บริษัทปูนซีเม็นต์เม็กซิโก (CEMEX) เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนอันดับ 3 ของโลก (รองจาก Lafarge ของฝรั่งเศส และ Holcim ของสวิสเซอร์แลนต์) มีความสามารถในการผลิตปูนจากบริษัทในเครือของ CEMEX ทั่วโลกเท่ากับ 94 ล้านเมตริกตัน ความสามารถในการผลิตคอนครีดพร้อมใช้ (ready-mix concrete) 74 ล้านคิวบิกเมตรและผลิตภัณฑ์ข้างเคียงอีก 166 ล้านเมตริกตัน รายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทมาจากยอดขายซึ่งบริษัทผูกขาดในประเทศเม็กซิโก ยอดขายรวมของบริษัทฯ ในปี ค.ศ. 2007 คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 21.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
CEMEX มีศูนย์กลางการบริหารอยู่ที่เมือง Monterry (แหล่งรวมอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญ ๆ ทางเหนือของเม็กซิโก) โดยมีเครือข่ายการผลิตทั่วโลกรวม 50 ประเทศ ในภูมิภาคอเมริกาเหนือและใต้ แคริเบียน ยุโรป เอเชียและแอฟริกา และมีโรงงานผลิตปูนในประเทศไทย 1 แห่งที่สระบุรี(โดย CEMEX ได้ซื้อบริษัทสระบุรีซีเมนต์ จากอิตัลไทยเมื่อปี ค.ศ. 2001 มูลค่าประมาณ 73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ความสามารถในการผลิตปูน 7.2 แสนเมตริกกันต่อปี ขณะนี้ใช้ความสามารถในการผลิตเต็มกำลัง) และยังมีโรงงานผลิตปูนและแหล่ง quarry ในมาเลเซียและฟิลิปปินส์อีกด้วยบริษัท Cemex เป็นผู้ผลิตรายปูนรายใหญ่ที่สุดของเม็กซิโก มีโรงงานผลิตปูน 15 แห่ง กำลังการผลิต 27.2 ล้านตันต่อปี มีโรงงานผลิตคอนกรีต 211 แห่ง ศูนย์การจำหน่าย 67 แห่ง และท่าขนส่งทางทะเล 8 แห่ง
หอการค้าซีเมนต์แห่งเม็กซิโก CANACEM (Camara Nacional del Cemento) รายงานภาวะการผลิตปูนซีเมนต์ในปี 2551 ว่า ได้มีปริมาณการผลิตเท่ากับ 37.1 ล้านตัน โดยการบริโภคภายในประเทศสำหรับปีเดียวกันเท่ากับ 35.1 ล้านตัน เทียบเท่ากับปริมาณการใช้ปูนประชากร 329 กิโลกรัมต่อคน ตลาดผู้ใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเม็กซิโกสามารถแบ่งได้ตามกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ ภาครัฐบาล ร้อยละ 9.8 การก่อสร้างอย่างเป็นรูปแบบ ร้อยละ 9.9 ผู้ใช้สำหรับทำการก่อสร้างเอง ร้อยละ 3.7 บริษัททำการแปรรูป ร้อยละ 9.9 และบริษัทผู้ผลิตคอนกรีต ร้อยละ 20.1
ภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวของเม็กซิโกเนื่องจากวิฤกตการณ์การเงินในสหรัฐฯ ปี 2552 ได้ชะลอการก่อสร้างในภาคเอกชนโดยเฉพาะในด้านที่อยู่อาศัย แต่การที่รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการทุ่มงบประมาณของรัฐบาลในการสร้างถนนทางด่วน และสาธารณูปโภคอื่นๆ ย่อมหมายความว่า ภาคการก่อสร้างยังคงมีโอกาสการขยายตัวอยู่พอสมควร ภาคที่กำลังได้รับการส่งเสริมกระตุ้นการลงทุนได้แก่ ภาคการผลิตพลังงานทดแทน เช่น ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมซึ่งมีบริษัทจากยุโรป เช่น สเปน เปอร์ตุเกส และเยอรมันกำลังมีความสนใจในภาคนี้มากพอสมควร
ภาคเศรษฐกิจที่ได้รับการกระตุ้นพิเศษอีกภาคหนึ่ง ได้แก่ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งจากวิกฤตการณ์การเงิน และวิกฤตการณ์ไข้หวัด N1H1 ระบาดเมื่อปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการลงทุนในด้านการก่อสร้างเพื่อภาคการท่องเที่ยวที่น่าพิจารณา ได้แก่การสร้างบ้านพักให้กับชาวต่างชาติที่ประสงค์จะหาซื้อบ้านหลังที่สองเพื่อวัยเกษียณในเม็กซิโก ในปี 2550 ได้มีการขายบ้านพักให้แก่ชาวต่างชาติที่ต้องการพักเกษียณในเม็กซิโกได้จำนวน 18,000 หน่วย มูลค่าประมาณ 6.4 พันล้านเหรียญฯ
หน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ (ProMexico) ได้ประเมินสถานการณ์ว่ายอดขายของบ้านพักวัยเกษียณจะขยายตัวได้ถึง 63,000 หน่วยต่อปี มูลค่าประมาณ 22.7 พ้นล้านเหรียญฯ ในปี 2558 และคาดว่าจะสามารถขยายตัวได้อีกประมาณ 10 ปีต่อไป
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th