วันนี้ (3 เม.ย.50) เวลา 11.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ สมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น กรุงโตเกียว พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี ซึ่งผู้บริหารสมาคมสื่อมวลชนแห่งชาติญี่ปุ่น หรือ Japan National Press Club เป็นเจ้าภาพ และในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์ ในหัวข้อ “ญี่ปุ่นและไทย การเฉลิมฉลองยุคใหม่แห่งความเป็นหุ้นส่วนที่แน่นแฟ้นและยั่งยืน สรุปสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสมากล่าวสุนทรพจน์ต่อสมาคมฯในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นนี้ซึ่งเป็นปีที่ไทยและญี่ปุ่นจะเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 120 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน แต่ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศนั้นมีมานานหลายศตวรรษ
นอกจากนี้ ในวันนี้นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ แห่งญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรีจะได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ซึ่งจะช่วยสร้างพื้นฐานเพื่อสถาปนายุคใหม่ของความสัมพันธ์ฉันท์มิตรและความเป็นหุ้นส่วนที่แน่นแฟ้น และยั่งยืนยิ่งขึ้นระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเน้นย้ำ ถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งทิศทางความก้าวหน้าของการพัฒนาการเมืองในช่วง 1 ปี ที่ประชาชนชาวไทยทั้ง 64 ล้านคนต้องเผชิญ แต่ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยนั้น ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นนั้นมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์อย่างยิ่งยวด และการลงนามความตกลง JTEPA วันนี้ นับได้ว่าเป็นความตกลงที่กว้างกว่าการค้าเสรี (FTA Plus) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ของทั้งสองประเทศ สามารถย้อนกลับไปเกือบ 50 ปี ถึงช่วงปลายทศวรรษ ที่ 50 และต้นทศวรรษ 60 เมื่อประเทศไทยกลายเป็นฐานปฏิบัติการในต่างประเทศฐานแรกภายหลังสงคราม ของบรรษัทขนาดใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นมา การลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่น (Foreign Direct Investment : FDI) ได้มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมของไทย
ในปี พ.ศ. 2549 การค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีมูลค่าเกือบ 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของไทย และเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าที่สำคัญที่สุดของไทย ในปีเดียวกันนี้เอง นักลงทุนญี่ปุ่นยังเป็นนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุดอีกด้วย การดำเนินธุรกิจของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทยมีขนาดที่สำคัญจนไทยเป็นที่ตั้งของหอการค้าญี่ปุ่นในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ทั้งนี้ ไม่มีภาคอุตสาหกรรมใดจะแสดงถึงความสำเร็จของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันได้ดีไปกว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน และเป็นฐานการผลิตสู่โลกสำหรับผู้ผลิตรถยนต์รายหลักของโลกส่วนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2550 นี้ ไทยคาดว่าจะสามารถส่งออกรถยนต์จำนวน 600,000 คันไปยังตลาดโลก โดยร้อยละ 80 ของจำนวนดังกล่าวผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่น
JTEPA เป็นการมุ่งขยายผลจากฐานผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอันมหาศาลร่วมกันระหว่างประเทศทั้งสองนี้ แต่นอกเหนือจากการเปิดเสรีในด้านการค้า การบริการ และการลงทุนแล้ว JTEPA ยังครอบคลุมถึงสาขาความร่วมมือ 9 สาขา ได้แก่ การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน สิ่งแวดล้อม และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขาความร่วมมือเหล่านี้ได้เพิ่มมิติที่สำคัญให้แก่ความตกลงดังกล่าว และก่อให้เกิดความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันที่แท้จริงในอนาคต
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง พัฒนาการทางการเมืองที่ผ่านมาของไทย และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นหัวข้อที่ทุกคนต่างให้ความสนใจ ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการแทรกแซงทางทหารอย่างสงบเมื่อวันที่ 19 กันยายน ในปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์การเมืองอิสระส่วนใหญ่คาดว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนาในด้านประชาธิปไตยมากที่สุดในอาเซียน หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ถือโอกาสนี้อธิบายให้ทราบว่าเหตุใด นายกรัฐมนตรีจึงเชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้ ภายหลังการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม ประเทศไทยจะผงาดขึ้นมาโดยมีความก้าวหน้าในระบอบประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น และมีพื้นฐานของสถาบันที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในอันที่จะสร้างอนาคตที่ดีขึ้น