พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ระบุการพิจารณาออกหมายจับ 9 แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจและศาล ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่จะพิจารณากันต่อไป
วันนี้ เวลา 15.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการพิจารณาเพื่อออกหมายจับ 9 แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ว่า ในส่วนของการดำเนินการคิดว่าเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจและศาล ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่จะพิจารณากันต่อไป รัฐบาลคงไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องรายละเอียดของการดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มาตรการขั้นเด็ดขาดที่ได้หารือกับประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพื่อนำมาใช้จัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุมคืออะไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ได้คุยกันเป็นของการที่จะต้องทำความตกลงกันให้ชัดเจนว่า ถ้าจะมีการชุมนุมก็ต้องอยู่ในบริเวณที่กำหนด การจะไปสร้างความเดือดร้อนความยุ่งยากที่นอกเหนือจากข้อตกลงกันไว้ ไม่ควรจะเกิดขึ้น และหากละเมิดก็คงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
“ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรามานานแล้ว ซึ่งการชุมนุมถือว่าเป็นการแสดงออกโดยสันติได้ ถ้าไม่ทำอันตราย ทำลายข้าวของที่เป็นของสาธารณะ หรือไม่ทำร้ายเจ้าหน้าที่ก็ถือว่าเป็นการแสดงออกโดยสันติ ส่วนนักข่าว ช่างภาพที่ได้รับบาดเจ็บ ก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ และขณะนี้รัฐบาลก็ใช้ความเด็ดขาดทางกฎหมายดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุม แต่รัฐบาลไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จที่จะบอกว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะได้รับโทษอย่างไร ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าบ้านพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ตนเองและคณะรัฐมนตรีก็ได้ไปขอโทษที่เราไม่ได้ดูแลท่าน ซึ่งรัฐบาลคงต้องปรับปรุงต่อไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนการชุมนุมของกลุ่ม นปก.ที่ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงชุมนุมนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นอำนาจของทาง กทม. หากผู้ชุมนุมกลุ่ม นปก. ขออนุญาตใช้พื้นที่และกทม.อนุญาต ก็เป็นอำนาจของกทม.และเจ้าหน้าที่ต้องดูแลไม่ให้ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย โดยการชุมนุมตามหลักการจะต้องชุมนุมในพื้นที่ที่กำหนดไว้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากกลุ่มนปก.เคลื่อนมาชุมนุมที่บ้านสี่เสาเทเวศน์หรือไปยังพื้นที่อื่นอีก จะมีการสกัดกั้นทันทีใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ต้องการให้มีการเคลื่อนขบวนออกจากที่ชุมนุม อยากให้อยู่ในพื้นที่ตามข้อตกลงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาดูแลพลเอก เปรมฯ น้อยเกินไปหรือไม่ จึงทำให้ฝ่ายตรงข้ามเคลื่อนไหวกดดัน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้คิดว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม คิดว่าเป็นการละเมิดกฎหมายของผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น จากการรายงานของตำรวจเป็นเพียงการชุมนุมเคลื่อนไหวโดยสันติวิธี แต่เมื่อมีการใช้ความรุนแรง ไม่ได้ปฏิบัติโดยสันติวิธีเช่นที่ผ่านมาก็ถือว่าละเมิดข้อตกลง เพราะมีการทำลายทรัพย์สิน ทำร้ายเจ้าหน้าที่กทม. ตำรวจ ซึ่งถือว่าทำผิดกฎหมาย และหากเป็นไปได้เหตุการณ์เช่นนี้ ไม่ควรเกิดขึ้นอีก ควรจะเข้าใจว่าสิทธิของผู้ที่ชุมนุมไม่ควรละเมิดสิทธิของคนอื่น และการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลจะไปพูดคุยทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ชุมนุม
