รายงานสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจำเดือนกรกฎาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 21, 2010 13:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์ส่งออก

ในช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค.—ก.ค.) ของปี2553 ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้นมูลค่า 992.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 729.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 36.09 โดยมีสินค้าส่งออก 5 อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ 121.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (24.68%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 104.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (77.08%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 69.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (179.03%) ยางพารา 64.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (178.69%) และปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง 55.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( -7.82%)

2. การวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวม

การส่งออกมาอิตาลีในช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค.—ก.ค.) ของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือนกรกฎาคม 2553 ไทยส่งออกลดลง -17.26 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (-20.89%) วิเคราะห์ได้ดังนี้

2.1 ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีโดยทั่วไปยังคงขยายตัวอย่างช้าๆ โดยในไตรมาส 2 ของปี 53 GDP ของอิตาลีมีการขยายตัว + 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2553 และ +1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ในขณะที่ภาคเกษตรมีมูลค่าลดลง

2.2 ความต้องการซื้อภายในประเทศยังค่อนข้างต่า อันเนื่องมาจากปัญหาการว่างงานที่ยังคงเพิ่มขึ้น รายได้และกาลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบจากมาตรการเข้มงวดด้านงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล

2.3 ยังคงเป็นช่วงเวลาการหยุดพักร้อน (ก.ค.—ก.ย.) ซึ่งโดยปกติชาวอิตาเลียนจะหยุดดำเนินธุรกิจต่างๆและผู้ประกอบการจะสั่งซื้อสินค้าเท่าที่จาเป็นและจะสั่งซื้อไปก่อนหน้า (ในช่วง เม.ย.—พ.ค.) แล้ว

2.3 ยังคงเป็นช่วงเวลาการหยุดพักร้อน (ก.ค.—ก.ย.) ซึ่งโดยปกติชาวอิตาเลียนจะหยุดดำเนินธุรกิจต่างๆและผู้ประกอบการจะสั่งซื้อสินค้าเท่าที่จาเป็นและจะสั่งซื้อไปก่อนหน้า (ในช่วง เม.ย.—พ.ค.) แล้ว

2.5 ข้อมูลสถิติการนำเข้าของอิตาลีจาก World Trade Atlas ล่าสุด ในช่วง 5 เดือนแรก (มค.-พค.) ของปี 2553 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น 18.6% โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด15.97%) ฝรั่งเศส (8.51%) จีน (6.67%) เนเธอร์แลนด์ (5.50%) สเปน (4.48%) ซึ่งอิตาลีนำเข้าจากทั้ง 5 ประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราระหว่าง 14.98% - 27.33% ในขณะที่อิตาลีนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 48 (สัดส่วนตลาด 0.38%) และนำเข้าจากประเทศในภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ ญี่ปุ่น (อันดับที่ 18 สัดส่วนตลาด 1.27%) อินเดีย (อันดับที่ 20 สัดส่วนตลาด 1.06%) เกาหลีใต้ (อันดับที่ 27 สัดส่วนตลาด 0.77%) อินโดนีเซีย (อันดับที่ 36 สัดส่วนตลาด 0.53%) และไต้หวัน (อันดับที่ 38 สัดส่วนตลาด 0.52%) โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากทุกประเทศข้างต้น ยกเว้นญี่ปุ่นที่ลดลง -0.89%

2.6 ทั้งนี้ วิเคราะห์แยกรายสินค้าสาคัญ ได้ดังนี้

2.6.1 ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง

การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก (มค.- กค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 55.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 59.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -7.82 เนื่องจาก

1. ผู้นำเข้ามีการสั่งซื้อในช่วงก่อนหน้า (เมย. — พค.) เพื่อใช้สำหรับการขายในช่วงฤดูร้อน (กค. — สค.) และคาดว่าจะมีการนำเข้าอีกครั้งในช่วงหลังจากการหยุดพักร้อนแล้ว

2. การจับปลาในแถบประเทศเอเซีย เช่น ไทย เวียดนาม อินโดนิเซีย ลดลงทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น 15 — 20% ส่งผลให้ผู้ประกอบการอิตาลีชะลอการสั่งซื้อออกไปเพื่อรอดูราคา

3. อิตาลีนำเข้าอาหารทะเลแช่แข็งจากทั่วโลกเฉลี่ยปีละเกือบ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยข้อมูลการนำเข้าล่าสุดของ WTA ในช่วง 5 เดือนแรก (มค. — พค.) ของปี 2553 อิตาลีนาเข้าจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น 12.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 2 โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ สเปน (สัดส่วนตลาด 24.12%) ไทย (11.67%) ฝรั่งเศส (9.39%) โมรอคโค (9.16%) และอินเดีย (7.44%

ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ เวียดนาม (สัดส่วนตลาด 5.69%) อินโดนีเซีย (3.34%) จีน (1.77%) และเกาหลีใต้ (0.57%) โดยสินค้าที่อิตาลีนาเข้าจากไทยและเวียดนามส่วนใหญ่เป็นปลาหมึกสดแช่แข็ง ส่วนสินค้าหลักที่นาเข้าจากอินเดียเป็นพวกหอย (55%) และปลาหมึก (40%) ในขณะที่สินค้าหลักที่นาเข้าจากอินโดนีเซียเป็นปลาหมึกออคโตปุส และสินค้าที่นาเข้าจากจีนเป็นปลาหมึกแช่แข็ง (70%) และหอย (18%)

4. ผู้นำเข้าเห็นว่าผู้ส่งออกไทยควรให้ความสาคัญในเรื่องราคาที่ต้องแข่งขันได้ ในขณะที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ในด้านคุณภาพของสินค้า นอกจากนี้ควรเน้นผลิตสินค้าที่มี Value added มากกว่า เพื่อมิให้เกิดการแข่งขันในด้านราคาเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากจีนและเวียดนาม ซึ่งมีราคาถูกกว่า โดยราคานาเข้า (CIF) สินค้าของไทยเฉลี่ยตันละ 4,000 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่สินค้านาเข้าจากอินเดีย เวียดนามและอินโดนีเซียมีราคาเฉลี่ย (CIF) ต่อตันประมาณ 2,900 เหรียญสหรัฐฯ

5. ตลาดอาหารทะเลในอิตาลี แบ่งออกได้เป็นประเภทสดและแช่เยือกแข็ง (Fresh & Chilled) 52%, ประเภทแช่แข็ง (Frozen) 22%, ประเภท Preserved 19% และประเภท Dried, Salted and smoked 7% ซึ่งโดยทั่วไปอาหารทะเลแช่แข็งจะขายในปริมาณมากผ่านช่องทางจำหน่ายประเภทเคเทอริ่ง ส่วนการขายให้ผู้บริโภคโดยตรงจะเป็นการขายแบบแพ็คโดยผ่านร้านค้าหรือห้างขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ประเภทสินค้าที่ตลาดมีความต้องการมาก ได้แก่ ปลาเนื้อขาว ปลาแซลมอน กุ้ง และประเภทหมึก (Squids, Octopus, Cuttlefish เป็นต้น)

2.6.2 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก (มค. — กค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 32.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่งออกมูลค่า 33.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ — 2.66 เนื่องจาก

1. เป็นช่วงการหยุดพักร้อนของคนอิตาลี ผู้นำเข้าได้มีการสั่งซื้อสินค้าในช่วงก่อนหน้าแล้ว โดยจะเห็นได้ว่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2553 เพิ่มขึ้นถึง +45.83% จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2553 ก็ยังมีอัตราการขยายตัว +9.32% จากเดือนก่อนหน้า

2. เป็นสินค้าที่มีอายุเก็บได้นานถึง 1 — 2 เดือน โดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋องและทูน่าฟิเลต์ (ซึ่งเป็นสินค้าหลักที่อิตาลีนำเข้าจากไทย) ผู้บริโภค / ผู้จัดจาหน่าย จะสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าและเก็บสต็อคไว้ในบ้านหรือร้านค้าเพื่อการบริโภค ทาให้การสั่งซื้อในช่วงหน้าร้อนจะน้อย ในขณะที่การซื้อในช่วงหน้าหนาวจะมีมากกว่า

3. จากการสอบถามผู้นำเข้าแจ้งว่าปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากการจับปลาในแถบอาเซียนได้น้อยลง ทำให้ไม่มีสินค้าเพียงพอในการส่งมอบ

4. อิตาลีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยคิดเป็นร้อยละ 80 ของการนาเข้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ทั้งหมด (ร้อยละ 5 เป็นปลาซาร์ดีน แมคเคอเรลและซูริมิ และร้อยละ 5 เป็นประเภทหอยและกุ้ง) ส่วนการนำเข้าจากจีน ร้อยละ 80 เป็นสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง นอกจากนี้เป็นการนำเข้าจากเวียดนามเป็นพวกหอย 7.2% และกุ้ง 19% และการนำเข้าจากอินเดีย ได้แก่ กุ้ง (67%) และประเภทปลา (30%)

