นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม (คศร.) ครั้งที่ 6/2550 โดยมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม (คศร.) ครั้งที่ 6/2550 โดยมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย
ที่ประชุมรับทราบมาตรการส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่เห็นชอบมาตรการดังกล่าวในจังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ฯ มากขึ้น และเห็นควรให้มีมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการที่มีกิจการเดิมอยู่แล้วในจังหวัดอื่น ๆ หรือในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถขยายกิจการเพิ่มขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยโครงการหรือกิจการใหม่ที่เข้าไปลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ และให้กิจการที่ลงทุนอยู่เดิมได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามสัดส่วนโครงการหรือกิจการใหม่ที่เข้าไปลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ ดังนี้ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข 1) ต้องขยายการลงทุนในกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) กิจการที่ดำเนินการอยู่เดิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือจังหวัดอื่น ๆ จะต้องเป็นประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมการลงทุน 3) มูลค่าการลงทุนในโครงการใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน) 4) โครงการใหม่ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นนิติบุคคลเดิมหรือ นิติบุคคลอื่นได้ แต่ต้องเป็นกลุ่มบุคคลเดิมถือหุ้นทั้งหมด 5) จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมสำหรับโครงการที่จะลงทุนใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 พร้อมหนังสือแจ้งยืนยันการลงทุนของผู้ประกอบการรายเดิม 6) ผู้ประการรายเดิมต้องยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการเดิม หลังจากโครงการได้ลงทุนติดตั้งเครื่องจักรพร้อมที่จะเปิดดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับ สิทธิประโยชน์ ถ้าเป็นกิจการใหม่ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้น ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ส่วนกิจการเดิม ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ร้อยละ 100 ของมูลค่าเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ในโครงการลงทุนใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นระยะเวลา 3 ปี
สำหรับข้อแนะมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ของคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน และมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงาน และการปรับโครงสร้างกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม (คศร.) ครั้งที่ 6/2550 โดยมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย
ที่ประชุมรับทราบมาตรการส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่เห็นชอบมาตรการดังกล่าวในจังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ฯ มากขึ้น และเห็นควรให้มีมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการที่มีกิจการเดิมอยู่แล้วในจังหวัดอื่น ๆ หรือในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถขยายกิจการเพิ่มขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยโครงการหรือกิจการใหม่ที่เข้าไปลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ และให้กิจการที่ลงทุนอยู่เดิมได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามสัดส่วนโครงการหรือกิจการใหม่ที่เข้าไปลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ ดังนี้ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข 1) ต้องขยายการลงทุนในกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) กิจการที่ดำเนินการอยู่เดิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือจังหวัดอื่น ๆ จะต้องเป็นประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมการลงทุน 3) มูลค่าการลงทุนในโครงการใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน) 4) โครงการใหม่ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นนิติบุคคลเดิมหรือ นิติบุคคลอื่นได้ แต่ต้องเป็นกลุ่มบุคคลเดิมถือหุ้นทั้งหมด 5) จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมสำหรับโครงการที่จะลงทุนใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 พร้อมหนังสือแจ้งยืนยันการลงทุนของผู้ประกอบการรายเดิม 6) ผู้ประการรายเดิมต้องยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการเดิม หลังจากโครงการได้ลงทุนติดตั้งเครื่องจักรพร้อมที่จะเปิดดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับ สิทธิประโยชน์ ถ้าเป็นกิจการใหม่ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้น ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ส่วนกิจการเดิม ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ร้อยละ 100 ของมูลค่าเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ในโครงการลงทุนใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นระยะเวลา 3 ปี
สำหรับข้อแนะมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ของคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน และมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงาน และการปรับโครงสร้างกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--