กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--กรีนพีซ
ผู้ผลิตข้าวโพดรายใหญ่ของยุโรปปฏิเสธจีเอ็มโอ: กรีนพีซปรบมือรับ พร้อมเรียกร้องสหภาพยุโรปสั่งห้ามข้าวโพดจีเอ็มโอ
กรีนพีซชื่นชมรัฐบาลโรมาเนียที่ประกาศจุดยืนไม่เอาข้าวโพดจีเอ็มโอ นับเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ เนื่องจากข้าวโพดจีเอ็มโอเป็นพืชจีเอ็มโอชนิดเดียวที่สหภาพยุโรปยอมให้มีการปลูกเพื่อการค้า
นายแอ็ททิลา โคโรดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ประกาศสั่งห้ามปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 ของบริษัทมอนซานโต ทำให้โรมาเนียกลายเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดปลอดจีเอ็มโอรายใหญ่ที่สุดของยุโรป [1
] ด้วยเหตุนี้ โรมาเนียจึงนับประเทศที่เจ็ดในยุโรปที่ประกาศคำสั่งห้ามปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ หลังจากประเทศฝรั่งเศส ฮังการี อิตาลี ออสเตรีย กรีซ และโปแลนด์ได้ประกาศห้ามไปก่อนหน้านั้น
“การประกาศครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และสำคัญที่สุดของโรมาเนีย เพราะถือเป็นการส่งสัญญาณที่สำคัญว่า เทคโนโลยีอันตรายนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ และมีความจำเป็นที่สหภาพยุโรป [2
] จะต้องปกป้องเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมของยุโรปให้ปลอดจากจีเอ็มโอโดยขยายคำสั่งห้ามปลูกจีเอ็มโอให้ทั่วยุโรป” เจริดท์ ริสมา ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีซสากล กล่าว
ความวิตกกังวลเรื่องของความปลอดภัยเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 ส่งผลกระทบต่อสัตว์ ดินและแม้กระทั่งต่อสุขภาพของมนุษย์ ข้าวโพดจีเอ็มโอชนิดนี้พัฒนาขึ้นมาให้สามารถผลิตพิษบีทีเพื่อฆ่าหนอนเจาะข้าวโพด ซึ่งสำหรับโรมาเนียและประเทศอื่นๆทั่วยุโรปนั้น ข้าวโพดจีเอ็มโอชนิดนี้ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากปัญหาหนอนเจาะข้าวโพดไม่ใช่ปัญหาหลักของเกษตรกร ขณะเดียวกันพิษบีทีกลับสะสมจากต้นลงสู่ดินทำให้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในดินและคุณภาพของดิน เช่น เป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน และสัตว์อื่นๆ รวมทั้งผีเสื้อ มด และแมงมุม ดังนั้นข้ออ้างที่กล่าวว่าข้าวโพดจีเอ็มโอนั้นปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์จึงเชื่อถือไม่ได้ [3
]
“วันนี้ชาวโรมาเนียต่างพร้อมใจกันปฏิเสธเทคโนโลยีที่ไม่ปลอดภัย ไม่มีความแน่นอนและไม่ยั่งยืนอย่างเทคโนโลยีจีเอ็มโอ [4
] ดังนั้นสิ่งสำคัญและเร่งด่วนคือการบังคับใช้คำสั่งห้ามดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพื่อให้เกษตรกรรมของเราปลอดภัยจากจีเอ็มโอก่อนที่ฤดูกาลเพาะปลูกรอบใหม่จะมาถึง” แกเบลียล พอน ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีซ โรมาเนีย กล่าว
การปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอเป็นปัญหาที่รุนแรง เฉพาะปี พ.ศ. 2549 เพียงปีเดียว พบกรณีการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอกว่า 39 กรณีใน 23 ประเทศทั่วโลก [5
] ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการสากลในการควบคุมและเรียกค่าชดเชยกับบริษัทเหล่านี้หากเกิดความเสียหายหรือความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากการปนเปื้อนของจีเอ็มโอ กรีนพีซรณรงค์เพื่อต่อต้านพืชจีเอ็มโอรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของพืชจีเอ็มโอทั้งหมด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญบนหลักการของความยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย การตัดต่อพันธุกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของสังคมโลกอีกทั้งยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความเสี่ยงให้กับผู้บริโภค
หมายเหตุ
1. ประเทศโรมาเนียถือเป็นประเทศผู้นำด้านการผลิตข้าวโพดของสหภาพยุโรป และมีพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดประมาณ 18.75 ล้านไร่/ปี นอกจากนี้พบว่า จนถึงปี พ.ศ. 2550 ประเทศโรมาเนียมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 เพียง 1,875 ไร่ทั่วประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.01 ของผลผลิตข้าวโพดที่ผลิตได้ทั้งประเทศ
