พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เผยการเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการครั้งนี้เพื่อเน้นย้ำความร่วมมือไทย-มาเลเซียต้องดำเนินการทั้งเศรษฐกิจและสังคม
วันนี้ (21 สิงหาคม 2550) เวลา 08.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปยัง สำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเพื่อร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี
ภายหลังพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการ นายกรัฐมนตรีและคณะ ซึ่งประกอบไปด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ณ สำนักนายกรัฐมนตรี ชั้น 5 จากนั้น นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซีย จากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อพบปะกับชุมชนชาวไทยและนักเรียนไทยที่พำนักในมาเลเซียกว่า 40 คน ที่คอยให้การต้อนรับและร่วมรับประทานอาหารกลางวัน
จากนั้น เวลา 15.00 น. ณ โรงแรม Mandarin Oriental กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ ว่าเพื่อเน้นย้ำความร่วมมือไทย-มาเลเซียต้องดำเนินการทั้งเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- นายกรัฐมนตรีไทย-มาเลเซีย ร่วมเป็นสักขีพยานลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการศึกษา ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เป็นสักขีพยานลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างรัฐบาลไทยและมาเลเซีย โดยมีนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ดาโต๊ะ สรี ฮีสฮัมมุดดิน ตัน ฮัสเซ็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย โดยวัตถุประสงค์สำคัญของบันทึกความเข้าใจ คือ เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือ ข้อเสนอโครงการประสานงานด้านการศึกษาวิชาชีพ บนพื้นฐานของหลักปฏิบัติต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสถาบันการศึกษาและโรงเรียน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษาด้านการศาสนา การโอนหน่วยกิตการศึกษาและถ่ายโอนนักเรียน เป็นต้น นายกรัฐมนตรีเห็นว่า การลงนามบันทึกด้านการศึกษานี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านสังคมที่สำคัญเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานที่ดี พัฒนาบุคลากรการศึกษาของชาติ นอกจากนี้ ยังได้พบปะตัวแทนนักเรียนไทย ที่ศึกษาอยู่ในมาเลเซีย ประมาณ 40 คน ซึ่งเป็นเยาวชนทั้งที่มาจากกรุงเทพฯ และภาคใต้ของไทย
- เชื่อมเศรษฐกิจไทย-มาเลเซีย ด้านแรงงาน พลังงาน และสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย- มาเลเซีย-ไทย นายกรัฐมนตรีได้หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียถึงแนวทางสำหรับการหารือประจำปี ทั้งด้าน ความร่วมมือด้านแรงงาน การเคลื่อนไหวของแรงงาน เพื่อรองรับความก้าวหน้าในอนาคต โดยมาเลเซียต้องการพัฒนาพื้นที่ทางภาคเหนือซึ่งมีพื้นที่ติดกับภาคใต้ของไทยในจังหวัดนราธิวาส ยะลา สงขลา สตูล รวมทั้งความร่วมมือด้านพลังงาน โดยเฉพาะระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด มหาชนและปิโตนาส ของมาเลเซีย สำหรับการพัฒนาความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซียและไทยจะดำเนินการไปในสองแนวทาง คือ ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยและมาเลเซีย และความร่วมมือในระดับพหุภาคีด้วยความร่วมมืออินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยด้วย โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่าความร่วมมือตรงนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะพยายามสร้างความเข้าใจและส่งสัญญาณไปยังผู้ที่นิยมใช้วิธีที่รุนแรงว่ามันล้าสมัย ควรจะหันหน้ามาพัฒนาบ้านเมืองของเราน่าจะดีกว่า
- นายกรัฐมนตรีเชิญนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเยือนไทยร่วมเปิดสะพานมิตรภาพ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเชิญนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเดินทางเยือนไทย เพื่อเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่อำเภอตากใบ โดยสะพานดังกล่าวถือความร่วมมือของไทยและมาเลเซีย โดยต่างฝ่ายได้เร่งก่อสร้างสะพานในพื้นที่ของตน โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแสดงความยินดีเข้าร่วมในโอกาสดังกล่าว
- ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับ 131 คนไทยว่า ยืนยันหลักการเดิมว่า พร้อมรับกลับ หากบุคคลใดสมัครใจที่จะกลับ
สำหรับเย็นวันเดียวกันนี้ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาววี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์ แสดงความชื่นชมความสัมพันธ์ทวิภาคีครบรอบ 50 ปี ซึ่งพ้องกับโอกาสเฉลิมฉลองเอกราชมาเลเซีย ครบ50 ปี เช่นเดี่ยวกัน นายกรัฐมนตรี ซึ่งมิตรภาพระหว่างไทยและมาเลเซียนั้นมีมายาวนานร่วมหลายร้อยปี ก่อนความเป็นรัฐชาติ และมีการพัฒนาอย่างอย่างเข้มแข็งมาโดยตลอด ทั้งการเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมาและการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพ เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา ซึ่งความพยายามและความร่วมมือของทั้งสองประเทศ มุ่งเน้นพัฒนาให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น เพื่ออำนาจให้แก่ประชาชน โดยผ่านการศึกษา การจ้างงาน และการประกอบการ โดยอยู่บนจุดมุ่งหมายเดียวกันกับการประชุมนานาชาติ Langkawi International Dialogue คือ การขจัดปัญหาความยากจนโดยเน้นการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เช่นเดียวกับความร่วมมืออาเซียน ในฐานะชุมชนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน เพื่อให้ประชาชนของเรามีการศึกษาที่ดี สามารถใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและมีความสุข
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (21 สิงหาคม 2550) เวลา 08.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปยัง สำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเพื่อร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี
ภายหลังพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการ นายกรัฐมนตรีและคณะ ซึ่งประกอบไปด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ณ สำนักนายกรัฐมนตรี ชั้น 5 จากนั้น นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซีย จากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อพบปะกับชุมชนชาวไทยและนักเรียนไทยที่พำนักในมาเลเซียกว่า 40 คน ที่คอยให้การต้อนรับและร่วมรับประทานอาหารกลางวัน
จากนั้น เวลา 15.00 น. ณ โรงแรม Mandarin Oriental กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ ว่าเพื่อเน้นย้ำความร่วมมือไทย-มาเลเซียต้องดำเนินการทั้งเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- นายกรัฐมนตรีไทย-มาเลเซีย ร่วมเป็นสักขีพยานลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการศึกษา ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เป็นสักขีพยานลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างรัฐบาลไทยและมาเลเซีย โดยมีนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ดาโต๊ะ สรี ฮีสฮัมมุดดิน ตัน ฮัสเซ็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย โดยวัตถุประสงค์สำคัญของบันทึกความเข้าใจ คือ เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือ ข้อเสนอโครงการประสานงานด้านการศึกษาวิชาชีพ บนพื้นฐานของหลักปฏิบัติต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสถาบันการศึกษาและโรงเรียน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษาด้านการศาสนา การโอนหน่วยกิตการศึกษาและถ่ายโอนนักเรียน เป็นต้น นายกรัฐมนตรีเห็นว่า การลงนามบันทึกด้านการศึกษานี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านสังคมที่สำคัญเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานที่ดี พัฒนาบุคลากรการศึกษาของชาติ นอกจากนี้ ยังได้พบปะตัวแทนนักเรียนไทย ที่ศึกษาอยู่ในมาเลเซีย ประมาณ 40 คน ซึ่งเป็นเยาวชนทั้งที่มาจากกรุงเทพฯ และภาคใต้ของไทย
- เชื่อมเศรษฐกิจไทย-มาเลเซีย ด้านแรงงาน พลังงาน และสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย- มาเลเซีย-ไทย นายกรัฐมนตรีได้หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียถึงแนวทางสำหรับการหารือประจำปี ทั้งด้าน ความร่วมมือด้านแรงงาน การเคลื่อนไหวของแรงงาน เพื่อรองรับความก้าวหน้าในอนาคต โดยมาเลเซียต้องการพัฒนาพื้นที่ทางภาคเหนือซึ่งมีพื้นที่ติดกับภาคใต้ของไทยในจังหวัดนราธิวาส ยะลา สงขลา สตูล รวมทั้งความร่วมมือด้านพลังงาน โดยเฉพาะระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด มหาชนและปิโตนาส ของมาเลเซีย สำหรับการพัฒนาความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซียและไทยจะดำเนินการไปในสองแนวทาง คือ ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยและมาเลเซีย และความร่วมมือในระดับพหุภาคีด้วยความร่วมมืออินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยด้วย โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่าความร่วมมือตรงนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะพยายามสร้างความเข้าใจและส่งสัญญาณไปยังผู้ที่นิยมใช้วิธีที่รุนแรงว่ามันล้าสมัย ควรจะหันหน้ามาพัฒนาบ้านเมืองของเราน่าจะดีกว่า
- นายกรัฐมนตรีเชิญนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเยือนไทยร่วมเปิดสะพานมิตรภาพ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเชิญนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเดินทางเยือนไทย เพื่อเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่อำเภอตากใบ โดยสะพานดังกล่าวถือความร่วมมือของไทยและมาเลเซีย โดยต่างฝ่ายได้เร่งก่อสร้างสะพานในพื้นที่ของตน โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแสดงความยินดีเข้าร่วมในโอกาสดังกล่าว
- ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับ 131 คนไทยว่า ยืนยันหลักการเดิมว่า พร้อมรับกลับ หากบุคคลใดสมัครใจที่จะกลับ
สำหรับเย็นวันเดียวกันนี้ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาววี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์ แสดงความชื่นชมความสัมพันธ์ทวิภาคีครบรอบ 50 ปี ซึ่งพ้องกับโอกาสเฉลิมฉลองเอกราชมาเลเซีย ครบ50 ปี เช่นเดี่ยวกัน นายกรัฐมนตรี ซึ่งมิตรภาพระหว่างไทยและมาเลเซียนั้นมีมายาวนานร่วมหลายร้อยปี ก่อนความเป็นรัฐชาติ และมีการพัฒนาอย่างอย่างเข้มแข็งมาโดยตลอด ทั้งการเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมาและการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพ เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา ซึ่งความพยายามและความร่วมมือของทั้งสองประเทศ มุ่งเน้นพัฒนาให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น เพื่ออำนาจให้แก่ประชาชน โดยผ่านการศึกษา การจ้างงาน และการประกอบการ โดยอยู่บนจุดมุ่งหมายเดียวกันกับการประชุมนานาชาติ Langkawi International Dialogue คือ การขจัดปัญหาความยากจนโดยเน้นการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เช่นเดียวกับความร่วมมืออาเซียน ในฐานะชุมชนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน เพื่อให้ประชาชนของเรามีการศึกษาที่ดี สามารถใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและมีความสุข
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--