วันนี้เวลา 10.00 น ณ บ้านมนังคศิลา ถนนหลานหลวง กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ สุจิต บุญบงการ ประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ครั้งที่ 6/2550 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 รองศาสตราจารย์ ประณต นันทิยะกุล รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ กรรมการ และรองศาสตราจารย์ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กรรมการ ได้ร่วมกันแถลงข่าวโดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพร้อมด้วยสื่อมวลเข้าร่วมด้วย
นายนิรันดร์ ฯ กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมการจัดสัมมนาดังกล่าวในวันที่ 3 -4 เมษายน 2550 ที่โรงแรมรามาการ์เดนท์ เพื่อนำผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการชุด ต่างๆ อาทิ คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น คณะอนุกรรมการยกร่างแผนแม่บท คณะอนุกรรมการจัดทำโครงสร้างองค์กร และคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์มารวบรวมเพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำกฎหมายจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ทังนี้จากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจากทุกภูมิภาคใน 28 เวที มีประเด็นสำคัญ เช่น ประชาชนต้องการเห็นการพัฒนาทางการเมืองที่เน้นความเป็นภาคพลเมือง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงหลักสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ต้องการให้สภาพัฒนาการเมืองจัดตั้งขึ้นในรูปขององค์กรที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกภาคส่วน และมีกองทุนสนับสนุน รวมถึงบรรจุแผนดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ
รองศาสตราจารย์ นครินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันแผนพัฒนาการเมืองมี 6 ยุทธศาสตร์ 28 พันธกิจ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมความเข้มแข็งของภาค ประชาชน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมือง ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำทางการเมือง ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมธรรมาภิบาลทางด้านการเมืองการบริหาร ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมสังคมสมานฉันท์ การจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี และยุทธศาสตร์ที่ 6 การกระจายอำนาจ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายนิรันดร์ ฯ กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมการจัดสัมมนาดังกล่าวในวันที่ 3 -4 เมษายน 2550 ที่โรงแรมรามาการ์เดนท์ เพื่อนำผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการชุด ต่างๆ อาทิ คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น คณะอนุกรรมการยกร่างแผนแม่บท คณะอนุกรรมการจัดทำโครงสร้างองค์กร และคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์มารวบรวมเพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำกฎหมายจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ทังนี้จากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจากทุกภูมิภาคใน 28 เวที มีประเด็นสำคัญ เช่น ประชาชนต้องการเห็นการพัฒนาทางการเมืองที่เน้นความเป็นภาคพลเมือง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงหลักสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ต้องการให้สภาพัฒนาการเมืองจัดตั้งขึ้นในรูปขององค์กรที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกภาคส่วน และมีกองทุนสนับสนุน รวมถึงบรรจุแผนดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ
รองศาสตราจารย์ นครินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันแผนพัฒนาการเมืองมี 6 ยุทธศาสตร์ 28 พันธกิจ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมความเข้มแข็งของภาค ประชาชน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมือง ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำทางการเมือง ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมธรรมาภิบาลทางด้านการเมืองการบริหาร ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมสังคมสมานฉันท์ การจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี และยุทธศาสตร์ที่ 6 การกระจายอำนาจ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--