นายกรัฐมนตรีเผยกลุ่ม EU ขอทำ MOU ในลักษณะที่เข้ามาควบคุมการเลือกตั้งมากกว่ามาสังเกตการณ์ การเลือกตั้งของไทย ส่วนการกำหนดวันเลือกตั้ง 23 ธ.ค.ไม่น่ามีปัญหา
วันนี้ เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ต้องการให้ไทยลงนามในบันทึกช่วยจำ (MOU) ในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม ว่า ได้หารือกับนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว ทางประธาน กกต. บอกว่ามีอยู่ 2 วิธีการที่ถือว่าเป็นลักษณะของการเข้ามาสังเกตการณ์ หรือการเข้ามาควบคุม ซึ่ง MOU ที่กลุ่มอียูขอให้เราลงนามร่วมนั้นเป็นลักษณะที่เข้ามาควบคุมการเลือกตั้งมากกว่าการที่จะเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ ซึ่งประธาน กกต. บอกว่าไม่เห็นด้วย ดังนั้น รัฐบาลก็ต้องฟังทาง กกต.ว่าสมควรที่จะให้มีผู้สังเกตการณ์ในระดับไหน อย่างไร เพราะเราคงยืนอยู่บนหลักการและแนวทางการทำงานของเรา และใช้กฎหมายของประเทศไทย โดยไม่ต้องการให้คนอื่นมาใช้อำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ของเราเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางอียูตั้งข้อสังเกตว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาของไทยประสบความล้มเหลวจึงขอเข้ามาสังเกตการณ์ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องทำให้ดีขึ้น ความล้มเหลวของการจัดการเลือกตั้งนั้นมาจากหลายปัจจัย ถ้าวิเคราะห์ให้ดีการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่ผ่านมา คงเห็นกันแล้วว่าเป็นเพราะอะไร ดังนั้น ในส่วนนี้จึงคิดว่าถึงแม้อียูจะเข้ามา แต่เราไม่จัดการการเลือกตั้งให้ดี ก็คงไม่ได้ช่วยให้การเลือกตั้งดีขึ้น อยู่ที่คนไทยว่าจะเลือกทางเดินของเราอย่างไร นั่นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ไม่ว่าจะมีใครเข้ามาดูหรือไม่ก็ตาม ถ้าเราคนไทยคิดว่าอยากให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เราก็ต้องทำของเราเอง
ต่อข้อถามว่า การที่อียูต้องการเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งคิดว่ามีใครหนุนหลังหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบ และไม่ได้มีการสอบถาม เพราะไม่ได้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งทางอียูติดต่อผ่านทางประธาน กกต. และ กกต. ได้ตอบกลับไปแล้ว
ส่วนกรณีที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ออกมาวิจารณ์ว่าการกำหนดวันเลือกตั้งนั้นไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้มีการหารือกับทางพรรคการเมืองและผู้เกี่ยวข้อง อาจจะทำให้มีปัญหา ว่า ห้วงเวลาที่จะให้มีการเลือกตั้งได้ก็มีไม่มาก ถ้าจะให้วันเลือกตั้งไปอยู่ในช่วงเดือน มกราคม 2551 ก็ต้องไม่เกินกลางเดือนมกราคม วันสุดท้ายคือวันที่ 13 มกราคม และวันที่ 23 ธันวาคม กับวันที่ 13 มกราคม ห่างกันเท่าไร อีกทั้งในช่วงปีใหม่และหลังปีใหม่จะมีอะไรที่ยุ่งยาก เราก็ยังเหน็ดเหนื่อยกับการพักผ่อนในช่วงปีใหม่ ซึ่งหากเราเลือกตั้งได้ก่อนปีใหม่ แล้วค่อยไปดูผลกัน อาจจะฉลองว่าปีใหม่ปีนี้ได้รัฐบาลใหม่แล้ว ไม่ดีกว่าหรือ ส่วนการหารือกับพรรคการเมืองก็เป็นหน้าที่ของ กกต.แต่คิดว่า พรรคการเมืองส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นออกมาแล้วว่าพร้อมที่จะเลือกตั้งตามที่ได้หารือกันไว้ คงไม่น่าที่จะเป็นปัญหาใหญ่ เพราะพรรคการเมืองใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องก็เห็นพ้องต้องกันแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่าวันเลือกตั้งอาจต้องเลื่อนออกไปจากปัญหาการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแต่งตั้ง ผบ.ทบ.คงไม่ยืดยาวไปจนถึงเดือนธันวาคม ควรจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองเจตนารมณ์ของ น.ต.ประสงค์ฯ ที่ออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่สามารถไปวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นได้ แต่วิจารณ์ตัวเองได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เสียงสะท้อนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ครั้งนี้จะมีผลอะไรกับการพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฉบับหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังมองไม่เห็นว่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเพียงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติในเรื่องพรรคการเมือง เรื่องการเลือกตั้ง เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่น่าจะเกินเวลาที่กำหนดไว้ 45 วัน คิดว่าน่าจะทำได้ทัน แต่หากเป็นการแก้ไขเหมือนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก็เป็นอีกเรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้ายังมีคนไม่เห็นด้วยวันเลือกตั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงเปลี่ยนแปลงได้ เพราะในขณะนี้วันที่ 23 ธันวาคมน่าจะเป็นวันที่มีความเหมาะสมมากที่สุด แต่วันเลือกตั้งจริงๆ ต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งออกมาก่อน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ต้องการให้ไทยลงนามในบันทึกช่วยจำ (MOU) ในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม ว่า ได้หารือกับนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว ทางประธาน กกต. บอกว่ามีอยู่ 2 วิธีการที่ถือว่าเป็นลักษณะของการเข้ามาสังเกตการณ์ หรือการเข้ามาควบคุม ซึ่ง MOU ที่กลุ่มอียูขอให้เราลงนามร่วมนั้นเป็นลักษณะที่เข้ามาควบคุมการเลือกตั้งมากกว่าการที่จะเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ ซึ่งประธาน กกต. บอกว่าไม่เห็นด้วย ดังนั้น รัฐบาลก็ต้องฟังทาง กกต.