วันนี้ เวลา 13.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาต่อสมาคมไทย — ญี่ปุ่น เรื่อง อนาคตและความก้าวหน้าของประเทศไทย” ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าว ขอบคุณท่านนายกสมาคมไทย - ญี่ปุ่น คุณสถาพร กวิตานนท์ ที่ได้เชิญให้มาพูดในวันนี้ เมื่อปลายปีที่แล้ว คุณสถาพรฯ และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ไปพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อแสดงความยินดี ในโอกาสที่ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้เอ่ยกับคุณสถาพรฯ ว่า อยากหาโอกาสมาพบและพูดกับท่านสมาชิกสมาคมไทย - ญี่ปุ่น ต้องการมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล และทิศทางของประเทศ เมื่อได้รับเชิญให้มาพูดในวันนี้ นายกรัฐมมนตรีจึงตอบรับทันทีด้วยความยินดี
นายกรัฐมนตรี เชื่อว่า ท่านคณะกรรมการและสมาชิกสมาคมไทย — ญี่ปุ่นโดยเฉพาะที่เป็นชาวญี่ปุ่นทุกท่านคงให้ความสำคัญกับสถานการณ์ความเป็นไปในประเทศไทย หลายท่านได้เยี่ยมเยียนและให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขสภาวการณ์ที่ถือว่าเป็น “วิกฤติ” ทางการเมืองที่หนักหน่วงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย ในนามของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี จึงขอขอบคุณเพื่อน ๆ ชาวญี่ปุ่นที่เป็นห่วงเป็นใยประเทศไทยด้วยความจริงใจ
ปีนี้เป็นปีสำคัญ ไทยกับญี่ปุ่นจะครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์การทูตระหว่างกัน ซึ่งในที่จริงนั้นมิตรภาพระหว่างทั้งสองประเทศยาวนานกว่านั้นหลายร้อยปี นายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสเดินทางเยือนญี่ปุ่นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไปลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ หรือ JTEPA และได้รับการต้อนรับและไมตรีจิตอันอบอุ่นยิ่งจากเพื่อนชาวญี่ปุ่น ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และสื่อมวลชน นายกรัฐมนตรีได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินี รวมทั้งพบกับผู้นำหลายท่าน เช่น ท่านนายกรัฐมนตรีอาเบะ ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรโคโน ท่านเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชิโอซากิ เป็นต้น เป็นการเยือนที่ประทับใจ เป็นบันทึก ความทรงจำของผมในช่วงสั้น ๆ ที่เป็นนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี จึงรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาพบกับทุกท่านในวันนี้ และได้มาคุยกับพวกท่านในเรื่อง “อนาคตและความก้าวหน้าของประเทศไทย” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพวกเราทุกคน
นายกรัฐมนตรี มองว่า คำว่า “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” นั้นเป็นของคู่กัน ไม่มีใครพูดถึงอนาคตที่ไม่ได้หมายถึงความก้าวหน้า ตลอดระยะเวลา 75 ปี 17 รัฐธรรมนูญ 24 นายกรัฐมนตรี 1 ปฏิวัติ 17 รัฐประหาร ไม่มีรัฐบาลหรือกลุ่มผลประโยชน์ใดที่ไม่ยกเรื่องการนำพาประเทศชาติไปสู่ความก้าวหน้า ไปสู่อนาคตที่ดีกว่า นักการเมืองจะหาเสียงกับประชาชนก็ต้องพูดถึง “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” จนบางครั้ง อดคิดไม่ได้ว่า “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” นั้นแปลว่าอะไร
อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีไม่ใช่นักการเมือง การแทรกแซงทางทหารอย่างสงบเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่แล้ว เกิดขึ้นท่ามกลางความสับสนของสังคมที่มีต่อสภาวะของ “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ที่แท้จริงของประเทศไทยว่า เกี่ยวพันกับกลุ่มใดหรือไม่ ซึ่งหน้าที่ของผมในฐานะนายกรัฐมนตรีก็คือ เรียกคืน “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” นั้นกลับสู่ประชาชนและประเทศชาติในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญนี้ เพราะ “อนาคต” ของประเทศไทยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและ “ความก้าวหน้า” ของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของรูปแบบ ไม่ใช่ว่ามีพรรคการเมือง จัดการเลือกตั้งแล้ว คือประชาธิปไตย ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของกลุ่มการเมืองที่จะอาศัยช่องว่างของรัฐธรรมนูญ ของกฎหมาย เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว พวกพ้อง แต่ประชาธิปไตยต้องนำมาซึ่งความเสมอภาค ธรรมาภิบาล และเสถียรภาพของสังคมไทย
