อุตสาหกรรมอาหารในเม็กซิโกประกอบด้วยภาคเกษตร การปลูกป่าไม้ ปศุสัตว์ การประมง การเลี้ยงผึ้ง การผลิตเครื่องดื่มและการบรรจุขวด ยาสูบ ของหวานและของว่าง ไบโอเทคโนโลยีและการบรรจุอาหารประเภทต่าง ๆ เม็กซิโกเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในหมวดสินค้าเกษตรเม็กซิโกเป็นผู้ส่งออกในระดับโลกที่สำคัญสำหรับการส่งออกมะเขือเทศ อโวคาโด มะนาว กาแฟออร์เกนนิค อโลเวรา แตงกวา และพริกหยวก ในหมวดเนื้อสัตว์เม็กซิโกเป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์อันดับ 8 ของโลก และในหมวดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอลเม็กซิโกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์การครอบครองเครื่องหมายการค้าของการผลิตเตคิล่าเพียงผู้เดียว ในรอบสิบปีที่ ผ่านมา ภาคการผลิตอาหารของเม็กซิโกได้เติบโตในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 12 ต่อปี ในขณะเดียวกัน การนำเข้าอาหารได้เติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี
ตลาดสินค้าอาหารในเม็กซิโกโดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นตลาดที่มีการแตกย่อย (segmented) มากแต่บริษัทใหญ่ ๆ ก็ยังสามารถครอบครองตลาดโดยการเน้นการผลิตสินค้าโดยเฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่ม Bimbo ที่ควบคุมร้อยละ 80 ของตลาดขนมปัง ยอดขายปี 2532 6.5 พันล้านเหรียญ กลุ่ม LaLa ควบคุมร้อยละ 40 ของการขายผลิตภัณฑ์นมทั่วประเทศ ยอดขายปี 2548 มูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญ บริษัท Kellogg ที่ควบคุมร้อยละ 51 ของตลาดธัญพืช และกลุ่ม Gruma ที่ควบคุมตลาดด้านผลิตภัณฑ์ข้าวโพด ยอดขายในปี 2532 มูลค่า 5 หมื่นล้านเหรียญ
เม็กซิโกเป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์อันดับ 8 ของโลก ในปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกเนื้อสัตว์รวมประมาณ 468 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประเทศไทยส่งออกเนื้อสัตว์ในปี 2532 ได้ประมาณ 67 ล้านเหรียญฯ) ตลาดการส่งออกเนื้อสัตว์ที่ของสำคัญเม็กซิโกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลี การเลี้ยงสุกร และการผลิตเนื้อสุกร ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรในประเทศเม็กซิโกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา เนื่องจากได้เริ่มมีการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากิจกรรมในภาคการเลี้ยงหมูและการผลิตเนื้อหมู ความตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ได้มีผลส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงทางการตลาดในอุตสาหกรรมหมูของสหรัฐฯ และเม็กซิโกมากขึ้น ประเทศเม็กซิโกมีความสามารถผลิตเนื้อหมูได้ประมาณ 1 ล้านเมตริกตันต่อปี แต่ยังคงต้องมีการนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐฯ เนื่องจากมีปริมาณการการบริโภคประมาณ 1.5 ล้านเมตริกตันต่อปี
กิจการการประมงของเม็กซิโกนับว่ามีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่ามวลรวมของรายได้ประชาชาติ (GDP) โดยคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.8 ของผลผลิตแห่งชาติเท่านั้น และคาดว่ามีแรงงานในภาคการประมงนี้ราว 268,727 คน จำนวนเรือประมง เรือประมงประมาณ 106,428 ลำ เม็กซิโกมีการจับสัตว์น้ำได้ราว 1.5 ล้านเมตริกตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการจับตามธรรมชาติ และร้อยละ 10 มาจากการเพาะเลี้ยง ในการจับจากธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นการจับมาจากมหาสุมทรฝั่งแปซิฟิกคิดเป็นร้อยละ 78 ซึ่งจะพบปลาซาร์ดีนชุกชุม เฉพาะในบริเวณ Gulf of California ที่เป็นอ่าวลึกเข้ามาในเม็กซิโกจะสามารถจับสัตว์น้ำได้ถึง 500,000 เมตริกตันต่อปีคิดเป็นร้อยละ 33 ของการจับสัตว์น้ำทั้งหมด โดยปลาที่จับได้ในบริเวณนี้ ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาแอนชูวี่ และกุ้ง อนึ่งสำหรับทางฝั่งแอตแลนติกแถบอ่าวเม็กซิโกนั้นยากที่จะหาแหล่งจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ เนื่องจากติดปัญหาการแย่งพื้นที่กับบริษัทขุดเจาะน้ำมัน ทั้งนี้รัฐบาลพยายามสนับสนุนการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยใช้พื้นที่ทางเหนือแถบมลรัฐ Tamaulipas ที่ติดกับรัฐ Texas
