กรุงเทพฯ--7 มี.ค.--คต.
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) มั่นใจการกำหนดมาตรฐานสินค้าส่งออกข้าวหอมมะลิไทย ตั้งแต่ปี 2545 ไว้เป็นข้าวสองพันธุ์ คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 กับ กข. 15 และมีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 อีกทั้งได้กำหนดวิธีตรวจสอบคุณภาพ โดยมีการสุ่มตรวจพันธุกรรม (DNA) ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเป็นผู้ดำเนินการกำกับดูแลนั้น เป็นการทำงานมาถูกทิศทางแล้วในการสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับข้าวคุณภาพดี ข้าวหอมมะลิไทยให้ติดตลาดโลกอย่างยั่งยืน และส่งผลสะท้อนกลับมาสู่เกษตรกรไทย ขายข้าวเปลือกหอมมะลิได้ราคาสูงขึ้น
ในปี 2550 ที่ผ่านมา มีการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยในขณะตรวจปล่อย จำนวน 639 ตัวอย่าง เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับจำนวนตัวอย่างที่เก็บในปี 2548 และ 2549 ส่งตรวจสอบพันธุกรรม พบว่า ข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกจำนวน 616 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 96 มีคุณภาพตามมาตรฐานตามกำหนด ส่วนอีก 23 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 คุณภาพไม่ผ่าน ซึ่งสำนักงานมาตรฐานสินค้าได้ระงับการส่งออก และให้ผู้ส่งออกนำไปปรับปรุงจนมีคุณภาพได้มาตรฐานตามกำหนด ก่อนทำการส่งออกต่อไป
อธิบดี ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรฐานกำหนดให้ปริมาณความบริสุทธิ์ ของข้าวหอมมะลิไทยต้อง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 92 โดยน้ำหนัก แต่จากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างที่เก็บมาในปี 2550 พบว่า จำนวนตัวอย่างสูง ถึงร้อยละ 78 ที่มีปริมาณความบริสุทธิ์ของข้าวหอมมะลิไทยระดับร้อยละ 96-100 ซึ่งเปรียบเทียบกับปี 2548 และ 2549 พบจำนวนตัวอย่างเพียงร้อยละ 72 และ 74 ส่วนความบริสุทธิ์ข้าวหอมมะลิไทยระดับร้อยละ 92-95 พบจำนวนตัวอย่างมีน้อยลงเพียงร้อยละ 12 เทียบกับร้อยละ 16 และ 13 ในช่วงเวลาเดียวกันตามลำดับ ซึ่งสิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ส่งออกให้ความใส่ใจและพิถีพิถัน ในการเลือกซื้อและมีการตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพสินค้าของตน ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และก่อนส่งออกข้าวหอมมะลิไทย และอีกประการหนึ่งกระบวนการตรวจสอบพันธุกรรมที่สำนักงานมาตรฐานสินค้านำมาใช้สุ่มตรวจคุณภาพมาตรฐานก่อนการตรวจปล่อยสินค้ามีความโปร่งใส ชัดเจน และผลการวิเคราะห์เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ ซึ่งค่าวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นเป็นภาระและค่าใช้จ่ายของกรมการค้าต่างประเทศ โดยในปี 2550 เป็นค่าวิเคราะห์ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 1.28 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกสู่ตลาดโลก ที่รวมแล้วทั้งปีมีปริมาณ 2.9 ล้านตัน มูลค่า 47,250 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ทั้งปริมาณและมูลค่า ซึ่งผลการดำเนินการนับว่าคุ้มค่าอย่างยิ่ง ทั้งนี้กรมการค้าต่างประเทศจะดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องในการสร้างความเชื่อมั่นข้าวดี มีคุณภาพจากประเทศไทยให้อยู่ในใจของผู้บริโภคทั่วทุกมุมโลกอย่างยั่งยืนตลอดไป.
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) มั่นใจการกำหนดมาตรฐานสินค้าส่งออกข้าวหอมมะลิไทย ตั้งแต่ปี 2545 ไว้เป็นข้าวสองพันธุ์ คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 กับ กข. 15 และมีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 อีกทั้งได้กำหนดวิธีตรวจสอบคุณภาพ โดยมีการสุ่มตรวจพันธุกรรม (DNA) ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเป็นผู้ดำเนินการกำกับดูแลนั้น เป็นการทำงานมาถูกทิศทางแล้วในการสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับข้าวคุณภาพดี ข้าวหอมมะลิไทยให้ติดตลาดโลกอย่างยั่งยืน และส่งผลสะท้อนกลับมาสู่เกษตรกรไทย ขายข้าวเปลือกหอมมะลิได้ราคาสูงขึ้น
ในปี 2550 ที่ผ่านมา มีการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยในขณะตรวจปล่อย จำนวน 639 ตัวอย่าง เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับจำนวนตัวอย่างที่เก็บในปี 2548 และ 2549 ส่งตรวจสอบพันธุกรรม พบว่า ข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกจำนวน 616 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 96 มีคุณภาพตามมาตรฐานตามกำหนด ส่วนอีก 23 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 คุณภาพไม่ผ่าน ซึ่งสำนักงานมาตรฐานสินค้าได้ระงับการส่งออก และให้ผู้ส่งออกนำไปปรับปรุงจนมีคุณภาพได้มาตรฐานตามกำหนด ก่อนทำการส่งออกต่อไป
อธิบดี ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรฐานกำหนดให้ปริมาณความบริสุทธิ์ ของข้าวหอมมะลิไทยต้อง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 92 โดยน้ำหนัก แต่จากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างที่เก็บมาในปี 2550 พบว่า จำนวนตัวอย่างสูง ถึงร้อยละ 78 ที่มีปริมาณความบริสุทธิ์ของข้าวหอมมะลิไทยระดับร้อยละ 96-100 ซึ่งเปรียบเทียบกับปี 2548 และ 2549 พบจำนวนตัวอย่างเพียงร้อยละ 72 และ 74 ส่วนความบริสุทธิ์ข้าวหอมมะลิไทยระดับร้อยละ 92-95 พบจำนวนตัวอย่างมีน้อยลงเพียงร้อยละ 12 เทียบกับร้อยละ 16 และ 13 ในช่วงเวลาเดียวกันตามลำดับ ซึ่งสิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ส่งออกให้ความใส่ใจและพิถีพิถัน ในการเลือกซื้อและมีการตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพสินค้าของตน ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และก่อนส่งออกข้าวหอมมะลิไทย และอีกประการหนึ่งกระบวนการตรวจสอบพันธุกรรมที่สำนักงานมาตรฐานสินค้านำมาใช้สุ่มตรวจคุณภาพมาตรฐานก่อนการตรวจปล่อยสินค้ามีความโปร่งใส ชัดเจน และผลการวิเคราะห์เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ ซึ่งค่าวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นเป็นภาระและค่าใช้จ่ายของกรมการค้าต่างประเทศ โดยในปี 2550 เป็นค่าวิเคราะห์ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 1.28 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกสู่ตลาดโลก ที่รวมแล้วทั้งปีมีปริมาณ 2.9 ล้านตัน มูลค่า 47,250 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ทั้งปริมาณและมูลค่า ซึ่งผลการดำเนินการนับว่าคุ้มค่าอย่างยิ่ง ทั้งนี้กรมการค้าต่างประเทศจะดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องในการสร้างความเชื่อมั่นข้าวดี มีคุณภาพจากประเทศไทยให้อยู่ในใจของผู้บริโภคทั่วทุกมุมโลกอย่างยั่งยืนตลอดไป.