เมื่อสิบกว่าวันที่แล้ว (10 มิ.ย.) นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ เพื่อทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่า เราควรจะเดินทางไปที่ไหนกัน นายกรัฐมนตรีเน้นเงื่อนไข 2 ประการที่จะนำพามาซึ่งเสถียรภาพของสังคมไทย คือ (1) ความรับผิดชอบของประชาชนที่จะต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง (2) การปฏิเสธการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการยึดมั่นในหลักนิติธรรม ซึ่งความก้าวหน้าของประเทศต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานทั้ง 2 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นายกรัฐมนตรี กล่าวชัดเจนด้วยว่า เพื่อให้รัฐบาลรักษาการนี้สามารถผลักดันเงื่อนไขทั้ง 2 ประการดังกล่าว เราจำเป็นต้องทำงานโดย (1) ยึดหลักการของความโปร่งใส เป็นธรรม มีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรทุกอย่างอย่างประหยัด (2) ป้องปรามคนไม่ดี (3) ใช้กระบวนการทางกฎหมาย และ (4) ปฏิรูปบ้านเมืองให้มีความเป็นธรรมด้วยการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ทั้งหมดนี้เป็นยุทธศาสตร์ที่ไม่ใช่เรื่องง่าย และผมก็เข้าใจดีว่า ประชาชนก็อยากเห็นการทำงานที่รวดเร็ว เห็นผลไว แต่ทั้งนี้ ผมก็เชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า เราเดินมาถูกทางแล้ว
กระบวนการยุติธรรมตรวจสอบทุจริตต่าง ๆ ก็เริ่มเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ เท็จจริงประการใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากันในขั้นศาล รัฐบาลจะไม่แทรกแซง นี่ คือกระบวนการยุติธรรม คือการใช้หลักนิติธรรม คือการใช้กลไกของรัฐอย่างถูกต้อง เที่ยงธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยเห็นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ในส่วนของรัฐบาลนั้น มีหน้าที่ที่จะบริหารงานของประเทศให้มีความก้าวหน้าไปและไปสู่ขั้นตอนของการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด จากวันนี้จนถึงปลายปี หรืออีกประมาณ 6 เดือนข้างหน้า เราจะต้องเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการฟื้นฟูประชาธิปไตยของประเทศ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่ “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ที่แท้จริงของประเทศชาติ
ทุกท่านทราบดีแล้วว่า เรามีร่างรัฐธรรมนูญซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการอภิปราย หลังจากที่ได้เผยแพร่เพื่อขอความเห็นจากประชาชนและองค์กรต่าง ๆ มาระยะหนึ่ง ต้องดูว่าจะสำเร็จออกมาเป็นร่างที่ 2 เมื่อไร ซึ่งผมได้หารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและสามารถสรุปได้ว่า หากสามารถเลื่อนการลงประชามติให้ใกล้เข้ามาได้ ก็สามารถเลื่อนการเลือกตั้งให้ใกล้เข้ามาได้เช่นกัน โดยทุกคนรอคอยการเลือกตั้งที่โปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรมภายในปลายปีนี้เป็นอย่างช้า
ขอเรียนว่า นับจากวันที่ 19 กันยายน 2549 จนปัจจุบัน คู่ขนานไปกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลได้ตระเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อนำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตย ตั้งแต่ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก การยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ เรื่องการห้ามประกอบกิจกรรมทางการเมืองเมื่อเร็ว ๆ นี้ รวมถึงการปูทางสำหรับอนาคตด้วยการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองด้วย
ใน 6 เดือนนับจากนี้จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย แต่ผมเชื่อว่า ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและการมีส่วนร่วมของประชาชน เราจะมี “ความก้าวหน้า” ฝ่าฟันอุปสรรค เราจะกลับมาเป็นรัฐประชาธิปไตยหัวแถวของเอเชียได้ในไม่ช้า
นายกรัฐมนตรี จำได้ว่า วันที่คุณสถาพรฯ และคณะกรรมการสมาคมไทย - ญี่ปุ่นไปเยี่ยมนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น ผมได้ให้การต้อนรับคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่นอีก 2 คณะ คือหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ หรือ JCC และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ JETRO ทุกท่านล้วนแต่แสดงความสนใจในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ย้ำไปว่า ประเทศไทยยังมีรากฐานความเจริญทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ และมีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน ซึ่งท่านก็คงได้เห็นจากตัวเลขการส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 18.5และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ถึง 4.5
