สถานการณ์การค้าเม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติกในจีน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 29, 2010 13:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ขนาดและความต้องการของตลาด

ความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศมีปริมาณสูงมาก โดยแบ่งเป็นใช้ในวงการการเกษตร การผลิตบรรจุบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง อุตสาหกรรมและการคมนาคม จากข้อมูลสถิติของกระทรวงเกษตรของจีนแจ้งว่า ในการเพาะปลูกพืชพันธุ์ในจีน แต่ละปีต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น พลาสติกคลุมแปลง พลาสติกมัดหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ ภาชนะสำหรับเพาะปลูก และเพาะพันธุ์ พลาสติกบังแดด ตาข่าย แผ่นโฟม และแผ่นพลาสติกและอื่นๆ มีจำนวนถึง 3 ล้านตัน นอกจากนั้นแล้วภาชนะที่บรรจุสินค้าต่างๆก็ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ที่ทำมาจากพลาสติกมากขึ้นยกตัวอย่างเช่นปัจจุบันถุงใส่ปูนซีเมนต์กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ใช้ถุงพลาสติกแบบสาน รวมทั้งสินค้าประเภทแร่ธาตุ เกลือ น้ำตาล ฝ้าย และขนแกะ

บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทข้าวสารและแป้งรวมทั้งธัญพืชภายในประเทศจีนต้องการใช้พลาสติกจำนวน 1.1 ล้านตันต่อปี บรรจุภัณฑ์สินค้าอื่นๆเช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยา น้ำยาซักล้าง เครื่องสำอาง และอื่นๆต้องใช้พลาสติกกว่า 5.5 ล้านตัน

ในวงการวัสดุก่อสร้างในปัจจุบันได้มีการนำพลาสติกมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต อุปกรณ์ต่างๆ แทนไม้และโลหะ ซึ่งนอกจากทีราคาที่ต่ำลง มีคุณภาพที่ดีกว่า รวมถึงประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ จนที่ที่นิยมเช่น ท่อพลาสติก ขอบประตูหน้าต่าง อุปกรณ์กันน้ำที่ใช้ในการก่อสร้าง แผ่นกันความร้อน เป็นต้น คาดว่าความต้องการใช้พลาสติกในวงการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15 เ% อย่างต่อเนื่องและคาดว่าพลาสติกที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ภายในปี พ.ศ.2553 ต้องใช้พลาสติกกว่า 1 ล้านตัน

การนำเข้าและส่งออก

ตัวเลขจากศุลกากรจีนแจ้งว่าปี พ.ศ.2552 ที่ผ่านมาประเทศจีนส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปต่างประเทศรวมจำนวน 6.558 ล้านตัน ลดลงจากปี 2551 ที่เคยส่งออกได้ 7.455 ล้านตัน 12 % ในส่วนของการนำเข้า ปี พ.ศ. 2552 ประเทศจีนนำเข้าเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศจำนวน 23.81 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2551 ที่มีมูลค่านำเข้า 17.71 ล้านตัน 34.5% การนำเข้า ณ เมืองเซี่ยเหมิน

เม็ดพลาสติกจากประเทศไทยเป็นสินค้าสำคัญที่ที่จีนนำเข้าผ่านท่าเรือเมืองเซี่ยเหมิน เมื่อปี พ.ศ.2550 เซี่ยเหมินนำเข้าเม็ดพลาสติกจากไทยรวมมูลค่า37.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 2551 นำเข้ามูลค่า42.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 12.76% ส่วนปี 2552 ที่ผ่านมาเนื่องจากตัวเลขการนำเข้าและส่งออกยังไม่แจ้งอย่างเป็นทางการจึงยังไม่สามารถสรุปตัวเลขที่แน่นอนได้ แต่เชื่อมั่นว่าการนำเข้าจากไทยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อดูจากสถิติการนำเข้าครึ่งปีแรกของ ปี 2552 พบว่าเซี่ยเหมินนำเข้าจากไทยมีมูลค่าถึง 23.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 29.95%

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