คนเม็กซิโกบริโภคอาหารสัตว์น้ำราว 10 - 14 กิโลกรัมต่อคนต่อปี โดยส่วนใหญ่จะนิยมบริโภคเนื้อวัว และหมูมากกว่าราว 39.4 กิโลกรัมต่อคนต่อปี อย่างไรก็ตามปลาที่คนเม็กซิกันนิยมบริโภคได้แก่ ปลาหมอเทศ (Tilapia) กุ้ง และปลาหมึก (Octopus) การนำเข้าสินค้าอาหารจากสัตว์น้ำของเม็กซิโกในปี 2552 มีมูลค่ารวม 91 ล้านเหรียญสหรัฐ และการส่งออกประมาณ 38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ประเทศเม็กซิโกเป็นผู้ผลิตสับปะรดสดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ในปริมาณ 540,000 ตันต่อปี ในพื้นที่การเพาะปลูก 10,500 เฮกตาร์ต่อปี ในปี 2537 ได้มีการนำเข้าสับปะรดประมาณมากที่สุด18, 320 ตัน แต่ได้ลดลงระหว่างปี 2539 ถึง 2543 ปริมาณนำเข้าระหว่าง 533-806 ตัน และได้เพิ่มขึ้นในปี 2543 เป็น 1,367 ตัน มูลค่าเกือบล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในระหว่างปี ค.ศ. 1960-1980 รัฐบาลของเม็กซิโกได้พยายามส่งเสริมการขยายการปลูกผลไม้ในเชิงพาณิชย์หลากหลายชนิด เพื่อทดแทนการปลูกกาแฟที่มีราคาตกต่ำ โดยการรณรงค์การเพาะปลูกลิ้นจี่ maracuya และ macademia พื้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่มีประมาณ 1.82 ล้านตารางเมตร ปัจจุบันเป็นการปลูกเพื่อการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นสำคัญและมีแนวโน้มการเติบโตได้อีกมาก
การเลี้ยงผึ้งในเม็กซิโกได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นต้นมา โดยในดังกล่าวสามารถผลิตน้ำผึ้งได้มากเป็นประวัติการณ์ประมาณ 75,000 ตัน ในปัจจุบันเม็กซิโกมีความสามรถผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณ 25,000 ตันต่อปี เป็นผู้ผลิตอันดับ 5 ของโลก และส่งออกเป็นอันดับ 3 ในปี 2532 เม็กซิโกส่งออกน้ำผึ้งได้ประมาณ 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การเลี้ยงผึ้งนับว่าเป็นกิจกรรมด้านการเกษตรที่สำคัญเนื่องจากมีการจ้างงานได้ประมาณ 400,000 คน
เม็กซิโกเป็นประเทศผู้ที่มีสิทธิส่งออกน้ำตาลไปยังสหรัฐฯ ที่ไม่มีข้อจำกัดหรือควบคุมด้านปริมาณ และได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีนำเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีนาฟต้า NAFTA จึงเป็นแหล่งนำเข้าน้ำตาลสำคัญแหล่งหนึ่งสำหรับสหรัฐฯ เม็กซิโกมีความสามารถในการเพาะปลูกอ้อยเพื่อการผลิตน้ำตาลในปริมาณระหว่าง 60-70 ตันต่อเฮกตาร์ ซึ่งจัดเป็นผู้มีสมรรถภาพในการผลิตน้ำตาลอันดับ 13 ของโลก และในปี 2552/3 จะมีผลผลิตน้ำตาลประมาณ 5.8 ล้านตันซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับความต้องการของตลาดภายใน ที่มีการบริโภคน้ำตาลจากอ้อยประมาณ 5 ล้านตัน และความต้องการน้ำตาลสังเคราะห์อีก 800,000 ล้านตัน เม็กซิโกมีการส่งออกน้ำตาลประมาณ 400,000 ล้านตัน และนำเข้าน้ำตาลเพื่อป้อนอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในโครงการ INMEX จำนวน 200,000 ล้านตัน อุตสาหกรรมน้ำตาลของเม็กซิโกมีการจ้างงานโดยตรงประมาณ 440,000 คน และสร้างงานโดยทางอ้อมได้อีกประมาณ 2.5 ล้านคน แต่รายได้จากภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลมีสัดส่วนต่อรายประชาชาติเพียงร้อยละ 0.06
ในปี 2552 เม็กซิโกส่งออกกาแฟ (รหัส HS 0901) โดยรวมมูลค่า 378.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 131,574 ตัน กว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนส่งออกทั้งหมดส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นสำคัญ มูลค่า 243.3 ล้านเหรียญฯ รองลงมาได้แก่ การส่งออกไปยังประเทศเยอรมัน 32.2 ล้านเหรียญฯ เบลเยี่ยม 29.6 ล้านเหรียญ แคนาดา 13.5 ล้านเหรียญ และญีปุ่น 8.4 ล้านเหรียญฯ เป็นต้น
ตลาดการขายเครื่องดื่มในเม็กซิโกเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และได้มีคาดคะเนว่าปริมาณการบริโภคน้ำขวดในเม็กซิโกในปี ค.ศ. 2013 จะมีปริมาณ 67.5 พันล้านลิตร มูลค่าของตลาดประมาณ 50 ล้านเหรียญฯ เครื่องดื่มที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่ น้ำเปล่าบรรจุขวดและรองลงมาได้แก่เบียร์ช่องทางการขายที่สำคัญได้แก่ ร้านขายปลีกเครื่องดื่มในลักษณะเป็น convenience store ที่มีกว่า 700,000 แห่งทั่วประเทศ และบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการครองครองตลาดดังกล่าวได้แก่ กลุ่ม FEMSA และกลุ่ม Modelo ซึ่งครองตลาดรวมกันได้ร้อยละ 90 ของตลาดเครื่องดื่มทั้งหมด
ที่มา: http://www.depthai.go.th