กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--เบทาโกร
เบทาโกรร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับกรุงเทพมหานครในโครงการ “การจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” มั่นใจในความพร้อมด้านฐานการผลิตอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารครบวงจร และระบบตรวจสอบย้อนกลับ Betagro e-Traceability ที่พัฒนาและนำมาใช้ในวงการปศุสัตว์และอาหารเป็นรายแรกของประเทศไทย
นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ว่า เนื่องจากเครือเบทาโกรดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร จึงมีนโยบายให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ประกอบกับมีความพร้อมด้านฐานการผลิตอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารครบวงจร เครื่องจักรอุปกรณ์และเทคโนโลยีทันสมัย รวมทั้งบุคลากรที่เชี่ยวชาญ จึงสามารถดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตอาหารปลอดภัยได้อย่างเป็นรูปธรรม
นายวนัส กล่าวต่อไปว่า “เบทาโกรได้มีการลงทุนติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Betagro e - Traceability) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยพัฒนาให้เป็นรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ ในช่วงต้นได้เริ่มในธุรกิจไก่ครบวงจร ตั้งแต่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ไปจนถึงโรงงานผลิตอาหารปรุงสุก รวมทั้งกระบวนการผลิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาสินค้าได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ด้วยความถูกต้องและรวดเร็ว และปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาในธุรกิจสุกรครบวงจร นับว่าเป็นผู้ประกอบการรายแรกของวงการปศุสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารของไทย ที่มีการพัฒนาและนำซอฟต์แวร์มาใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับอย่างเต็มรูปแบบ เบทาโกรจึงมั่นใจและมีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ และถือเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของเครือเบทาโกรและกรุงเทพมหานคร ในการสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคให้แก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารของประเทศไทย” นายวนัส กล่าว
นายสุเทพ ตีระพิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการพัฒนาประสิทธิภาพและเทคโนโลยีการผลิต เครือเบทาโกร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากที่ผ่านมา เครือเบทาโกรได้มีการดำเนินโครงการประกันความปลอดภัยและคุณภาพอาหาร หรือ FSQA (Food Safety & Quality Assurance Project) เพื่อให้กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยทั้งหมดเป็นระบบและมีขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภายในทั้งสายงานการผลิต สายงานพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต สายงานการตลาด จัดซื้อ และบริหารบุคคล รวมทั้งพันธมิตรหรือคู่ค้า ได้แก่ Suppliers ที่จัดส่งวัตถุดิบ เกษตรกรในโครงการประกันราคาและจ้างเลี้ยง ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้รับผิดชอบในจุดกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค ซึ่งการติดตั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Betagro e- Traceability) ถือเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ FSQA และทำให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ถึงแหล่งที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์อาหารจากเครือเบทาโกรได้ทั้งกระบวนการ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
ในตอนท้าย นายสุเทพได้กล่าวถึงบทบาทของเครือเบทาโกร ในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ ทางบริษัท เบทาโกร ฟู้ดส์ จำกัด ในเครือเบทาโกร ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อาหารในจุดขายที่เป็น Modern Trade เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ดิสเคาน์สโตร์ จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบเนื้อไก่และเนื้อสุกร ได้แก่ ชุดการผลิตสินค้าที่บ่งบอกถึงแหล่งผลิต รวมถึงการกระจายสินค้าไปยังสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ที่จัดจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร จะสามารถใช้ตราสัญลักษณ์เนื้อสัตว์คุณภาพตามที่ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครกำหนดได้
สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติม : ฝ่ายสื่อสารองค์กร เครือเบทาโกร
อานนท์ โทร. 0 2833 8316 — 7 อีเมล์ arnonj@betagro.com
เบทาโกรร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับกรุงเทพมหานครในโครงการ “การจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” มั่นใจในความพร้อมด้านฐานการผลิตอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารครบวงจร และระบบตรวจสอบย้อนกลับ Betagro e-Traceability ที่พัฒนาและนำมาใช้ในวงการปศุสัตว์และอาหารเป็นรายแรกของประเทศไทย
นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ว่า เนื่องจากเครือเบทาโกรดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร จึงมีนโยบายให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ประกอบกับมีความพร้อมด้านฐานการผลิตอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารครบวงจร เครื่องจักรอุปกรณ์และเทคโนโลยีทันสมัย รวมทั้งบุคลากรที่เชี่ยวชาญ จึงสามารถดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตอาหารปลอดภัยได้อย่างเป็นรูปธรรม
นายวนัส กล่าวต่อไปว่า “เบทาโกรได้มีการลงทุนติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Betagro e - Traceability) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยพัฒนาให้เป็นรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ ในช่วงต้นได้เริ่มในธุรกิจไก่ครบวงจร ตั้งแต่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ไปจนถึงโรงงานผลิตอาหารปรุงสุก รวมทั้งกระบวนการผลิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาสินค้าได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ด้วยความถูกต้องและรวดเร็ว และปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาในธุรกิจสุกรครบวงจร นับว่าเป็นผู้ประกอบการรายแรกของวงการปศุสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารของไทย ที่มีการพัฒนาและนำซอฟต์แวร์มาใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับอย่างเต็มรูปแบบ เบทาโกรจึงมั่นใจและมีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ และถือเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของเครือเบทาโกรและกรุงเทพมหานคร ในการสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคให้แก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารของประเทศไทย” นายวนัส กล่าว
นายสุเทพ ตีระพิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการพัฒนาประสิทธิภาพและเทคโนโลยีการผลิต เครือเบทาโกร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากที่ผ่านมา เครือเบทาโกรได้มีการดำเนินโครงการประกันความปลอดภัยและคุณภาพอาหาร หรือ FSQA (Food Safety & Quality Assurance Project) เพื่อให้กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยทั้งหมดเป็นระบบและมีขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภายในทั้งสายงานการผลิต สายงานพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต สายงานการตลาด จัดซื้อ และบริหารบุคคล รวมทั้งพันธมิตรหรือคู่ค้า ได้แก่ Suppliers ที่จัดส่งวัตถุดิบ เกษตรกรในโครงการประกันราคาและจ้างเลี้ยง ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้รับผิดชอบในจุดกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค ซึ่งการติดตั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Betagro e- Traceability) ถือเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ FSQA และทำให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ถึงแหล่งที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์อาหารจากเครือเบทาโกรได้ทั้งกระบวนการ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
ในตอนท้าย นายสุเทพได้กล่าวถึงบทบาทของเครือเบทาโกร ในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ ทางบริษัท เบทาโกร ฟู้ดส์ จำกัด ในเครือเบทาโกร ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อาหารในจุดขายที่เป็น Modern Trade เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ดิสเคาน์สโตร์ จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบเนื้อไก่และเนื้อสุกร ได้แก่ ชุดการผลิตสินค้าที่บ่งบอกถึงแหล่งผลิต รวมถึงการกระจายสินค้าไปยังสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ที่จัดจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร จะสามารถใช้ตราสัญลักษณ์เนื้อสัตว์คุณภาพตามที่ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครกำหนดได้
สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติม : ฝ่ายสื่อสารองค์กร เครือเบทาโกร
อานนท์ โทร. 0 2833 8316 — 7 อีเมล์ arnonj@betagro.com