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่แกนนำ นปก. จะส่งเทปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังต่างประเทศ จะส่งผลเสียหายต่อประเทศไทยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าต่างประเทศเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เท่าที่ได้ติดตามข่าวที่สำนักข่าวต่างประเทศส่งออกไปก็เป็นไปในลักษณะสถานการณ์ที่เป็นจริง คือ ฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุม นปก.เป็นผู้ริเริ่มใช้ความรุนแรงก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ออกมาเตือนว่ากลุ่มผู้ชุมนุมอาจก่อเหตุรุนแรงอีก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลก็รับฟัง ซึ่งพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้รายงานให้ทราบแล้ว เราคงต้องระมัดระวัง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สถานการณ์ขณะนี้เลยขั้นตอนการตกลงทำความเข้าใจไปแล้ว จะทำอย่างไรต่อไป นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อเลยแล้วก็ต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย เช่นเดียวกับที่ตำรวจดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอยู่ในขณะนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนไหวท้าทายรัฐบาลตลอดเวลา รัฐบาลมีธงที่จะดำเนินการอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ธงของรัฐบาลก็คือดูแลสถานการณ์บ้านเมืองในทุกๆ ด้าน เพื่อให้มีการเลือกตั้งมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเกิดการปะทะกันรุนแรงถึงชีวิต รัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ซึ่งได้พูดมาหลายครั้งในชีวิตว่า ไม่อยากเห็นคนไทยต้องใช้ความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งรัฐบาลพยายามที่จะรักษาสถานการณ์ให้ปกติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าหัวเด็ดตีนขาด รัฐบาลจะไม่ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขึ้นกับสถานการณ์ คำว่า หัวเด็ดตีนขาดคงใช้ไม่ได้ รัฐบาลจะพิจารณาในแต่ละขั้นตอนว่าจะดำเนินการอย่างไร จะใช้ยาอ่อน ยาแรงอย่างไร ไม่ใช่บอกว่าจะใช้ยาแก้ปวดหรือยาแดงอย่างเดียวคงไม่ได้ สิ่งที่รัฐบาลทำขณะนี้ก็ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม และพยายามทำอย่างดีที่สุดแล้ว เราคงไม่ได้ไปเกี้ยเซี้ยกับใคร เราอยากเห็นสถานการณ์ที่สงบมากกว่าสถานการณ์ที่รุนแรง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ คิดว่ามีผู้สนับสนุนเบื้องหลังหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องฟังข้อมูลต่างๆ เรายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในส่วนนี้ คงต้องฟังว่ามีผู้ให้การสนับสนุนหรือมีความเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้สนับสนุนกลุ่ม นปก. นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่คาดคะเนกัน ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณฯ ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามดูกันต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นความประจวบเหมาะหรือไม่ เพราะระหว่างเหตุการณ์ปะทะกัน พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ที่ฮ่องกง ก็มีการเปิดหนังสือและเว็บไซต์ส่วนตัว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ติดตาม และคิดว่าต้องติดตามดูกันต่อไปว่ามีความเชื่อมโยง มีอะไรหรือไม่ ซึ่งการที่พ.ต.ท.ทักษิณฯ เดินทางมาฮ่องกงก็ถือเป็นสิทธิ ส่วนการเปิดเว็บไซต์ เราก็ดูแลอยู่ โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ก็ได้ติดตามอยู่ ส่วนเรื่องอื่นๆ เรายังไม่มีข้อมูล
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณฯ ระบุว่าหากจะขอลี้ภัย จะขอลี้ภัยในประเทศจีน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งการลี้ภัยในประเทศหนึ่งประเทศใด ก็มีสาเหตุจากทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกิดจากความผิดในคดีอาญาและมีความเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น ก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละประเทศที่จะพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นหนึ่งในการขอลี้ภัยทางการเมืองได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าไม่เกี่ยว เรื่องความวุ่นวายทางการเมืองของเราคงไม่ได้เกี่ยวกับเหตุผลที่จะลี้ภัย เพราะขณะนี้การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ดำเนินการก็ว่าไปตามลำดับ ซึ่งได้ติดตามอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่า พ.ต.ท. ทักษิณฯ เคยระบุคำว่า “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” นั้น จะถูกเชื่อมโยงกับความเคลื่อนไหวในบ้านเมืองขณะนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่สามารถตอบได้ ต้องถาม พ.ต.ท.ทักษิณฯ ว่าหมายถึงใคร
