จับตาสหรัฐฯ ออกกฎหมายควบคุมห้ามใช้แคดเมี่ยมกับของเล่นเด็ก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 17, 2010 16:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศเข้มงวด และกำหนดระดับสารตะกั่วตกค้างให้มีได้ไม่เกิน 300 Part per million (ppm) กันสินค้าประเภทของใช้สำหรับเด็ก โดยเฉพาะสินค้าเครื่องประดับเทียมสำหรับเด็ก กรมส่งเสริมการส่งออกแนะผู้ประกอบการไทยเตรียมความพร้อมในการผลิตให้สอดคล้องกฏหมายที่กำลังออกใหม่นี้

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการส่งออกได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่าประเทศ ณ นครชิคาโก ว่าประเทศสหรัฐฯจะออกกฏหมายควบคุมการใช้สารอันตรากับสินค้าของใช้สำหรับเด็ก โดยเฉพาะสินค้าเครื่อประดับเทียมที่มีสารโลหะแคดเมี่ยมเป็นส่วนประกอบ

สารแคดเมี่ยมเป็นโลหะช่นเดียวกันกับสารตะกั่ว ซึ่งจะส่งผลกระทลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมองของเด็ก และยังเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย โดยสารเคมีประเภท แคดเมี่ยมจัดว่าเป็นสารที่มีอันรายสูงกว่าสารตะกั่ว ทำให้ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลระดับมลรัฐหลายแห่งในประเทศสหรัฐฯ เช่น แคลิฟอร์เนีย คอนเนคติกัต อิลลินอยน์ มินิโซตา นิวยอร์ก และนิวเจอร์ซี่ ได้ออกกฎหมายควบคุมห้ามใช้โลหะแคดเมี่ยมกับสินค้าที่ใช้กับเด็กอายุ 12 ปีหรือต่ำกว่าไปก่อนหน้านี้แล้ว

“ขณะนี้ทางสหรัฐฯ ได้มีการเสนอร่างพรบ. การควบคุมสารอันตราย พ.ศ. 2553 โดยมีจุดประสงค์ห้ามจำหน่ายและกระจายสินค้าของใช้สำหรับเด็กที่มีสารอันตรายเกินระดับ จำนวน 4 ชนิด คือ Antimony มีได้ไม่เกิน 60 Part Per Million , Barium มีได้ไม่เกิน 1,000 Part Per Million , Cadmium มีได้ไม่เกิน 75 Part Per Million และ Barium มีได้ไม่เกิน 60 Part Per Million โดยผู้ฝ่าฝืนหรือทำความผิดต้องได้รับการลงโทษทั้งจำคุกและปรับ แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงการทดสอบความปลอดภัย ซึ่งคาดว่าจะเป็นส่วนความรับผิดชอบของ Consumer Product Safety Commission (CRSC) ในการกำหนดมาตราฐานต่อไป” นางนันทวัลย์ กล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบัน ตลาดสินค้าเพื่อเด็กทุกประเภทมักได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากผู้บริโภค กลุ่มองค์กรต่างๆ รวมทั้งภาครัฐ จะให้ความสำคัญกับสินค้าในเรื่องความปลอดภัยเนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก ดังนั้น ผู้ผลิต ผู้ส่งออก สินค้าเกี่ยวกับเด็ก ควรเฝ้าติดตามการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมในการผลิตให้สอดคล้องกับกระแสความต้องการและการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