ภาวะตลาดธุรกิจร้านสะดวกซื้อของไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 20, 2010 17:25 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. บทนำ

ร้านสะดวกซื้อถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ไปเสียแล้ว เพราะชีวิตในปัจจุบันนี้แทบจะหนีไม่พ้นที่จะต้องเข้าไปใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อของกินของใช้ หรือชำระค่าบริการต่างๆ ร้านสะดวกซื้อถือเป็น Channel ที่สร้างความสะดวกสบายไม่น้อยให้แก่ผู้บริโภคจนกลายเป็นความเคยชินไปแน่นอนว่าวิถีชีวิต

แบบนี้จะไปกันได้ดีกับพฤติกรรมการบริโภคและจับจ่ายใช้สอยของชาวไต้หวัน จนส่งให้ปริมาณร้านสะดวกในไต้หวันมีการขยายตัวสูงมาก โดยจากสถิติของ Euromonitor Internatinoal ชี้ว่าในปี 2552 ไต้หวันมีปริมาณร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 9,431 แห่ง ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของร้านสะดวกซื้อต่อจำนวนประชากรสูงที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 1.75 แสนล้านเหรียญไต้หวัน (1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับประมาณ 32 เหรียญไต้หวัน)

และจากการที่ตลาดมีขนาดใหญ่และมีการแข่งขันที่สูง ทาให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มบริการเสริมรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตัวเองที่สามารถดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเบิกเงินจากตู้ ATM ที่ตั้งอยู่ภายในร้าน การถ่ายเอกสารและรับส่งโทรสาร การอัดรูป การขายข้าวกล่องและอาหารเช้า การขายสินค้าที่เป็นของกานัลประจาเทศกาลสำคัญ (เช่น ขายขนมไหว้พระจันทร์ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือขายบ๊ะจ่างในช่วงเทศกาลบ๊ะจ่าง เป็นต้น) รวมไปจนถึงการรับชำระค่าบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่าโทรศัพท์ ค่าสมาชิกเคเบิลทีวี และค่าจอดรถ) และชำระค่าบัตรเครดิตโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม รวมไปจนถึงการจ่ายภาษี/ค่าปรับสำหรับการทำผิดกฏจราจร/ซื้อบัตรโดยสารรถไฟความเร็วสูง โดยเสียค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย (ไม่เกิน 10 เหรียญไต้หวัน) และจากการที่ร้านสะดวกซื้อมีจำนวนมากและตั้งอยู่ในทำเลที่พลุกพล่าน

รวมถึงมีเครือข่ายระบบโลจิสติกส์ที่ครอบคลุม ทำให้มีการร่วมมือเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการและเวปไซด์ค้าปลีก/ประมูลสินค้าออนไลน์หลายแห่ง ทำให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถเลือกร้านสะดวกซื้อที่อยู่ใกล้บ้านเป็นจุดรับส่งและชาระค่าสินค้าได้ด้วย นอกจากนี้จากการที่ 7-11 ประสบความสำเร็จในการออกบัตรเติมเงิน i-Cash โดยให้ส่วนลดสำหรับผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าด้วยบัตรภายในร้าน ทำให้บริษัท Easy Card ซึ่งเป็นผู้ประกอบการให้บริการบัตรเติมเงินซึ่งสามารถใช้โดยสารรถประจาทาง/รถไฟ/รถไฟฟ้า/รถแท็กซี่ ในเขตไทเปและปริมณฑล หันมาสร้างร่วมกับร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ตในการขยายบริการให้ผู้บริโภคสามารถใช้บัตร Easy Card ในการซื้อสินค้าตามห้างร้านเหล่านี้ได้ ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกและเพิ่มช่องทางในการจับจ่ายให้ผู้บริโภคมากขึ้น

