กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--กรมการค้าต่างประเทศ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังจากประเทศไทยเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ตั้งแต่ปี 2547 และล่าสุดได้จัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมานั้น ทำให้สินค้าส่งออกของไทยจำนวนมากได้รับประโยชน์จากการทำ FTA ดังกล่าว แต่ยังมีสินค้าอีกหลายกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดสัมมนาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 25 มกราคม 2551 ได้จัดสัมมนา เรื่อง “การใช้ประโยชน์ภายใต้ FTA อาเซียน-จีน ความตกลง JTEPA และกองทุนฯ FTA” ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาเกือบ 200 คน
ในการสัมมนาครั้งนี้ ได้กระตุ้นให้ผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA เป็นแต้มต่อเพื่อขยายการค้าไปสู่ตลาดใหญ่ที่สำคัญ เช่น จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยมีโอกาสมากขึ้น สามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งในตลาดโลก ขณะเดียวกันก็ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ได้ทราบถึงโครงการช่วยเหลือภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ให้มีแนวทางในการจัดทำโครงการฯ เสนอเพื่อขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งในปีงบประมาณ 2551 มีวงเงินช่วยเหลือในโครงการนี้อยู่เกือบ 140 ล้านบาท กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานบริหารกองทุนฯ จะได้เร่งพิจารณาให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบได้ใช้ประโยชน์จากกองทุนฯ นี้ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้กลุ่มดังกล่าว สามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจได้ต่อไป
นางอภิรดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้ให้ความเห็นว่า ไทยทำเขตการค้าเสรีกับจีนทำให้เกษตรกรบางกลุ่มเสียเปรียบ แต่ก็รู้สึกดีใจที่ภาครัฐได้ให้ความสำคัญ จัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือ จากการสอบถามเพิ่มเติมทราบว่า มีกลุ่มเกษตรกรหลายกลุ่มที่สนใจเสนอโครงการฯ อาทิ นายชวน เสทา ประธานกลุ่มผู้ผลิตลิ้นจี่จังหวัดพะเยา กล่าวว่า กลุ่มฯ มีโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากหอการค้าและการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา และกลุ่มผู้ผลิตและส่งออกข้าวโพด ข้าวจังหวัดแพร่ เป็นต้น ขณะเดียวกัน นายบรรพชิต วาสิกานนท์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพะเยา กล่าวเสริมว่า ยินดีสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่ม ให้ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฯ โดยจะเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบฯ สามารถจัดทำโครงการให้ได้รับช่วยเหลือจากกองทุนฯ ต่อไป
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังจากประเทศไทยเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ตั้งแต่ปี 2547 และล่าสุดได้จัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมานั้น ทำให้สินค้าส่งออกของไทยจำนวนมากได้รับประโยชน์จากการทำ FTA ดังกล่าว แต่ยังมีสินค้าอีกหลายกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดสัมมนาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 25 มกราคม 2551 ได้จัดสัมมนา เรื่อง “การใช้ประโยชน์ภายใต้ FTA อาเซียน-จีน ความตกลง JTEPA และกองทุนฯ FTA” ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาเกือบ 200 คน
ในการสัมมนาครั้งนี้ ได้กระตุ้นให้ผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA เป็นแต้มต่อเพื่อขยายการค้าไปสู่ตลาดใหญ่ที่สำคัญ เช่น จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยมีโอกาสมากขึ้น สามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งในตลาดโลก ขณะเดียวกันก็ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ได้ทราบถึงโครงการช่วยเหลือภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ให้มีแนวทางในการจัดทำโครงการฯ เสนอเพื่อขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งในปีงบประมาณ 2551 มีวงเงินช่วยเหลือในโครงการนี้อยู่เกือบ 140 ล้านบาท กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานบริหารกองทุนฯ จะได้เร่งพิจารณาให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบได้ใช้ประโยชน์จากกองทุนฯ นี้ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้กลุ่มดังกล่าว สามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจได้ต่อไป
นางอภิรดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้ให้ความเห็นว่า ไทยทำเขตการค้าเสรีกับจีนทำให้เกษตรกรบางกลุ่มเสียเปรียบ แต่ก็รู้สึกดีใจที่ภาครัฐได้ให้ความสำคัญ จัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือ จากการสอบถามเพิ่มเติมทราบว่า มีกลุ่มเกษตรกรหลายกลุ่มที่สนใจเสนอโครงการฯ อาทิ นายชวน เสทา ประธานกลุ่มผู้ผลิตลิ้นจี่จังหวัดพะเยา กล่าวว่า กลุ่มฯ มีโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากหอการค้าและการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา และกลุ่มผู้ผลิตและส่งออกข้าวโพด ข้าวจังหวัดแพร่ เป็นต้น ขณะเดียวกัน นายบรรพชิต วาสิกานนท์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพะเยา กล่าวเสริมว่า ยินดีสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่ม ให้ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฯ โดยจะเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบฯ สามารถจัดทำโครงการให้ได้รับช่วยเหลือจากกองทุนฯ ต่อไป