รายงานเรื่อง "ผลกระทบต่อกรณีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อส่งออกสินค้าไทยมายังอิตาลี"

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 21, 2010 16:25 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจากผลของค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี อยู่ในอัตรา 38-40 บาทต่อ 1 ยูโร ทำให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยมายังอิตาลี โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มุ่งเน้นการใช้ local contents ในประเทศสูง เช่น กลุ่มสินค้าอาหาร เกษตร เป็นต้น

ทั้งนี้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม ได้ดำเนินการสอบถามผู้นำเข้ารายใหญ่ๆ ของอิตาลีในกลุ่มสินค้าต่างๆ ที่นำเข้าจากไทยในอันดับต้นๆ ของอิตาลีต่อผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยสรุปผลได้ดังนี้

1. กลุ่มสินค้าอาหาร (อาหารทะเลแช่แข็ง)

อิตาลีนำเข้าอาหารทะเลแช่แข็งจากทั่วโลกเฉลี่ยปีละเกือบ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยข้อมูลการนำเข้าล่าสุดของ WTA ในช่วง 5 เดือนแรก (มค. — พค.) ของปี 2553 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น 12.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 2 โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ สเปน (สัดส่วนตลาด 24.12%) ไทย (11.67%) ฝรั่งเศส (9.39%) โมรอคโค (9.16%) และอินเดีย (7.44%)

ตลาดอาหารทะเลในอิตาลี แบ่งออกได้เป็นประเภทสดและแช่เยือกแข็ง (Fresh & Chilled) 52%, ประเภทแช่แข็ง (Frozen) 22%, ประเภท Preserved 19% และประเภท Dried, Salted and smoked 7% ซึ่งโดยทั่วไป อาหารทะเลแช่แข็งจะขายในปริมาณมากผ่านช่องทางจาหน่ายประเภทเคเทอริ่ง ส่วนการขายให้ผู้บริโภคโดยตรงจะเป็นการขายแบบแพ็คโดยผ่านร้านค้าหรือห้างขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ประเภทสินค้าที่ตลาดมีความต้องการมาก ได้แก่ ปลาเนื้อขาว ปลาแซลมอน กุ้ง และประเภทหมึก (Squids, Octopus, Cuttlefish เป็นต้น)

ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ เวียดนาม (สัดส่วนตลาด 5.69%) อินโดนีเซีย (3.34%) จีน (1.77%) และเกาหลีใต้ (0.57%) โดยสินค้าที่อิตาลีนำเข้าจากไทยและเวียดนามส่วนใหญ่เป็นปลาหมึกสดแช่แข็ง ส่วนสินค้าหลักที่นำเข้าจากอินเดียเป็นพวกหอย (55%) และปลาหมึก (40%) ในขณะที่สินค้าหลักที่นำเข้าจากอินโดนีเซียเป็นปลาหมึกออคโตปุส และสินค้าที่นำเข้าจากจีนเป็นปลาหมึกแช่แข็ง (70%) และหอย (18%)

ผู้นำเข้าสินค้ากลุ่มอาหารเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเป็นเวลานานหลายปีแล้วและยังคงมีความตั้งใจที่จะนำเข้าสินค้าจากไทยต่อไปสำหรับผลกระทบที่ได้รับคือ เนื่องจากราคาสินค้าไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จึงทำให้ผู้นำเข้าจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าของตนเองให้มากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับราคาต้นทุนที่สูงขึ้นของสินค้าไทย ทั้งนี้ผู้ส่งออกของไทยได้ร้องขอให้ผู้นาเข้าจ่ายเงินค่าสินค้าเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากทำให้ผู้ส่งออกไทยได้รับประโยชน์มากกว่าการจ่ายเป็นเงินสกุลยูโร ดังนั้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 เป็นต้นมาผู้นำเข้าอิตาลีจึงได้เริ่มจ่ายเงินสินค้าเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ผู้นำเข้าเห็นว่าหากค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าไทยในอิตาลีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ผู้บริโภคอิตาเลี่ยนจำเป็นต้องลดภาระค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารลงอาจส่งผลทำให้สินค้าไทยขายได้น้อยลงเนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าจากประเทศคู่แข่งแทน

ผู้นำเข้ายังเห็นว่านอกจากผู้ส่งออกไทยต้องให้ความสำคัญในเรื่องราคาที่ต้องแข่งขันได้ และต้องรักษาภาพลักษณ์ในด้านคุณภาพของสินค้า ควรเน้นผลิตสินค้าที่มี Value added มากกว่า เพื่อมิให้เกิดการแข่งขันในด้านราคาเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากจีนและเวียดนาม ซึ่งมีราคาถูกกว่า โดยราคานำเข้า (CIF) สินค้าของไทยเฉลี่ยตันละ 4,000 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่สินค้านำเข้าจากอินเดีย เวียดนามและอินโดนีเซียมีราคาเฉลี่ย (CIF) ต่อตันประมาณ 2,900 เหรียญสหรัฐฯ

2. สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ

อิตาลีนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลกเฉลี่ยปีละเกือบ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจากข้อมูลการนำเข้าของอิตาลีในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 (มค. — พ.ค.) ปรากฏว่า ไทยครองตลาดเป็นอันดับ 14 (สัดส่วนตลาด 1.21 %) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ (25.62 %) แอฟริกาใต้ (13.02 %) สหรัฐอเมริกา (9.81 %) ฝรั่งเศส (8.6 %) และเยอรมัน (7.26 %) ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 อิตาลีนำเข้าจากตลาดรัสเซียเพิ่มสูงขึ้นถึง 905.51 % ซึ่งเป็นการนำเข้าทองถึงร้อยละ 80.04 % และนำเข้าจากสเปนเพิ่มขึ้นถึง 330.88 % (เป็นการนำเข้าทองถึงร้อยละ 50.09) ส่วนการส่งออกของอิตาลีในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ได้มากขึ้น โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป ยูไนเต็ดอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐ และฮ่องกง

ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (อันดับที่ 8 สัดส่วนตลาด 2.82 %) ฮ่องกง (0.91 %) อินเดีย (1.30 %) รัสเซีย (2.54 %)

ผู้นำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนสินค้าเช่นเดียวกัน เนื่องจากราคาสินค้าไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-25 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ผู้นำเข้าเพิ่มราคาสินค้าของตนเองมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้นำเข้าแจ้งว่าหากผู้ส่งออกของไทยยังไม่สามารถลดราคาสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ ประกอบกับค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลให้ผู้นาเข้าหันไปสั่งซื้อสินค้าจากประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่า เช่น ฮ่องกง เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีนแทน (ราคาสินค้าต่ากว่าประมาณร้อยละ 30) โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน

ผู้นำเข้าได้แนะนาว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรคานึงถึงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้แก่ การคงราคาที่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนรูปแบบในการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ตลาดระดับบน ที่ลูกค้ามีความสามารถในการใช้จ่ายสูงและไม่ต้องผลิตสินค้าหลากหลายรูปแบบมากนัก และตลาดระดับกลาง — ล่าง ที่มีลูกค้าประเภทเด็กรุ่นใหม่ และลูกค้าชั้นกลางที่มีกาลังซื้อและชอบใช้เครื่องประดับจิวเวลรี่ที่เป็นแฟชั่นและเปลี่ยนสไตล์ในแต่ละวัน

ที่ผ่านมาผู้ประกอบการอิตาลีมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโดยการผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดบางรายยังคงรักษา Brand และตลาดที่เป็น Niche Market บางรายผลิตสินค้าที่มีแฟชั่นดีไซน์เฉพาะตัวสาหรับตลาดขนาดกลางแบบ mass market และบางรายผลิตสินค้าที่เป็นแบบ “ useful jewelry ” และ “Easy - jewelry” คือสวมใส่ง่ายในราคาและคุณภาพที่ดี ซึ่งมิใช่เฉพาะวัตถุดิบแต่รวมถึงนวัตกรรมการออกแบบและดีไซน์ใหม่ๆ ในขณะที่ผู้บริโภคก็มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นและต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งผลิต คุณภาพและลักษณะเฉพาะของสินค้ามากขึ้น

3. สินค้าเฟอร์นิเจอร์

อิตาลีนาเข้าเฟอร์นิเจอร์จากทั่วโลกเฉลี่ยปีละเกือบ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจากข้อมูลการนำเข้าของอิตาลีในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 (มค. — พ.ค.) ปรากฏว่า ไทยครองตลาดเป็นอันดับ 27 (สัดส่วนตลาด 0.79 %) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ จีน (27.98 %) เยอรมัน (15.16 %) โรมาเนีย (6.59 %) โปแลนด์ (6.37 %) และฝรั่งเศส (5.59 %)

ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

ผู้นำเข้าสินค้ากลุ่มเฟอร์นิเจอร์พบว่าราคาสินค้าไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-20 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นปี 2553 จึงทาให้หันมาใช้นโยบายลดปริมาณการนาเข้าสินค้าจากไทยลงร้อยละ 10 ในขณะเดียวกันผู้นาเข้าได้เพิ่มราคาขายสินค้าไทยขึ้นอีกร้อยละ 5-10 อีกด้วย ซึ่งเป็นการเสี่ยงอย่างมากที่ส่งผลกระทบต่อยอดการขายสินค้าไทยให้แก่ผู้บริโภคอิตาเลี่ยนเป็นอย่างมาก (กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจอย่างมากในอิตาลี)