และยั่งยืนยิ่งขึ้นให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเริ่มต้นที่มุมมองทางประวัติศาสตร์ ที่ราชอาณาจักรไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยได้ย่นระยะเวลาในการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมจาก 150 ปีเหลือเพียง 40 ปี และได้ย่นระยะเวลาการพัฒนาทางการเมืองนับเป็นอายุคนหลายสมัยเข้าไปสู่ช่วง 35 ปีที่ผ่านมา แท้ที่จริงแล้ว ในช่วง 30 ปีก่อนการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสามประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดในโลก โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ที่แท้จริงประมาณร้อยละ 7 และในปัจจุบัน ประเทศไทยมีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 35 ของโลก อัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วดังกล่าวจะเป็นการทดสอบความสมัครสมานของสังคมทุกสังคม แต่ประเทศไทยโชคดียิ่งที่มีวัฒนธรรมที่ฝังรากลึก ไม่เคยถูกละเมิดจากการล่าอาณานิคม ประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตยของตนเองมากว่า 800 ปี และในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยก็มีพระมหากษัตริย์องค์เดียว โดยในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ซึ่งครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก แม้ว่าสินทรัพย์นี้จะไม่ได้ปรากฏอยู่ในงบบัญชี แต่การตระหนักถึงสินทรัพย์เหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะเข้าใจถึงศักยภาพของไทยในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ
ในแง่ของการพัฒนาทางการเมืองสมัยใหม่ของประเทศไทยนั้น มีเหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์เดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 และพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จากเหตุการณ์ทั้งสองนั้น ทำให้ประเทศไทยสะท้อนความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2534-2535 ได้นำไปสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่มีเสรี และมีความก้าวหน้าที่สุด หรือเป็นที่รู้จักในนามของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งระบุให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของทุกคน และก่อตั้งองค์กรอิสระเป็นจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและคานความสมดุลในการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดของนักการเมือง
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับเหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำแก่ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทยนั่นก็คือ วิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษในการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ เหตุการณ์ทั้งสองรวมด้วยกันเป็นฉากเบื้องหลังแก่พัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นเวลา 9 ปี ซึ่งมีบทสรุปในการแทรกแซงทางทหารอย่างสันติเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา
โดยสรุปแล้ว ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการแทรกแซงทางทหารคือ การรวบอำนาจทางการเมืองและทางการเงินของคุณทักษิณในช่วง 5 ปีขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ข้อกล่าวหาการใช้อำนาจในทางที่ผิด การคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวาง การจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชน และประวัติด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นการหายนะ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่มีรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ การเลือกตั้งทั่วไป ถูกต่อต้าน (boycott) โดยฝ่ายค้าน และท้ายที่สุด ศาลได้ตัดสินให้การเลือกตั้งนั้นโมฆะ มีการเดินขบวนประท้วงเพื่อต่อต้านคุณทักษิณในกรุงเทพฯ เกือบทุกวัน ระบบการตรวจสอบและคานความสมดุลถูกบั่นทอน และดูเสมือนว่าเครื่องมือต่างๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญเพื่อผ่าทางตันทางการเมืองได้ใช้ไปหมดแล้ว ดังนั้น ทหารจึงได้ประกาศช่วง “พักเวลา” โดยเป็นระยะเวลาที่จำกัดและมีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัด และภายในเวลา 30 วัน ประเทศไทยก็มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มีรัฐบาลชั่วคราวซึ่งมีแนวนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าการแทรกแซงครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน ซึ่งก็เห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนภายหลังการเกิดเหตุการณ์ไม่นานนัก
ปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 6 เดือนแล้ว ที่นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งให้มาบริหารประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้ รายงานให้ทราบถึงความก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดกรอบเวลาที่ยากลำบากในการฟื้นฟูประชาธิปไตย และจนถึงบัดนี้ ได้ดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนด การยกร่างรัฐธรรมนูญเกือบจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ และจะได้นำเสนอให้สาธารณชนได้ตรวจสอบและถกเถียงกัน นอกจากนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการสำหรับการลงประชามติ ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนกันยายน ทั้งรัฐบาลชั่วคราว และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติต่างยึดมั่นในการที่จะจัดการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2550 โดยอาจเป็นวันที่ 16 หรือ 23 ธันวาคม ตามที่ได้ประกาศไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่กรุงเทพ ฯ
ขณะเดียวกัน รัฐบาลชั่วคราวของไทยก็ได้กำหนดให้การปฏิรูปเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยแนวหลัก 4 ประการ ซึ่งต่างมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด และได้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ประเทศไทยมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีประสิทธิผลมากขึ้น มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น และเป็นสังคมที่มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น แนวหลัก 4 ประการดังกล่าว ได้แก่
- การปฏิรูปทางการเมืองอย่างสัมฤทธิ์ผล
- การพื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ
- การลดช่องว่างทางรายได้ ระหว่างประชาชนในชนบทซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกับชนชั้นกลางในเมือง
- การสร้างความแข็งแกร่งแก่หลักนิติธรรม
ประการที่หนึ่ง การปฏิรูปการเมืองอย่างสัมฤทธิ์ผล - ซึ่งได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ไทยมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และจัดให้มีการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมก่อนสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันเพื่อการปฏิรูปการเมือง และพัฒนาระบอบประชาธิปไตยขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ประชากรไทยให้มีความเข้าใจในสิทธิและความรับผิดชอบของตนเองในฐานะประชาชนชาวไทยได้ดียิ่งขึ้น และให้ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่พวกเขาต้องการเพื่อที่จะได้มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ
ประการที่สอง การฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ - เกี่ยวข้องกับการเยียวยาการแบ่งแยกทางการเมือง และการนำความสมานฉันท์และความยุติธรรมมาสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีประชากรร้อยละ 2.5 ของประชากรไทยทั้งหมด เหตุการณ์ความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สร้างความกังวลที่หยั่งรากลึกในคนไทยทั้งประเทศ และนายกรัฐมนตรีไม่มีภาพลวงว่าจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากพิจารณาประวัติศาสตร์อันยาวนานของพื้นที่ดังกล่าวที่ถูกละเลย และบีบบังคับ ซึ่งเลวร้ายลงไปอีกจากสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลก ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงการฟื้นฟูแนวคิดทางศาสนาแบบอนุรักษ์นิยมเพื่อป้องกันสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นการโจมตีต่อความเชื่อทางศาสนา ผู้คนก็จะเริ่มเข้าใจความยากลำบากที่เรากำลังประสบอยู่ อย่างไรก็ดี ภายหลังการกล่าวคำขอโทษของนายกรัฐมนตรีต่อประชาชนในพื้นที่ นายกรัฐมนตรียังคงตั้งใจที่จะยังคงดำเนินนโยบายสมานฉันท์ ในการที่จะเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ และสร้างความใกล้ชิดยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ประการที่สามของรัฐบาลชั่วคราว การลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างเมืองกับคนจนในชนบท — เป็นหัวใจสำคัญของสิ่งท้าทายทางการเมืองที่ประเทศไทยต้องเผชิญอย่างแท้จริง ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีพลวัตในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา แต่การกระจายความร่ำรวยยังคงเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกัน และนี่เป็นสาเหตุของการแบ่งแยกทางการเมือง ทั้งนี้ ยังได้สะท้อนถึงการเติบโตของระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งไทยกำลังจัดการกับประเด็นนี้อยู่ เช่นเดียวกัน ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัจจุบันปัญหานี้ได้จัดอยู่ในลำดับต้นของวาระแห่งชาติแล้ว
ประการที่สี่คือ การสร้างความแข็งแกร่งแก่หลักนิติธรรม ซึ่งได้ดำเนินการอย่างระมัดระวัง แต่มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมคุณทักษิณได้ให้สัมภาษณ์แก่นิตยสาร TIME ซึ่งเป็นการบอกให้โลกรู้ว่า “การคอร์รัปชั่นจะไม่มีวันหายไปจากประเทศไทย แต่มันได้ฝังอยู่ในระบบเสียแล้ว” ซึ่งหากาคำพูดนี้เป็นจริง นายกรัฐมนตรีคงไม่ได้มาอยู่ที่นี่ ณ เวลานี้ หากปราศจากหลักนิติธรรมแล้ว สิ่งอื่นใดก็ไม่มีความหมาย หากไม่มีหลักนิติธรรมก็จะทำให้ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีความเท่าเทียมกัน และแน่นอนที่สุดจะไม่มีประชาธิปไตย
