ประเทศแคนาดามีการผลิตข้าวน้อยมาก โดยข้าวที่ผลิตได้เป็นพันธุ์ที่เรียกว่า Wild Rice ซึ่งถือกันว่าเป็นอาหารชนิดพิเศษที่มีราคาแพง มีไฟเบอร์สูง และปลูกได้ในประเทศเมืองหนาวเท่านั้น ทั้งนี้ มีปริมาณการผลิตปีละ 1.5 - 2 พันตันนอกจากนี้ ยังมีข้าวสาลีที่แคนาดาสามารถผลิตได้ปีละประมาณ 13.3 ล้านตัน ข้าวหอมมะลิ หรือข้าวขาวชนิดอื่นๆ ไม่สามารถเพาะปลูกได้ในแคนาดา
นโยบายข้าวของแคนาดา
แคนาดามีอากาศที่หนาวเย็น บางพื้นที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี ทำให้มีพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกข้าวค่อนข้างจำกัดและผลผลิตข้าวภายในประเทศมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค แคนาดาจึงจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าข้าวจากทั่วโลก ซึ่งเป็นการนำเข้าโดยภาคเอกชนเท่านั้น ภาครัฐไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของเก็บสต็อกสินค้าข้าวในประเทศ และไม่มีนโยบายการควบคุมหรือจำกัดการผลิตและการนำเข้า นอกจากนี้ ประชากรของประเทศส่วนใหญ่ไม่ได้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก
กลุ่มผู้บริโภคข้าวเป็นหลักในแคนาดา ได้แก่กลุ่มผู้บริโภคชาวเอเชีย และชาวตะวันตกในเมืองสำคัญๆ ของประเทศ โดยกลุ่มผู้บริโภคข้าวที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา คือ จีน รองลงมาได้แก่ผู้บริโภคจากกลุ่มประเทศเอเชียใต้อินเดีย ศรีลังกา แนวโน้มการบริโภคข้าวในแคนาดาเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก การหลั่งไหลของชาวเอเซียที่ย้ายถิ่นฐานมายังแคนาดาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายเปิดรับคนต่างชาติของแคนาดา ( Immigration Policy) และมุมมองของชาวแคนาดาที่มีต่อสินค้าข้าวว่าเป็นสินค้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับ ขนมปังพาสต้า (ที่ผลิตจากข้าวสาลี)
- ประเภทของข้าวที่บริโภคในประเทศ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
ข้าวหอมมะลิ (Hom Mali Rice) ที่มีเมล็ดความยาวระดับกลาง มีกลิ่นหอม ที่มีกลุ่มผู้บริโภคหลักได้แก่ ชาวแคนาดาเชื้อสายเอเซีย จีน ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฯลฯ
ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) ข้าวขาวที่ได้ผ่านกระบวนการทำข้าวนึ่งและขัดเอารำออกแล้ว ที่ง่ายสะดวกในการปรุงอาหาร ที่มีกลุ่มผู้บริโภคหลักได้แก่ ชาวแคนาดาคอเคเซียนผิวขาว (Caucasian) ที่เป็นตลาดหลักในแคนาดา (Mainstream Market)
ข้าวขาวสั้น (Short Grain Rice) ที่มีลักษณะเหมือนข้าวเหนียว ที่มีเมล็ดสั้นและใช้ตะเกียบในการบริโภค โดยกลุ่มบริโภคได้แก่ชาวเอเซียเชื้อสาย ญี่ปุ่น เกาหลี
ข้าวขาว (Long Grain Rice) ที่มีลักษณะคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ไม่มีกลิ่นหอม ที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากสหรัฐฯ ที่มีกลุ่มผู้บริโภคหลักได้แก่ชาวแคนาดาเชื้อสายเอเซีย
ข้าวบาสมาติ (Basmati Rice) มีลักษณะขาว ยาว และร่วน ที่มีกลุ่มผู้บริโภคหลักได้แก่ ชาวแคนาดาเชื้อสาย เอเซียใต้ อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ฯลฯ
ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวธัญพืช ข้าวอินทรีย์ โดยเป็นข้าวประเภทที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ราคาสูงโดยกลุ่มผู้บริโภคหลักได้แก่ชาวแคนาดาผิวขาว รวมถึงกลุ่มผู้มีรายได้สูง ที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพ
- ปริมาณการบริโภค แคนาดามีประชากรรวม 34 ล้านคน (เมษายน 25531) บริโภคข้าวในปี 2552 ประมาณ 383,018,000 กิโลกรัม (สามร้อยแปดสิบสามล้านหนึ่งหมื่นแปดพันกิโลกรัม) หรือประมาณ 11.60 กิโลกรัมต่อคน
ปี กิโลกรัม/คน ปริมาณรวม (กิโลกรัม) 2552 11.60 383,018,000 2551 11.23 374,481,000 2550 10.55 347,677,000 2549 10.51 342,486,000 ที่มา: http://www40.statcan.gc.ca/l01/cst01/demo02a-eng.htm - รสนิยมในการบริโภค แบ่งตามกลุ่มผู้บริโภคหลัก 2 ดังนี้ (1) กลุ่มผู้บริโภคชาวแคนาดาเชื้อสายเอเชียและชาวเอเซีย กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้มีอัตราการบริโภคต่อคนค่อนข้างสูง จึงนิยมซื้อข้าวหอมมะลิที่บรรจุถุงขนาดใหญ่ คือขนาด 18 ปอนด์ (8.17 กิโลกรัม), 20 ปอนด์ (9.07 กิโลกรัม) , 40 ปอนด์ (18.18 กิโลกรัม) และข้าวเหนียว ข้าวซ้อมมือ ขนาด 4.40 ปอนด์ (2 กิโลกรัม) บรรจุในถุงพลาสติกหรือกระสอบป่าน ซึ่ง ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะเน้นถึงคุณภาพและราคาเป็นหลัก โดยข้าวหอมมะลิของไทยจัดได้ว่าเป็นข้าวยอดนิยมเป็นสุดยอดของข้าวที่ดีและมีความนุ่มนวล มีกลิ่นหอม ผู้บริโภคจะสังเกตคำว่า Jasmine Rice, Thailand เป็นหลัก โดยเครื่องหมายการค้าจะเป็นลำดับรอง และเปรียบเทียบราคาในแต่ละยี่ห้อเป็นปัจจัยสำคัญเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพข้าวของผู้ซื้อกลุ่มนี้ จะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ - ผู้บริโภคชาวเอเซียจะชอบข้าวขาว 100% มากกว่าข้าวที่ปนข้าวพันธุ์อื่นๆ หรือมีส่วนผสมปนน้อยที่สุด - คุณภาพของข้าวต้องไม่มีสิ่งอื่นเจือปน ได้แก่ แมลง หญ้าเมล็ดพืช ข้าวเปลือก ฝุ่นสกปรกและกรวดหิน - เมล็ดข้าวมีขนาดยาว รูปทรงสม่ำเสมอแบบเดียวกัน ไม่แตกหัก - ข้าวหอมมะลิจะต้องมีกลิ่นหอมที่สามารถทดสอบได้ มีกลิ่นที่แตกต่างจากข้าวธรรมดา (2) กลุ่มผู้บริโภคชาวแคนาดาเชื้อสายคอเคเซียน (Mainstream Market) กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ ได้แก่กลุ่มชาวแคนาดาผิวขาว ชาวตะวันตกผิวขาวซึ่งเป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ และตลาดค่อนข้างใหญ่ กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ชอบข้าวชนิด Long grain ขนาดบรรจุไม่ใหญ่นักประมาณ 350 กรัม — 2 กิโลกรัม เป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุด พฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มนี้ จะเน้นถึงสุขภาพเป็นสำคัญจึงบริโภคข้าวแบบต่างๆ เช่นข้าวเมล็ดยาว ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวป่า (wild rice) ไม่นิยมที่จะบริโภคข้าวเปล่าๆ แต่มักจะผสมรสชาติอื่นๆ ได้แก่ เนยและซอสปรุงรสต่างๆ ชาวคอเคเซียนหรือกลุ่มชนผิวขาวมีพฤติกรรมต้องการความรวดเร็วและทันสมัย จึงชอบอาหารที่เตรียมแบบง่ายๆ และรวดเร็ว ยังไม่นิยมหุงข้าว แบบคนเอเซียหรือใช้หม้อหุงข้าว แต่จะประกอบอาหารโดยใช้ หม้อหรือถาดสำหรับเตาอบ และเตาไมโครเวฟ ข้าวที่นิยมจึงเป็นข้าวพร้อมบริโภค ที่ไม่ต้องมีการต้องทำความสะอาด(ซาวข้าว)ก่อนการปรุงอาหาร เช่นผลิตภัณฑ์ข้าวของ Uncle Ben’s Minute Rice มีขนาดบรรจุพร้อมบริโภคจะมีขนาด 130-250 กรัม บางกล่องจะมีส่วนผสมรสชาติต่างๆ เรียกว่า “special rice” โดยใช้เวลาปรุงสั้นมากประมาณ 5-20 นาที เครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งสำคัญเพราะผู้บริโภคจะเน้นถึง คุณภาพและตามด้วยราคา ถ้าพอใจยี่ห้อใดก็จะ ประทับใจและเชื่อถือยี่ห้อนั้น และมีความจงรักภักดีต่อยี่ห้อที่เชื่อถือโดยตลอด การนำเข้า/ส่งออก - สินค้าข้าวที่บริโภคในแคนาดาเกือบทั้งหมดนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ไทย อินเดีย ปากีสถานอิตาลี เป็นหลัก โดยในปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 301.408 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.54% จากในปี 2551 ที่มีมูลค่า 293.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ - การนำเข้าข้าวจากไทย ปี 2552 ปริมาณ 79,849 ตัน มูลค่า 73.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ครองส่วนแบ่งตลาด 24.23% (คิดจากมูลค่าการนำเข้า) 22.13 % (คิดจากปริมาณการนำเข้า) นำเข้าระหว่างมกราคม-มิถุนายน 2553 มีปริมาณ 41,914 ตัน มูลค่า 42.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ครองส่วนแบ่งตลาด 28.22% (คิดจากมูลค่าการนำเข้า) 23.60% (คิดจากปริมาณการนำเข้า) ปริมาณการนำเข้าระหว่างปี 2549-2552 อันดับ ประเทศ หน่วย (เมตริกตัน) เปลี่ยนแปลง % 2549 2550 2551 2552 49/50 50/51 51/52 รวม 342,486 347,677 374,481 383,018 7.68% 7.71% -0.73% 1 สหรัฐอเมริกา 227,689 221,199 243,889 226,898 10.22% 10.26% -9.04% 2 ไทย 71,228 78,364 80,644 79,849 2.9% 2.91% -5.21% 3 อินเดีย 25,241 28,239 28,625 35,691 1.37% 1.37% 20.21% 4 ปากีสถาน 8,608 7,188 10,838 8,775 50.78% 50.78% -21.17% 5 จีน 1,528 4,120 1,913 2,863 -53.57% -53.57% 49.66% แหล่งข้อมูล: Statistics Canada อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กย.2553 (จัดลำดับตามมูลค่าการนำเข้า มค-ธค 52) มูลค่าการนำเข้าระหว่างปี 2549-2552 อันดับ ประเทศ หน่วย (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง % 2549 2550 2551 2552 49/50 50/51 51/52 รวม 165.10 193.81 293.93 301.41 17.39% 51.66% 2.54% 1 สหรัฐอเมริกา 99.70 114.43 155.65 170.20 14.77% 36.02% 9.35% 2 ไทย 35.52 44.87 73.83 73.02 26.31% 64.55% -1.09% 3 อินเดีย 19.04 21.89 40.80 40.40 14.98% 86.41% -0.98% 4 ปากีสถาน 6.27 6.37 16.28 10.04 1.73% 155.35% -38.29% 5 จีน 0.72 1.29 1.18 0.82 78.53% -8.53% -30.93% แหล่งข้อมูล: Statistics Canada อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กย.2553 (จัดลำดับตามมูลค่าการนำเข้า มค-ธค 52) ปริมาณการนำเข้าระหว่าง มค-มิย 2553 อันดับ ประเทศ มค-มิย หน่วย (เมตริกตัน) เปลี่ยนแปลง % 2550 2551 2552 2553 50/51 51/52 52/53 รวม 169,480 189,994 182,012 177,569 12.10% -4.20% -2.44% 1 สหรัฐอเมริกา 110,694 121,631 112,527 112,388 9.88% -7.48% -0.12% 2 ไทย 