วันนี้ เวลา 21.35 น. ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงภายหลังเดินทางกลับจากการเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน 2550 เกี่ยวกับการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีความเข้าใจและให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง และได้รับคำยืนยันจากนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าสิ่งต่างๆ ที่อาจจะมีปัญหาหรือมีสิ่งใดที่ยังไม่ชัดเจนในสัญญาก็จะได้มีการตกลงแก้ไขกันต่อไปได้ สำหรับข้อตกลงนี้ยังคงไม่ได้รับการให้สัตยาบันจากทางญี่ปุ่น ทั้งนี้ จะต้องนำข้อตกลงดังกล่าวเข้าสู่รัฐสภาเพื่อรับทราบก่อน และเมื่อรัฐสภาให้สัตยาบันแล้วจึงจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ห้วงเวลาที่เหลืออยู่คาดว่าไม่ต่ำกว่า 3 เดือน หรืออย่างช้าที่สุดประมาณ 6 เดือน ระหว่างนี้เราจะต้องเตรียมการซึ่งอาจจะมีคณะทำงานขึ้นมาดูรายละเอียดข้อตกลง รวมทั้งจะต้องทำความเข้าใจกับนักลงทุนและภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมของเราว่าการลงนามครั้งนี้เราได้รับประโยชน์อะไร และจะต้องเตรียมตัวกันอย่างไรบ้าง
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ได้มีโอกาสพบกับประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาของญี่ปุ่นอีกเป็นจำนวนมาก โดยได้พูดคุยกันถึงเรื่องการพัฒนาทางการเมืองของไทย ซึ่งได้อธิบายว่าเราคงต้องดำเนินการไปตามกรอบระยะเวลาที่มีอยู่ และยังไม่มีปัญหาใด ๆ คาดว่าการร่างรัฐธรรมนูญนั้นร่างที่ 1 คงจะได้ประมาณวันที่ 19 หรือ 20 เมษายนนี้ หลังจากนั้นจะไปสู่ร่างที่ 2 และไปสู่การทำประชามติ ซึ่งรัฐสภาญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจและมีความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งยินดีสนับสนุนการดำเนินการของไทยที่จะไปสู่ระบอบประชาธิปไตยตามที่ได้กำหนดกรอบเวลาไว้
นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้พบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Nippon Keidanren) โดยได้อธิบายถึงบรรยากาศทางการลงทุน บรรยากาศทางการเมือง ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่นชั้นนำหลายคนได้เสนอแนะข้อคิดเห็นต่าง ๆ โดยเฉพาะมีนักธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตแท่นขุดเจาะน้ำมัน อุตสาหกรรมเหล็กที่จะผลิตเป็นรถยนต์ ลงทุนในการผลิตเครื่องไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นฐานการผลิตที่ส่งออกไปยังอินเดีย และตะวันออกกลาง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักลงทุนญี่ปุ่น และคิดว่าบรรยากาศในการลงทุนนั้นน่าจะอยู่ในระดับที่ดีมาก รวมทั้งได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนญี่ปุ่นถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานของการปฏิรูปทางการเมืองของไทย สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเรื่องที่รัฐบาลพยายามจะดำเนินการให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของประเทศไทยและญี่ปุ่น คงไม่ใช่เฉพาะเท่าที่ได้มีการลงนามกันเมื่อ 120 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ความสัมพันธ์นั้นมีมาก่อนหน้านั้นหลายร้อยปีแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าแม้จะเป็นรัฐบาลชั่วคราว แต่ก็ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายของทางการญี่ปุ่น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ได้มีโอกาสพบกับประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาของญี่ปุ่นอีกเป็นจำนวนมาก โดยได้พูดคุยกันถึงเรื่องการพัฒนาทางการเมืองของไทย ซึ่งได้อธิบายว่าเราคงต้องดำเนินการไปตามกรอบระยะเวลาที่มีอยู่ และยังไม่มีปัญหาใด ๆ คาดว่าการร่างรัฐธรรมนูญนั้นร่างที่ 1 คงจะได้ประมาณวันที่ 19 หรือ 20 เมษายนนี้ หลังจากนั้นจะไปสู่ร่างที่ 2 และไปสู่การทำประชามติ ซึ่งรัฐสภาญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจและมีความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งยินดีสนับสนุนการดำเนินการของไทยที่จะไปสู่ระบอบประชาธิปไตยตามที่ได้กำหนดกรอบเวลาไว้
นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้พบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Nippon Keidanren) โดยได้อธิบายถึงบรรยากาศทางการลงทุน บรรยากาศทางการเมือง ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่นชั้นนำหลายคนได้เสนอแนะข้อคิดเห็นต่าง ๆ โดยเฉพาะมีนักธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตแท่นขุดเจาะน้ำมัน อุตสาหกรรมเหล็กที่จะผลิตเป็นรถยนต์ ลงทุนในการผลิตเครื่องไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นฐานการผลิตที่ส่งออกไปยังอินเดีย และตะวันออกกลาง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักลงทุนญี่ปุ่น และคิดว่าบรรยากาศในการลงทุนนั้นน่าจะอยู่ในระดับที่ดีมาก รวมทั้งได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนญี่ปุ่นถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานของการปฏิรูปทางการเมืองของไทย สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเรื่องที่รัฐบาลพยายามจะดำเนินการให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของประเทศไทยและญี่ปุ่น คงไม่ใช่เฉพาะเท่าที่ได้มีการลงนามกันเมื่อ 120 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ความสัมพันธ์นั้นมีมาก่อนหน้านั้นหลายร้อยปีแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าแม้จะเป็นรัฐบาลชั่วคราว แต่ก็ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายของทางการญี่ปุ่น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--