กรุงเทพฯ--2 ม.ค.--สมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง นายกสมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยถึงปริมาณแม่ไก่ไข่ในประเทศไทยขณะนี้ว่า มีจำนวนสูงขึ้นจากปี 2549 ที่ 45 ล้านตัว เป็น 55 ล้านตัวในปี 2550 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 10 ล้านตัว สะท้อนให้เห็นแนวโน้มการผลิตไข่ไก่ของประเทศว่าอาจจะมีปริมาณสูงถึงวันละ 30 ล้านฟอง ในขณะที่อัตราการบริโภคของคนไทยทั้งประเทศมีเพียงวันละ 25 ล้านฟอง
“สิ่งที่น่ากังวลก็คือแนวโน้มปริมาณแม่ไก่ไข่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ผลผลิตไข่ไก่สูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่กำลังซื้อและการบริโภคไม่ได้สูงขึ้นตาม รวมทั้งประเด็นสำคัญก็คือแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบและค่าพลังงาน ดังนั้น ทางสมาคมฯ จึงขอเตือนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทุกคน ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและหันมาร่วมกันหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง”
นายณรงค์ กล่าวอีกว่า แนวทางแก้ปัญหาที่น่าจะทำได้ง่ายและเห็นผลเร็วที่สุด ก็คือการลดปริมาณแม่ไก่ไข่ยืนกรง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากเกษตรกรทุกรายร่วมกันปลดแม่ไก่ให้เร็วขึ้น เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ขณะเดียวกัน สมาคมฯ ได้ดำเนินการระบายไข่ส่วนเกินออกสู่ตลาดโลก โดยสมาชิกผู้ผลิตไข่ไก่รายใหญ่หลายรายได้เสียสละเร่งระบายไข่ไก่ไปยังต่างประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ทำการส่งออกมากที่สุดถึง 71.78% ของจำนวนไข่ที่ส่งออกทั้งหมด รองลงไปได้แก่ บจก. ศรีวิโรจน์, เกษมชัยฟาร์ม, ชุนเซ้งฟาร์ม และอื่นๆ (ตามตารางแนบ)
สำหรับประเด็นในเรื่องของอัตราการบริโภคไข่ไก่นั้น นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ทางสมาคมฯ จะขอให้ภาครัฐเร่งรณรงค์บริโภคไข่ไก่อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ก็กำลังดำเนินการจัดตั้งกองทุนเพื่อนำมารณรงค์ส่งเสริมการบริโภคด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ปริมาณการผลิตไข่ไก่และปริมาณความต้องการบริโภคมีความสอดคล้องใกล้เคียงกันมากยิ่งขึ้น
“ตัวเลขไข่ส่วนเกินสูงถึงขนาดนี้ สิ่งที่ตามมาก็คือภาวะราคาไข่ไก่ตกต่ำ สวนทางกับต้นทุนการผลิตไข่ไก่ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงวันนี้ (2 ม.ค.51) ต้นทุนอยู่ที่ 2.20 บาท/ฟอง ขณะที่ราคาขายอยู่ที่ 1.70 บาท/ฟอง ดังนั้น ความร่วมมืออย่างจริงใจของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องทุกรายจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้อุตสาหกรรมไข่ไก่อยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายกสมาคมฯกล่าวทิ้งท้าย
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง นายกสมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยถึงปริมาณแม่ไก่ไข่ในประเทศไทยขณะนี้ว่า มีจำนวนสูงขึ้นจากปี 2549 ที่ 45 ล้านตัว เป็น 55 ล้านตัวในปี 2550 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 10 ล้านตัว สะท้อนให้เห็นแนวโน้มการผลิตไข่ไก่ของประเทศว่าอาจจะมีปริมาณสูงถึงวันละ 30 ล้านฟอง ในขณะที่อัตราการบริโภคของคนไทยทั้งประเทศมีเพียงวันละ 25 ล้านฟอง
“สิ่งที่น่ากังวลก็คือแนวโน้มปริมาณแม่ไก่ไข่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ผลผลิตไข่ไก่สูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่กำลังซื้อและการบริโภคไม่ได้สูงขึ้นตาม รวมทั้งประเด็นสำคัญก็คือแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบและค่าพลังงาน ดังนั้น ทางสมาคมฯ จึงขอเตือนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทุกคน ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและหันมาร่วมกันหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง”
นายณรงค์ กล่าวอีกว่า แนวทางแก้ปัญหาที่น่าจะทำได้ง่ายและเห็นผลเร็วที่สุด ก็คือการลดปริมาณแม่ไก่ไข่ยืนกรง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากเกษตรกรทุกรายร่วมกันปลดแม่ไก่ให้เร็วขึ้น เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ขณะเดียวกัน สมาคมฯ ได้ดำเนินการระบายไข่ส่วนเกินออกสู่ตลาดโลก โดยสมาชิกผู้ผลิตไข่ไก่รายใหญ่หลายรายได้เสียสละเร่งระบายไข่ไก่ไปยังต่างประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ทำการส่งออกมากที่สุดถึง 71.78% ของจำนวนไข่ที่ส่งออกทั้งหมด รองลงไปได้แก่ บจก. ศรีวิโรจน์, เกษมชัยฟาร์ม, ชุนเซ้งฟาร์ม และอื่นๆ (ตามตารางแนบ)
สำหรับประเด็นในเรื่องของอัตราการบริโภคไข่ไก่นั้น นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ทางสมาคมฯ จะขอให้ภาครัฐเร่งรณรงค์บริโภคไข่ไก่อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ก็กำลังดำเนินการจัดตั้งกองทุนเพื่อนำมารณรงค์ส่งเสริมการบริโภคด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ปริมาณการผลิตไข่ไก่และปริมาณความต้องการบริโภคมีความสอดคล้องใกล้เคียงกันมากยิ่งขึ้น
“ตัวเลขไข่ส่วนเกินสูงถึงขนาดนี้ สิ่งที่ตามมาก็คือภาวะราคาไข่ไก่ตกต่ำ สวนทางกับต้นทุนการผลิตไข่ไก่ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงวันนี้ (2 ม.ค.51) ต้นทุนอยู่ที่ 2.20 บาท/ฟอง ขณะที่ราคาขายอยู่ที่ 1.70 บาท/ฟอง ดังนั้น ความร่วมมืออย่างจริงใจของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องทุกรายจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้อุตสาหกรรมไข่ไก่อยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายกสมาคมฯกล่าวทิ้งท้าย