นอกจากส่งผลต่อราคาต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้นแล้ว ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นยังส่งผลกระทบต่อราคาค่าขนส่งสินค้าเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย (สูงขึ้นประมาณร้อยละ 10) เนื่องจากสินค้าเฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าที่ต้องขนส่งทางเรือโดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในด้านการขนส่งร้อยละ 40 ของราคาต้นทุนสินค้า

4. สินค้ากลุ่มของใช้ของตกแต่งบ้าน

อิตาลีนำเข้ากลุ่มสินค้าของใช้ของตกแต่งบ้าน (เครื่องใช้เซรามิค เครื่องแก้ว ของใช้ทำจากไม้ ดอกไม้ประดิษฐ์ และของเล่น) จากทั่วโลกเฉลี่ยปีละ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจากข้อมูลการนำเข้าของอิตาลีในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 (มค.—พ.ค.) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ จีน เยอรมัน โปแลนด์ ฝรั่งเศส และ เนเธอร์แลนด์

ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ไต้หวัน อินเดีย และฮ่องกง

ผู้นำเข้าสินค้ากลุ่มนี้เริ่มได้รับผลกระทบแล้วตั้งแต่ต้นปี 2553 แต่เริ่มมีผลอย่างมากในช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นร้อยละ 20 (สำหรับกลุ่มผู้ส่งออกที่ต้องการเพิ่มราคาสินค้าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เสียไป) และร้อยละ 30-40 (สำหรับกลุ่มที่ต้องการเพิ่มราคาสินค้าทั้งหมดเพื่อชดเชยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น)

จึงทำให้ผู้นำเข้าลดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าลงไปร้อยละ 10-20 และเริ่มวางแผนนโยบายทดแทนแหล่งนำเข้าจากประเทศในเอเชียอื่นๆ ได้แก่ จีน มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย

ทั้งนี้ผู้นำเข้าได้เพิ่มราคาขายสินค้าไทยในอิตาลีขึ้นอีกร้อยละ 15-20 เพื่อรักษาผลกาไรเอาไว้บ้าง แม้นจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อยอดการขายสินค้าก็ตาม แต่เนื่องจากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันก็ไม่สามารถเพิ่มราคาขายได้มากกว่านี้แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าของใช้ของตกแต่งบ้าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนมากเนื่องจาก คำสั่งซื้อมักจะเป็นคาสั่งซื้อที่มีมูลค่าไม่สูงมากและมีความหลากหลายของสินค้า

สรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

จะเห็นได้ว่าการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นส่งผลให้ต้นทุนราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง จึงทาให้ราคาขายของสินค้าไทยในตลาดเพิ่มสูงขึ้นตามลาดับ จึงเป็นการผลักภาระให้แก่ผู้บริโภคในตลาดให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังคงมีผลอย่างต่อเนื่องต่อภาวะเศรษฐกิจอิตาลีโดยรวมที่ยังคงขยายตัวอย่างช้าๆ โดยในไตรมาส 2 ของปี 53 GDP ของอิตาลีมีการขยายตัว + 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2553 และ +1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ในขณะที่ภาคเกษตรมีมูลค่าลดลง ความต้องการซื้อภายในประเทศยังค่อนข้างต่ำ อันเนื่องมาจากปัญหาการว่างงานที่ยังคงเพิ่มขึ้น รายได้และกาลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบจากมาตรการเข้มงวดด้านงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล

ล่าสุดจากการสารวจของสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกแห่งอิตาลี (Confcommercio) พบว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในตลาดอิตาลียังคงชะลอตัว โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ร้อยละ 60.4 ของคนอิตาลีได้ลดการทานอาหารเย็นนอกบ้านลง ร้อยละ 58.5 จะซื้อสินค้าที่จำหน่ายภายใต้แบรนด์ของผู้จัดจาหน่าย เช่น ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า และร้อยละ 56.9 ลดการใช้จ่ายประเภทสิ่งบันเทิง

ดังนั้นหากสินค้าไทยมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะส่งผลต่อปริมาณการบริโภคของผู้บริโภคชาวอิตาเลี่ยนอย่างแน่นอน และทาให้ผู้นาเข้าหันไปนำเข้าสินค้าทดแทนจากคู่แข่งที่มีราคาสินค้าที่แข่งขันได้ ทั้งนี้เห็นได้จากการนำเข้ากลุ่มสินค้าเครื่องประดับและของใช้ของตกแต่งบ้าน/เฟอร์นิเจอร์ที่ผู้นำเข้าได้เริ่มนำเข้าจากประเทศคู่แข่งมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผู้นำเข้าเห็นว่าภาครัฐคงไม่สามารถควบคุมความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้จากการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้นหากเป็นไปได้ภาครัฐควรเสาะหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกสามารถลดต้นทุนสินค้าลง ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า การลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ การช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและการสร้างแบรนด์สินค้าในอนาคต เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