ในส่วนของปลาทูน่ากระป๋องและแปรรูป 80% ที่อิตาลีนำเข้าจากไทยเป็น ฟิเลต์ทูน่า ส่วนการนำเข้าจากจีนเป็นฟิเลต์ทูน่า 100% ในขณะที่การนำเข้าจากอินโดนีเซียเป็นฟิเลต์ทูน่า 76.5% และการนำเข้าจากฟิลิปปินส์เป็นทูน่ากระป๋อง natural 25% และในน้ำมัน 75% โดยราคานำเข้า (CIF) เฉลี่ยจากไทยและจีนจะมีระดับราคาใกล้เคียงกัน คือ 4,900 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ราคานำเข้าจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จะมีราคาถูกกว่า คือ 3,600 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน

5. จากสถิติการนำเข้าของ WTA 5 เดือนแรก (มค. — พค.) ของปี 2553 ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 3 (สัดส่วนตลาด 5.32%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ สเปน (สัดส่วนตลาด 22.44%) เยอรมัน (15.51%) ไทย (5.32%) เอกวาดอร์ (5.32%) และบราซิล (4.38%)

ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (สัดส่วนตลาด 2.02%) เวียดนาม (1.01%) อินเดีย (0.47%) ทั้งนี้ในภาพรวมอิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกลดลง — 4.34% แต่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ (แม้จะมีมูลค่านำเข้าไม่มาก)จากหมู่เกาะไซโลมอน (+286.86%) เวียดนาม (+23.63%) อินเดีย (+37.61%) และโรมาเนีย (+146.05%)

2.6.3 เคมีภัณฑ์

การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก (มค. — กค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 16.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่งออกมูลค่า 27.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ - 41.09 เนื่องจาก

1. เป็นสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายรายการ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งภาวะตลาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ยังมีแนวโน้มค่อนข้างแย่ แม้รัฐบาลจะได้ออกมาตรการช่วยเหลือ (In House Plan) สาหรับการซื้อบ้านใหม่ที่มีระบบประหยัดพลังงาน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 แล้วก็ตาม

2. มาตรการ In House Plan ประกอบด้วย แผนที่ 1 มูลค่า 377 ล้านยูโร สำหรับการก่อสร้างบ้าน 50,000 หลัง และแผนที่ 2 สำหรับการขยายบริเวณบ้านของประชาชน ซึ่งคาดว่าจะครอบคลุมมูลค่า 50 พันล้านยูโร และจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถกระตุ้นสภาวะตลาดของภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างให้ฟื้นตัวอย่างชัดเจนได้ เนื่องจากความล่าช้าในการจัดทาระเบียบต่างๆ รวมทั้งความยุ่งยากล่าช้าของระบบการจัดการ และการพิจารณาของแต่ละแคว้นในการช่วยเหลือ

3. ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีกาลังซื้อเพียงพอสาหรับการซื้อบ้านใหม่ อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง ปัญหาการว่างงานที่ยังคงสูง และมาตรการเข้มงวดในด้านงบประมาณรายจ่ายและการเก็บภาษีของรัฐบาล

4. ผลการสารวจของสมาพันธ์อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์แห่งอิตาลี (Federchimica) คาดว่า ในปี 2553 ปริมาณการผลิตเคมีภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น +6% และ 2.5% ในปี 2554 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกในปี 2553 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น +15% และ 4% ในปี 2544 ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศในปี 2553 จะเพิ่มขึ้น 5% และ 1.8% ในปี 2554

5. จากข้อมูลการนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรก (มค.-พค.) ของปี 2553 ของ WTA ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 30 (สัดส่วน 0.19%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด 27.02%) ฝรั่งเศส (13.59%) เนเธอร์แลนด์ (7.97%) สเปน (6.75%) และเบลเยี่ยม (6.54%)

ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ อินโดนีเซีย (สัดส่วนตลาด 1.89%) จีน (1.02%) อินเดีย (0.55%) สิงคโปร์ (0.41%) มาเลเซีย (0.33%) และเกาหลีใต้ (0.29%) ทั้งนี้ ประเทศที่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ สเปน (+167.81%) อาร์เจนตินา (+1,510.53%) อินโดนีเซีย (+193.42%) สิงคโปร์ (+254.88%) มาเลเซีย (+117.30%) และ เกาหลีใต้ (+116.4%)

2.6.4 ยางพารา

การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก (มค.- กค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 64.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่งออก 23.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ +178.69 แต่หากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือนกรกฎาคม 2553 ไทยส่งออกได้ลดลง -39.17% เนื่องจาก

