สรุป ปริมาณความต้องการใช้และการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง ประจำเดือน มีนาคม 2553

ข่าวทั่วไป Thursday June 10, 2010 13:12 —สำนักการค้าและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง

สรุปความต้องการใช้และจัดหา

1. ความต้องการใช้ภายในประเทศ

ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,850 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 124.2 ล้านลิตร หรือ 781,196 บาร์เรล/วัน โดยกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ( น้ำมันปาล์มดีเซล, น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา, น้ำมันดีเซลพื้นฐาน, น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี5, ดีเซลประมงชายฝั่ง ) มีความต้องการใช้สูงสุด วันละ 54.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 43.8 รองลงมา ได้แก่ ก๊าซแอลพีจี วันละ 26.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 21.1 กลุ่มน้ำมันเบนซิน วันละ 20.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 16.1, น้ำมันอากาศยานเจท เอ 1 วันละ 13.6 ล้านลิตร หรือร้อยละ 11.0 น้ำมันเตา วันละ 9.4 ล้านลิตร หรือร้อยละ 7.6 น้ำมันอื่น ๆ วันละ 0.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 0.4 ตามลำดับ

ทั้งนี้ ความต้องการใช้ก๊าซแอลพีจีภายในประเทศ ประจำเดือน มีนาคม จำนวน 438 ล้านกิโลกรัม เฉลี่ยวันละ 14.1 ล้านกิโลกรัม ไม่รวมปริมาณการใช้โปรเพน จำนวน 1.1 ล้านกิโลกรัม เฉลี่ยวันละ 0.03 ล้านกิโลกรัม และ การใช้บิวเทน จำนวน 0.039 ล้านกิโลกรัม เฉลี่ยวันละ 0.001 ล้านกิโลกรัม

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณความต้องการใช้โดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาวันละ 0.4 ล้านลิตร หรือร้อยละ 0.3 โดยน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันเตา เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0, น้ำมันอากาศยานเจพี 8 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 และก๊าซแอลพีจี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ส่วนน้ำมันที่ลดลง ได้แก่ น้ำมันอากาศยาน 100/130 ลดลงร้อยละ 21.3, น้ำมันก๊าด ลดลงร้อยละ 6.0, กลุ่มน้ำมันเบนซิน ลดลงร้อยละ 5.3, น้ำมันอากาศยานเจท เอ 1 ลดลงร้อยละ 1.5 และกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ลดลงร้อยละ 1.4

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณความต้องการใช้โดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีก่อนวันละ 8.6 ล้านลิตร หรือร้อยละ 7.4 โดยน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันเตา เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4, ก๊าซแอลพีจี เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4, น้ำมันอากาศยานเจท เอ 1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0, กลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ส่วนน้ำมันที่ลดลง ได้แก่ น้ำมันอากาศยาน100/130 ลดลงร้อยละ 27.9, น้ำมันอากาศยานเจพี 8 ลดลงร้อยละ 19.1, น้ำมันก๊าด ลดลงร้อยละ 13.3 และกลุ่มน้ำมันเบนซิน ลดลงร้อยละ 6.3

ส่วนแบ่งการตลาด

ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ค้าน้ำมันประจำเดือนมีนาคม 2553 กลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ 5 ราย มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกัน ร้อยละ 76.0 ปริมาณการจำหน่ายวันละ 94.4 ล้านลิตร กลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายย่อยอื่นๆ มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันร้อยละ 24.0 ปริมาณการจำหน่าย วันละ 29.8 ล้านลิตร โดยปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดร้อยละ 36.3 รองลงมาได้แก่ เอสโซ่ ร้อยละ 12.2, เชฟรอน(ไทย) ร้อยละ 9.7, เชลล์ ร้อยละ 9.1 และบางจาก ร้อยละ 8.8 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผู้ค้ารายใหญ่ มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น วันละ 4.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.4 และผู้ค้ารายย่อยมีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 17.9

การจัดหา

1. การผลิตน้ำมันดิบ มีการใช้น้ำมันดิบในขบวนการกลั่น 721 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 23.2 ล้านลิตร หรือ 146,382 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากเดือน กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาวันละ 3.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 15.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีก่อนวันละ 7.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 44.2

2. การผลิตน้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 4,781 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 154.2 ล้านลิตร หรือ 970,094 บาร์เรล/วัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาวันละ 5.4 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีก่อนวันละ 2.4 ล้านลิตร หรือร้อยละ 1.6 โดยน้ำมันดีเซลพื้นฐาน มีการผลิตสูงสุดวันละ 65.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ 42.6 ของการผลิตภายในประเทศ รองลงมา ได้แก่ ก๊าซแอลพีจี วันละ 28.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 18.8 กลุ่มน้ำมันเบนซิน วันละ 22.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 14.9 น้ำมันเตา วันละ 18.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 11.8 น้ำมันอากาศยานเจท เอ1 วันละ 17.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 11.5 และน้ำมันอื่นๆ วันละ 0.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ 0.4 ตามลำดับ