นายกรัฐมนตรี ไปญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนเมษายน ได้พบกับท่านประธานสมาพันธ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีได้ย้ำชัดเจน และก็ขอย้ำอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่งในวันนี้ว่า รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดเสรีทางธุรกิจ การค้า การลงทุน กระตุ้นภาคการผลิต และเดินหน้าโครงการพื้นฐานต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใสและเป็นธรรม และบนพื้นฐานของความเป็นธรรมนี้ การสานต่อความร่วมมือกับมิตรประเทศของไทยก็เป็นอีกส่วนสำคัญของ “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ของประเทศไทย ซึ่งผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่รับทราบว่า ภาคเอกชนญี่ปุ่นยังคงมีแผนขยายการลงทุนในไทยหรือลงทุนต่อเนื่องตามแผนที่วางไว้
นายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นว่า การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ หรือ JTEPA นั้น เป็นการส่งสัญญาณต่อภาคเอกชนญี่ปุ่นว่า ไทยให้ความสำคัญและยึดมั่นต่อการค้าเสรี ขณะนี้ เป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศกำลังดำเนินการภายในเพื่อให้ JTEPA มีผลบังคับใช้ ซึ่งเมื่อมีผลบังคับใช้แล้ว JTEPA ก็จะเป็นแบบอย่างของการทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจของไทยกับประเทศอื่นๆ ที่จะนำมาซึ่งประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ขอเรียนอีกครั้งว่า การทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ หรือความตกลงเขตการค้าเสรีนั้น ย่อมมีผู้ได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ มีผู้เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน และถ่องแท้แล้ว จึงตัดสินใจลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจนี้ โดยมั่นใจว่าเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือที่ยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ซึ่งนายกรัฐมนตรี ขอให้สมาคมไทย — ญี่ปุ่นเป็นกลจักรหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากความตกลงนี้ให้มากที่สุด
รัฐบาลนี้อาจเป็นรัฐบาลชั่วคราว แต่ความยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญของเราในทุกๆ ด้าน ในนามของรัฐบาลไทยนายกรัฐมนตรีขอยืนยันว่า เรากำลังให้ความสนใจแก่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณ การผลักดันโอกาสใหม่ๆ อาทิ โครงการรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน หรือ Eco-car การจัดการกับประเด็นที่เกี่ยวกับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม การลงทุนในระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ ตลอดจนการดูแลระบบโครงสร้างทางปัญญาในระยะยาว ในเวลาเดียวกัน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนและวิสาหกิจในทุกระดับ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจไม่หวือหวา แต่มีความหนักแน่นและมั่นคง การเมืองอาจยังมีความเปราะบางบ้าง แต่การค้าการลงทุน รวมทั้งการลงทุนของต่างประเทศและคนของท่าน จะได้รับการส่งเสริมและการดูแล
อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้นำรัฐบาลญี่ปุ่นสอบถามผมด้วยความห่วงใยคือ สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะให้ความสำคัญสูงสุดกับการส่งเสริมความปรองดองภายในชาติและการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของการจัดให้มีความเป็นธรรมอีกและยังเป็นเรื่องของ “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ของประเทศ เพราะเกี่ยวเนื่องกับเยาวชนในพื้นที่ การขจัดเงื่อนไขที่เป็นที่มาของความไม่สงบ โดยเฉพาะในเรื่องความยุติธรรม การศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงาน
จริงอยู่ รากเหง้าของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องซับซ้อน และไม่ง่ายที่จะแก้ไขกันในลักษณะชั่ววันข้ามคืน ยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาล คือ ความพยายามเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ ซึ่งผมเองก็เดินทางไปพบปะกับประชาชน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างสม่ำเสมอ โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง
รัฐบาลเชื่อมั่นว่า นโยบายการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีนี้จะทำลายรากฐานของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ บางฝ่ายเห็นว่ารัฐบาลเป็นผู้ตั้งรับ แต่นายกรัฐมนตรีขอเรียนว่าผู้ก่อความไม่สงบพยายามที่จะตอบโต้ต่อการรุกของเราทั้งในทางการเมือง การต่างประเทศและด้านอื่นๆ หากรัฐบาลสามารถเข้าถึงจิตใจและปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่ต้องประสบและดำเนินการเพื่อบรรเทาความทุกข์ร้อนนั้นได้ ผู้ก่อความไม่สงบก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ รัฐบาลจะร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศของไทยต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อนชาวมุสลิมของไทยในประเทศต่างๆ และองค์กรการประชุมอิสลาม (OIC) เพื่อประกันว่า ผู้ที่ใช้ความรุนแรงจะไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่ว่าจะในรูปแบบและภายใต้เงื่อนไขใด
“อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ของประเทศไทยเป็นสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศกำลังจับตามองอยู่ ผมในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารขอย้ำกับทุกท่านอีกครั้งว่า รัฐบาลจะดูแลการเปลี่ยนผ่านให้ไทยกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งขึ้น ในเวลาประมาณอีก 6 เดือนที่เหลือ เป็นสังคมที่เป็นธรรม เท่าเทียมและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
พัฒนาการ การดำเนินการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยเท่านั้น แต่ก็เพื่อผลประโยชน์ของภูมิภาคในระยะยาวด้วย เพราะไทยจะเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ก่อนที่จะจบคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีในวันนี้ นายกรัฐมนตรีขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้ง และ ขออวยพรให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมิตรประเทศที่สำคัญยิ่งของไทย ให้มีความสัมพันธ์อันดี เรียนรู้ และเข้าใจซึ่งกันและกันต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าว ขอบคุณท่านนายกสมาคมไทย - ญี่ปุ่น คุณสถาพร กวิตานนท์ ที่ได้เชิญให้มาพูดในวันนี้ เมื่อปลายปีที่แล้ว คุณสถาพรฯ และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ไปพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อแสดงความยินดี ในโอกาสที่ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้เอ่ยกับคุณสถาพรฯ ว่า อยากหาโอกาสมาพบและพูดกับท่านสมาชิกสมาคมไทย - ญี่ปุ่น ต้องการมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล และทิศทางของประเทศ เมื่อได้รับเชิญให้มาพูดในวันนี้ นายกรัฐมมนตรีจึงตอบรับทันทีด้วยความยินดี
นายกรัฐมนตรี เชื่อว่า ท่านคณะกรรมการและสมาชิกสมาคมไทย — ญี่ปุ่นโดยเฉพาะที่เป็นชาวญี่ปุ่นทุกท่านคงให้ความสำคัญกับสถานการณ์ความเป็นไปในประเทศไทย หลายท่านได้เยี่ยมเยียนและให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขสภาวการณ์ที่ถือว่าเป็น “วิกฤติ” ทางการเมืองที่หนักหน่วงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย ในนามของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี จึงขอขอบคุณเพื่อน ๆ ชาวญี่ปุ่นที่เป็นห่วงเป็นใยประเทศไทยด้วยความจริงใจ
ปีนี้เป็นปีสำคัญ ไทยกับญี่ปุ่นจะครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์การทูตระหว่างกัน ซึ่งในที่จริงนั้นมิตรภาพระหว่างทั้งสองประเทศยาวนานกว่านั้นหลายร้อยปี นายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสเดินทางเยือนญี่ปุ่นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไปลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ หรือ JTEPA และได้รับการต้อนรับและไมตรีจิตอันอบอุ่นยิ่งจากเพื่อนชาวญี่ปุ่น ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และสื่อมวลชน นายกรัฐมนตรีได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินี รวมทั้งพบกับผู้นำหลายท่าน เช่น ท่านนายกรัฐมนตรีอาเบะ ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรโคโน ท่านเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชิโอซากิ เป็นต้น เป็นการเยือนที่ประทับใจ เป็นบันทึก ความทรงจำของผมในช่วงสั้น ๆ ที่เป็นนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี จึงรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาพบกับทุกท่านในวันนี้ และได้มาคุยกับพวกท่านในเรื่อง “อนาคตและความก้าวหน้าของประเทศไทย” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพวกเราทุกคน
นายกรัฐมนตรี มองว่า คำว่า “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” นั้นเป็นของคู่กัน ไม่มีใครพูดถึงอนาคตที่ไม่ได้หมายถึงความก้าวหน้า ตลอดระยะเวลา 75 ปี 17 รัฐธรรมนูญ 24 นายกรัฐมนตรี 1 ปฏิวัติ 17 รัฐประหาร ไม่มีรัฐบาลหรือกลุ่มผลประโยชน์ใดที่ไม่ยกเรื่องการนำพาประเทศชาติไปสู่ความก้าวหน้า ไปสู่อนาคตที่ดีกว่า นักการเมืองจะหาเสียงกับประชาชนก็ต้องพูดถึง “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” จนบางครั้ง อดคิดไม่ได้ว่า “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” นั้นแปลว่าอะไร
อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีไม่ใช่นักการเมือง การแทรกแซงทางทหารอย่างสงบเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่แล้ว เกิดขึ้นท่ามกลางความสับสนของสังคมที่มีต่อสภาวะของ “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ที่แท้จริงของประเทศไทยว่า เกี่ยวพันกับกลุ่มใดหรือไม่ ซึ่งหน้าที่ของผมในฐานะนายกรัฐมนตรีก็คือ เรียกคืน “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” นั้นกลับสู่ประชาชนและประเทศชาติในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญนี้ เพราะ “อนาคต” ของประเทศไทยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและ “ความก้าวหน้า” ของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของรูปแบบ ไม่ใช่ว่ามีพรรคการเมือง จัดการเลือกตั้งแล้ว คือประชาธิปไตย ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของกลุ่มการเมืองที่จะอาศัยช่องว่างของรัฐธรรมนูญ ของกฎหมาย เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว พวกพ้อง แต่ประชาธิปไตยต้องนำมาซึ่งความเสมอภาค ธรรมาภิบาล และเสถียรภาพของสังคมไทย
เมื่อสิบกว่าวันที่แล้ว (10 มิ.ย.) นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ เพื่อทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่า เราควรจะเดินทางไปที่ไหนกัน นายกรัฐมนตรีเน้นเงื่อนไข 2 ประการที่จะนำพามาซึ่งเสถียรภาพของสังคมไทย คือ (1) ความรับผิดชอบของประชาชนที่จะต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง (2) การปฏิเสธการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการยึดมั่นในหลักนิติธรรม ซึ่งความก้าวหน้าของประเทศต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานทั้ง 2 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นายกรัฐมนตรี กล่าวชัดเจนด้วยว่า เพื่อให้รัฐบาลรักษาการนี้สามารถผลักดันเงื่อนไขทั้ง 2 ประการดังกล่าว เราจำเป็นต้องทำงานโดย (1) ยึดหลักการของความโปร่งใส เป็นธรรม มีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรทุกอย่างอย่างประหยัด (2) ป้องปรามคนไม่ดี (3) ใช้กระบวนการทางกฎหมาย และ (4) ปฏิรูปบ้านเมืองให้มีความเป็นธรรมด้วยการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ทั้งหมดนี้เป็นยุทธศาสตร์ที่ไม่ใช่เรื่องง่าย และผมก็เข้าใจดีว่า ประชาชนก็อยากเห็นการทำงานที่รวดเร็ว เห็นผลไว แต่ทั้งนี้ ผมก็เชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า เราเดินมาถูกทางแล้ว
กระบวนการยุติธรรมตรวจสอบทุจริตต่าง ๆ ก็เริ่มเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ เท็จจริงประการใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากันในขั้นศาล รัฐบาลจะไม่แทรกแซง นี่ คือกระบวนการยุติธรรม คือการใช้หลักนิติธรรม คือการใช้กลไกของรัฐอย่างถูกต้อง เที่ยงธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยเห็นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ในส่วนของรัฐบาลนั้น มีหน้าที่ที่จะบริหารงานของประเทศให้มีความก้าวหน้าไปและไปสู่ขั้นตอนของการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด จากวันนี้จนถึงปลายปี หรืออีกประมาณ 6 เดือนข้างหน้า เราจะต้องเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการฟื้นฟูประชาธิปไตยของประเทศ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่ “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ที่แท้จริงของประเทศชาติ
