1. จำนวนการผลิตรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งแยกตามผู้ผลิต ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2553
Production (Motor Vehicle) Type / Manufacturer Jan 2010-Jun 2010
Passenger Cars Trucks Buses Grand Total Standard Small Mini Total Standard Small Mini Total Large Small Total TOYOTA 196,792 72,049 - 268,841 9,871 10,009 - 19,880 - 8,146 8,146 296,867 NISSAN 50,193 39,030 - 89,223 5,580 4,875 - 10,455 - 793 793 100,471 MAZDA 63,933 15,064 - 78,997 80 1,876 - 1,956 - - - 80,953 MITSUBISHI 39,156 3,449 5,862 48,467 327 195 5,678 6,200 - - - 54,667 ISUZU - - - - 15,488 3,071 - 18,559 214 2 216 18,775 DAIHATSU - 4,745 42,823 47,568 250 - 12,926 13,176 - - - 60,744 HONDA 28,061 43,966 12,747 84,774 - 141 2,658 2,799 - - - 87,573 SUBARU 37,368 - 1,818 39,186 - - 5,024 5,024 - - - 44,210 UD TRUCKS - - - - 2,210 823 - 3,033 25 - 25 3,058 HINO - - - - 8,488 172 - 8,660 442 31 473 9,133 SUZUKI 16,351 15,559 50,987 82,897 - 1,152 13,872 15,024 - - - 97,921 GM JAPAN - - - - - - - - - - - - MITSUBISHI FUSO - - - - 5,488 777 - 6,265 161 127 288 6,553 Others - - - - 120 - - 120 - - - 120 TOTAL 431,854 193,862 114,237 739,953 47,902 23,091 40,158 111,151 842 9,099 9,941 861,045 ข้อมูลจาก Japan Automobile Manufacturer Association 2. ความเคลื่อนไหวที่สำคัญในตลาดรถยนต์ญี่ปุ่น บริษัทมิตซึบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี้ (Mitsubishi Heavy Industry) มีแผนที่จะเพิ่มการผลิตเทอร์โบชาร์ตเจอร์ ในโรงงานที่ประเทศไทยเป็น 2 เท่า (จากจำนวนผลิตเดิม 1 ล้านเครื่อง) ภายในเวลา 1 ปี สาเหตุสำคัญในการเพิ่มการ ผลิตเครื่องยนต์ดังกล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการปล่อยก๊าซเสียของยานพาหนะในกลุ่มประเทศยุโรป ที่มีความเข้มงวดขึ้น ทำให้รถยนต์ค่ายต่างๆหันมาสนใจในการติดตั้ง เทอร์โบฯซึ่งสามารถนำนำก๊าซเสียกลับมาสร้างพลังงาน ให้เครื่องยนต์ต่อได้อีก นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ในยานพาหนะ ในปัจจุบันประเทศไทยยังเป็นฐานผลิตชิ้นส่วน สำคัญในเทอร์โบคือ cartridge ซึ่งเป็นส่วนประกอบใน Turbine และ compressor ซึ่งผลิตมากกว่าปีละ 3 ล้านชิ้นซึ่งมาก กว่าประเทศญี่ปุ่นเสียอีก แต่ทว่าปัญหาการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินเยน ยังส่งผลกระทบเสียกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่โดยไม่มีท่าที ว่ารัฐบาลจะหามาตรการแก้ไขปัญหานี้ลงได้ ประธานบริษัทฮอนด้ากล่าวว่าหากสถานการณ์เงินเยนยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ฮอนด้าอาจ ไม่สามารถคงฐานการผลิตในประเทศญี่ปุ่นไว้ได้เนื่องจากราคาต้นทุนสินค้าจะสูงมากจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ หากมีการ ย้ายฐานการผลิตมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบโดยตรงกับอัตราการว่างงานในประเทศ และจะเกิดเป็นปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นอีกระดับหนึ่ง จากการวิเคราะห์ของนักวิชาการให้ข้อสังเกตว่า ปัญหาค่าเงินเยนฯในขณะนี้มีความแตกต่างจากปัญหาการแข็งค่า เงินเยนในปี 1995 ซึ่งขณะนั้นเป็นปัญหาที่เกิดจากการบริหารจัดการของบริษัทในญี่ปุ่นเองที่ก่อให้เกิด production cost ที่สูง แต่ในปัจจุบันทุกๆบริษัทก็ได้ทำการ restructuring หมดแล้ว กล่าวคือปรับปรุงการจัดการภายในได้ทำให้ production cost ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ทางแก้ไขที่เหลือเพียงทางเดียวคือการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ ซึ่งการย้ายฐานในครั้งนี้ไม่ใช่ การย้ายฐานการผลิตระดับแรงงานเท่านั้น แต่จะเป็นการย้ายทั้งระบบครบวงจร รวมถึงส่วนวิจัย และส่วนที่ผลิตสินค้านวัตกรรม state-of-the-art ซึ่งไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะต้องย้ายออกจากประเทศญี่ปุ่นด้วย ตัวอย่างหลักฐานที่เห็นคือ การตั้งบริษัท Renesas Corp. ที่เกาะไต้หวันโดยความร่วมมือของ NEC Electrics Corp.