2. มูลค่าตลาด

จากสถิติของ Euromonitor Int'l ในปี 2552 ชี้ว่ามูลค่าตลาดในธุรกิจร้านสะดวกซื้อของไต้หวันคิดเป็นมูลค่ารวม 175,138.9 ล้านเหรียญไต้หวัน (1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับประมาณ 32 เหรียญไต้หวัน) ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.39 โดยมีจานวนร้านรวมทั้งสิ้น 9,431 แห่งลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 0.29 ในขณะที่มีปริมาณพื้นที่จาหน่ายสินค้ารวม 7.79 แสนตารางเมตร ลดงร้อยละ 0.14 จากปีก่อนหน้า

3. ภาวะตลาด

ร้านสะดวกซื้อเริ่มเป็นที่รู้จักในไต้หวันตั้งแต่ปี 1977 โดยการผลักดันของหน่วยงานส่งเสริมด้านการเกษตรของรัฐบาลไต้หวันที่จัดตั้งร้าน Youth Shop อย่างไรก็ดี บริการของร้านสะดวกซื้อแบบสมัยใหม่ที่ให้บริการแบบ 24 ชั่วโมงนี้ เริ่มต้นจากการที่กลุ่มบริษัท President Foods ได้นำเข้าแบรนด์ 7-11 จากสหรัฐฯ เข้ามาในไต้หวันโดยเปิดสาขาแรกในปี 1979 ก่อนที่จะมีการตั้งร้าน Family Mart (ญี่ปุ่น) AM/PM (กลุ่ม Wei Chuan ของไต้หวัน)และ OK (กลุ่ม Feng Chun) ในปี 1988 โดย ในปีถัดมา (1989) ก็มีการเปิดร้าน Hi-Life ขึ้นเป็นสาขาแรกโดยกลุ่ม Kuang Chuan ของไต้หวัน และในปี 1990 กลุ่ม Tai Shan ของไต้หวันก็ได้ซื้อกิจการของ Nikomart จากบริษัทญี่ปุ่นในไต้หวันมาบริหารเอง และได้ขายกิจการต่อให้กับกลุ่มร้าน Family Mart ในปี 2551

ทั้งนี้ จากสถิติของ Euromonitor International ในปี 2552 ที่ผ่านมา 7-11 (President Chain Store Corp.) ถือเป็นผู้ประกอบการที่ครองส่วนแบ่งตลาดของร้านสะดวกซื้อในไต้หวันมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.4 ของมูลค่าตลาดทั้งหมด โดยมีจำนวนสาขาที่มากถึง 4,796 แห่ง รองลงมาได้แก่ร้าน Family Mart (Taiwan Family Mart Co.,Ltd.) ที่ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 21.1 โดยมีจานวน 2,340 สาขา ตามมาด้วย Hi-Life (Hi-Life Int'l Co.,Ltd.) ที่ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.0 จากจานวน 1,254 สาขา และ OK Mart (Circle K CVS (Taiwan) Ltd.) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.8 และมีจำนวน 834 สาขา

และจากการดำเนินแผนการตลาดที่ดี ทาให้ 7-11 สามารถสร้างสินค้า Private brand ได้เป็นจานวนไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตุ๊กตา OPEN ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการโฆษณาของร้านในแต่ละปี 7-11 จะใช้งบประมาณด้านการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าที่เกี่ยวกับตุ๊กตา OPEN เป็นมูลค่าที่สูงมาก เพื่อ support สินค้าที่มีการผลิตออกสู่ตลาดกว่า 300 รายการ และคาดว่าในปี 2552 สามารถทารายได้ให้กับ 7-11 คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านเหรียญไต้หวัน นอกจากนี้ ความนิยมในตุ๊กตา OPEN ยังขยายไปจนถึงการขายลิขสิทธิภาพลักษณ์ให้กับรีสอร์ทในไต้หวันเพื่อใช้ลวดลายและสินค้าเครื่องใช้ในชีวิตประจาวันที่เกี่ยวข้องในการตกแต่งห้องพักแบบ Special Theme Room รวมไปจนถึงการเปิดร้านขายสินค้าที่เกี่ยวกับ OPEN ขึ้นใน Dream Mall ห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวันซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกาสงด้วย และความนิยมของ OPEN ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในไต้หวัน เมื่อ Uni-President ผู้ประกอบการที่ถือลิขสิทธิร้าน 7-11 ในไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ก็ได้นาเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับ OPEN ไปเปิดตลาดในประเทศจีน และกลายเป็นผู้ประกอบการรายแรกในจีนที่ใช้ตัวการ์ตูนเป็น Presenter ซึ่งก็สามารถสร้างกระแสความนิยมในเมืองจีนได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

