พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน 2550 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การเยือนญี่ปุ่นได้บรรลุวัตถุประสงค์หลักทั้ง 3 ประการ ตามที่ได้วางไว้ ได้แก่ (1) การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (EPA) (2) การอธิบายสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจไทย และสร้างความมั่นใจ (3) เป็นส่วนหนึ่งของการฉลอง 120 ปีความสัมพันธ์การทูตไทย - ญี่ปุ่น
ประการแรก นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นกับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อย โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ไทยเดินมาถูกทางแล้ว เนื่องจากเป็นความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่มีความสมบูรณ์ และทั้งสองประเทศต่างรับได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ไทยจะได้รับประโยชน์สูงสุดในเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี ไทยคงมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการต่อไปอีกมาก ภายหลังการลงนาม เพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม สำหรับเรื่องขยะพิษและสิทธิบัตรจุลชีพนั้น ญี่ปุ่นเข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยทำความตกลงเป็นการเฉพาะแยกอีกหนึ่งฉบับ ให้ความมั่นใจในเรื่องนี้
ประการที่สอง ระหว่างการเยือนฯ นายกรัฐมนตรีได้ใช้โอกาสนี้พบปะบุคคลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทั้งภาครัฐและเอกชน ได้หารือข้อราชการกับนรม.อาเบะ และร่วมรับประทานอาหารกับนายโคโน ประธานสภาผู้แทนราษฏร นายชิโอซากิ เลขาธิการ ครม. และ สส.อีกหลายคน โดยก่อนการเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิ นายกรัฐมนตรีได้พบกับ สส.นาคากาวา ซึ่งเป็นอดีต รมว. METI และ รมว.เกษตร ซึ่งมีบทบาทในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับไทยมาโดยตลอดด้วย
นายกรัฐมนตรีได้พบกับสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นหรือ Keidanren ซึ่งเป็นองค์กรเศรษฐกิจ ที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น และยังได้พบกับสมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น รวมทั้งนักวิชาการของญี่ปุ่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ถือโอกาสนี้อธิบายถึงสถานการณ์ พัฒนาการการเมือง เศรษฐกิจของไทยให้ได้รับทราบโดยทั่วกัน ซึ่งน่ายินดีที่ได้รับความเข้าใจจากทุกฝ่าย คำอธิบายทำให้ญี่ปุ่นมีความเข้าใจสถานการณ์การเมืองของไทยและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาล โดย นรม.อาเบะได้แสดงความชื่นชมที่ไทยมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ และกรอบเวลาที่จะจัดการลงประชามติ ซึ่งญี่ปุ่นเองก็มีแผนการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญของเขาและอาจจัดการลงประชามติในลักษณะคล้ายคลึงกับไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ประธานสภาฯ โคโน ก็ได้ให้กำลังใจกับนายกรัฐมนตรี และนำกลุ่ม สส. คนสำคัญของพรรค LDP มาร่วมรับประทานอาหารและหารือในบรรยากาศเป็นมิตรและอบอุ่นยิ่ง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า การเลือกตั้งของไทยจะมีขึ้นในวันที่ 16 หรือ 23 ธ.ค.นี้
ในด้านเศรษฐกิจนั้น นายกรัฐมนตรีได้รับเชิญไปกล่าวสุนทรพจน์ที่สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น โดยภาคเอกชนญี่ปุ่นต่างแสดงความมั่นใจต่อนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของรัฐบาล พร้อมกับแจ้งถึงแผนการที่จะขยายการลงทุนในไทยอีกหลายสาขาให้นายกรัฐมนตรีได้ทราบ อาทิ สาขาเหล็ก มีบริษัทที่มีแผนจะขยายการลงทุนผลิตเหล็กในไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมผลิตแท่นขุดเจาะน้ำมัน รวมทั้ง การผลิตเหล็กป้อนอุตสาหกรรมรถยนต์ นอกจากนี้ ในธุรกิจการเงินการธนาคาร ก็มีธนาคารขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นกำลังขยายกิจการเพื่อให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าไปในไทยมากขึ้น สำหรับ สาขาเครื่องไฟฟ้า มีบริษัทญี่ปุ่นที่ขณะนี้จ้างงานกว่า 20,000 คน และจะขยายการผลิตในไทยเพื่อเป็นฐานไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการแสดงความกระตือรือร้นของนักธุรกิจญี่ปุ่น และในโอกาสอันใกล้นี้ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นจะนำคณะมาเยือนไทยเพื่อหารือเพื่อขยายลู่ทางทางการค้าการลงทุนกับไทยเพิ่มมากขึ้น