ญี่ปุ่น ที่กำลังย้ายการผลิตแผงวงจรรุ่นใหม่จาก ญี่ปุ่นไปไต้หวันซึ่งเมื่อสิ้นสุดโครงการ โรงงานผลิตแผงวงจรในญี่ปุ่นจำนวน 2 โรงจะกลายเป็นโรงงานที่ผลิตชิ้นส่วนสนับสนุนไป และโรงงานหลักจะอยู่ในเกาะไต้หวัน อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการที่บ.นิสสันใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์มาร์ชส่ง กลับมาขายยังประเทศญี่ปุ่น (ปัจจุบันเป็นรถยนต์นำเข้าที่มียอดขายอันดับ 1 ของญี่ปุ่นโดยขายได้มากกว่าเดือนละ 5 พันคัน) 3. ความเคลื่อนไหวที่สำคัญของผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ เนื่องจากอนาคตของบริษัทรถยนต์ในปัจจุบันขึ้นอยู่กับ Eco car และ EV car บริษัทผู้ผลิต Battery ซึ่งเป็นหัวใจ สำคัญของการให้พลังงานขับเคลื่อนให้กับรถยนต์ดังกล่าวจึงเร่งคิดค้นเทคโนโลยีหลายอย่างเพื่อพัฒนาให้รถยนต์พลังงานใหม่นี้ สามารถผลิตในลักษณะ Mass-production ได้ และสามารถออกขายในตลาดได้จริง โดยแต่ละบริษัทได้มีการพัฒนาการผลิต Battery ดังนี้ - บ. Mitsubishi Chemical กำลังพัฒนา Battery ที่สามารถชาร์ตได้เร็วกว่าแบบเดิมถึง 50% ซึ่งอาศัยการ ชาร์ตไฟเพียงครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอสำหรับการเดินทางถึง 100 กิโลเมตร - บ. Toda Kyogo Corp. ร่วมกับสำนักงานพลังงานในสหรัฐฯพัฒนา เทคโนโลยีในการเพิ่มความจุของ Battery โดยใช้สารเคมีพิเศษใน cathodes ซึ่งจะสามารถส่งกำลังให้รถยนต์เดินทางได้ระยะทางไกลขึ้นถึง 50 % - บ. Zeon Corp. กำลังพัฒนา Battery ซึ่งเหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเครื่องมือใหม่นี้ได้ ทดสอบแล้วว่าสามารถเก็บประจุไฟได้มากกว่า Battery ทั่วไป ถึง 30% ในอุณหภูมิ -10 องศาฯ ซึ่งอากาศหนาวเย็นได้เป็น อุปสรรคของการชาร์ตไฟฟ้าใน Battery มาโดยตลอด - บ. GS Yuasa ได้ประสบความสำเร็จในการ ใช้ Lithium Iron Phosphate ในการผลิต Battery ซึ่ง ส่งผลให้ราคา battery ถูกลง พร้อมทั้งประสิทธิภาพในการเก็บประจุไฟฟ้าและอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้น จากการทดสอบเมื่อ เปรียบเทียบกับ Battery จาก Manganese แล้วการเก็บประจุฯจะลดลงเหลือ 68 % หลังการชาร์ต 1 พันครั้ง ขณะที่ Battery ของ GS Yuasa จะมีการเก็บประจุที่ 90 % นั่นหมายความว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถขยายอายุการใช้งานของ Battery ได้ถึง 10 ปี อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ดีภายใต้อุณหภูมิ -30 องศาอีกด้วย Mitsubishi Motors Corp. เปิดขายรถยนต์ EV เป็นครั้งแรกในชื่อ i-MiEV ในเดือนกรกฎาคม 2552 แต่ปัญหาสำคัญของรถยนต์ดังกล่าวคือ Battery ซึ่งยังไม่สามารถให้พลังงานที่เหมาะสมและจำนวนที่น่าพอใจ แต่จากการแข่งขัน ที่มีการพัฒนา Battery ในรูปแบบต่างๆ คาดว่าอนาคตของรถ EV จะต้องเป็นที่น่าจับตามอง 4. ความเคลื่อนไหวของผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นในประเทศไทย Toyota Motor Corp. เปิดเผยว่าบริษัทมีแผนที่จะใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์รุ่น PRIUS โดยอาจ เริ่มการผลิตภายในปี 2553 นี้เลย นับว่าเป็นรถยนต์ไฮบริดรุ่นที่สองแล้วนับจาก โตโยต้า คัมรี ที่ผลิตในประเทศไทย อย่างไร ก็ตาม Toyota Motor (Thailand) จะมีหน้าที่ในการประกอบเท่านั้น ชิ้นส่วนหลักต่างๆ และ Battery ยังคงส่งตรงมา จากโรงงานในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศไทยจะเป็นประเทศที่สามนับจาก ญี่ปุ่น และจีน ที่ได้ผลิตรถยนต์ PRIUS ซึ่งเป็นรถยนต์ รุ่นที่สำคัญที่สุดของโตโยต้าในขณะนี้ นับตั้งแต่การเปิดตัว PRIUS ในปี 1997 โตโยต้าได้จำหน่ายรถยนต์ดังกล่าวนี้กว่า 2.68 ล้านคันแล้วทั่วโลก สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โอซากา ที่มา: http://www.depthai.go.th