และจากความสำเร็จในการสร้าง Private Brand ของ 7-11 ทาให้ Family Mart ต้องหันมาสร้างแบรนด์เพื่อแข่งขัน และสินค้าเบเกอรี่ของ Family Mart ก็ถือเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคให้การยอมรับค่อนข้างดี ประกอบกับการสร้างตุ๊กตาชุดแบบต่างๆให้ผู้บริโภคเก็บสะสมก็สามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นจำนวนไม่น้อย จนส่งให้ Family Mart มีอัตราการขยายตัวในส่วนของส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในปี 2552 และในขณะที่ทั้ง 7-11 และ Family Mart ต่างก็งัดกลยุทธทางการตลาดมาต่อสู้กัน ผู้ประกอบการอันดับ 3 ในตลาดอย่าง Hi-Life ที่เป็นแบรนด์ท้องถิ่นเพียงแบรนด์เดียวในตลาดไต้หวันก็ใช้วิธีหันไปจับกลุ่มลูกค้าอายุน้อย ด้วยการขายสินค้าเกมส์และของเล่นมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นในตลาด

นอกจากนี้ Hi-Life ยังเป็นร้านสะดวกซื้อ แบรนด์แรกที่ลดราคาสินค้าเบเกอรี่ของตัวเองลงในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2551 ภายหลังจากที่ราคาแป้งซึ่งถือเป็นวัตถุดิบหลักของสินค้าปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จนสามารถสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับบริษัทไม่น้อย และในปี 2552 Hi-Life ยังรุกตลาดสินค้าอาหารเช้า ด้วยการขายแซนวิชและแฮมเบอเกอร์แบบปรุงใหม่ภายในร้านด้วย

4. แนวโน้มและข้อเสนอแนะ

เมื่อพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของจานวนร้านสะดวกในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่าตลาดเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของ Euromonitor Int'l คาดว่าในปี 2557 มูลค่าตลาดของธุรกิจร้านสะดวกซื้อในไต้หวันจะมีมูลค่า 189,960.2 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 8.5 และคาดว่าจำนวนร้านจะเพิ่มเป็น 9,620 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 2.0

นอกจากภาวะตลาดที่เริ่มอิ่มตัวแล้ว ร้านสะดวกซื้อของไต้หวันยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นจากการเร่งขยายสาขาของ Supermarket และHypermarket ด้วย ทำให้ผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อจาเป็นต้องสรรหากลยุทธทางการตลาดมาเสริมสร้างศักยภาพให้กับตัวเอง การให้บริการแบบที่เน้นความต้องการของลูกค้าจึงเป็นแนวทางที่ส่วนใหญ่นิยมนามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการขายกาแฟสดของ 7-11 และ Family Mart รวมไปจนถึงการขายข้าวกล่องปรุงสำเร็จ (Ready-to-eat Food) การออกสินค้า Private Brand รวมไปจนถึงการออกแคมเปญเก็บสะสมคะแนนเพื่อแลกสินค้า หรือแลกซื้อ Collection ของตุ๊กตาแบบต่างๆ ที่เป็นการตลาดในแบบ Creative Marketing ก็กลายเป็น Trend ใหม่ซึ่งดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการมากยิ่งขึ้น และเป็นการสร้าง Loyalty ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าไปในตัว

นอกจากนี้แล้ว จากการที่วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และบริการที่ลดลงเรื่อยๆ ทำให้มีนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการการสร้างสรรค์และนำเสนอบริการในรูปแบบใหม่ที่ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ร้าน OK-Mart ที่ออกโครงการ Q-Shop ซึ่งเป็นร้านสะดวกซื้อในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช้พนักงานขาย ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศฯ ณ กรุงมะนิลา

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ไต้หวัน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