ประการสุดท้าย ที่เกี่ยวกับประเด็นด้านความสัมพันธ์นั้น นายกรัฐมนตรีได้ใช้โอกาส 120 ปีความสัมพันธ์การทูตไทย - ญี่ปุ่น เชิญชวนคนญี่ปุ่นให้มาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน มีชาวญี่ปุ่นเดินทางมาเที่ยวไทยปีละ 1.3 ล้านคน จึงเป็นตลาดท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญมากสำหรับไทย ทั้งนี้ ระหว่างการเยือนนายกรัฐมนตรีได้รับเชิญให้เป็นประธานเปิดการสัมนาการค้า การลงทุน ซึ่งเป็นการจัดให้ผู้ประกอบการของสองฝ่ายได้มาพบปะหารือกันว่า จะใช้ประโยชน์จากโอกาส 120 ปีความสัมพันธ์ฯ และการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น เพื่อกระตุ้นการค้า การลงทุน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวได้อย่างไร
สำหรับในส่วนอื่น ๆ นั้น นายกรัฐมนตรีได้หารือกับ นรม.อาเบะในหลายประเด็น รวมทั้งการเร่งรัดคำขอกู้เงิน JBIC เพื่อนำมาลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 3 สายแรก จากที่มีอยู่ 40 กม. เป็น 200 กม. ซึ่ง นรม.อาเบะได้ตอบรับในเรื่องนี้ และจะส่งคณะมาเจรจาเพื่อสรุปผลภายในเดือน มิ.ย. ก่อนเริ่มการประมูลในเดือน ก.ค.50 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เน้นไปว่า รัฐบาลต้องการให้ทุกอย่างมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่ง นรม.อาเบะแสดงความชื่นชมไทยในเรื่องนี้ นอกจากนี้ มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในกรอบอาเซียน กรอบ UN รวมทั้งประเด็นภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนพัฒนาการในพม่า ซึ่งญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้
สรุปได้ว่า การเยือนฯ ครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากฝ่ายญี่ปุ่น และถือได้ว่าประสบผลสำเร็จอย่างมาก และในโอกาสต่อไปนายกรัฐมนตรีจะได้แจ้งให้พี่น้องประชาชนชาวไทย ได้รับทราบถึงข้อมูล รายละเอียด และความเป็นมา ของการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ต่อไป โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น เพื่อให้ชาวไทยทุกคนได้เตรียมพร้อมที่จะปรับตัวและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
การเยือนญี่ปุ่นได้บรรลุวัตถุประสงค์หลักทั้ง 3 ประการ ตามที่ได้วางไว้ ได้แก่ (1) การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (EPA) (2) การอธิบายสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจไทย และสร้างความมั่นใจ (3) เป็นส่วนหนึ่งของการฉลอง 120 ปีความสัมพันธ์การทูตไทย - ญี่ปุ่น
ประการแรก นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นกับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อย โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ไทยเดินมาถูกทางแล้ว เนื่องจากเป็นความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่มีความสมบูรณ์ และทั้งสองประเทศต่างรับได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ไทยจะได้รับประโยชน์สูงสุดในเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี ไทยคงมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการต่อไปอีกมาก ภายหลังการลงนาม เพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม สำหรับเรื่องขยะพิษและสิทธิบัตรจุลชีพนั้น ญี่ปุ่นเข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยทำความตกลงเป็นการเฉพาะแยกอีกหนึ่งฉบับ ให้ความมั่นใจในเรื่องนี้
ประการที่สอง ระหว่างการเยือนฯ นายกรัฐมนตรีได้ใช้โอกาสนี้พบปะบุคคลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทั้งภาครัฐและเอกชน ได้หารือข้อราชการกับนรม.อาเบะ และร่วมรับประทานอาหารกับนายโคโน ประธานสภาผู้แทนราษฏร นายชิโอซากิ เลขาธิการ ครม. และ สส.อีกหลายคน โดยก่อนการเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิ นายกรัฐมนตรีได้พบกับ สส.นาคากาวา ซึ่งเป็นอดีต รมว. METI และ รมว.เกษตร ซึ่งมีบทบาทในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับไทยมาโดยตลอดด้วย
นายกรัฐมนตรีได้พบกับสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นหรือ Keidanren ซึ่งเป็นองค์กรเศรษฐกิจ ที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น และยังได้พบกับสมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น รวมทั้งนักวิชาการของญี่ปุ่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ถือโอกาสนี้อธิบายถึงสถานการณ์ พัฒนาการการเมือง เศรษฐกิจของไทยให้ได้รับทราบโดยทั่วกัน ซึ่งน่ายินดีที่ได้รับความเข้าใจจากทุกฝ่าย คำอธิบายทำให้ญี่ปุ่นมีความเข้าใจสถานการณ์การเมืองของไทยและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาล โดย นรม.อาเบะได้แสดงความชื่นชมที่ไทยมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ และกรอบเวลาที่จะจัดการลงประชามติ ซึ่งญี่ปุ่นเองก็มีแผนการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญของเขาและอาจจัดการลงประชามติในลักษณะคล้ายคลึงกับไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ประธานสภาฯ โคโน ก็ได้ให้กำลังใจกับนายกรัฐมนตรี และนำกลุ่ม สส. คนสำคัญของพรรค LDP มาร่วมรับประทานอาหารและหารือในบรรยากาศเป็นมิตรและอบอุ่นยิ่ง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า การเลือกตั้งของไทยจะมีขึ้นในวันที่ 16 หรือ 23 ธ.ค.นี้
ในด้านเศรษฐกิจนั้น นายกรัฐมนตรีได้รับเชิญไปกล่าวสุนทรพจน์ที่สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น โดยภาคเอกชนญี่ปุ่นต่างแสดงความมั่นใจต่อนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของรัฐบาล พร้อมกับแจ้งถึงแผนการที่จะขยายการลงทุนในไทยอีกหลายสาขาให้นายกรัฐมนตรีได้ทราบ อาทิ สาขาเหล็ก มีบริษัทที่มีแผนจะขยายการลงทุนผลิตเหล็กในไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมผลิตแท่นขุดเจาะน้ำมัน รวมทั้ง การผลิตเหล็กป้อนอุตสาหกรรมรถยนต์ นอกจากนี้ ในธุรกิจการเงินการธนาคาร ก็มีธนาคารขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นกำลังขยายกิจการเพื่อให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าไปในไทยมากขึ้น สำหรับ สาขาเครื่องไฟฟ้า มีบริษัทญี่ปุ่นที่ขณะนี้จ้างงานกว่า 20,000 คน และจะขยายการผลิตในไทยเพื่อเป็นฐานไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการแสดงความกระตือรือร้นของนักธุรกิจญี่ปุ่น และในโอกาสอันใกล้นี้ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นจะนำคณะมาเยือนไทยเพื่อหารือเพื่อขยายลู่ทางทางการค้าการลงทุนกับไทยเพิ่มมากขึ้น
ประการสุดท้าย ที่เกี่ยวกับประเด็นด้านความสัมพันธ์นั้น นายกรัฐมนตรีได้ใช้โอกาส 120 ปีความสัมพันธ์การทูตไทย - ญี่ปุ่น เชิญชวนคนญี่ปุ่นให้มาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน มีชาวญี่ปุ่นเดินทางมาเที่ยวไทยปีละ 1.3 ล้านคน จึงเป็นตลาดท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญมากสำหรับไทย ทั้งนี้ ระหว่างการเยือนนายกรัฐมนตรีได้รับเชิญให้เป็นประธานเปิดการสัมนาการค้า การลงทุน ซึ่งเป็นการจัดให้ผู้ประกอบการของสองฝ่ายได้มาพบปะหารือกันว่า จะใช้ประโยชน์จากโอกาส 120 ปีความสัมพันธ์ฯ และการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น เพื่อกระตุ้นการค้า การลงทุน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวได้อย่างไร
สำหรับในส่วนอื่น ๆ นั้น นายกรัฐมนตรีได้หารือกับ นรม.อาเบะในหลายประเด็น รวมทั้งการเร่งรัดคำขอกู้เงิน JBIC เพื่อนำมาลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 3 สายแรก จากที่มีอยู่ 40 กม. เป็น 200 กม. ซึ่ง นรม.อาเบะได้ตอบรับในเรื่องนี้ และจะส่งคณะมาเจรจาเพื่อสรุปผลภายในเดือน มิ.ย. ก่อนเริ่มการประมูลในเดือน ก.ค.50 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เน้นไปว่า รัฐบาลต้องการให้ทุกอย่างมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่ง นรม.อาเบะแสดงความชื่นชมไทยในเรื่องนี้ นอกจากนี้ มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในกรอบอาเซียน กรอบ UN รวมทั้งประเด็นภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนพัฒนาการในพม่า ซึ่งญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้
สรุปได้ว่า การเยือนฯ ครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากฝ่ายญี่ปุ่น และถือได้ว่าประสบผลสำเร็จอย่างมาก และในโอกาสต่อไปนายกรัฐมนตรีจะได้แจ้งให้พี่น้องประชาชนชาวไทย ได้รับทราบถึงข้อมูล รายละเอียด และความเป็นมา ของการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ต่อไป โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น เพื่อให้ชาวไทยทุกคนได้เตรียมพร้อมที่จะปรับตัวและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--