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 และ เพิ่มขึ้นอีกในเดือนเมย. 2553 แล้วกลับตกลงในเดือนพค. — มิย. เพิ่มขึ้นในเดือนกค. และลดลงอีกครั้งในเดือนสค. 2553 โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนค่อนข้างหมดหวังใน ด้านสินค้าคงทน และการออมในอนาคต ในขณะที่ผลการประเมินสถานะโดยรวม ของประเทศ ปรากฏว่าตลาดแรงงาน และสถานะภาคครัวเรือนดีขึ้น

3. สำนักงานสถิติแห่งอิตาลี (ISTAT) ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจดังนี้

  • ราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2553 ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น + 3.9% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนับว่าสูงสุดตั้งแต่ตค. 2551
  • ราคาจำหน่ายปลีกในเดือนมิย. 2553 เพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและเพิ่มขึ้น + 0.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • ภาวะเงินเฟ้อ ในเดือนสค. 2553 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ที่เท่ากับ 1.7% เป็น1.6% ซึ่งเป็นผลจากการลดลงอย่างมากของราคาน้ำมัน ทั้งนี้ในเดือนสค. 2553 ราคาตั๋วเครื่องบินเพิ่มขึ้น 26.6% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค. 2553 และเพิ่มขึ้น 6.2% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนในขณะที่ราคาแพคเกจของการท่องเที่ยวในช่วงพักร้อน เพิ่มขึ้น 13.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และลดลง 2.3% เมื่อ
เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราว่างงานในเดือนก.ค. 2553 ค่อนข้างคงที่อยู่ที่ 8.4% ของกำลังแรงงาน โดยมีจำนวนคนมีงานทาลดลง 172,000 คน หรือคิดเป็น 0.7%
  • ค่าแรงงานต่อชั่วโมง (สาหรับคนงานที่มีสัญญาจ้างตามกฏหมาย) ในเดือนกค. 2553 เพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งผลจากอัตราเงินเฟ้อ 1.7% ช่วยให้คนงานมีกาลังซื้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • การส่งออกและการนำเข้า ในเดือนกค. 2553 อิตาลี ส่งออกไปประเทศนอกอียู เพิ่มขึ้น 16.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงจากเดือนมิย. 2553 (ซึ่งส่งออกเพิ่มขึ้น 26.4%) ในขณะที่การนาเข้าเพิ่มขึ้น 32.1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

4. กระทรวงการขนส่งอิตาลี (The transport Ministry) ได้รายงานว่า ในเดือนสค. 2553 ยอดขายรถใหม่ ลดลง 19.27% หรือคิดเป็นจำนวน 68,718 คัน ต่ำสุดในรอบ 17 ปี โดยเฉพาะยอดจำหน่ายรถเฟียต ลดลง 26.39% หรือคิดเป็น 21,065 คัน และในช่วง 8 เดือนแรก (มค.- สค.) ของปี 2553 ยอดจาหน่ายลดลง 2.48% หรือคิดเป็นจานวน 1,386,863 คัน

5. สานักงานสถิติแห่งตุรกี (TUIK) ได้รายงานว่า การส่งออกของอิตาลีไปประเทศ ตุรกี ในช่วง 7 เดือนแรก (มค.- กค.) ของปี 2553 เพิ่มขึ้นถึง 39% มูลค่า 5.6 พันล้านยู โรในขณะที่อิตาลีนาเข้าจากตุรกีเพิ่มขึ้น 20.2% มูลค่า 3.9 พันล้านยูโร ทั้งนี้ ตุรกีถือเป็นประเทศคู่ค้าสาคัญอันดับ 4 ของอิตาลี มีมูลค่าการค้าราว 9.5 พันล้านยูโร รองลงมาจากเยอรมัน รัสเซีย และจีน

6. หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจและสังคม (CENSIS) ได้รายงานว่า ในปี 2553 การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยจะเพิ่มขึ้น 3.4% หรือคาดว่าจะมีจำนวนซื้อขายบ้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 630,000 หลัง หลังจากมีการชะงักงันมาเป็นเวลานาน โดยในช่วงปี 2551 — 2552 คือ เป็นปีที่การซื้อบ้านอยู่ในภาวะตกต่าหลังจากในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ที่มีการซื้อขายบ้านที่อยู่อาศัยเฉลี่ยถึง 800,000 หลัง โดยในปี 2552 มีการซื้อบ้านเพียง 609,000 หลัง

7. ประธานกรรมาธิการสหภาพยุโรป (นายJose Manuel Barroso) ได้เปิดเผยว่าอิตาลีเป็นประเทศที่สามารถต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่ถดถอยได้ค่อนข้างดีกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากมีระบบธนาคารที่เข้มแข็ง ไม่มีปัญหาหนี้ภาคเอกชน มีภาคอุตสาหกรรมหลายกลุ่มที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ดี และมีระดับการว่างงานที่ค่อนข้างคงที่ อย่างไรก็ดี อิตาลี ยังคงต้องลดการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายและหนี้สาธารณะให้มากขึ้น รวมทั้งต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้อิตาลีมีหนี้สาธารณะสูงที่สุดในกลุ่มอียู 27 ประเทศ คือ 116% ของ GDP สูงกว่ากรีซที่มีหนี้สาธารณะ 113% ของ GDP ทำให้รัฐบาลอิตาลีต้องออกมาตรการเข้มงวดด้านรายจ่ายเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ 25 พันล้านยูโร ภายใน 2 ปี โดยมีเป้าหมายลดการขาดดุลงบประมาณปี 2553 ลงเหลือ 5% ของ GDP (ปี 2552 ขาดดุล 5.3% ของ GDP) และ 3.9% ของ GDP ในปี 2554

นอกจากนี้ ข้อมูลจากกระทรวงการคลังของอิตาลี รายงานว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2553 มีความต้องการกู้ยืมภาคสาธารณะ (Public Sector Borrowing Requirement) 51.7 พันล้านยูโร ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนราว 9.1 พันล้านยูโร

8. Deputy Mayor ของเมืองมิลาน (นาย Riccardo De Corato) กล่าวว่าประชากรมิลานราวร้อยละ 16 เป็นคนต่างชาติ โดยในช่วง 7 เดือนแรก (มค. — กค.) ของปี 2553 ประชากรมิลานมีจำนวน 1,105,310 คน (ลดลง 2,000 คน) ในขณะที่มีประชากรชางต่างชาติจาก 155 ประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 208,021 คน (เพิ่มขึ้น 9,000 คน) ทั้งนี้อิตาลี มีประชากรราว 60 ล้านคน ร้อยละ 6.5 เป็นคนต่างชาติ โดยมีสัญชาติที่มีจำนวนมาก 10 อันดับต้นๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (32,000 คน) อียิปต์ (27,000 คน) จีน (18,000 คน) นอกจากนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นของชาวโรมาเนีย (+5%) และยูเครน (+10%)

สรุปโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อิตาลี   ยุโรป  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