ทุกท่านทราบดีแล้วว่า เรามีร่างรัฐธรรมนูญซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการอภิปราย หลังจากที่ได้เผยแพร่เพื่อขอความเห็นจากประชาชนและองค์กรต่าง ๆ มาระยะหนึ่ง ต้องดูว่าจะสำเร็จออกมาเป็นร่างที่ 2 เมื่อไร ซึ่งผมได้หารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและสามารถสรุปได้ว่า หากสามารถเลื่อนการลงประชามติให้ใกล้เข้ามาได้ ก็สามารถเลื่อนการเลือกตั้งให้ใกล้เข้ามาได้เช่นกัน โดยทุกคนรอคอยการเลือกตั้งที่โปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรมภายในปลายปีนี้เป็นอย่างช้า
ขอเรียนว่า นับจากวันที่ 19 กันยายน 2549 จนปัจจุบัน คู่ขนานไปกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลได้ตระเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อนำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตย ตั้งแต่ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก การยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ เรื่องการห้ามประกอบกิจกรรมทางการเมืองเมื่อเร็ว ๆ นี้ รวมถึงการปูทางสำหรับอนาคตด้วยการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองด้วย
ใน 6 เดือนนับจากนี้จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย แต่ผมเชื่อว่า ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและการมีส่วนร่วมของประชาชน เราจะมี “ความก้าวหน้า” ฝ่าฟันอุปสรรค เราจะกลับมาเป็นรัฐประชาธิปไตยหัวแถวของเอเชียได้ในไม่ช้า
นายกรัฐมนตรี จำได้ว่า วันที่คุณสถาพรฯ และคณะกรรมการสมาคมไทย - ญี่ปุ่นไปเยี่ยมนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น ผมได้ให้การต้อนรับคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่นอีก 2 คณะ คือหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ หรือ JCC และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ JETRO ทุกท่านล้วนแต่แสดงความสนใจในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ย้ำไปว่า ประเทศไทยยังมีรากฐานความเจริญทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ และมีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน ซึ่งท่านก็คงได้เห็นจากตัวเลขการส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 18.5และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ถึง 4.5
นายกรัฐมนตรี ไปญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนเมษายน ได้พบกับท่านประธานสมาพันธ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีได้ย้ำชัดเจน และก็ขอย้ำอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่งในวันนี้ว่า รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดเสรีทางธุรกิจ การค้า การลงทุน กระตุ้นภาคการผลิต และเดินหน้าโครงการพื้นฐานต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใสและเป็นธรรม และบนพื้นฐานของความเป็นธรรมนี้ การสานต่อความร่วมมือกับมิตรประเทศของไทยก็เป็นอีกส่วนสำคัญของ “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ของประเทศไทย ซึ่งผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่รับทราบว่า ภาคเอกชนญี่ปุ่นยังคงมีแผนขยายการลงทุนในไทยหรือลงทุนต่อเนื่องตามแผนที่วางไว้
นายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นว่า การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ หรือ JTEPA นั้น เป็นการส่งสัญญาณต่อภาคเอกชนญี่ปุ่นว่า ไทยให้ความสำคัญและยึดมั่นต่อการค้าเสรี ขณะนี้ เป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศกำลังดำเนินการภายในเพื่อให้ JTEPA มีผลบังคับใช้ ซึ่งเมื่อมีผลบังคับใช้แล้ว JTEPA ก็จะเป็นแบบอย่างของการทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจของไทยกับประเทศอื่นๆ ที่จะนำมาซึ่งประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ขอเรียนอีกครั้งว่า การทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ หรือความตกลงเขตการค้าเสรีนั้น ย่อมมีผู้ได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ มีผู้เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน และถ่องแท้แล้ว จึงตัดสินใจลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจนี้ โดยมั่นใจว่าเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือที่ยั่งยืนในหลายๆ ด้าน ซึ่งนายกรัฐมนตรี ขอให้สมาคมไทย — ญี่ปุ่นเป็นกลจักรหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากความตกลงนี้ให้มากที่สุด