รัฐบาลชั่วคราวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการดำเนินการที่ล่าช้าในการสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหาการคอร์รัปชั่นและการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยสมาชิกของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา มีบางคนได้เรียกร้องให้มีการใช้อำนาจบริหารเพื่อลัดกระบวนการยุติธรรม แต่หากเรานำแนวทางดังกล่าวมาใช้ จะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้แก่หลักนิติธรรมได้อย่างไร
การสืบสวนสอบสวนกำลังส่งผลที่เป็นรูปธรรม และเชื่อมั่นในคุณธรรมความเป็นอิสระของกระบวนการยุติธรรมของเรา ขณะเดียวกัน เราก็ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อยกเครื่องกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ในภาคราชการ และกำลังริเริ่มการปฏิรูปตำรวจครั้งใหญ่ที่สุดในหลายทศวรรษที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงภาพของสังคมที่มีพลวัต มีความซับซ้อน ที่กำลังมุ่งเดินทางข้ามจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอีกจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่อย่างสำเร็จ ไม่มีใครประเมินความยุ่งยากต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่ำเกินไป แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่า ประชาชนทั้ง 64 ล้านคนของราชอาณาจักรไทยจะไปถึงเป้าหมายของการมีสังคมที่มีความยุติธรรมมากขึ้น ความเท่าเทียมกันมากขึ้น และความยั่งยืนยิ่งขึ้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการน้อมนำหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักพื้นฐานในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล ซึ่งนั่นหมายความถึง เราจะมุ่งเน้นการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง การมีระเบียบวินัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่สมเหตุสมผล และการแบ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันในระหว่างที่กำลังแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัตน์ การเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพหมายความว่าไทยจะให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นแก่หลักธรรมาภิบาลและการจัดการความเสี่ยง แต่เรื่องดังกล่าวจะไม่มีผลต่อกลไกตลาด หรือมีอิทธิพลต่อการเปิดกว้างของเศรษฐกิจไทย ในความเป็นจริง “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแบบจำลองของไทยสำหรับความยั่งยืน ซึ่งความสำคัญของเรื่องนี้เริ่มเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ในฐานะที่เป็นประเทศแรกๆ ที่นำหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนมาใช้ นายกรัฐมนตรีเชื่อว่าประเทศไทยควรได้รับการยกย่อง เพราะในที่สุดทุกประเทศก็จะต้องนำหลักดังกล่าวมาใช้ไม่ช้าก็เร็ว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสมากล่าวสุนทรพจน์ต่อสมาคมฯในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นนี้ซึ่งเป็นปีที่ไทยและญี่ปุ่นจะเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 120 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน แต่ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศนั้นมีมานานหลายศตวรรษ
นอกจากนี้ ในวันนี้นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ แห่งญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรีจะได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ซึ่งจะช่วยสร้างพื้นฐานเพื่อสถาปนายุคใหม่ของความสัมพันธ์ฉันท์มิตรและความเป็นหุ้นส่วนที่แน่นแฟ้น และยั่งยืนยิ่งขึ้นระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเน้นย้ำ ถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งทิศทางความก้าวหน้าของการพัฒนาการเมืองในช่วง 1 ปี ที่ประชาชนชาวไทยทั้ง 64 ล้านคนต้องเผชิญ แต่ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยนั้น ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นนั้นมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์อย่างยิ่งยวด และการลงนามความตกลง JTEPA วันนี้ นับได้ว่าเป็นความตกลงที่กว้างกว่าการค้าเสรี (FTA Plus) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ของทั้งสองประเทศ สามารถย้อนกลับไปเกือบ 50 ปี ถึงช่วงปลายทศวรรษ ที่ 50 และต้นทศวรรษ 60 เมื่อประเทศไทยกลายเป็นฐานปฏิบัติการในต่างประเทศฐานแรกภายหลังสงคราม ของบรรษัทขนาดใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นมา การลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่น (Foreign Direct Investment : FDI) ได้มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมของไทย
ในปี พ.ศ. 2549 การค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีมูลค่าเกือบ 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของไทย และเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าที่สำคัญที่สุดของไทย ในปีเดียวกันนี้เอง นักลงทุนญี่ปุ่นยังเป็นนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุดอีกด้วย การดำเนินธุรกิจของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทยมีขนาดที่สำคัญจนไทยเป็นที่ตั้งของหอการค้าญี่ปุ่นในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ทั้งนี้ ไม่มีภาคอุตสาหกรรมใดจะแสดงถึงความสำเร็จของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันได้ดีไปกว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน และเป็นฐานการผลิตสู่โลกสำหรับผู้ผลิตรถยนต์รายหลักของโลกส่วนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2550 นี้ ไทยคาดว่าจะสามารถส่งออกรถยนต์จำนวน 600,000 คันไปยังตลาดโลก โดยร้อยละ 80 ของจำนวนดังกล่าวผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่น
JTEPA เป็นการมุ่งขยายผลจากฐานผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอันมหาศาลร่วมกันระหว่างประเทศทั้งสองนี้ แต่นอกเหนือจากการเปิดเสรีในด้านการค้า การบริการ และการลงทุนแล้ว JTEPA ยังครอบคลุมถึงสาขาความร่วมมือ 9 สาขา ได้แก่ การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน สิ่งแวดล้อม และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขาความร่วมมือเหล่านี้ได้เพิ่มมิติที่สำคัญให้แก่ความตกลงดังกล่าว และก่อให้เกิดความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันที่แท้จริงในอนาคต
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง พัฒนาการทางการเมืองที่ผ่านมาของไทย และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นหัวข้อที่ทุกคนต่างให้ความสนใจ ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการแทรกแซงทางทหารอย่างสงบเมื่อวันที่ 19 กันยายน ในปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์การเมืองอิสระส่วนใหญ่คาดว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนาในด้านประชาธิปไตยมากที่สุดในอาเซียน หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ถือโอกาสนี้อธิบายให้ทราบว่าเหตุใด นายกรัฐมนตรีจึงเชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้ ภายหลังการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม ประเทศไทยจะผงาดขึ้นมาโดยมีความก้าวหน้าในระบอบประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น และมีพื้นฐานของสถาบันที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในอันที่จะสร้างอนาคตที่ดีขึ้น และยั่งยืนยิ่งขึ้นให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเริ่มต้นที่มุมมองทางประวัติศาสตร์ ที่ราชอาณาจักรไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยได้ย่นระยะเวลาในการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมจาก 150 ปีเหลือเพียง 40 ปี และได้ย่นระยะเวลาการพัฒนาทางการเมืองนับเป็นอายุคนหลายสมัยเข้าไปสู่ช่วง 35 ปีที่ผ่านมา แท้ที่จริงแล้ว ในช่วง 30 ปีก่อนการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสามประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดในโลก โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ที่แท้จริงประมาณร้อยละ 7 และในปัจจุบัน ประเทศไทยมีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 35 ของโลก อัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วดังกล่าวจะเป็นการทดสอบความสมัครสมานของสังคมทุกสังคม แต่ประเทศไทยโชคดียิ่งที่มีวัฒนธรรมที่ฝังรากลึก ไม่เคยถูกละเมิดจากการล่าอาณานิคม ประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตยของตนเองมากว่า 800 ปี และในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยก็มีพระมหากษัตริย์องค์เดียว โดยในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ซึ่งครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก แม้ว่าสินทรัพย์นี้จะไม่ได้ปรากฏอยู่ในงบบัญชี แต่การตระหนักถึงสินทรัพย์เหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะเข้าใจถึงศักยภาพของไทยในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ
ในแง่ของการพัฒนาทางการเมืองสมัยใหม่ของประเทศไทยนั้น มีเหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์เดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 และพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จากเหตุการณ์ทั้งสองนั้น ทำให้ประเทศไทยสะท้อนความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2534-2535 ได้นำไปสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่มีเสรี และมีความก้าวหน้าที่สุด หรือเป็นที่รู้จักในนามของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งระบุให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของทุกคน และก่อตั้งองค์กรอิสระเป็นจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและคานความสมดุลในการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดของนักการเมือง
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับเหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำแก่ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทยนั่นก็คือ วิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษในการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ เหตุการณ์ทั้งสองรวมด้วยกันเป็นฉากเบื้องหลังแก่พัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นเวลา 9 ปี ซึ่งมีบทสรุปในการแทรกแซงทางทหารอย่างสันติเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา
โดยสรุปแล้ว ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการแทรกแซงทางทหารคือ การรวบอำนาจทางการเมืองและทางการเงินของคุณทักษิณในช่วง 5 ปีขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ข้อกล่าวหาการใช้อำนาจในทางที่ผิด การคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวาง การจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชน และประวัติด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นการหายนะ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่มีรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ การเลือกตั้งทั่วไป ถูกต่อต้าน (boycott) โดยฝ่ายค้าน และท้ายที่สุด ศาลได้ตัดสินให้การเลือกตั้งนั้นโมฆะ มีการเดินขบวนประท้วงเพื่อต่อต้านคุณทักษิณในกรุงเทพฯ เกือบทุกวัน ระบบการตรวจสอบและคานความสมดุลถูกบั่นทอน และดูเสมือนว่าเครื่องมือต่างๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญเพื่อผ่าทางตันทางการเมืองได้ใช้ไปหมดแล้ว ดังนั้น ทหารจึงได้ประกาศช่วง “พักเวลา” โดยเป็นระยะเวลาที่จำกัดและมีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัด และภายในเวลา 30 วัน ประเทศไทยก็มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มีรัฐบาลชั่วคราวซึ่งมีแนวนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าการแทรกแซงครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน ซึ่งก็เห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนภายหลังการเกิดเหตุการณ์ไม่นานนัก
ปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 6 เดือนแล้ว ที่นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งให้มาบริหารประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้ รายงานให้ทราบถึงความก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดกรอบเวลาที่ยากลำบากในการฟื้นฟูประชาธิปไตย และจนถึงบัดนี้ ได้ดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนด การยกร่างรัฐธรรมนูญเกือบจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ และจะได้นำเสนอให้สาธารณชนได้ตรวจสอบและถกเถียงกัน นอกจากนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการสำหรับการลงประชามติ ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนกันยายน ทั้งรัฐบาลชั่วคราว และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติต่างยึดมั่นในการที่จะจัดการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2550 โดยอาจเป็นวันที่ 16 หรือ 23 ธันวาคม ตามที่ได้ประกาศไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่กรุงเทพ ฯ
ขณะเดียวกัน รัฐบาลชั่วคราวของไทยก็ได้กำหนดให้การปฏิรูปเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยแนวหลัก 4 ประการ ซึ่งต่างมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด และได้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ประเทศไทยมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีประสิทธิผลมากขึ้น มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น และเป็นสังคมที่มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น แนวหลัก 4 ประการดังกล่าว ได้แก่
- การปฏิรูปทางการเมืองอย่างสัมฤทธิ์ผล
- การพื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ
- การลดช่องว่างทางรายได้ ระหว่างประชาชนในชนบทซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกับชนชั้นกลางในเมือง
- การสร้างความแข็งแกร่งแก่หลักนิติธรรม
ประการที่หนึ่ง การปฏิรูปการเมืองอย่างสัมฤทธิ์ผล - ซึ่งได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ไทยมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และจัดให้มีการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมก่อนสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันเพื่อการปฏิรูปการเมือง และพัฒนาระบอบประชาธิปไตยขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ประชากรไทยให้มีความเข้าใจในสิทธิและความรับผิดชอบของตนเองในฐานะประชาชนชาวไทยได้ดียิ่งขึ้น และให้ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่พวกเขาต้องการเพื่อที่จะได้มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ
ประการที่สอง การฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ - เกี่ยวข้องกับการเยียวยาการแบ่งแยกทางการเมือง และการนำความสมานฉันท์และความยุติธรรมมาสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีประชากรร้อยละ 2.5 ของประชากรไทยทั้งหมด เหตุการณ์ความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สร้างความกังวลที่หยั่งรากลึกในคนไทยทั้งประเทศ และนายกรัฐมนตรีไม่มีภาพลวงว่าจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากพิจารณาประวัติศาสตร์อันยาวนานของพื้นที่ดังกล่าวที่ถูกละเลย และบีบบังคับ ซึ่งเลวร้ายลงไปอีกจากสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลก ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงการฟื้นฟูแนวคิดทางศาสนาแบบอนุรักษ์นิยมเพื่อป้องกันสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นการโจมตีต่อความเชื่อทางศาสนา ผู้คนก็จะเริ่มเข้าใจความยากลำบากที่เรากำลังประสบอยู่ อย่างไรก็ดี ภายหลังการกล่าวคำขอโทษของนายกรัฐมนตรีต่อประชาชนในพื้นที่ นายกรัฐมนตรียังคงตั้งใจที่จะยังคงดำเนินนโยบายสมานฉันท์ ในการที่จะเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ และสร้างความใกล้ชิดยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ประการที่สามของรัฐบาลชั่วคราว การลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างเมืองกับคนจนในชนบท — เป็นหัวใจสำคัญของสิ่งท้าทายทางการเมืองที่ประเทศไทยต้องเผชิญอย่างแท้จริง ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีพลวัตในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา แต่การกระจายความร่ำรวยยังคงเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกัน และนี่เป็นสาเหตุของการแบ่งแยกทางการเมือง ทั้งนี้ ยังได้สะท้อนถึงการเติบโตของระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งไทยกำลังจัดการกับประเด็นนี้อยู่ เช่นเดียวกัน ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัจจุบันปัญหานี้ได้จัดอยู่ในลำดับต้นของวาระแห่งชาติแล้ว
ประการที่สี่คือ การสร้างความแข็งแกร่งแก่หลักนิติธรรม ซึ่งได้ดำเนินการอย่างระมัดระวัง แต่มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมคุณทักษิณได้ให้สัมภาษณ์แก่นิตยสาร TIME ซึ่งเป็นการบอกให้โลกรู้ว่า “การคอร์รัปชั่นจะไม่มีวันหายไปจากประเทศไทย แต่มันได้ฝังอยู่ในระบบเสียแล้ว” ซึ่งหากาคำพูดนี้เป็นจริง นายกรัฐมนตรีคงไม่ได้มาอยู่ที่นี่ ณ เวลานี้ หากปราศจากหลักนิติธรรมแล้ว สิ่งอื่นใดก็ไม่มีความหมาย หากไม่มีหลักนิติธรรมก็จะทำให้ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีความเท่าเทียมกัน และแน่นอนที่สุดจะไม่มีประชาธิปไตย
รัฐบาลชั่วคราวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการดำเนินการที่ล่าช้าในการสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหาการคอร์รัปชั่นและการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยสมาชิกของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา มีบางคนได้เรียกร้องให้มีการใช้อำนาจบริหารเพื่อลัดกระบวนการยุติธรรม แต่หากเรานำแนวทางดังกล่าวมาใช้ จะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้แก่หลักนิติธรรมได้อย่างไร
การสืบสวนสอบสวนกำลังส่งผลที่เป็นรูปธรรม และเชื่อมั่นในคุณธรรมความเป็นอิสระของกระบวนการยุติธรรมของเรา ขณะเดียวกัน เราก็ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อยกเครื่องกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ในภาคราชการ และกำลังริเริ่มการปฏิรูปตำรวจครั้งใหญ่ที่สุดในหลายทศวรรษที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงภาพของสังคมที่มีพลวัต มีความซับซ้อน ที่กำลังมุ่งเดินทางข้ามจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอีกจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่อย่างสำเร็จ ไม่มีใครประเมินความยุ่งยากต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่ำเกินไป แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่า ประชาชนทั้ง 64 ล้านคนของราชอาณาจักรไทยจะไปถึงเป้าหมายของการมีสังคมที่มีความยุติธรรมมากขึ้น ความเท่าเทียมกันมากขึ้น และความยั่งยืนยิ่งขึ้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการน้อมนำหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักพื้นฐานในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล ซึ่งนั่นหมายความถึง เราจะมุ่งเน้นการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง การมีระเบียบวินัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่สมเหตุสมผล และการแบ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันในระหว่างที่กำลังแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัตน์ การเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพหมายความว่าไทยจะให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นแก่หลักธรรมาภิบาลและการจัดการความเสี่ยง แต่เรื่องดังกล่าวจะไม่มีผลต่อกลไกตลาด หรือมีอิทธิพลต่อการเปิดกว้างของเศรษฐกิจไทย ในความเป็นจริง “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแบบจำลองของไทยสำหรับความยั่งยืน ซึ่งความสำคัญของเรื่องนี้เริ่มเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ในฐานะที่เป็นประเทศแรกๆ ที่นำหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนมาใช้ นายกรัฐมนตรีเชื่อว่าประเทศไทยควรได้รับการยกย่อง เพราะในที่สุดทุกประเทศก็จะต้องนำหลักดังกล่าวมาใช้ไม่ช้าก็เร็ว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--