โฆษกรัฐบาลเผยผลการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธาน กกต.และประธานพีเน็ต ระบุรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติ ขณะที่พีเน็ตขอให้รัฐบาลสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อของรัฐให้ประชาชนตื่นตัวออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุด
เมื่อเวลา 16.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า วันนี้เมื่อเวลา 11.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้หารือและร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และพลเอก สายหยุด เกิดผล ประธานองค์กรกลางเพื่อการเลือกตั้ง (พีเน็ต) โดยนายกรัฐมนตรีได้ย้ำเจตนารมณ์ของรัฐบาลว่าในฐานะที่รัฐบาลเป็นฝ่ายบริหารจึงได้เชิญแต่ละฝ่ายมาหารือเพื่อประสานในการทำงาน และได้ยืนยันด้วยว่าพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติ และองค์กรเอกชนสามารถขอความร่วมมือจากภาครัฐผ่านทาง กกต. มายังรัฐบาลได้ ซึ่งรัฐบาลจะพิจารณาให้การสนับสนุนต่อไป และถ้าการประสานความร่วมมือมีประสิทธิภาพก็จะส่งผลถึงการเลือกตั้งด้วย โดยเฉพาะข้อมูลผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง อย่างกรณีที่กกต. ประกาศให้ผู้ที่จะใช้สิทธิแต่อยู่นอกพื้นที่ได้มาแจ้งความจำนงภายในวันที่ 10-19 ก.ค. นี้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทางพลเอก สายหยุดฯ ได้เสนอแนะในการหารือว่าปัจจัยสำคัญสำหรับการเลือกตั้งมี 3 ด้านคือ 1. บทบาทของ กกต.ที่จะต้องทำหน้าที่เป็นคนกลาง สุจริต เที่ยงธรรม 2.บทบาทองค์กรเอกชนในท้องถิ่นที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบ และ 3.ตัวแทนของพรรคการเมืองที่จะทำหน้าที่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้จะทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ทางพีเน็ตได้ขอให้รัฐบาลสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อของรัฐ เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวและออกมาใช้สิทธิให้ได้มากที่สุด โดยพีเน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการตรวจสอบการลงคะแนนตั้งแต่ในช่วงลงประชามติ ขณะที่ประธาน กกต. ได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบว่าในส่วนของ กกต. ได้จัดเตรียมงบประมาณไว้จำนวน 40 ล้านบาท ที่จะใช้ในการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติ และได้มีการประสานงานการทำงานกับองค์กรต่างๆ ใน 34 จังหวัด หาก กกต. ต้องการงบประมาณเพิ่ม รัฐบาลจะพิจารณาให้การสนับสนุน แต่ขณะนี้งบฯ กลางมีอยู่อย่างจำกัด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการหารือดังกล่าวไม่ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พูดชัดเจนแล้วว่าต้องรอให้มีการลงประชามติให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ โดยทาง กกต. จะเป็นผู้พิจารณาและเสนอมาให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป รวมทั้งไม่ได้มีการหารือถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ หรือกระแสข่าวการคว่ำรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญคือรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติและเลือกตั้ง ส่วนประชาชนจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญถือเป็นดุลยพินิจของประชาชน สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และ กกต.มีหน้าที่เพียงนำเสนอรายละเอียดของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ประชาชนเข้าใจเท่านั้น
ต่อข้อถามว่า ได้มีการหารือหรือไม่ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ จะมีการดำเนินการอย่างไร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ย้ำในการหารือว่าเรื่องเหล่านี้จะต้องพิจารณาหลังจากที่มีการลงประชามติและผลการลงประชามติออกมาแล้วถึงจะมีการหารือและพิจารณาเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นายกรัฐมนตรีต้องการให้มีการสนับสนุนให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิลงประชามติให้มากที่สุด
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 16.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า วันนี้เมื่อเวลา 11.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้หารือและร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และพลเอก สายหยุด เกิดผล ประธานองค์กรกลางเพื่อการเลือกตั้ง (พีเน็ต) โดยนายกรัฐมนตรีได้ย้ำเจตนารมณ์ของรัฐบาลว่าในฐานะที่รัฐบาลเป็นฝ่ายบริหารจึงได้เชิญแต่ละฝ่ายมาหารือเพื่อประสานในการทำงาน และได้ยืนยันด้วยว่าพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติ และองค์กรเอกชนสามารถขอความร่วมมือจากภาครัฐผ่านทาง กกต. มายังรัฐบาลได้ ซึ่งรัฐบาลจะพิจารณาให้การสนับสนุนต่อไป และถ้าการประสานความร่วมมือมีประสิทธิภาพก็จะส่งผลถึงการเลือกตั้งด้วย โดยเฉพาะข้อมูลผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง อย่างกรณีที่กกต. ประกาศให้ผู้ที่จะใช้สิทธิแต่อยู่นอกพื้นที่ได้มาแจ้งความจำนงภายในวันที่ 10-19 ก.ค. นี้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทางพลเอก สายหยุดฯ ได้เสนอแนะในการหารือว่าปัจจัยสำคัญสำหรับการเลือกตั้งมี 3 ด้านคือ 1. บทบาทของ กกต.ที่จะต้องทำหน้าที่เป็นคนกลาง สุจริต เที่ยงธรรม 2.บทบาทองค์กรเอกชนในท้องถิ่นที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบ และ 3.ตัวแทนของพรรคการเมืองที่จะทำหน้าที่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้จะทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ทางพีเน็ตได้ขอให้รัฐบาลสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อของรัฐ เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวและออกมาใช้สิทธิให้ได้มากที่สุด โดยพีเน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการตรวจสอบการลงคะแนนตั้งแต่ในช่วงลงประชามติ ขณะที่ประธาน กกต. ได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบว่าในส่วนของ กกต. ได้จัดเตรียมงบประมาณไว้จำนวน 40 ล้านบาท ที่จะใช้ในการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติ และได้มีการประสานงานการทำงานกับองค์กรต่างๆ ใน 34 จังหวัด หาก กกต. ต้องการงบประมาณเพิ่ม รัฐบาลจะพิจารณาให้การสนับสนุน แต่ขณะนี้งบฯ กลางมีอยู่อย่างจำกัด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการหารือดังกล่าวไม่ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พูดชัดเจนแล้วว่าต้องรอให้มีการลงประชามติให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ โดยทาง กกต. จะเป็นผู้พิจารณาและเสนอมาให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป รวมทั้งไม่ได้มีการหารือถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ หรือกระแสข่าวการคว่ำรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญคือรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติและเลือกตั้ง ส่วนประชาชนจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญถือเป็นดุลยพินิจของประชาชน สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และ กกต.มีหน้าที่เพียงนำเสนอรายละเอียดของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ประชาชนเข้าใจเท่านั้น
ต่อข้อถามว่า ได้มีการหารือหรือไม่ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ จะมีการดำเนินการอย่างไร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ย้ำในการหารือว่าเรื่องเหล่านี้จะต้องพิจารณาหลังจากที่มีการลงประชามติและผลการลงประชามติออกมาแล้วถึงจะมีการหารือและพิจารณาเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นายกรัฐมนตรีต้องการให้มีการสนับสนุนให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิลงประชามติให้มากที่สุด
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--