ว่าสมควรที่จะให้มีผู้สังเกตการณ์ในระดับไหน อย่างไร เพราะเราคงยืนอยู่บนหลักการและแนวทางการทำงานของเรา และใช้กฎหมายของประเทศไทย โดยไม่ต้องการให้คนอื่นมาใช้อำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ของเราเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางอียูตั้งข้อสังเกตว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาของไทยประสบความล้มเหลวจึงขอเข้ามาสังเกตการณ์ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องทำให้ดีขึ้น ความล้มเหลวของการจัดการเลือกตั้งนั้นมาจากหลายปัจจัย ถ้าวิเคราะห์ให้ดีการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่ผ่านมา คงเห็นกันแล้วว่าเป็นเพราะอะไร ดังนั้น ในส่วนนี้จึงคิดว่าถึงแม้อียูจะเข้ามา แต่เราไม่จัดการการเลือกตั้งให้ดี ก็คงไม่ได้ช่วยให้การเลือกตั้งดีขึ้น อยู่ที่คนไทยว่าจะเลือกทางเดินของเราอย่างไร นั่นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ไม่ว่าจะมีใครเข้ามาดูหรือไม่ก็ตาม ถ้าเราคนไทยคิดว่าอยากให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เราก็ต้องทำของเราเอง
ต่อข้อถามว่า การที่อียูต้องการเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งคิดว่ามีใครหนุนหลังหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบ และไม่ได้มีการสอบถาม เพราะไม่ได้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งทางอียูติดต่อผ่านทางประธาน กกต. และ กกต. ได้ตอบกลับไปแล้ว
ส่วนกรณีที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ออกมาวิจารณ์ว่าการกำหนดวันเลือกตั้งนั้นไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้มีการหารือกับทางพรรคการเมืองและผู้เกี่ยวข้อง อาจจะทำให้มีปัญหา ว่า ห้วงเวลาที่จะให้มีการเลือกตั้งได้ก็มีไม่มาก ถ้าจะให้วันเลือกตั้งไปอยู่ในช่วงเดือน มกราคม 2551 ก็ต้องไม่เกินกลางเดือนมกราคม วันสุดท้ายคือวันที่ 13 มกราคม และวันที่ 23 ธันวาคม กับวันที่ 13 มกราคม ห่างกันเท่าไร อีกทั้งในช่วงปีใหม่และหลังปีใหม่จะมีอะไรที่ยุ่งยาก เราก็ยังเหน็ดเหนื่อยกับการพักผ่อนในช่วงปีใหม่ ซึ่งหากเราเลือกตั้งได้ก่อนปีใหม่ แล้วค่อยไปดูผลกัน อาจจะฉลองว่าปีใหม่ปีนี้ได้รัฐบาลใหม่แล้ว ไม่ดีกว่าหรือ ส่วนการหารือกับพรรคการเมืองก็เป็นหน้าที่ของ กกต.แต่คิดว่า พรรคการเมืองส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นออกมาแล้วว่าพร้อมที่จะเลือกตั้งตามที่ได้หารือกันไว้ คงไม่น่าที่จะเป็นปัญหาใหญ่ เพราะพรรคการเมืองใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องก็เห็นพ้องต้องกันแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่าวันเลือกตั้งอาจต้องเลื่อนออกไปจากปัญหาการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแต่งตั้ง ผบ.ทบ.คงไม่ยืดยาวไปจนถึงเดือนธันวาคม ควรจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองเจตนารมณ์ของ น.ต.ประสงค์ฯ ที่ออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่สามารถไปวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นได้ แต่วิจารณ์ตัวเองได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เสียงสะท้อนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ครั้งนี้จะมีผลอะไรกับการพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฉบับหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังมองไม่เห็นว่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเพียงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติในเรื่องพรรคการเมือง เรื่องการเลือกตั้ง เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่น่าจะเกินเวลาที่กำหนดไว้ 45 วัน คิดว่าน่าจะทำได้ทัน แต่หากเป็นการแก้ไขเหมือนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก็เป็นอีกเรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้ายังมีคนไม่เห็นด้วยวันเลือกตั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงเปลี่ยนแปลงได้ เพราะในขณะนี้วันที่ 23 ธันวาคมน่าจะเป็นวันที่มีความเหมาะสมมากที่สุด แต่วันเลือกตั้งจริงๆ ต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งออกมาก่อน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--