1. ยังคงเป็นช่วงหยุดพักร้อน ซึ่งผู้ประกอบการอิตาลีจะหยุดดาเนินกิจการและปิดโรงงาน และได้มีการสั่งซื้อล่วงหน้าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แล้ว (โดยไทยส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2553 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 23.62%) และจะเริ่มเปิดดาเนินธุรกิจและสั่งซื้อสินค้าอีกครั้งหลังเปิดทาการในเดือนสิงหาคม — กันยายน เป็นต้นไป

2. อย่างไรก็ดี การที่การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก มีอัตราการขยายตัวถึง 178.69% นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการ Cash for clunkers ของรัฐบาล ที่ให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ซื้อรถใหม่ที่ประหยัดน้ามัน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเพิ่งหมดอายุลงเมื่อเดือนมีนาคม 2553 รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่รัฐบาลช่วยเหลือให้แก่ผู้ประกอบการด้านการเกษตรที่ซื้อเครื่องจักรใหม่ ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ

3. ความต้องการสินค้าผลิตภัณฑ์ยางในตลาดต่างประเทศยังมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป อเมริกาใต้ และเอเซีย จึงคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ความต้องการนำเข้ายางพาราธรรมชาติจากไทยยังคงมีแนวโน้มที่ดี

4. อย่างไรก็ดี แม้ว่าตลาดยางพาราในอิตาลีมีการฟื้นตัวที่ดี แต่ยังคงมีความไม่แน่นอน เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ และรองเท้า ยังคงมีแนวโน้มตลาดที่ไม่สดใสนัก โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล (Cash for clunkers) ได้หมดอายุลงเมื่อเดือนมีนาคม 2553 มีผลให้ยอดขายรถใหม่และรถใช้แล้ว ณ เดือนกรกฎาคม ลดลงถึงร้อยละ 25

5. จากข้อมูลการนำเข้ายางพาราธรรมชาติในช่วง 5 เดือนแรก (มค.- พค.) ของ WTA ไทยครองตลาดเป็นอันดับ 1 (สัดส่วนตลาด 35.79%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย (19.75%) มาเลเซีย (12.12%) โคดิวาร์ (8.87%) และฝรั่งเศส (5.44%) ทั้งนี้การนำเข้าจากไทยส่วนใหญ่ (44%) เป็นยางพาราชนิด TSNR (Technical Specified Natural Rubber) เพื่อใช้ทำยางรถยนต์, 25% ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และ 19% ใช้ทำอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยมีราคานำเข้าเฉลี่ย (CIF) 2,945 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ราคานำเข้าเฉลี่ยจากอินโดนีเซียและมาเลเซียอยู่ที่ประมาณ 2,876 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และ 2,766 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ตามลาดับ

3. ข้อคิดเห็น

3.1 คาดว่าการส่งออกของไทยในช่วงครี่งหลังของปี 2553 จะชะลอตัวลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจอิตาลีในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ และมีความเปราะบางอยู่ แม้ว่าในช่วงไตรมาส 2 ของปี2553 เศรษฐกิจอิตาลีมีการขยายตัว 1.1% และ 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมและบริการมีผลประกอบการที่ดี (จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึง 22.8% ในเดือนมิถุนายน 2553)

3.2 นอกจากนี้ปัญหาการว่างงานและหนี้สาธารณะที่ยังคงมีอยู่ รวมทั้งการที่รัฐบาลได้จัดทามาตรการเคร่งครัดด้านรายจ่ายเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ 25 พันล้านยูโร ภายใน 2 ปี (2011-2012) เช่น การปรับระยะเวลาเกษียณอายุของข้าราชการผู้หญิง, การไม่ขึ้นเงินเดือนข้าราชการเป็นเวลา 2 ปี และการตรวจสอบติดตามการหลบเลี่ยงภาษี จะส่งผลให้ประชาชนอิตาลียังคงมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและลดการใช้จ่ายรวมทั้งเพิ่มการออมมากขึ้น

3.3 อย่างไรก็ดี หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ วงเงิน 420 ล้านยูโร สาหรับการจูงใจให้ประชาชนปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Home Improvements) และการซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ (Cleaner Motorbikes) รวมทั้งการปรับปรุงระบบการขนส่ง เช่น ท่าเรือ อากาศยาน ยานยนต์เพื่อการก่อสร้างและเครื่องจักรซึ่งได้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมษายน 2553 สามารถดาเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจนมากขึ้น ก็คาดว่าเศรษฐกิจอิตาลีในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 จะมีการขยายตัว โดยมี GDP เท่ากับ 0.8-1% ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่รัฐบาลอิตาลีได้คาดการณ์ไว้

3.4 สินค้าที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่ ยางพารา เครื่องจักร รถจักรยานต์ยนต์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าต่อเนื่องกับสินค้าที่อิตาลีมีการส่งออกเพิ่มขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