รัฐบาลนี้อาจเป็นรัฐบาลชั่วคราว แต่ความยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญของเราในทุกๆ ด้าน ในนามของรัฐบาลไทยนายกรัฐมนตรีขอยืนยันว่า เรากำลังให้ความสนใจแก่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณ การผลักดันโอกาสใหม่ๆ อาทิ โครงการรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน หรือ Eco-car การจัดการกับประเด็นที่เกี่ยวกับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม การลงทุนในระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ ตลอดจนการดูแลระบบโครงสร้างทางปัญญาในระยะยาว ในเวลาเดียวกัน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนและวิสาหกิจในทุกระดับ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจไม่หวือหวา แต่มีความหนักแน่นและมั่นคง การเมืองอาจยังมีความเปราะบางบ้าง แต่การค้าการลงทุน รวมทั้งการลงทุนของต่างประเทศและคนของท่าน จะได้รับการส่งเสริมและการดูแล
อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้นำรัฐบาลญี่ปุ่นสอบถามผมด้วยความห่วงใยคือ สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะให้ความสำคัญสูงสุดกับการส่งเสริมความปรองดองภายในชาติและการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของการจัดให้มีความเป็นธรรมอีกและยังเป็นเรื่องของ “อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ของประเทศ เพราะเกี่ยวเนื่องกับเยาวชนในพื้นที่ การขจัดเงื่อนไขที่เป็นที่มาของความไม่สงบ โดยเฉพาะในเรื่องความยุติธรรม การศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงาน
จริงอยู่ รากเหง้าของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องซับซ้อน และไม่ง่ายที่จะแก้ไขกันในลักษณะชั่ววันข้ามคืน ยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาล คือ ความพยายามเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ ซึ่งผมเองก็เดินทางไปพบปะกับประชาชน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างสม่ำเสมอ โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง
รัฐบาลเชื่อมั่นว่า นโยบายการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีนี้จะทำลายรากฐานของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ บางฝ่ายเห็นว่ารัฐบาลเป็นผู้ตั้งรับ แต่นายกรัฐมนตรีขอเรียนว่าผู้ก่อความไม่สงบพยายามที่จะตอบโต้ต่อการรุกของเราทั้งในทางการเมือง การต่างประเทศและด้านอื่นๆ หากรัฐบาลสามารถเข้าถึงจิตใจและปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่ต้องประสบและดำเนินการเพื่อบรรเทาความทุกข์ร้อนนั้นได้ ผู้ก่อความไม่สงบก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ รัฐบาลจะร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศของไทยต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อนชาวมุสลิมของไทยในประเทศต่างๆ และองค์กรการประชุมอิสลาม (OIC) เพื่อประกันว่า ผู้ที่ใช้ความรุนแรงจะไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่ว่าจะในรูปแบบและภายใต้เงื่อนไขใด
“อนาคต” และ “ความก้าวหน้า” ของประเทศไทยเป็นสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศกำลังจับตามองอยู่ ผมในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารขอย้ำกับทุกท่านอีกครั้งว่า รัฐบาลจะดูแลการเปลี่ยนผ่านให้ไทยกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งขึ้น ในเวลาประมาณอีก 6 เดือนที่เหลือ เป็นสังคมที่เป็นธรรม เท่าเทียมและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
พัฒนาการ การดำเนินการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยเท่านั้น แต่ก็เพื่อผลประโยชน์ของภูมิภาคในระยะยาวด้วย เพราะไทยจะเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ก่อนที่จะจบคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีในวันนี้ นายกรัฐมนตรีขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้ง และ ขออวยพรให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมิตรประเทศที่สำคัญยิ่งของไทย ให้มีความสัมพันธ์อันดี เรียนรู้ และเข้าใจซึ่งกันและกันต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--