ผลิตภัณฑ์ผลไม้สดในตลาดอิตาลี

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 15, 2010 11:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวม

ถึงแม้ว่าภาคเกษตรกรรมอิตาลี (กสิกรรม ปศุสัตว์ และการประมง)จะมีบทบาทและความสาคัญต่อระบบเศรษฐกิจอิตาลีไม่มากนักถ้าเทียบกับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในปัจจุบัน แต่การกสิกรรมอิตาลีได้พัฒนาและขยายตัวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผลไม้ โดยในปี 2009 อิตาลีมีการผลิตผลไม้สดจานวน 8 ล้านตัน อัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เปรียบเทียบจากปีก่อน นอกจากนี้ อิตาลียังถือเป็นผู้ผลิตผลไม้สดอันดับต้น ๆ รองจากฝรั่งเศส

การผลิต

จากข้อมูลของ ISMEA เปิดเผยว่าในปี 2009 การผลิตผลไม้สดของสหภาพยุโรป(EU 27) มีจานวนประมาณ 31.8 พันล้านพัน (-2%)โดยสามารถแบ่งประเทศที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นและลดลงได้ ดังนี้

1. ฝรั่งเศส (+9%)

2. อิตาลี(+1%)

3. โปรแลนด์(-13%)

4. สเปน(-3%)

5. และกรีก(-5%)

ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่

การทำเกษตรกรรม สำหรับพื้นที่แหล่งเพาะปลูกผลไม้สดในอิตาลีส่วนใหญ่จะอยู่กระจายออกไปตามแคว้นต่างๆ ได้แก่ เตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ, ปูเกลีย, กาลาเบรีย, เอมีเลีย-โรมานยา และกัมปาเนีย เป็นต้น จากข้อมูลของ ISMEA พบว่าในปี 2009 การผลิตผลไม้สดในอิตาลีมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น (+1.3%) มีผลมาจากการเพิ่มปริมาณการผลิตของลูกแพรและแอปเปิ้ล แต่ผลไม้อื่นๆ สามารถผลิตได้ลดลง

การบริโภค

ชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่นิยมบริโภคผลไม้สดตามฤดูกาล เนื่องจากประชาชนให้ความ สำคัญกับการบริโภคเพื่อสุขภาพ และคานึงถึงคุณภาพ/แหล่งที่มากันมากขึ้น นอกจากผลไม้สดตามฤดูกาลที่ชาวอิตาเลียนให้ความนิยมบริโภคแล้ว ปัจจุบันพบว่าผลไม้สดประเภท Tropical เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจานวนประชากรชาวต่างชาติมีจานวนเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยในปี 2009 อิตาลีมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่จานวน 3,9 ล้านคน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มาจากประเทศต่างๆ ดังนี้ โรมาเนีย แอลเบเนีย โมร็อกโก จีน อินเดีย ฟิลลิปปินส์ เอกวาดอร์ เปรู ศรีลังกา เป็นต้น

นอกจากนี้ ปัจจัยสาคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลให้ผลไม้ Tropical ได้รับความนิยม คือ สามารถบริโภคได้ตลอดทั้งปี กอปรกับมีสีสันสดใส และรสชาติอร่อย

จากข้อมูลข้างต้น จะพบว่าการบริโภคผลไม้สดในอิตาลีมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้ จานวนครอบครัวในอิตาลีบริโภคผลไม้สดเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 3.6 แต่ในทางตรงกันข้าม การบริโภคผลสดไม้โดยเฉลี่ยกับมีปริมาณลดลงร้อยละ 2.4

การนำเข้า

จากข้อมูลของ World Trade Altas พบว่าปี 2009 อิตาลีมีมูลค่าการนาเข้าผลไม้สดจากทั่วโลก 2,008 ล้านยูโร อัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 โดยระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2010 อิตาลีมีมูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลก 594 ล้านยูโร อัตราลดลงร้อยละ 10.4 โดยส่วนใหญ่อิตาลีนำเข้าผลไม้สดจาก

หลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทวีปอเมริกาใต้ เอเชีย และแอฟริกา แหล่งนำเข้าหลักของอิตาลี ปี 2009 ได้แก่

  • อันดับ 1 ประเทศสเปน มูลค่า 420 ล้านยูโร (+11.7%)
  • อันดับ 2 ประเทศตรุกี มูลค่า 197 ล้านยูโร (-1.3%)
  • อันดับ 3 ประเทศเอกวาดอร์ มูลค่า 172 ล้านยูโร (+2.8%)
ชนิดผลไม้ที่นาเข้าเพิ่มขึ้น ปี 2009 ได้แก่
  • กล้วย มูลค่า 401 ล้านยูโร (+3.8%)
  • ผลไม้จาพวกส้ม มูลค่า 271 ล้านยูโร (+15.0%)
  • สับปะรด อโวกาโด มะม่วงและมังคุด มูลค่า 164 ล้านยูโร (+18.2%)
4. ช่วงเวลานำเข้า ได้แก่
  • กล้วย นำเข้ามากที่สุด เดือนเมษายน-มิถุนายน นำเข้าน้อยที่สุด เดือนกรกฎาคม- กันยายน
  • ผลไม้จาพวกส้ม นำเข้ามากที่สุด เดือนกรกฎาคม-กันยายน นำเข้าน้อยที่สุด เดือน มกราคม-มีนาคม
  • สับปะรด อโวกาโด มะม่วงและมังคุด นำเข้ามากที่สุด เดือนตุลาคม-ธันวาคม นำเข้าน้อยที่สุด เดือนมกราคม-มีนาคม
การนาเข้าจากประเทศไทย