ส่วนกรณีที่อดีต ส.ส.ไทยรักไทย จะเดินทางไปอวยพรวันเกิดพ.ต.ท. ทักษิณฯ ที่ประเทศอังกฤษ นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นสิทธิของแต่ละคน ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะไปอังกฤษหรือฮ่องกง เราคงไม่สามารถไปห้ามได้ และหากใครจะมาร่วมงานวันเกิดตนเอง ก็คงไม่ห้าม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการพิจารณาเพื่อออกหมายจับ 9 แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ว่า ในส่วนของการดำเนินการคิดว่าเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจและศาล ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่จะพิจารณากันต่อไป รัฐบาลคงไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องรายละเอียดของการดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มาตรการขั้นเด็ดขาดที่ได้หารือกับประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพื่อนำมาใช้จัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุมคืออะไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ได้คุยกันเป็นของการที่จะต้องทำความตกลงกันให้ชัดเจนว่า ถ้าจะมีการชุมนุมก็ต้องอยู่ในบริเวณที่กำหนด การจะไปสร้างความเดือดร้อนความยุ่งยากที่นอกเหนือจากข้อตกลงกันไว้ ไม่ควรจะเกิดขึ้น และหากละเมิดก็คงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
“ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรามานานแล้ว ซึ่งการชุมนุมถือว่าเป็นการแสดงออกโดยสันติได้ ถ้าไม่ทำอันตราย ทำลายข้าวของที่เป็นของสาธารณะ หรือไม่ทำร้ายเจ้าหน้าที่ก็ถือว่าเป็นการแสดงออกโดยสันติ ส่วนนักข่าว ช่างภาพที่ได้รับบาดเจ็บ ก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ และขณะนี้รัฐบาลก็ใช้ความเด็ดขาดทางกฎหมายดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุม แต่รัฐบาลไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จที่จะบอกว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะได้รับโทษอย่างไร ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าบ้านพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ตนเองและคณะรัฐมนตรีก็ได้ไปขอโทษที่เราไม่ได้ดูแลท่าน ซึ่งรัฐบาลคงต้องปรับปรุงต่อไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนการชุมนุมของกลุ่ม นปก.ที่ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงชุมนุมนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นอำนาจของทาง กทม. หากผู้ชุมนุมกลุ่ม นปก. ขออนุญาตใช้พื้นที่และกทม.อนุญาต ก็เป็นอำนาจของกทม.และเจ้าหน้าที่ต้องดูแลไม่ให้ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย โดยการชุมนุมตามหลักการจะต้องชุมนุมในพื้นที่ที่กำหนดไว้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากกลุ่มนปก.เคลื่อนมาชุมนุมที่บ้านสี่เสาเทเวศน์หรือไปยังพื้นที่อื่นอีก จะมีการสกัดกั้นทันทีใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ต้องการให้มีการเคลื่อนขบวนออกจากที่ชุมนุม อยากให้อยู่ในพื้นที่ตามข้อตกลงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาดูแลพลเอก เปรมฯ น้อยเกินไปหรือไม่ จึงทำให้ฝ่ายตรงข้ามเคลื่อนไหวกดดัน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้คิดว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม คิดว่าเป็นการละเมิดกฎหมายของผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น จากการรายงานของตำรวจเป็นเพียงการชุมนุมเคลื่อนไหวโดยสันติวิธี แต่เมื่อมีการใช้ความรุนแรง ไม่ได้ปฏิบัติโดยสันติวิธีเช่นที่ผ่านมาก็ถือว่าละเมิดข้อตกลง เพราะมีการทำลายทรัพย์สิน ทำร้ายเจ้าหน้าที่กทม. ตำรวจ ซึ่งถือว่าทำผิดกฎหมาย และหากเป็นไปได้เหตุการณ์เช่นนี้ ไม่ควรเกิดขึ้นอีก ควรจะเข้าใจว่าสิทธิของผู้ที่ชุมนุมไม่ควรละเมิดสิทธิของคนอื่น และการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลจะไปพูดคุยทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ชุมนุม
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่แกนนำ นปก. จะส่งเทปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังต่างประเทศ จะส่งผลเสียหายต่อประเทศไทยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าต่างประเทศเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เท่าที่ได้ติดตามข่าวที่สำนักข่าวต่างประเทศส่งออกไปก็เป็นไปในลักษณะสถานการณ์ที่เป็นจริง คือ ฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุม นปก.