ประเทศเซเนกัล ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก มีประชากรปัจจุบัน ประมาณ 13 ล้านคน มูลค่า GDP ณ ปี 2552 ประมาณ 23.16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของ GDP ร้อยละ 5.1 ทั้งนี้มีมูลค่า การค้าระหว่างประเทศ ในฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในลำดับที่ 122 และ 106 ของโลก ตามลำดับ โดย มีส่วนแบ่งการตลาดในฐานะประเทศผู้ส่งออกร้อยละ 0.03 และในฐานะประเทศผู้นำเข้าร้อยละ 0.04 ของมูลค่าการค้า ของโลก
ในปี 2552 เซเนกัลมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกทั้งสิ้น 4,713 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับ ปีก่อนหน้าที่มีการนำเข้ามูลค่า 6,528 ล้านเหรียญสหรัฐฯแล้ว ลดลงร้อยละ 27.8 ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะวิกฤตน้ำมันและ เกิดภาวะเศรษฐกิจชงักงันทั่วโลก ซึ่งมีผลกระทบกับทุกประเทศ โดยสินค้านำเข้าหลักของเซเนกัล ประกอบด้วยสินค้า ประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง ประมาณร้อยละ 23.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด รองลงไปได้แก่ น้ำมัน เชื้อเพลิงทั้งที่เป็นน้ำมันดิบ และน้ำมันที่กลั่นแล้ว(23.2%) สินค้าประเภทสินค้าอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ (21.5 %) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาประเภทชนิดสินค้าที่นำเข้า สินค้าข้าว(พิกัด HS. 1006) จะเป็นสินค้านำเข้ามี มูลค่าสูงเป็นลำดับ 3 รองจากสินค้าน้ำมันปิโตรเลียมที่กลั่นแล้ว(พิกัด HS. 2710) และสินค้าน้ำมันปิโตรเลียมดิบ (พิกัด HS. 2709)
ขนาดตลาด(เมตริกตัน) ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 1. ผลผลิต 193,379 378,623 408,219 2. การนำเข้า 1,056,432 1,012,887 771,762 3. การส่งออก 74,118 20,176 94,018 4. การบริโภค 1,175,693 1,371,334 1,085,963
ปัจจุบันประชากรของประเทศเซเนกัล แม้ว่าจะมีเพียงประมาณ 13 ล้านคน แต่เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวราย ใหญ่อันดับ 10 ของโลก ความต้องการบริโภคข้าวภายในประเทศมีประมาณปีละ 1 ล้านเมตริกตันเศษ รัฐบาลได้ให้ความ สำคัญอย่างยิ่งในการผลิตข้าวในประเทศ โดยยึดถือนโยบาย Self-sufficiency เพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศเซเนกัลยังต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศประมาณร้อยละ 70-80 ของความต้องการบริโภคภายในประเทศ ทั้งหมด
การใช้นโยบาย Self-sufficiency ถือเป็นนโยบายเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร เนื่องจากข้าวเป็นธัญพืช สำคัญที่ประชากรในประเทศนิยมบริโภคมากกว่าธัญพืชอื่นๆ ประกอบกับในปี 2551 ราคาข้าวในตลาดโลกได้พุ่งขึ้นสูงเกือบ 3 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า อันเนื่องมาจากวิกฤตราคาน้ำมัน และผลจากการใช้ธัญพืชอาหาร เช่น ข้าวโพด ไปผลิต เป็นพืชพลังงานทดแทนน้ำมัน เป็นต้น เป็นผลให้ความต้องการข้าวในตลาดโลกมีมากขึ้นและเกิดการขาดแคลน รัฐบาลเซเนกัล จึงได้เร่งดำเนินการเพื่อจะได้สามารถพึ่งพาตนเอง โดยไม่หวังพึ่งการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ โดยมีโครงการต่างๆ เช่น Grand Offensive for Food and Abundance, The National Program for Rice Self-Sufficiency และ The National Strategy for the Development of Rice Cultivation รวมทั้งมีการเชิญชวนให้สหรัฐ อเมริกาเข้ามาลงทุนในประเทศ เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างระบบชลประทาน การให้การสนับ สนุนและการฝึกอบรมเกษตรกรรายย่อย เป็นการเพิ่มทักษะแก่เกษตรกรและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่ จะลดการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศให้เหลือประมาณร้อยละ 40 ของการบริโภคข้าวภายในประเทศในปี 2020