จากข้อมูลของ World Trade Altas พบว่าปี 2009 ไทยเป็นแหล่งนาเข้าอันดับที่ 55 โดยอิตาลีมีการนาเข้าผลไม้สดมูลค่า 0,9 ล้านยูโร อัตราการนาเข้าลดลงร้อยละ 15.7 ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2010 ไทยเป็นแหล่งนาเข้าอันดับที่ 59 มีมูลค่าการนำเข้าเพียง 0,1 ล้านยูโร อัตราลดลงร้อยละ 23.6

ผลไม้สดที่อิตาลีนาเข้าจากไทยส่วนใหญ่ ได้แก่

1. สับปะรด

2. มังคุด

3. มะม่วงสุก

4. ฝรั่ง

5. มะขามหวาน

นอกจากนี้ ยังมีการนาเข้าผลไม้อื่นๆ แต่ในปริมาณที่ไม่มากนัก ได้แก่ ทุเรียน ชมพู่ มะละกอและกล้วย เป็นต้น โดยการนำเข้ามีทั้งที่นาเข้าต่อจากประเทศอื่น เช่นฝรั่งเศส และนำเข้าโดยตรงไทย

การส่งออก

จากข้อมูลของ World Trade Altas พบว่าปี 2009 การส่งออกผลไม้สดของอิตาลีติดอันดับที่ 29 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.82 (+0.02 จุด) โดยมีมูลค่าการส่งออกไปทั่วโลก 2,379 ล้านยูโร อัตราการส่งออกลดลงร้อยละ 18.8 ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2010 อิตาลีมีมูลค่าการส่งออกไปทั่วโลก 751 ล้านยูโร อัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ปี 2009 ตลาดส่งออกหลักของอิตาลีส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในยุโรป ได้แก่

  • อันดับ 1 ประเทศเยอรมัน มูลค่า 682 ล้านยูโร (-18.8%)
  • อันดับ 2 ประเทศฝรั่งเศส มูลค่า 219 ล้านยูโร (-24.2%)
  • อันดับ 3 ประเทศสหราชอาณาจักร มูลค่า 160 ล้านยูโร (-5.7%)

นอกจากนี้ ปี 2009 พบว่าอิตาลีส่งออกผลไม้สดมายังประเทศไทยมีปริมาณที่น้อยมาก เช่น เชอรี่ และกีวี เป็นต้น

ช่องทางการจัดจาหน่ายผลไม้ไทยในอิตาลี

1.ซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต ชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าในซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต เพราะสะดวกและประหยัดเวลา โดยซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ตที่จาหน่ายผลไม้ไทย ได้แก่ Carrefour, Auchan, Esselunga, Coop, Cpmad และ Iper เป็นต้น

2.ร้านค้าเอเซีย ปัจจุบัน พบว่าจานวนร้านค้าเอเซียในอิตาลีมีจานวน เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องจากจานวนของประชาชนชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในอิตาลีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ร้านค้าเอเซียได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เพราะมีสินค้าและผลไม้เอเซียหลากหลายชนิดให้เลือกและไม่ต้องการกาลังซื้อที่สูงอย่างซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต

3.ตลาดนัด/ร้านผลไม้ ในปัจจุบันช่องทางจัดจาหน่ายนี้เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั้งจาก ชาวอิตาเลียนและชาวต่างชาติ พฤติกรรมการบริโภคของชาวอิตาเลียน

จากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคผลไม้สดในอิตาลีตอนเหนือ และภาคกลางตอนใต้ จากองค์กร So fresh และ Maffco Spa Unifrutti Italia สามารถแบ่งได้ ดังนี้

1. กลุ่มผู้ซื้อผลไม้หลักๆ แบ่งได้ดังนี้

1.1 กลุ่มผู้บริโภคอายุมากกว่า 60 ขึ้นไป

1.2 กลุ่มอายุ 40-49 และ 50 -59

2. ปัจจัยในการเลือกซื้อผลไม้ แบ่งได้ดังนี้

2.1 ความสดของผลไม้

2.2 คุณภาพของผลไม้

2.3 แหล่งที่มาพร้อมกับฤดูกาลของผลไม้นั้นๆ

2.4 ราคา

3. พฤติกรรมการเลือกซื้อผลไม้ แบ่งได้ดังนี้

3.1 78.4% มีการตรวจสอบการว่าผลไม้นั้นนาเข้าหรือผลิตมาจากแหล่งใด

3.2 14.1% ไม่ได้สารวจแหล่งที่มาของผลไม้ก่อนเลือกซื้อ

3.3 7.5% ไม่มีความสนใจว่าผลไม้มาจากแหล่งใด แม้ว่าผู้บริโภคจะมีความสนใจในแหล่งที่มาของผลไม้แต่ละชนิด แต่ผู้บริโภคเกินครึ่งยังคงเลือกซื้อผลไม้จากต่างประเทศ 54.6% ส่วนผู้บริโภคที่เลือกซื้อเฉพาะผลไม้ในประเทศมีเพียง 45.4%