36,283 41,454 36,716 41,914 14.25% -11.43% 14.16% 3 อินเดีย 13,540 14,681 20,145 14,210 8.43% 37.22% -29.46% 4 ปากีสถาน 3,593 4,525 3,515 4,815 25.94% -22.32% 36.98% 5 อิตาลี 882 1,585 700 1,032 79.71% -55.84% 47.43% แหล่งข้อมูล: Statistics Canada อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กย.2553 (จัดลำดับตามมูลค่าการนำเข้า มค-ธค 52) มูลค่าการนำเข้าระหว่าง มค-มิย 2553 อันดับ ประเทศ มค-มิย หน่วย (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง % 2550 2551 2552 2553 50/51 51/52 52/53 รวม 90.93 135.45 143.37 151.42 48.96% 5.85% 5.62% 1 สหรัฐอเมริกา 56.34 73.79 87.50 78.75 30.97% 18.59% -10.00% 2 ไทย 19.68 34.05 31.83 42.73 73.02% -6.52% 34.24% 3 อินเดีย 9.01 17.70 16.71 20.84 96.45% -5.60% 24.69% 4 ปากีสถาน 2.88 5.62 4.10 5.07 95.14% -27.08% 23.82% 5 อิตาลี 1.11 1.18 1.12 1.43 6.31% -5.45% 28.27% แหล่งข้อมูล: Statistics Canada อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กย.2553 ปริมาณการส่งออกของแคนาดาปี 2549-2552 อันดับ ประเทศ หน่วย (กิโลกรัม) เปลี่ยนแปลง % 2549 2550 2551 2552 49/50 50/51 51/52 รวม 3,593,526 4,667,584 8,463,872 8,468,842 29.89% 81.33% 0.06% 1 สหรัฐอเมริกา 2,885,868 3,808,582 7,160,265 6,926,669 31.97% 88.00% -3.26% 2 สหราชอาณาจักร 237,719 113,159 536,368 806,431 -52.40% 373.99% 50.35% 3 บาร์เบโดส 23,380 125,473 134,099 99,086 436.67% 6.87% -26.11% 4 เลบานอน - - - 85,889 - - n/a 5 ฮังการี - - - 75,748 - - n/a แหล่งข้อมูล: Statistics Canada อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มี.ค.2553 (จัดลำดับตามมูลค่าการนำเข้า มค-ธค 52) มูลค่าการส่งออกของแคนาดาปี 2549-2552 อันดับ ประเทศ หน่วย (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง % 2549 2550 2551 2552 49/50 50/51 51/52 รวม 3.19 4.08 7.01 7.73 27.87% 71.84% 10.28% 1 สหรัฐอเมริกา 2.75 3.77 6.60 7.21 37.05% 75.18% 9.20% 2 สหราชอาณาจักร 0.09 0.05 0.16 0.23 -41.20% 210.00% 40.20% 3 บาร์เบโดส 0.03 0.04 0.04 0.03 31.07% 3.61% -26.36% 4 เลบานอน 0.00 0.00 0.00 0.02 - - n/a 5 ฮังการี 0.00 0.00 0.00 0.02 - - n/a แหล่งข้อมูล: Statistics Canada อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ก.พ.2553 (จัดลำดับตามมูลค่าการส่งออก มค-พย 52) การจัดจำหน่ายในประเทศ ช่องทางการจัดจำหน่าย ช่องทางการจัดจำหน่ายในแคนาดา จะผ่าน ผู้นำเข้ารายใหญ่รายสำคัญในประเทศโดยส่วนใหญ่ จะมีการนำเข้าตลอดทั้งปี (มีการนำเข้าทุกสัปดาห์ โดยไม่นิยมสต็อกสินค้าหรือสั่งสินค้าครั้งละมากๆ ) โดยไม่มีการแยกประเภทข้าวใหม่ (New Crop) หรือข้าวเก่า (Old Crop) ทั้งนี้ร้านอาหารไทย/จีน ส่วนใหญ่นิยมซื้อ ข้าวเก่า เนื่องจากเป็นข้าวที่หุงขึ้นหม้อและเม็ดสวยเหมาะกับการไปปรุงอาหารข้าวผัด (ผู้นำเข้าจะสั่งนำเข้าข้าวเก่าในเดือน มิ.ย. - ก.