2. ในปีพ.ศ. 2541 มอนซานโต เซ็นสัญญาเพื่อให้เงินสนับสนุนแก่สหภาพยุโรปเป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อผลักดันให้มีการปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 ในยุโรป ซึ่งปี พ.ศ.2551 ถือเป็นปีสุดท้ายของสัญญาและกำลังจะถูกพิจารณาเพื่อขยายระยะเวลาออกไปอีก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีที่สหภาพยุโรปจะไม่ขยายข้อตกลง เพื่อไม่ให้มีการปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 ในสหภาพยุโรปอีกต่อไป เพราะขณะนี้ข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 เป็นพืชจีเอ็มโอชนิดเดียวที่อนุญาตให้มีการปลูกในสหภาพยุโรป
3. งานวิจัยล่าสุดโดย ศาสตรจารย์ จิลล์ อีริค ซีแรลินิ ที่ปรึกษารัฐบาลฝรั่งเศสด้านพันธุวิศวกรรม จาก University of Caen พบสัญญาณที่บ่งชี้ถึงผลของพิษจากข้าวโพดจีเอ็มโอต่ออวัยวะภายในของสัตว์ทดลองที่ถูกเลี้ยงด้วยข้าวโพดจีเอ็มโอhttp://www.greenpeace.org/international/press/release/seralini_study_MON863
ปลายปีพ.ศ.2550 นายสตาฟโรส ไดมาส EU Commissioner of Environment ได้ใช้ผลงานวิจัยข้างต้นเพื่อสนับสนุนให้มีการสั่งห้ามการปลูกพืชจีเอ็มโอชนิดใหม่อีก 2 ชนิด โดยได้อ้างถึงผลงานวิจัยชิ้นใหม่ว่า พิษบีทีที่ผลิตได้จากข้าวโพดจีเอ็มโอได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศทางน้ำด้วยเช่นกัน
4. ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนซึ่งจัดทำขึ้นโดย Mercury research และเปิดเผยโดยกรีนพีซ ในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา ระบุว่ากว่า 67% ของประชาชนในประเทศโรมาเนียไม่ต้องการอาหารจีเอ็มโอ
5. กรีนพีซและ GeneWatch ประเทศอังกฤษ จัดทำรายงานการสถานการณ์การปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอขึ้น โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ได้มีการบันทึกเหตุการณ์การปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอทั่วโลกพบว่ากรณีที่เกิดขึ้นกว่า 216 กรณี ใน 57 ประเทศ นับตั้งแต่มีการปลูกจีเอ็มโอเพื่อการค้าครั้งแรกในปี พ.ศ.2539
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) โทร. 085-843-7300
วิริยา กิ่งวัชระพงศ์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โทร. 089-487-0678 หรือ 02-357-1921 ต่อ 115
www.greenpeace.or.th
ผู้ผลิตข้าวโพดรายใหญ่ของยุโรปปฏิเสธจีเอ็มโอ: กรีนพีซปรบมือรับ พร้อมเรียกร้องสหภาพยุโรปสั่งห้ามข้าวโพดจีเอ็มโอ
กรีนพีซชื่นชมรัฐบาลโรมาเนียที่ประกาศจุดยืนไม่เอาข้าวโพดจีเอ็มโอ นับเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ เนื่องจากข้าวโพดจีเอ็มโอเป็นพืชจีเอ็มโอชนิดเดียวที่สหภาพยุโรปยอมให้มีการปลูกเพื่อการค้า
นายแอ็ททิลา โคโรดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ประกาศสั่งห้ามปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 ของบริษัทมอนซานโต ทำให้โรมาเนียกลายเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดปลอดจีเอ็มโอรายใหญ่ที่สุดของยุโรป [1
] ด้วยเหตุนี้ โรมาเนียจึงนับประเทศที่เจ็ดในยุโรปที่ประกาศคำสั่งห้ามปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ หลังจากประเทศฝรั่งเศส ฮังการี อิตาลี ออสเตรีย กรีซ และโปแลนด์ได้ประกาศห้ามไปก่อนหน้านั้น
“การประกาศครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และสำคัญที่สุดของโรมาเนีย เพราะถือเป็นการส่งสัญญาณที่สำคัญว่า เทคโนโลยีอันตรายนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ และมีความจำเป็นที่สหภาพยุโรป [2
] จะต้องปกป้องเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมของยุโรปให้ปลอดจากจีเอ็มโอโดยขยายคำสั่งห้ามปลูกจีเอ็มโอให้ทั่วยุโรป” เจริดท์ ริสมา ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีซสากล กล่าว
ความวิตกกังวลเรื่องของความปลอดภัยเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 ส่งผลกระทบต่อสัตว์ ดินและแม้กระทั่งต่อสุขภาพของมนุษย์ ข้าวโพดจีเอ็มโอชนิดนี้พัฒนาขึ้นมาให้สามารถผลิตพิษบีทีเพื่อฆ่าหนอนเจาะข้าวโพด ซึ่งสำหรับโรมาเนียและประเทศอื่นๆทั่วยุโรปนั้น ข้าวโพดจีเอ็มโอชนิดนี้ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากปัญหาหนอนเจาะข้าวโพดไม่ใช่ปัญหาหลักของเกษตรกร ขณะเดียวกันพิษบีทีกลับสะสมจากต้นลงสู่ดินทำให้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในดินและคุณภาพของดิน เช่น เป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน และสัตว์อื่นๆ รวมทั้งผีเสื้อ มด และแมงมุม ดังนั้นข้ออ้างที่กล่าวว่าข้าวโพดจีเอ็มโอนั้นปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์จึงเชื่อถือไม่ได้ [3