ทั้งนี้ การผลิตก๊าซแอลพีจี จำนวน 484 ล้านกิโลกรัม รวมปริมาณที่นำไปใช้เพื่อการผลิตของตนเอง จำนวน 20.1 ล้านกิโลกรัม และปริมาณที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จำนวน 22.4 ล้านกิโลกรัม และปริมาณที่ได้จากการนำเข้าโปรเพนและบิวเทนเพื่อมาผลิตก๊าซแอลพีจี จำนวน 111.5 ล้านกิโลกรัม นอกจากนี้มีการผลิตโปรเพน จำนวน 0.3 ล้านกิโลกรัม ซึ่งไม่รวมปริมาณที่นำไปผลิตก๊าซแอลพีจี จำนวน 4.8 ล้านกิโลกรัม และมีการผลิตบิวเทน จำนวน 0.2 ล้านกิโลกรัม

โดยการผลิตในเดือนนี้ได้จากโรงกลั่นร้อยละ 86.0 จากโรงแยกก๊าซร้อยละ 8.3 จากการนำเข้าโปรเพนและบิวเทน ร้อยละ 4.3 และผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ร้อยละ 1.4 ซึ่งแยกรายละเอียดได้ดังนี้

2.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 4,112 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 132.6 ล้านลิตร หรือ 834,364 บาร์เรล/วัน ซึ่งใช้กำลังการกลั่น 998,690 บาร์เรล/วัน โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาวันละ 4.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.5 และลดลงจากเดือนมีนาคมปีก่อนวันละ 3.6 ล้านลิตร หรือร้อยละ 2.6

2.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 214 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 6.9 พันเมตริกตัน หรือ 80,546 บาร์เรล/วัน โดยปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาวันละ 1.0 พันเมตริกตัน หรือร้อยละ 16.7 และลดลงจากเดือนมีนาคมปีก่อน วันละ 0.2 พันเมตริกตัน หรือร้อยละ 3.1

2.3 จากการนำเข้าโปรเพน บิวเทน ปริมาณ 111 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3.6 พันเมตริกตัน หรือ 41,912 บาร์เรล/วัน โดยมีปริมาณลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาวันละ 0.6 พันเมตริกตัน หรือร้อยละ 14.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีก่อน วันละ 2.9 พันเมตริกตัน หรือร้อยละ 426.8

2.4 จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปริมาณ 36 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 1.1 พันเมตริกตัน หรือ 13,376 บาร์เรล/วัน โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาวันละ 0.1 พันเมตริกตัน หรือร้อยละ 12.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีก่อนวันละ 0.1 พันเมตริกตัน หรือร้อยละ 9.3

การนำเข้า

2. การนำเข้า มีการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้นปริมาณ 3,911 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 126.2 ล้านลิตร หรือ 793,541 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 62,053 ล้านบาท (ไม่รวม MTBE ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 4.8 ล้านลิตร มูลค่า 104 ล้านบาท)

2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,627 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 117.0 ล้านลิตร หรือ 735,856 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 58,123 ล้านบาท (ไม่รวมน้ำมันไม่ได้คุณภาพ ซึ่งนำเข้ามาเข้าขบวนการผลิต) โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้

ปริมาณ/ล้านลิตร : มูลค่า/ล้านบาท

          แหล่งนำเข้า            ปริมาณ      ร้อยละ          มูลค่า      ร้อยละ
          ตะวันออกกลาง          2,768       76.3        43,956       75.6
          ตะวันออกไกล             326        9.0         5,307        9.1
          อื่น ๆ                   532       14.7         8,859       15.2
          รวม                  3,627      100.0        58,123      100.0

เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีปริมาณการนำเข้าลดลงวันละ 16.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ 12.5 มูลค่าการนำเข้าลดลง 1,990 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีก่อนวันละ 38.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 24.5 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 8,721 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.7

2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 284 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 9.2 ล้านลิตร หรือ 57,685 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 3,930 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นวันละ 1.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 19.7 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 960 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.3 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำมันเตาและโปรเพน และเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีก่อน วันละ 1.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 13.1 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 975 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.0 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของโปรเพนและบิวเทน ทั้งนี้ การนำเข้าเบนซินพื้นฐาน เพื่อการผลิตแก๊สโซฮอล์และการนำเข้าโปรเพน บิวเทน เพื่อการผลิตก๊าซแอลพีจี

ส่งออก

การส่งออกไปต่างประเทศ

น้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันองค์ประกอบ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันองค์ประกอบไปต่างประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 928 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 29.9 ล้านลิตร หรือ 188,288 บาร์เรล/วัน มูลค่าการส่งออกรวม 15,381 ล้านบาท โดยจำแนกเป็น