เป็นผู้ริเริ่มใช้ความรุนแรงก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ออกมาเตือนว่ากลุ่มผู้ชุมนุมอาจก่อเหตุรุนแรงอีก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลก็รับฟัง ซึ่งพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้รายงานให้ทราบแล้ว เราคงต้องระมัดระวัง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สถานการณ์ขณะนี้เลยขั้นตอนการตกลงทำความเข้าใจไปแล้ว จะทำอย่างไรต่อไป นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อเลยแล้วก็ต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย เช่นเดียวกับที่ตำรวจดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอยู่ในขณะนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนไหวท้าทายรัฐบาลตลอดเวลา รัฐบาลมีธงที่จะดำเนินการอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ธงของรัฐบาลก็คือดูแลสถานการณ์บ้านเมืองในทุกๆ ด้าน เพื่อให้มีการเลือกตั้งมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเกิดการปะทะกันรุนแรงถึงชีวิต รัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ซึ่งได้พูดมาหลายครั้งในชีวิตว่า ไม่อยากเห็นคนไทยต้องใช้ความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งรัฐบาลพยายามที่จะรักษาสถานการณ์ให้ปกติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าหัวเด็ดตีนขาด รัฐบาลจะไม่ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขึ้นกับสถานการณ์ คำว่า หัวเด็ดตีนขาดคงใช้ไม่ได้ รัฐบาลจะพิจารณาในแต่ละขั้นตอนว่าจะดำเนินการอย่างไร จะใช้ยาอ่อน ยาแรงอย่างไร ไม่ใช่บอกว่าจะใช้ยาแก้ปวดหรือยาแดงอย่างเดียวคงไม่ได้ สิ่งที่รัฐบาลทำขณะนี้ก็ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม และพยายามทำอย่างดีที่สุดแล้ว เราคงไม่ได้ไปเกี้ยเซี้ยกับใคร เราอยากเห็นสถานการณ์ที่สงบมากกว่าสถานการณ์ที่รุนแรง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ คิดว่ามีผู้สนับสนุนเบื้องหลังหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องฟังข้อมูลต่างๆ เรายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในส่วนนี้ คงต้องฟังว่ามีผู้ให้การสนับสนุนหรือมีความเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้สนับสนุนกลุ่ม นปก. นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่คาดคะเนกัน ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณฯ ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามดูกันต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นความประจวบเหมาะหรือไม่ เพราะระหว่างเหตุการณ์ปะทะกัน พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ที่ฮ่องกง ก็มีการเปิดหนังสือและเว็บไซต์ส่วนตัว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ติดตาม และคิดว่าต้องติดตามดูกันต่อไปว่ามีความเชื่อมโยง มีอะไรหรือไม่ ซึ่งการที่พ.ต.ท.ทักษิณฯ เดินทางมาฮ่องกงก็ถือเป็นสิทธิ ส่วนการเปิดเว็บไซต์ เราก็ดูแลอยู่ โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ก็ได้ติดตามอยู่ ส่วนเรื่องอื่นๆ เรายังไม่มีข้อมูล
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณฯ ระบุว่าหากจะขอลี้ภัย จะขอลี้ภัยในประเทศจีน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งการลี้ภัยในประเทศหนึ่งประเทศใด ก็มีสาเหตุจากทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกิดจากความผิดในคดีอาญาและมีความเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น ก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละประเทศที่จะพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นหนึ่งในการขอลี้ภัยทางการเมืองได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าไม่เกี่ยว เรื่องความวุ่นวายทางการเมืองของเราคงไม่ได้เกี่ยวกับเหตุผลที่จะลี้ภัย เพราะขณะนี้การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ดำเนินการก็ว่าไปตามลำดับ ซึ่งได้ติดตามอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่า พ.ต.ท. ทักษิณฯ เคยระบุคำว่า “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” นั้น จะถูกเชื่อมโยงกับความเคลื่อนไหวในบ้านเมืองขณะนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่สามารถตอบได้ ต้องถาม พ.ต.ท.ทักษิณฯ ว่าหมายถึงใคร
ส่วนกรณีที่อดีต ส.ส.ไทยรักไทย จะเดินทางไปอวยพรวันเกิดพ.ต.ท. ทักษิณฯ ที่ประเทศอังกฤษ นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นสิทธิของแต่ละคน ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะไปอังกฤษหรือฮ่องกง เราคงไม่สามารถไปห้ามได้ และหากใครจะมาร่วมงานวันเกิดตนเอง ก็คงไม่ห้าม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--