กรุงเทพฯ--7 มี.ค.--สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ แถลงจุดยืนสมาคมฯว่า ได้ดำเนินธุรกิจเลี้ยงสุกรเคียงข้างสมาชิกซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศ ทั้งเกษตรกรรายย่อย รายกลาง รายใหญ่ รวมถึงบริษัทใหญ่ เกษตรกรได้ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ ประชาชน และเพื่อผู้บริโภคด้วยความซื่อสัตย์ในอาชีพมาโดยตลอด เกษตรกรเป็นผู้ผลิตต้นน้ำ ผลิตอาหารให้แก่ผู้บริโภคทั่วประเทศตลอดจนทั่วโลก จึงอยากขอทำความเข้าใจภาพรวมของภาวะราคาหมูในปัจจุบัน
โดยย้ำว่าธุรกิจเลี้ยงหมูเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ราคาหมูตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา มีขึ้นมีลงตามภาวะตลาด ยิ่งในช่วงนี้เกิดภาวะน้ำมันและต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาสูงผิดปกติ จากการนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทนซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นการทำลายวงจรผลิต และยิ่งกดดันให้ผู้เลี้ยงต้องรับภาระสูงมาก
วงจรชีวิตของผู้เลี้ยงต้องประสบปัญหาขาดทุนมากกว่ากำไร โดยเฉพาะช่วงกลางปี 2550 ถึงกับต้องขายเนื้อหมู 3 กิโลกรัมในราคาเพียง 100 บาท แต่การบริโภคกลับไม่เพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรขาดทุนอย่างหนักมานานเกือบ 14 เดือน ต้องแก้ปัญหากันเองด้วยการตัดตอนลูกหมูไปฆ่าทิ้งหลายแสนตัว และผู้เลี้ยงบางส่วนทนต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหว ต้องเลิกเลี้ยงไป 20-30% ของผู้เลี้ยงทั้งหมด รายที่พออยู่ได้ก็ลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ปริมาณหมูขุนที่ออกสู่ตลาดลดลง ดังนั้น การขยับราคาขึ้นในช่วงนี้จึงเป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง ไม่ใช่การฉวยโอกาสแต่อย่างใด
สมาคมฯ จึงขอวอนให้กระทรวงพาณิชย์ ผู้บริโภคและประชาชนเข้าใจ เพราะการกำหนดราคาหมูของกระทรวงพาณิชย์ที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ เป็นการบิดเบือนกลไกการตลาด จะส่งผลเสียแก่ผู้เลี้ยงรายย่อยที่มีไม่ต่ำกว่า 50,000 รายให้ขาดทุนและมีหนี้สินล้นพ้นตัว โดยสมาคมฯได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาให้ภาครัฐนำมาตรการทางภาษี มาช่วยให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงหมู ทดแทนการบิดเบือนตลาด เพื่อให้ต้นทุนอาหารสัตว์ต่ำลง ซึ่งจะทำให้ราคาเนื้อหมูลดลงตามต้นทุนที่แท้จริง ขณะเดียวกันก็ขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงอย่าตื่นตระหนก และรวมตัวกันฟังแนวทางของสมาคมเป็นหลัก
ทั้งนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกล้วนประสบปัญหาราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น และได้มีการแก้ไขปัญหาราคาอย่างนุ่มนวล โดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เช่น จีน เวียดนาม เมื่อราคาเนื้อสัตว์ชนิดใดแพงขึ้น ก็มีการรณรงค์บริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่นทดแทน ทำให้ในเวลาต่อมาเนื้อสัตว์ที่แพงอยู่ก็จะมีราคาลดลงเองซึ่งเป็นไปตามกลไก นับเป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
นายสุรชัย สุทธิธรรม โทร 081-577-3666
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ แถลงจุดยืนสมาคมฯว่า ได้ดำเนินธุรกิจเลี้ยงสุกรเคียงข้างสมาชิกซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศ ทั้งเกษตรกรรายย่อย รายกลาง รายใหญ่ รวมถึงบริษัทใหญ่ เกษตรกรได้ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ ประชาชน และเพื่อผู้บริโภคด้วยความซื่อสัตย์ในอาชีพมาโดยตลอด เกษตรกรเป็นผู้ผลิตต้นน้ำ ผลิตอาหารให้แก่ผู้บริโภคทั่วประเทศตลอดจนทั่วโลก จึงอยากขอทำความเข้าใจภาพรวมของภาวะราคาหมูในปัจจุบัน
โดยย้ำว่าธุรกิจเลี้ยงหมูเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ราคาหมูตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา มีขึ้นมีลงตามภาวะตลาด ยิ่งในช่วงนี้เกิดภาวะน้ำมันและต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาสูงผิดปกติ จากการนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทนซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นการทำลายวงจรผลิต และยิ่งกดดันให้ผู้เลี้ยงต้องรับภาระสูงมาก
วงจรชีวิตของผู้เลี้ยงต้องประสบปัญหาขาดทุนมากกว่ากำไร โดยเฉพาะช่วงกลางปี 2550 ถึงกับต้องขายเนื้อหมู 3 กิโลกรัมในราคาเพียง 100 บาท แต่การบริโภคกลับไม่เพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรขาดทุนอย่างหนักมานานเกือบ 14 เดือน ต้องแก้ปัญหากันเองด้วยการตัดตอนลูกหมูไปฆ่าทิ้งหลายแสนตัว และผู้เลี้ยงบางส่วนทนต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหว ต้องเลิกเลี้ยงไป 20-30% ของผู้เลี้ยงทั้งหมด รายที่พออยู่ได้ก็ลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ปริมาณหมูขุนที่ออกสู่ตลาดลดลง ดังนั้น การขยับราคาขึ้นในช่วงนี้จึงเป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง ไม่ใช่การฉวยโอกาสแต่อย่างใด
สมาคมฯ จึงขอวอนให้กระทรวงพาณิชย์ ผู้บริโภคและประชาชนเข้าใจ เพราะการกำหนดราคาหมูของกระทรวงพาณิชย์ที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ เป็นการบิดเบือนกลไกการตลาด จะส่งผลเสียแก่ผู้เลี้ยงรายย่อยที่มีไม่ต่ำกว่า 50,000 รายให้ขาดทุนและมีหนี้สินล้นพ้นตัว โดยสมาคมฯได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาให้ภาครัฐนำมาตรการทางภาษี มาช่วยให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงหมู ทดแทนการบิดเบือนตลาด เพื่อให้ต้นทุนอาหารสัตว์ต่ำลง ซึ่งจะทำให้ราคาเนื้อหมูลดลงตามต้นทุนที่แท้จริง ขณะเดียวกันก็ขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงอย่าตื่นตระหนก และรวมตัวกันฟังแนวทางของสมาคมเป็นหลัก
ทั้งนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกล้วนประสบปัญหาราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น และได้มีการแก้ไขปัญหาราคาอย่างนุ่มนวล โดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เช่น จีน เวียดนาม เมื่อราคาเนื้อสัตว์ชนิดใดแพงขึ้น ก็มีการรณรงค์บริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่นทดแทน ทำให้ในเวลาต่อมาเนื้อสัตว์ที่แพงอยู่ก็จะมีราคาลดลงเองซึ่งเป็นไปตามกลไก นับเป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
นายสุรชัย สุทธิธรรม โทร 081-577-3666