4. แหล่งบริโภคที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

สถานะของประเทศคู่แข่ง

ผลไม้นาเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน อเมริกาใต้ อัฟริกา และเอเชีย ตามลาดับ โดยผลไม้จากเอเชียได้รับความเชื่อถือน้อยที่สุด

ผลไม้จากอเมริกาใต้ และอัฟริกา มีหลายชนิด ที่สามารถทดแทนผลไม้ไทยได้ เช่น กล้วย สัปปะรด มะม่วง เป็นต้น

SWOT สถานะการค้าผลไม้ไทยในตลาดอิตาลี

1. โอกาส

1.1 ความนิยมบริโภคและให้ของขวัญผลไม้จากต่างประเทศในโอกาส/เทศกาลที่สาคัญ ในปัจจุบันพบว่าผลไม้ไทยได้รับความนิยมเพื่มขึ้นจากชาวอิตาเลียนและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในอิตาลี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ชาวอิตาเลียนนิยมให้ของขวัญเป็นผลไม้แห้งหรือผลไม้สดจากประเทศเมืองร้อน

1.2 ชาวอิตาลีนิยมบริโภคผลไม้มากขึ้น การที่คนอิตาลีใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงเกิดความนิยมบริโภคผัก-ผลไม้มากกว่าเดิม และสนใจบริโภคผลไม้หลากหลาย

1.3 ชาวอิตาลีนิยมมาเที่ยวและรู้จักประเทศไทยมากขึ้น ทุก ๆ ปี จะมีชาวอิตาเลียนเดินทางไปเที่ยวเมืองไทยเป็นจานวนมาก ทาให้ได้มีโอกาสได้รู้จักและลองชิมผลไม้สดไทย และขณะนี้เริ่มมีร้านอาหารไทยหลายแห่ง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆ เช่น มิลาน โรม ตูริน และ เวนิส จึงทาให้ชาวอิตาลีเริ่มรู้จักและอยากลองทานผลไม้ไทย

2. อุปสรรค

2.1 ค่าขนส่ง ต้นทุนค่าขนส่งผลไม้จากไทยมาอิตาลีสูงมากเมื่อเทียบกับค่าขนส่งผลไม้จากแหล่งอื่น ๆ จึงทาให้ผลไม้ที่นาเข้าจากไทยมีราคาสูงกว่าผลไม้ของอิตาลีและผลไม้จากแหล่งนาเข้าอื่น ๆ เช่น อเมริกาใต้ แอฟริกา และตะวันออกกลาง เป็นต้น

2.2 ฤดูกาล/ช่วงเวลา ช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ของทุกปี มีผลไม้ไทยออกสู่ตลาดมาก ซึ่งไปตรงกับช่วงหน้าผลไม้ของอิตาลี เดือนพฤษภาคม-กรกฏาคมของทุกปี

2.3 ประชากร ประชากรไทยในอิตาลียังมีจานวนน้อยมากเมื่อเทียบกับชาวอเมริกาใต้ และแอฟริกัน ส่งผลให้การนาเข้าส่วนใหญ่มาจากแหล่งประเทศดังกล่าว

3. จุดแข็ง

คุณภาพ/รสชาติ ผลไม้สดไทยมีหลากหลาย และมีรสชาติอร่อยถูกใจคนต่างชาติ ผลไม้สดที่ได้รับความนิยมในตลาดอิตาลี ได้แก่ มะม่วงสุก มังคุด เงาะ และลาไย เป็นต้น โดยในขณะนี้มีผู้นาเข้าผลไม้สดไทยในอิตาลีหลักๆ ประมาณ 4 บริษัท

4. จุดอ่อน

4.1 ราคา สืบเนื่องมาจากต้นทุนค่าขนส่งที่สูงส่งผลให้ราคาของผลไม้ไทยมีราคาจาหน่ายสูงด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้จากแหล่งอื่นๆ จึงเสียเปรียบ ดังนั้น ผู้บริโภคอิตาเลียนส่วนใหญ่ยังคงบริโภคผลไม้สดในประเทศหรือจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีราคาจาหน่ายที่ตากว่าผลไม้ไทย

4.2 ความเชื่อมั่น ผู้บริโภคอิตาเลียนให้ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยและความสะอาด ของผลไม้จากอเมริกาใต้ แอฟริกา มากกว่าผลไม้จากเอเซีย และสามารถหาซื้อผลไม้จากแหล่งดังกล่าวได้ตามซูปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ในขณะที่ผลไม้จากไทยยังมีวางจาหน่ายให้เห็นไม่มากนัก

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