แท็ก
บล.ธนชาต จำกัด (มหาชน)
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
สำนักงานประกันสังคม
กรมการขนส่งทางอากาศ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
วันนี้ เวลา 15.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการดำเนินกิจการ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) โดยมี นายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อธิบดีกรมศุลการกร และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ในการประเมินอาคาร/ที่พักอาศัยของผู้ได้รับผลกระทบทางเสียง และแนวทางการแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้า ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาหลักเกณฑ์ในการประเมินอาคาร/ที่พักอาศัยของผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการดังนี้ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางเสียง (NEF) มากกว่า 40 ให้เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2) พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางเสียง 30 - 40 ให้สนับสนุนการปรับปรุงอาคาร 3) ให้ประกาศเส้นเสียง กรณีการใช้ทางวิ่งที่ 1 และ 2 เต็มความสามารถสูงสุดของทางวิ่ง (76 เที่ยวบิน/ชั่วโมง) เฉพาะการบินขึ้นลง โดยให้แบ่งการใช้ทางวิ่งขึ้นลงในอัตราส่วน 80:20 ที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันตก ด้านทิศเหนือ และฝั่งตะวันออกด้านทิศใต้เพียง 2 ด้านเท่านั้น ซึ่งใช้เป็นทิศทางการบินหลักและมีโอกาสเกิดขึ้นจริง และ 4) ให้ใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีการหักค่าเสื่อมราคาและบวกเพิ่มค่าการตลาดสำหรับบ้านที่ไม่ใช่หมู่บ้านจัดสรร ให้บวกด้วยค่าการตลาดอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 10-20 ส่วนบ้านที่เป็นหมู่บ้านจัดสรร ให้บวกด้วยค่าการตลาดอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 20-30
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจำแนกคลังสินค้าปลอดอากรและคลังสินค้าสำหรับส่งออกและนำเข้าสินค้าปกติออกจากกันให้ชัดเจน ตามแนวทางที่ภาคเอกชนคือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทยได้เสนอ เพราะมีเหตุผลประกอบสำคัญคือ ทำให้เกิดความชัดเจนในการบริหารจัดการคลังสินค้าทั่วไปและคลังสินค้าปลอดอากร ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากคลังสินค้าปลอดอากรน้อยมาก แต่ถ้าในอนาคตเมื่อมีปริมาณสินค้าที่ต้องการเข้าใช้คลังสินค้าปลอดอากรมากขึ้นจะยังสามารถใช้บริการได้ อีกทั้งเป็นการจัดสรรพื้นที่ในคลังสินค้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิใหม่ โดยแยกเขตปลอดอากรออกจากเขตสินค้าปกติ ด้วยการเพิ่มพื้นที่และจุดตรวจสำหรับเป็นคลังสินค้านำเข้าและส่งออกปกติที่ไม่ใช้สิทธิสินค้าปลอดอากรให้มากขึ้น ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกสินค้าทั่วไปที่ไม่ใช้สิทธิปลอดอากร ขณะเดียวกันผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากเขตปลอดอากรในสินค้าที่ต้องการ และสามารถขนส่งสินค้าปกติได้ตามขั้นตอนของคลังสินค้าปกติ ทั้งนี้ ที่ประชุมให้นำแนวทางดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นำแนวทางที่คณะกรรมการฯ และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการและกำหนดระยะเวลาเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาหลักเกณฑ์ในการประเมินอาคาร/ที่พักอาศัยของผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการดังนี้ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางเสียง (NEF) มากกว่า 40 ให้เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2) พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางเสียง 30 - 40 ให้สนับสนุนการปรับปรุงอาคาร 3) ให้ประกาศเส้นเสียง กรณีการใช้ทางวิ่งที่ 1 และ 2 เต็มความสามารถสูงสุดของทางวิ่ง (76 เที่ยวบิน/ชั่วโมง) เฉพาะการบินขึ้นลง โดยให้แบ่งการใช้ทางวิ่งขึ้นลงในอัตราส่วน 80:20 ที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันตก ด้านทิศเหนือ และฝั่งตะวันออกด้านทิศใต้เพียง 2 ด้านเท่านั้น ซึ่งใช้เป็นทิศทางการบินหลักและมีโอกาสเกิดขึ้นจริง และ 4) ให้ใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีการหักค่าเสื่อมราคาและบวกเพิ่มค่าการตลาดสำหรับบ้านที่ไม่ใช่หมู่บ้านจัดสรร ให้บวกด้วยค่าการตลาดอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 10-20 ส่วนบ้านที่เป็นหมู่บ้านจัดสรร ให้บวกด้วยค่าการตลาดอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 20-30
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจำแนกคลังสินค้าปลอดอากรและคลังสินค้าสำหรับส่งออกและนำเข้าสินค้าปกติออกจากกันให้ชัดเจน ตามแนวทางที่ภาคเอกชนคือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทยได้เสนอ เพราะมีเหตุผลประกอบสำคัญคือ ทำให้เกิดความชัดเจนในการบริหารจัดการคลังสินค้าทั่วไปและคลังสินค้าปลอดอากร ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากคลังสินค้าปลอดอากรน้อยมาก แต่ถ้าในอนาคตเมื่อมีปริมาณสินค้าที่ต้องการเข้าใช้คลังสินค้าปลอดอากรมากขึ้นจะยังสามารถใช้บริการได้ อีกทั้งเป็นการจัดสรรพื้นที่ในคลังสินค้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิใหม่ โดยแยกเขตปลอดอากรออกจากเขตสินค้าปกติ ด้วยการเพิ่มพื้นที่และจุดตรวจสำหรับเป็นคลังสินค้านำเข้าและส่งออกปกติที่ไม่ใช้สิทธิสินค้าปลอดอากรให้มากขึ้น ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกสินค้าทั่วไปที่ไม่ใช้สิทธิปลอดอากร ขณะเดียวกันผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากเขตปลอดอากรในสินค้าที่ต้องการ และสามารถขนส่งสินค้าปกติได้ตามขั้นตอนของคลังสินค้าปกติ ทั้งนี้ ที่ประชุมให้นำแนวทางดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นำแนวทางที่คณะกรรมการฯ และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการและกำหนดระยะเวลาเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--