กรุงเทพฯ--7 ม.ค.--สมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่
นายเกษม ศรมยุรา เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จากเกษมชัยฟาร์ม จังหวัดนครปฐม ตัวแทนกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ในพื้นที่เขตจังหวัดอยุธยา นครสวรรค์ นครนายก ขอนแก่น นครปฐม และฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่าในปีที่ผ่านมาผู้เลี้ยงไก่ไข่ต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักและต่อเนื่องมาโดยตลอด ราคาขายไข่ไก่ตกต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางกับต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้นทั้งค่าอาหารสัตว์และค่าน้ำมัน ขณะเดียวกันกำลังซื้อและอัตราการบริโภคกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ซึ่งถ้าปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อุตสาหกรรมไก่ไข่ของประเทศไทยคงถึงจุดจบ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่เริ่มมีกำลังใจขึ้นบ้าง เมื่อรัฐบาลมีมติให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ พ.ศ.2551-2555 ซึ่งนับเป็นข่าวดีอย่างยิ่งของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการรณรงค์เพิ่มการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยจาก 150 ฟอง เป็น 200 ฟอง/คน/ปี ภายในปี 2555 แต่เมื่อเวลาผ่านมาจนเข้าปีใหม่ 2551 แล้ว กลับยังไม่พบว่าหน่วยงานใดในรัฐบาลออกมารับผิดชอบนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังให้เห็นเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด
“ถ้าจะให้ผู้เลี้ยงอยู่ได้ราคาไข่คละหน้าฟาร์มไม่ควรต่ำกว่า 2.30 บาท แต่ทุกวันนี้ราคาขายอยู่ที่ 1.60 บาท แล้วเกษตรกรจะอยู่ได้อย่างไรถ้ารัฐไม่ช่วย ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่ายุทธศาสตร์ไก่ไข่ของกรมปศุสัตว์จะสำเร็จ แต่สุดท้ายก็ยังไม่เห็นมีใครออกมาทำอะไรจริงจังสักที” นายเกษมกล่าวและว่าขอวอนให้ภาครัฐเร่งเข้าช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจังโดยด่วน
ด้านนายอรรณพ อัครนิธิยานนท์ (เฮียเคว้ง) ผู้เลี้ยงไก่ไข่จากแสงทองฟาร์ม จ.นครนายก กล่าวว่า อีกปัจจัยที่สำคัญคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงเองก็ต้องให้ความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นการเร่งปลดแม่ไก่ยืนกรง การลดพันธุ์สัตว์เข้าเลี้ยง และการตัดส่วนเกินไปต่างประเทศ เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาไข่ล้นตลาดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ
“สิ่งที่น่าห่วง คือ ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึงวันละ 30 ล้านฟอง ในขณะที่อัตราการบริโภคของคนไทยทั้งประเทศมีเพียงวันละ 25 ล้านฟองเท่านั้น ปริมาณไข่ไก่ส่วนเกินมากถึงวันละ 5 ล้านฟองสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ไม่เป็นผลดีกับอุตสาหกรรมไข่ไก่ทั้งระบบแน่ๆ รัฐต้องเร่งช่วยเหลือโดยด่วนที่สุด” นายอรรณพกล่าว./
นายเกษม ศรมยุรา เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จากเกษมชัยฟาร์ม จังหวัดนครปฐม ตัวแทนกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ในพื้นที่เขตจังหวัดอยุธยา นครสวรรค์ นครนายก ขอนแก่น นครปฐม และฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่าในปีที่ผ่านมาผู้เลี้ยงไก่ไข่ต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักและต่อเนื่องมาโดยตลอด ราคาขายไข่ไก่ตกต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางกับต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้นทั้งค่าอาหารสัตว์และค่าน้ำมัน ขณะเดียวกันกำลังซื้อและอัตราการบริโภคกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ซึ่งถ้าปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อุตสาหกรรมไก่ไข่ของประเทศไทยคงถึงจุดจบ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่เริ่มมีกำลังใจขึ้นบ้าง เมื่อรัฐบาลมีมติให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ พ.ศ.2551-2555 ซึ่งนับเป็นข่าวดีอย่างยิ่งของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการรณรงค์เพิ่มการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยจาก 150 ฟอง เป็น 200 ฟอง/คน/ปี ภายในปี 2555 แต่เมื่อเวลาผ่านมาจนเข้าปีใหม่ 2551 แล้ว กลับยังไม่พบว่าหน่วยงานใดในรัฐบาลออกมารับผิดชอบนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังให้เห็นเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด
“ถ้าจะให้ผู้เลี้ยงอยู่ได้ราคาไข่คละหน้าฟาร์มไม่ควรต่ำกว่า 2.30 บาท แต่ทุกวันนี้ราคาขายอยู่ที่ 1.60 บาท แล้วเกษตรกรจะอยู่ได้อย่างไรถ้ารัฐไม่ช่วย ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่ายุทธศาสตร์ไก่ไข่ของกรมปศุสัตว์จะสำเร็จ แต่สุดท้ายก็ยังไม่เห็นมีใครออกมาทำอะไรจริงจังสักที” นายเกษมกล่าวและว่าขอวอนให้ภาครัฐเร่งเข้าช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจังโดยด่วน
ด้านนายอรรณพ อัครนิธิยานนท์ (เฮียเคว้ง) ผู้เลี้ยงไก่ไข่จากแสงทองฟาร์ม จ.นครนายก กล่าวว่า อีกปัจจัยที่สำคัญคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงเองก็ต้องให้ความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นการเร่งปลดแม่ไก่ยืนกรง การลดพันธุ์สัตว์เข้าเลี้ยง และการตัดส่วนเกินไปต่างประเทศ เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาไข่ล้นตลาดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ
“สิ่งที่น่าห่วง คือ ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึงวันละ 30 ล้านฟอง ในขณะที่อัตราการบริโภคของคนไทยทั้งประเทศมีเพียงวันละ 25 ล้านฟองเท่านั้น ปริมาณไข่ไก่ส่วนเกินมากถึงวันละ 5 ล้านฟองสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ไม่เป็นผลดีกับอุตสาหกรรมไข่ไก่ทั้งระบบแน่ๆ รัฐต้องเร่งช่วยเหลือโดยด่วนที่สุด” นายอรรณพกล่าว./