เซเนกัล มีการส่งออกข้าวไปต่างประเทศบ้าง แต่ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นการ Re-export ข้าวที่นำเข้า จากต่างประเทศ โดยมีการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น กินี-บิสเชา, มาลี และแกมเบีย เป็นต้น
การจำหน่ายข้าวในตลาดเซเนกัล แบ่งออกได้เป็น 3 ช่องทาง คือ
2.1 เป็นการดำเนินงานโดยเครือข่ายของพ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีกที่มีกำลังการซื้อสูง โดยจะมีบทบาทในการ จำหน่ายข้าวที่นำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งหมด รวมทั้งจำหน่ายข้าวที่มีคุณภาพในประเทศ ซึ่งผลิตในเขตชลประทานซึ่งจะ มีปริมาณประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตข้าวทั้งหมดในเขตชลประทาน และลูกค้าหรือผู้บริโภคทั้งหมดจะเป็นประชากรใน เขตเมืองหรือบริเวณใกล้เคียงเนื่องจากมีฐานะดี และพอมีกำลังการซื้อข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงเมื่อ เปรียบเทียบกับราคาข้าวที่ผลิตในประเทศ
2.2 เป็นช่องทางการจำหน่ายข้าวสำหรับลูกค้าที่ยากจนหรืออยู่ในเขตชนบท โดยเป็นการจำหน่ายข้าวที่ ผลิตในประเทศในเขตชลประทานที่เหลือประมาณ 2 ใน 3 ของผลผลิต ทั้งนี้ พ่อค้าขายปลีกจะมีทุนน้อยกว่าช่องทางแรก และมักรู้จักและเป็นกันเองกับผู้ซื้อ พ่อค้าขายปลีกก็จะเป็นเกษตรกรเองด้วยก็มี หมายถึงเป็นผู้ผลิตข้าวในเขตชลประทาน และนำผลผลิตของตนไปขายแก่ผู้บริโภค ซึ่งการจำหน่ายในแต่ละครั้งจะมีปริมาณไม่มากนัก
2.3 เป็นช่องทางสำหรับการจำหน่ายข้าวที่ผลิตในประเทศนอกเขตชลประทาน ผลผลิตข้าวขึ้นกับน้ำฝนตาม ธรรมชาติ ซึ่งไม่สม่ำเสมอ และคุณภาพข้าวค่อนข้างต่ำเพราะขาดน้ำ ทั้งนี้ผลผลิตข้าวในประเทศเซเนกัล จะประกอบไป ด้วยผลผลิตข้าวในแหล่งชลประทานประมาณร้อยละ 70 และนอกเขตชลประทานประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตรวมทั้ง ประเทศ ลูกค้าส่วนใหญ่จะยากจนและผู้ค้าปลีกมักจะเป็นผู้ผลิตหรือเกษตรกรเอง ทั้งนี้ผู้บริโภคมักจะบริโภคธัญพืชอื่น ๆ มากกว่า เพราะมีราคาถูกกว่าข้าว การซื้อข้าวบางครั้งจะซื้อไปเพื่อผสมกับธัญพืชหรืออาหารอื่น หรืออาจจะซื้อไปประกอบ อาหารในช่วงเทศกาล ซึ่งใช้ในปริมาณไม่สูงนัก
ประชากรในทวีปแอฟริกาส่วนใหญ่ แต่เดิมไม่ใช่เป็นผู้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ทั้งนี้มีอาหารและธัญพืชอื่น ๆ ที่มีราคาถูกกว่าข้าวบริโภคแทน เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย มัน(Yams) กล้วย และอื่นๆ เป็นต้น ปัจจุบัน ข้าว เริ่มจะมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากสามารถจะซื้อหาได้ตลอดเวลาในตลาด ส่วนธัญพืชอื่นๆ จะมีเฉพาะในช่วงฤดูการผลิต เป็นส่วนใหญ่ คนรุ่นใหม่เริ่มหันนิยมมากขึ้นเพราะหาซื้อได้ง่ายและรสชาดของข้าวจะดีกว่าธัญพืชอื่นๆโดยเปรียบเทียบ