ค. ของแต่ละปี) ทั้งนี้ช่องทางการจัดจำหน่ายในแคนาดา 2 ประเภท ได้แก่ ผู้นำเข้า -> ผู้ค้าส่ง —> ผู้ค้าปลีก —> ผู้บริโภค ผู้นำเข้า -> ค้าปลีก (ห้างสรรพสินค้า Chain Store อาทิ Loblaw, Wal-Mart) -> ผู้บริโภค ผู้นำเข้าแคนาดาส่วนใหญ่ต้องการทำการค้ากับผู้ส่งออกเดิมที่รักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และการส่งมอบสินค้าตรงเวลาที่กำหนด ไม่นิยมซื้อขายกับผู้ส่งออกรายใหม่ กฏระเบียบการนำเข้าและการส่งออก - ไม่มีกฎระเบียบพิเศษเฉพาะและไม่มีข้อจำกัดในการนำเข้า - หลักเกณฑ์เรื่องบรรจุภัณฑ์และข้อความกำกับ ส่วนประกอบและความปลอดภัย เป็นไปตามข้อกำหนด ของกฎระเบียบว่าด้วยอาหารและยา กฎระเบียบว่าด้วยการบรรจุและข้อความกำกับสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.hc-sc.gc.ca/fn-an/label-etiquet/index-eng.php - ในกรณีที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายปลีก ต้องมีฉลากภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสกำกับ พร้อมกับ ข้อมูลโภชนาการ http://www.hc-sc.gc.ca/fn-an/label-etiquet/nutrition/reg/index-eng.php ราคาจำหน่ายในประเทศ (สำรวจ ณ วันที่ 1 ก.ย. 2553) แคนาดาฝั่งตะวันตก - ข้าว Indian Basmati: ขนาดถุง 10 lb — ราคา ประมาณ 9-10 เหรียญแคนาดา - ข้าวหอมมะลิไทย: ขนาดถุง 40 lb — ราคาประมาณ 30 เหรียญฯ - ข้าว Long Grain (White) ไทย: ขนาดถุง 40 lb — ราคาประมาณ 19 เหรียญฯ - ข้าว Long Grain (White) เวียดนาม: ขนาดถุง 40 lb — ราคาประมาณ 18 เหรียญฯ แคนาดาฝั่งตะวันออก - ข้าว Indian Basmati: ราคา ประมาณ 1.99 เหรียญฯ/ปอนด์ - ข้าวหอมมะลิไทย: ราคาประมาณ 0.72-0.99 เหรียญฯ/ปอนด์ - ข้าวขาวสหรัฐฯ: ราคาประมาณ 0.66-0.88 เหรียญฯ/ปอนด์ กฏระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าวและผลิตภัณฑ์ - กฏระเบียบ การระบุข้อมูล Food Allergies and Intolerances ควบคุมโดยหน่วยงาน Health Canada สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ http://www.hc-sc.gc.ca/fn-an/securit/allerg/index-eng.php - กฏระเบียบสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic Product) ควบคุมโดยหน่วยงาน CFIA (Canadian Food Inspection Agency) สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ http://www.inspection.gc.ca/english/fssa/orgbio/orgbioe.shtml พันธกรณีผูกพันระหว่างไทย-แคนาดา - ไม่มี ปัญหา/ อปุ สรรคของการจำหน่ายข้าวไทย - ข้าวไทยมีราคาสูงกว่าคู่แข่งจากสหรัฐอเมริกา - มีการปลอมปนข้าวไทย ทำให้ความเชื่อถือในคุณภาพของข้าวไทยลดลง - ผู้ส่งออกไทยบางรายไม่ทำการค้าแบบยั่งยืน อาทิ ไม่รักษาคุณภาพข้าว ไม่รักษาสัญญาส่งมอบข้าว - ตราสินค้าข้าวของไทยยังไม่ได้รับการยอมรับ และรู้จักกันแพร่หลาย กลยุทธ์การตลาดข้าวไทยในแคนาดา - การใช้แบรนด์ของผู้ส่งออกไทย ข้าวหอมมะลิไทยที่จำหน่ายในแคนาดา ส่วนใหญ่จะใช้ตรายี่ห้อ ของผู้นำเข้าอาทิ Oxhead, Rose Brand หรือ Golden Phoenix โดยเป็นตราสัญลักษณ์ ที่ผู้นำเข้าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน หากข้าวไทยมีราคาสูงขึ้นหรือผลผลิตน้อย ผู้นำเข้าต้องการลดต้นทุน จึงอาจจะเปลี่ยนไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งโดยยังคงใช้แบรนด์สินค้าเดิม ผู้ส่งออกไทยจึงควรหันมาส่งออกสินค้า ข้าวภายใต้ตราสินค้าของตนเอง เพื่อครองส่วนแบ่งตลาดของข้าวไทยไว้ - การทำตลาดเชิงรุกร่วมกับผู้นำเข้า (Marketing Leader/Partnering )โดยผู้ส่งออกไทยทำตลาดสินค้าเชิงรุก(อาทิ การจัดทำ In-Store Promotion, การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ) ร่วมกับผู้นำเข้า/ห้างร้าน Chain Store เพื่อสร้างความต้องการบริโภคข้าว (Demand Pull) ขยายและครองส่วนแบ่งตลาดอย่างยั่งยืน - การพัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์ ผู้ส่งออกไทยควรพัฒนาการบรรจุหีบห่อให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดหลัก (Mainstream Market) ที่เป็นชาวแคนาดาเชื้อสาย Caucasian ไม่นิยมซื้อข้าวในถุงขนาดใหญ่ แต่นิยมซื้อข้าวถุงขนาด 500 กรัม, 1,000 กรัม หรือขนาดที่ใช้ปรุงหุงเป็นครั้งๆ (ไม่นิยมเก็บข้าวสาร เนื่องจากมีการบริโภคไม่บ่อยครั้งต่อสัปดาห์) และข้าวไม่ใช่อาหารหลัก แต่เป็นอาหารเครื่องเคียง (Side dishes) เช่นเดียวกับ มันฝรั่งต้ม สลัดผัก เป็นต้น - การเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว โดยการพัฒนาสินค้าข้าวใหม่ (Innovative Product) อาทิ ข้าวที่ผสมของข้าวซ้อมมือ(Thai Hom Mali with Brown Rice) ข้าวที่พร้อมรับประทาน (Ready to Eat Rice) ข้าวที่สามารถหุงได้โดยไมโครเวฟ (ที่ไม่ต้องใช้หม้อหุงข้าว) ข้าวที่ผสมธัญพืช ขนมระหว่างที่ทำจากข้าว เส้นสปาเก็ตตี้ เส้นมักโรนี เป็นต้น - การส่งออกข้าวที่มีมาตรฐานข้าวหลากหลาย ข้าวหอมมะลิไทยที่จำหน่ายในแคนาดา ส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานเดียว ซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดเรื่องของราคา และความหลากหลาย โดยผู้ส่งออกไทยอาจส่งออกข้าวหอมมะลิที่มีหลายเกรด ข้าวประเภทข้าวขาวยาว (Long Grain) หรือ ข้าวนึ่ง (Parboil Rice) ซึ่งเป็นสินค้าที่ศักยภาพในแคนาดา - การเข้มงวดการใช้ตรารับรองคุณภาพข้าวหอมมะลิของกรมการค้าต่างประเทศ ควรมีการเข้มงวดการใช้ตรารับรองคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยที่ประทับบนถุงข้าวส่งออก เพื่อป้องกันการปลอมแปลงการใช้ตราประทับสำหรับข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน - การจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก ได้แก่การจัดกิจกรรม In-Store Promotion ในห้างเครือข่าย การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ การจัดทำ Business Matching การจัดคณะผู้แทนการค้าไปเยือนงานแสดงสินค้า - การให้ความรู้แก่ผู้บริโภค (Raise Consumer Awareness) ตลาดข้าวแคนาดาเป็นตลาดที่อ่อนไหวต่อราคาสินค้าโดยดูจากคุณภาพสินค้าเป็นหลักด้วย การให้ความรู้ต่อผู้บริโภคถึงวิธีการหุง คุณภาพข้าว ความแตกต่างของข้าวไทยต่อคู่แข่ง จะสามารถขยายตลาดส่งออกข้าวได้ - การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำเข้าข้าวแคนาดา โดยการรักษาคุณภพา การรักษาสัญญา (Commitment) การสร้างความเชื่อถือไว้วางใจ (reliability) การพัฒนาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ใหม่ (Adaptability) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยสามารถครองตลาด และขยายตลาดส่งออกได้อย่างยั่งยืน สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โตรอนโต ที่มา: http://www.depthai.go.th