กรุงเทพฯ--21 เม.ย.--ก.ส.ล.
นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่า "ปริมาณการซื้อขายเมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าใน AFET มีปริมาณการซื้อขายรวมจำนวน 1,120 สัญญา มูลค่าการซื้อขายมากกว่า 500 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาข้าวและยางพารา โดยแบ่งเป็นการซื้อขายสัญญาข้าวขาว 5% (BWR5) จำนวน 525 สัญญา สำหรับสัญญาข้าวส่งมอบเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน จำนวน 205 และ 257 สัญญา ตามลำดับ และสัญญายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) จำนวน 595 สัญญา โดยสัญญายางที่มีการซื้อขายมากที่สุด คือ สัญญายางส่งมอบเดือนพฤศจิกายน จำนวน 438 สัญญา ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายข้าวกลับมาแย่งส่วนแบ่งใน AFET ได้เกือบร้อยละ 50 นับเป็นการส่งสัญญาณในเชิงบวกให้กับการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรอย่างแน่นอน
นายนิทัศน์ กล่าวว่า "หลังจากผ่านเทศกาลสงกรานต์ได้เพียงไม่กี่วัน เมื่อ AFET ได้เปิดทำการซื้อขายล่วงหน้า ก็เป็นไปอย่างคึกคัก นักลงทุนเริ่มกลับเข้ามาทยอยสั่งซื้อขายมากขึ้น เหตุผลสำคัญที่สินค้าข้าวมีการซื้อขายสูง น่าจะมาจากผลของการประมูลข้าวในประเทศฟิลิปปินส์ ที่นักลงทุนจับตามองมาตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน และนโยบายในการส่งออกข้าวของไทย ทำให้มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอด ส่งผลให้ราคาข้าวสำหรับเดือนส่งมอบพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน ราคาสูงขึ้นถึงระดับราคาเพดาน(Ceiling Price) โดยมีราคาอยู่ในช่วง 31.00-31.99 บาท/กก.
สำหรับยางแผ่นรมควันชั้น 3 ได้รับอิทธิพลจากการปรับตัวของราคาน้ำมันในตลาดที่มีราคาสูงขึ้นถึง 115 เหรียญสหรัฐ/บารเรล ทำให้ราคายางสูงขึ้นจากเดิมมาอยู่ในระดับ 89-90 บาท/กก. ส่งผลให้การซื้อขายล่วงหน้ายางใน AFET กลับมามีสีสันอีกครั้ง และในปีนี้คาดว่าราคายาง อาจจะปรับตัวสอดรับกับยุคของความร้อนแรงของราคาสินค้าเกษตรในขณะนี้ โดยราคาส่งมอบเกือบทุกเดือนเพิ่มขึ้นประมาณ 0.55 -1.00 บาท/กก.
จากปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและการปรับตัวของราคาในขณะนี้ แสดงให้เห็นถึงการสะท้อนราคาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อมูลข่าวสารของตลาดได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เกิดสภาพคล่องใน AFET มีความน่าสนใจ และดึงดูดนักลงทุนและผู้ประกอบการในสินค้า เข้ามาหาผลตอบแทนและบริหารความเสี่ยงได้ อันจะทำให้ AFET จะเป็นแหล่งอ้างอิงราคาล่วงหน้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ในที่สุด” นายนิทัศน์ กล่าวในที่สุด
นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่า "ปริมาณการซื้อขายเมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าใน AFET มีปริมาณการซื้อขายรวมจำนวน 1,120 สัญญา มูลค่าการซื้อขายมากกว่า 500 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาข้าวและยางพารา โดยแบ่งเป็นการซื้อขายสัญญาข้าวขาว 5% (BWR5) จำนวน 525 สัญญา สำหรับสัญญาข้าวส่งมอบเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน จำนวน 205 และ 257 สัญญา ตามลำดับ และสัญญายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) จำนวน 595 สัญญา โดยสัญญายางที่มีการซื้อขายมากที่สุด คือ สัญญายางส่งมอบเดือนพฤศจิกายน จำนวน 438 สัญญา ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายข้าวกลับมาแย่งส่วนแบ่งใน AFET ได้เกือบร้อยละ 50 นับเป็นการส่งสัญญาณในเชิงบวกให้กับการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรอย่างแน่นอน
นายนิทัศน์ กล่าวว่า "หลังจากผ่านเทศกาลสงกรานต์ได้เพียงไม่กี่วัน เมื่อ AFET ได้เปิดทำการซื้อขายล่วงหน้า ก็เป็นไปอย่างคึกคัก นักลงทุนเริ่มกลับเข้ามาทยอยสั่งซื้อขายมากขึ้น เหตุผลสำคัญที่สินค้าข้าวมีการซื้อขายสูง น่าจะมาจากผลของการประมูลข้าวในประเทศฟิลิปปินส์ ที่นักลงทุนจับตามองมาตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน และนโยบายในการส่งออกข้าวของไทย ทำให้มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอด ส่งผลให้ราคาข้าวสำหรับเดือนส่งมอบพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน ราคาสูงขึ้นถึงระดับราคาเพดาน(Ceiling Price) โดยมีราคาอยู่ในช่วง 31.00-31.99 บาท/กก.
สำหรับยางแผ่นรมควันชั้น 3 ได้รับอิทธิพลจากการปรับตัวของราคาน้ำมันในตลาดที่มีราคาสูงขึ้นถึง 115 เหรียญสหรัฐ/บารเรล ทำให้ราคายางสูงขึ้นจากเดิมมาอยู่ในระดับ 89-90 บาท/กก. ส่งผลให้การซื้อขายล่วงหน้ายางใน AFET กลับมามีสีสันอีกครั้ง และในปีนี้คาดว่าราคายาง อาจจะปรับตัวสอดรับกับยุคของความร้อนแรงของราคาสินค้าเกษตรในขณะนี้ โดยราคาส่งมอบเกือบทุกเดือนเพิ่มขึ้นประมาณ 0.55 -1.00 บาท/กก.
จากปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและการปรับตัวของราคาในขณะนี้ แสดงให้เห็นถึงการสะท้อนราคาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อมูลข่าวสารของตลาดได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เกิดสภาพคล่องใน AFET มีความน่าสนใจ และดึงดูดนักลงทุนและผู้ประกอบการในสินค้า เข้ามาหาผลตอบแทนและบริหารความเสี่ยงได้ อันจะทำให้ AFET จะเป็นแหล่งอ้างอิงราคาล่วงหน้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ในที่สุด” นายนิทัศน์ กล่าวในที่สุด