ปัจจุบัน ข้าวเป็นธัญพืชหลักที่บริโภคของชาวเซเนกัล คาดกันว่า ชาวเซเนกัลมีการบริโภค ข้าว โดยเฉลี่ย ปีละ 74-93 กิโลกรัม/คน ประชากรในเขตเมือง เมื่อเปรียบเทียบการบริโภคธัญพืชทั้งหมด จะเป็นการบริโภคข้าวร้อย ละ 54 และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนจะเป็นการค่าใช้จ่ายซื้อข้าวเพื่อบริโภคร้อยละ 18 สำหรับประชากรที่อาศัยในเขต ชนบทจะมีการบริโภคข้าวร้อยละ 24 ของการบริโภคธัญพืชทั้งหมด และค่าใช้จ่ายในครัวเรือนจะเป็นค่าใช้จ่ายในการ ซื้อข้าวเพื่อบริโภคร้อยละ 25
ราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศของเซเนกัล โดยเฉลี่ย มีดังนี้
4.1 ข้าวบาสมาติและข้าวหอมมะลิบรรจุถุงมากกว่า 5 กก. ราคา 1.04 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม
4.2 ข้าวขาวบรรจุถุงขนาด 5 กก.หรือน้อยกว่า ราคา 0.53 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม 4.3 ข้าวหัก ราคา 0.37 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม 5. ส่วนแบ่งตลาดข้าวของไทยและประเทศคู่แข่งขันในเซเนกัล
ปี 2551 ปี 2552 ส่วนแบ่งตลาด(ร้อยละ) ส่วนแบ่งตลาด(ร้อยละ) ลำดับประเทศ ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปี 2551 ปี 2552 ผู้ส่งออก (เมตริกตัน) (USD) (เมตริกตัน) (USD) ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 1. ประเทศไทย 617,976 394,889,096 400,789 189,716,404 61.01 61.11 61.93 58.03 2. เวียดนาม 102,144 63,194,315 188,250 67,912,742 10.08 9.78 24.39 20.77 3. บราซิล 84,572 56,842,902 83,962 31,099,505 8.35 8.80 10.88 9.51 4. อาร์เจนตินา 11,153 6,793,588 46,662 18,535,464 1.10 1.05 6.05 5.67 5. อุรุกวัย 64,955 42,166,173 22,380 8,622,855 6.41 6.53 2.90 2.64 6. ปากีสถาน 35,737 24,203,813 24,654 8,418,310 3.53 3.75 3.19 2.58 7. สหรัฐฯ 22,255 14,217,392 2,588 1,461,917 2.20 2.20 0.34 0.45 8. จีน 1 415 1,496 742,148 0 0 0.19 0.23 9. อียิปต์ 12,809 6,153,590 580 198,804 1.26 0.95 0.08 0.06 10. อินเดีย 16,412 8,539,787 250 100,931 1.62 1.32 0.03 0.03 11. อื่นๆ 44,874 29,208,112 151 95,733 4.43 4.52 0.02 0.03 รวม 1,012,887 646,209,183 771,762 326,904,813 100.00 100.00 100.00 100.00 ที่มา: United Nations Statistics Division , Commodity Trade Statistics Database (COMTRADE) จากข้อมูลทางการล่าสุด ซึ่งมีเพียง ณ สิ้นปี 2552 เซเนกัลมีการนำเข้าข้าวทั้งสิ้น 771,762 เมตริกตัน มูลค่า 326.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าแล้ว ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 23.81 และร้อยละ 49.41 ตามลำดับ เนื่องจากวิกฤตการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดภาวะเศรษฐกิจชงักงันทั่วโลก เป็นผลให้ทุก ประเทศชลอการนำเข้า รวมทั้งประเทศเซเนกัลด้วย อนึ่ง ข้าวที่นำเข้าเพื่อจำหน่ายในประเทศของเซเนกัล ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวหัก(พิกัด HS.100640) รองลง ไปได้แก่ข้าวขาว (พิกัด HS. 100630) ข้าวเปลือก (พิกัด HS. 100610) และข้าวกล้อง(พิกัด HS 100620) ตามลำดับ ในปี 2552 เซเนกัลมีการนำเข้า ข้าวหัก ปริมาณทั้งสิ้น 766,403 เมตริกตัน มูลค่า 323.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีปริมาณและมูลค่าการนำเข้าข้าวชนิดนี้เท่ากับ ร้อยละ 99.01 และ 99.09 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมด โดย ไทยครอง ส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 51.99 และ 58.16 ของปริมาณและมูลค่าการนำเข้าข้าวหักทั้งหมด ตามลำดับ รองลงไป ได้แก่ เวียดนาม(24.52% , 20.93%) บราซิล(10.96% , 9.60%) อาร์เจนตินา(6.09% , 5.72%) อุรุกวัย(2.92% , 2.66%) และปากีสถาน(3.22% , 2.60%) ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าข้าวขาว มีปริมาณทั้งสิ้น 2,830 เมตริกตัน และมูลค่า 1.