]
“วันนี้ชาวโรมาเนียต่างพร้อมใจกันปฏิเสธเทคโนโลยีที่ไม่ปลอดภัย ไม่มีความแน่นอนและไม่ยั่งยืนอย่างเทคโนโลยีจีเอ็มโอ [4
] ดังนั้นสิ่งสำคัญและเร่งด่วนคือการบังคับใช้คำสั่งห้ามดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพื่อให้เกษตรกรรมของเราปลอดภัยจากจีเอ็มโอก่อนที่ฤดูกาลเพาะปลูกรอบใหม่จะมาถึง” แกเบลียล พอน ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีซ โรมาเนีย กล่าว
การปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอเป็นปัญหาที่รุนแรง เฉพาะปี พ.ศ. 2549 เพียงปีเดียว พบกรณีการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอกว่า 39 กรณีใน 23 ประเทศทั่วโลก [5
] ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการสากลในการควบคุมและเรียกค่าชดเชยกับบริษัทเหล่านี้หากเกิดความเสียหายหรือความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากการปนเปื้อนของจีเอ็มโอ กรีนพีซรณรงค์เพื่อต่อต้านพืชจีเอ็มโอรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของพืชจีเอ็มโอทั้งหมด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญบนหลักการของความยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย การตัดต่อพันธุกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของสังคมโลกอีกทั้งยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความเสี่ยงให้กับผู้บริโภค
หมายเหตุ
1. ประเทศโรมาเนียถือเป็นประเทศผู้นำด้านการผลิตข้าวโพดของสหภาพยุโรป และมีพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดประมาณ 18.75 ล้านไร่/ปี นอกจากนี้พบว่า จนถึงปี พ.ศ. 2550 ประเทศโรมาเนียมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 เพียง 1,875 ไร่ทั่วประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.01 ของผลผลิตข้าวโพดที่ผลิตได้ทั้งประเทศ
2. ในปีพ.ศ. 2541 มอนซานโต เซ็นสัญญาเพื่อให้เงินสนับสนุนแก่สหภาพยุโรปเป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อผลักดันให้มีการปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 ในยุโรป ซึ่งปี พ.ศ.2551 ถือเป็นปีสุดท้ายของสัญญาและกำลังจะถูกพิจารณาเพื่อขยายระยะเวลาออกไปอีก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีที่สหภาพยุโรปจะไม่ขยายข้อตกลง เพื่อไม่ให้มีการปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 ในสหภาพยุโรปอีกต่อไป เพราะขณะนี้ข้าวโพดจีเอ็มโอ MON 810 เป็นพืชจีเอ็มโอชนิดเดียวที่อนุญาตให้มีการปลูกในสหภาพยุโรป
3. งานวิจัยล่าสุดโดย ศาสตรจารย์ จิลล์ อีริค ซีแรลินิ ที่ปรึกษารัฐบาลฝรั่งเศสด้านพันธุวิศวกรรม จาก University of Caen พบสัญญาณที่บ่งชี้ถึงผลของพิษจากข้าวโพดจีเอ็มโอต่ออวัยวะภายในของสัตว์ทดลองที่ถูกเลี้ยงด้วยข้าวโพดจีเอ็มโอhttp://www.greenpeace.org/international/press/release/seralini_study_MON863
ปลายปีพ.ศ.2550 นายสตาฟโรส ไดมาส EU Commissioner of Environment ได้ใช้ผลงานวิจัยข้างต้นเพื่อสนับสนุนให้มีการสั่งห้ามการปลูกพืชจีเอ็มโอชนิดใหม่อีก 2 ชนิด โดยได้อ้างถึงผลงานวิจัยชิ้นใหม่ว่า พิษบีทีที่ผลิตได้จากข้าวโพดจีเอ็มโอได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศทางน้ำด้วยเช่นกัน
4. ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนซึ่งจัดทำขึ้นโดย Mercury research และเปิดเผยโดยกรีนพีซ ในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา ระบุว่ากว่า 67% ของประชาชนในประเทศโรมาเนียไม่ต้องการอาหารจีเอ็มโอ
5. กรีนพีซและ GeneWatch ประเทศอังกฤษ จัดทำรายงานการสถานการณ์การปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอขึ้น โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ได้มีการบันทึกเหตุการณ์การปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอทั่วโลกพบว่ากรณีที่เกิดขึ้นกว่า 216 กรณี ใน 57 ประเทศ นับตั้งแต่มีการปลูกจีเอ็มโอเพื่อการค้าครั้งแรกในปี พ.ศ.2539
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) โทร. 085-843-7300
วิริยา กิ่งวัชระพงศ์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โทร. 089-487-0678 หรือ 02-357-1921 ต่อ 115
www.greenpeace.or.th