พาณิชย์-มาเลย์ผนึกกำลังชุแผนยุทธศาสตร์“ลิมอ ดาซาร์” เสนอครม. หวังสยายปีก 5 สาขา ดันเติบโตขั้นต่ำ 10% พร้อมส่งเสริมอำนวยความสะดวกการค้าลงทุน กรมส่งออกเผยไม่ได้หวังยอดขายจากการจัดแฟร์ แต่โชว์สินค้าสองประเทศให้เห็นถึงพัฒนาการ
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการระหว่างการประชุมลิมอ ดาซาร์ ซัมมิท ครั้งที่ 1 ระหว่าง 5 จังหวัดของไทยกับ 5 รัฐของมาเลเซีย ณ โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 22 -26 กันยายน 2553 ว่า เอกชนทั้ง 2 ประเทศเห็นชอบจัดทำแผนยุทธศาสตร์ลิมอ ดาซาร์ โดยต่างฝ่ายจะตั้งสำนักงานและคณะทำงาน เพื่อรองรับการดำเนินงาน พร้อมเปิดเว็บไซต์เพื่อเป็นฐานข้อมูลและส่งเสริมศักยภาพการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว โลจิสติกส์และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
“ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงาน 5 สาขาข้างต้นใน 3 ระดับ คือ รัฐมนตรี ภาครัฐและภาคเอกชน โดยจะนำผลการประชุมครั้งนี้เสนอครม.เพื่อแจ้งให้กระทรวงต่างๆรับทราบ และดำเนินการต่อไป ส่วนทางมาเลเซียก็จะนำผลการประชุมรายงานต่อทางการของมาเลเซียเช่นกัน” นายอลงกรณ์ กล่าว และว่า มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในอาเซียนในปี 2552 ส่งออกมีมูลค่ากว่า 245,000 ล้านบาท ซึ่ง 7 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม — กรกฏาคม 2553) ไทยส่งออกมาเลเซียขยายตัว 55% หรือมีมูลค่า 187,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 10% โดยมีจุดหมายสำคัญที่จะสนับสนุนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2015
สำหรับประเด็นการประชุมทั้ง 5 สาขา อาทิ การค้า จะการเพิ่มความสะดวกในการข้ามพรมแดนสำหรับนักธุรกิจสองฝ่าย โดยจัดช่องทางพิเศษที่ด่านชายแดนแก่ผู้ถือบัตร ลิมอ ดาซาร์ บิสซิเนส การ์ด เป็นต้น การจับคู่ธุรกิจด้านไฟเบอร์ในธุรกิจอาหารสัตว์และเฟอร์นิเจอร์ที่นอน การขายความร่วมมือด้านการตลาดสินค้านมแพะของไทยในมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งการประชุมครั้งต่อไปในปี 2554 ที่มาเลเซียจะเป็นเจ้าภาพ ก็จะดำเนินการจัดงานในลักษณะเดียวกันนี้ คือ มีทั้งการจับคู่ธุรกิจและงานแสดงสินค้าและการประชุมควบคู่กันไป
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์ลิมอดาซาร์ กรมส่งเสริมการส่งออกในฐานะสนับสนุนภาคการค้าการส่งออกได้จัดกิจกรรมต่อเกี่ยวเนื่องสนับสนุน ได้แก่ การจัดงานแสดงสินค้าในช่วงเดียวกันกับการประชุม ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีไฮไลท์สำคัญ คือ การแสดงสินค้าและอาหารจาก 5 รัฐภาคเหนือของมาเลเซีย ที่จะร่วมกับสินค้า 5 ชายแดนภาคใต้ของไทยในแต่ละบูธ อาทิ อาหารพื้นเมือง งานศิลปหัตถกรรม แฟชั่น เครื่องประดับ ของขวัญ ของที่ระลึกและเครื่องประดับตกแต่งบ้าน สินค้าฮาลาล น้ำมันปาล์มและธุรกิจบริการ อาทิ การท่องเที่ยว นวดแผนโบราณ สปา สมุนไพร เป็นต้น พร้อมกิจกรรมต่างๆ มากมายในงานทั้งการแสดงและกิจกรรมจากเหล่าศิลปินดาราทั้ง 5 วัน
ทั้งนี้กิจกรรมหลัก 2 ส่วน คือ 1. การจับคู่ธุรกิจ และ 2. งานแสดงสินค้าลิมอดาซาว่า การจับคู่ธุรกิจคาดว่าเมื่อสิ้นสุดงาน 5 วัน คาดว่าจะมีผู้ประกอบการเจรจาธุรกิจในครั้งนี้ประมาณ 200 ราย อยู่ในสาขาการท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการค้า และโลจิสติกส์
ส่วนงานแสดงสินค้าไม่ได้คาดหวังจะมียอดขายในมูลค่าที่สูง แต่คาดหวังว่า จะให้มีการสานสัมพันธ์ด้านการค้าลงทุนให้มากขึ้น โดยคาดว่าจะมีหมุนเวียนภายในงานประมาณ 20 ล้านบาท มีผู้เยี่ยมชมงานทั้งคูหาสองประเทศประมาณ 1 หมื่นคน จากผู้ประกอบการไทยเข้ารวม 107 ราย และผู้ประกอบการมาเลเซีย เข้าร่วม 51 ราย จำนวน สำหรับสินค้า 5 จังหวัด โดยสินค้าที่ได้รับความสนใจมากเป็นรายจังหวัด อาทิ 1. นราธิวาส ได้แก่ เรือกอแล๊ะ ใบไม้สีทอง และผ้าไหมเพ้นท์ลาย 2.ปัตตานี ได้แก่ ว่าวทำด้วยผ้าบาติกและข้าวยำ 3.สงขลา ได้แก่ ไอศครีมรสปลาทูน่า อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง PEP 4.จังหวัดสตูล ได้แก่ โปรแกรมท่องเที่ยวจังหวัดสตูล 5.ยะลาได้แก่ ชาชัก เป็นต้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th