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย ประเทศไทยครองส่วนแบ่งตลาด เป็นอันดับหนึ่ง ทั้งปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 81.27 และ 85.73 ของปริมาณและมูลค่าการ นำเข้าข้าวขาวทั้งหมด รองลงไปได้แก่ เวียดนาม (12.30% ,6.39%) และสหรัฐอเมริกา(5.58% , 4.68%) ตามลำดับ ส่วนปริมาณและมูลค่าการนำเข้าข้าวเปลือกและข้าวกล้อง มีเพียงเล็กน้อย ในระยะครึ่งแรกของปี 2553 เซเนกัล มีการนำเข้าข้าว ทั้งสิ้น 316,517 เมตริกตัน มูลค่า 120.65 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าตลอดทั้งปี 2553 ประเทศเซเนกัล จะมีการนำเข้าข้าวทั้งสิ้นประมาณ 900,000 — 950,000 เมตริกตัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากภาวะฝนตกหนักภายในประเทศ ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรและธัญพืชเสียหายแม้ว่า ประเทศ ไทยจะยังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่ง แต่อัตราส่วนแบ่งตลาดจะลดลง ทั้งนี้เป็นผลจากการค่าของเงินด่องของเวียดนาม รวมทั้งความสามารถในการส่งออกมีมากขึ้น ในประเทศบราซิล อาร์เจนตินา อียิปต์ และอุรุกวัย 6. มาตรการด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี ปกติประเทศเซเนกัล เป็นประเทศสมาชิก West African Economic and Monetary Union (WAEMU) ได้ กำหนดภาษีการนำเข้าตาม WAEMU’s Common External Tariff (CET) โดยกำหนดภาษีไว้ 4 กลุ่มสินค้า กล่าวคือ สินค้าสำคัญจำเป็นหรือสินค้าปัจจัยขั้นพื้นฐาน(Essential goods) กำหนดภาษีไว้ 0 % สินค้าสำคัญ ประเภทสินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุนและสินค้าปัจจัยการผลิตตามที่กำหนด(กำหนดไว้ 5 %) สินค้ากึ่งสำเร็จรูป(Intermediate goods and input กำหนดไว้ 10%) และสินค้าสำเร็จรูป(กำหนดไว้ 20%) นอกจากกำหนดภาษีการนำเข้าตาม CET แล้ว ประเทศเซเนกัลและประเทศสมาชิกอื่นๆ ยังมีการเรียกภาษีและ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ อาทิ การเก็บภาษี VAT กับสินค้านำเข้าซึ่งเท่ากับการเก็บภาษีการค้าในประเทศคือ 18% ของราคา C.I.F. รวมทั้งการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอื่นๆอีก ประมาณ 2 — 2.5 เปอร์เซนต์ เพื่อคุ้มครองสินค้าเกษตรกรรมที่ผลิตในประเทศ เซเนกัลมีการเก็บภาษีพิเศษ เช่น น้ำตาล แป้งสาลี และน้ำมัน จากถั่วลิสง เป็นต้น ซึ่งกำหนดไว้ 10% การเก็บภาษีการนำเข้าข้าว กำหนดไว้ร้อยละ 20 ของราคา C.I.F. อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2006 — 2008 ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาค่าครองชีพของประชาชน และลดต้นทุนการนำเข้าของผู้นำเข้า รัฐบาลได้ยกเลิกการเก็บภาษีการนำเข้าข้าวเป็นการชั่วคราว โดยมีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2007 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลให้การ นำเข้าข้าวของเซเนกัลเพิ่มขึ้นโดยตลอดในช่วง 3 ปี ดังกล่าว เนื่องจากข้าว เป็นสินค้าจำเป็นสำหรับการครองชีพ จึงถูกกำหนดให้เป็นสินค้าหนึ่งในสินค้าควบคุม ซึ่งอยู่ในการ กำกับดูแลของ Market Regulation Board ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้กำหนดระเบียบในด้านการตลาดและชี้นำแล้ว ยังมีหน้าที่ ในการควบคุมสินค้านำเข้า ไม่ให้มีผลกระทบต่อการจำหน่ายสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตได้ในประเทศ เช่น กรณีสินค้าหัวหอม จะ ห้ามนำเข้าในช่วงเดือนเมษายน — สิงหาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการช่วยเกษตรกรในประเทศที่ผลผลิตหัวหอมจะออกมาในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าข้าว ยังขาดแคลนอีกมาก สินค้าข้าว จะเป็นสินค้าที่ถูกกำหนดมาตรฐาน ในเรื่องของคุณภาพ คุณสมบัติและความชื้น ตามมาตรฐานสากล โดยกำกับดูแลและดำเนินการตามระเบียบของกระทรวงอุตสาหกรรมเซเนกัล กรมการค้าภายใน กระทรวงการค้าของเซเนกัล จะมีหน้าที่กำกับดูแล ควบคุมราคาสินค้า ซึ่งข้าวเป็นสินค้าหนึ่ง ใน 13 ชนิด ซึ่งถูกควบคุมราคา โดยจะกำหนดราคาสูงสุดต่อตันไว้ 7. SWOT สถานะการค้าสินค้าข้าวของไทยในตลาดเซเนกัล จุดแข็ง - ประเทศไทย เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีส่วนแบ่งในตลาดเซเนกัลสูงมากกว่าร้อยละ 60 ของการ นำเข้าทั้งหมด จนยากที่ประเทศอื่นจะแย่งตลาดได้ - สินค้าข้าวไทย เป็นที่ต้องการและตรงกับรสนิยมของผู้บริโภคในประเทศ - ลักษณะภูมิอากาศของประเทศเซเนกัล ไม่เหมาะกับการปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่เนื่องจาก ฝนไม่ตกสม่ำเสมอ ทำให้การปลูกข้าวในเซเนกัลส่วนใหญ่จะทำได้ในเขตชลประทานเท่านั้น จุดอ่อน - เวียดนาม จะเป็นประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย เนื่องจากส่งออกข้าวประเภทเดียวกันและผลของการลดค่าเงินด่อง จะทำให้เวียดนามได้เปรียบในเรื่องราคา จะสามารถแย่งตลาดได้ในส่วนหนึ่ง - การขาดแคลนเรื่องขนส่งสินค้าโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่ยังอาศัยเรือขนส่งระหว่างประเทศ ที่จะต้องผ่านท่าเรือ สิงคโปร์ก่อน ทำให้เสียเวลาประมาณ 30 วันกว่าจะถึงที่หมาย ในขณะที่จีนจะใช้ระยะเวลาไม่ถึง 15 วัน รวมทั้งค่าขนส่งสินค้า โดยเปรียบเทียบสูงกว่าอีกด้วย - ผู้ส่งออกข้าวไทยไปเซเนกัล ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ส่งออกข้าโดยตรง มักเป็นายหน้าหรือตัวแทนการค้า โอกาส - ไทย เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับ 3 ของเซเนกัล รองจากประชาคมยุโรป(27) และไนจีเรีย อันเนื่องมา จากการนำเข้าข้าว จึงเห็นควรใช้ความสัมพันธ์ที่ชาวเซเนกัลรู้จักข้าวไทยเป็นอย่างดี เป็นแนวทางในการขยายตลาดไปยังสินค้า ชนิดอื่นๆ ซึ่งไม่เพียงแต่จำหน่ายภายในประเทศเซเนกัลเท่านั้น แต่ยังขยายไปยังกลุ่ม ECOWAS (Economic Cooperation of West Africa State) ทีเซเนกัลเป็นสมาชิก อุปสรรคและข้อเสนอแนะ - ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวภายในประเทศของเซเนกัล เป็นการ สร้างมิตรภาพและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งจะช่วยขยายความร่วมมือไปยังด้านอื่นๆ เนื่องจากการเกษตรของเซเนกัลยัง ล้าหลังมาก - หาแนวทางในการสร้างหรือเช่าไซโลเพื่อเก็บกักสินค้า เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนเรือขนส่ง และสามารถจะ ป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาดได้ทันทีเมื่อตลาดต้องการ - แนะนำและเชิญชวนผู้นำเข้า/นักธุรกิจชาวเซเนกัลเดินทางไปติดต่อธุรกิจการค้าที่ประเทศไทยเพื่อสร้างความ รู้จัก และมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างภาคเอกชน สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงอักกรา สาธารณรัฐกานา ที่มา: http://www.depthai.go.th