น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณการส่งออก 807 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 26.0 ล้านลิตร หรือ 163,793 บาร์เรล/วัน มูลค่าการส่งออก 13,312 ล้านบาท โดยร้อยละ 79.8 ส่งไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน ร้อยละ 11.1 ส่งไปยังประเทศจีน ร้อยละ 0.1 ส่งไปยังประเทศบังคลาเทศ นอกจากนี้มีการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วในเขตต่อเนื่องอีกร้อยละ 9.0 โดยน้ำมันเตาส่งออกมากที่สุดวันละ 10.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 40.3 รองลงมาได้แก่ กลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว วันละ 9.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 37.6 กลุ่มน้ำมันเบนซิน วันละ 2.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 8.8 น้ำมันอากาศยานเจท เอ1 วันละ 3.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 12.7 และก๊าซแอลพีจี วันละ 0.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 0.5

ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาวันละ 1.6 ล้านลิตร หรือร้อยละ 6.6 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 2,239 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.2 โดยป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นของน้ำมันน้ำมันอากาศยานเจท เอ 1, น้ำมันเตา, น้ำมันดีเซลพื้นฐาน และเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมปีก่อนวันละ 3.4 ล้านลิตร หรือร้อยละ 15.3 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 3,592 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.0 โดยเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นของก๊าซแอลพีจี, น้ำมันอากาศยานเจท เอ 1และน้ำมันดีเซลพื้นฐาน

น้ำมันองค์ประกอบ ได้แก่ ก๊าซโซลีนธรรมชาติ ไลท์แนฟท่า รีฟอร์เมต ลองเรสิดิว แสล็กแว๊กซ์ และแอ็กแทร็ต ปริมาณ 121 ล้านลิตร มูลค่า 2,069 ล้านบาท ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ จีน ไต้หวัน อเมริกา แคนาดา อิตาลี เนเธอร์แลนด์และอินเดีย

ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง มกราคม - มีนาคม 2553

น้ำมันสำเร็จรูป

1. การจำหน่าย

1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณ 10,897 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 121.1 ล้านลิตร หรือ 761,544 บาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 81.2 ของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตได้ภายในประเทศ การจำหน่ายภายในประเทศลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 10.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 7.8 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของก๊าซแอลพีจี, น้ำมันอากาศยานเจพี 8, กลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และกลุ่มน้ำมันเบนซิน ลดลงร้อยละ 33.2, 16.2, 5.3 และ 5.1 ตามลำดับ

1.2 การส่งออก มีปริมาณ 2,110 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 23.4 ล้านลิตร หรือ 147,480 บาร์เรล/วัน ปริมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 6.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 35.9 มูลค่าการส่งออกรวม 13,309 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13,074 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.6 โดยเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นของ ก๊าซแอลพีจี กลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว กลุ่มน้ำมันเบนซิน น้ำมันอากาศยานเจท เอ 1 และน้ำมันเตา เพิ่มขึ้นร้อยละ 238.4, 77.2, 25.2, 25.1 และ 13.1

2. การจัดหา

การจัดหามีปริมาณรวมทั้งสิ้น 13,482 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 149.8 ล้านลิตร หรือ 942,206 บาร์เรล/วัน ปริมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 3.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ รวมการนำเข้าเบนซินพื้นฐาน เพื่อนำมาผลิตแก๊สโซฮอล์และโปรเพน บิวเทน เพื่อนำมาผลิตแอลพีจี

2.1 การผลิตภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 13,420 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 149.1 ล้านลิตร หรือ 937,869 บาร์เรล/วัน ปริมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 8.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ การผลิตรวมโปรเพน บิวเทน ที่นำเข้ามาเพื่อการผลิตก๊าซแอลพีจี จำนวน 341 ล้านกิโลกรัมและการนำเข้าเบนซินพื้นฐานเพื่อการผลิตแก๊สโซฮอล์

2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 62 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 0.7 ล้านลิตร หรือ 4,337 บาร์เรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 82.5 มูลค่าการนำเข้ารวม 1,079 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,393 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75.9 ทั้งนี้ การนำเข้าไม่รวมโปรเพนและบิวเทน เพื่อการผลิตก๊าซแอลพีจี จำนวน 341 ล้านกิโลกรัม และเบนซินพื้นฐานเพื่อการผลิตแก๊สโซฮอล์

น้ำมันดิบ

ปริมาณการนำเข้ารวม 11,187 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 124.3 ล้านลิตร หรือ 781,841 บาร์เรล/วัน มาจากแหล่งตะวันออกกลาง 8,518 ล้านลิตร หรือร้อยละ 76.1 ตะวันออกไกล 1,443 ล้านลิตร หรือร้อยละ 12.9 และแหล่งอื่น ๆ 1,226 ล้านลิตร หรือร้อยละ 11.0 มูลค่าการนำเข้ารวม 179,911 ล้านบาท โดยปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 1.0 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 0.8 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 65,827 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57.7

--สำนักการค้าและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