วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ดร.ฮัสซัน วิรายูดา (H.E. Dr.Hassan Wirajuda) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางมาประเทศไทยเพื่อเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ 6 สาระสำคัญของการสนทนา มีดังนี้
นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่ไทยและอินโดนีเซียดำเนินความสัมพันธ์กันมาอย่างดี รวมถึงความสำเร็จของการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ 6 (Joint Commission for Bilateral Cooperation between Thailand and Indonesia-JC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียขอขอบคุณสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และพร้อมให้การสนับสนุนต่อนโยบายของไทยในการฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยของไทยและเห็นถึงความพยายามของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียมีความยินดีที่การประชุม JC ในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะเป็นการประชุมครั้งแรกในรอบสี่ปี แต่ก็สามารถผลักดันความร่วมมือในสาขาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีพัฒนาการที่ต่อเนื่อง
ระหว่างการสนทนามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความมุ่งมั่นที่จะจัดระบบการศึกษาในสามจังหวัดภาคใต้ รวมทั้งการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างทั่วถึง และให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสทางอาชีพให้แก่นักศึกษาไทยที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซียและตะวันออกกลาง ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียพร้อมให้การสนับสนุนและเห็นด้วยกับนโยบาย 3E (Education, Employment, Entrepreneurship) ในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวของรัฐบาลไทย พร้อมกับกล่าวว่า แม้แต่ในอินโดนีเซียเอง ก็สนับสนุนการศึกษาเชิงวิชาชีพในโรงเรียนสอนศาสนา เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในสาขาต่างๆ อาทิ ด้านข่าวกรอง ซึ่งไทย-อินโดนีเซียมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ความร่วมมือด้านความมั่นคง ซึ่งที่ผ่านมา ผู้นำทหารของไทยและอินโดนีเซียได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสำเร็จในการประชุมคณะกรรมการระดับสูงระหว่างไทย อินโดนีเซียด้านความมั่นคง High Level Committee- HLC ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ได้ถือโอกาสแจ้งว่า อินโดนีเซียมีสถาบันที่เรียกว่า Jakarta Center for Law Enforcement Cooperation ซึ่งยินดีร่วมมือกับสถาบันที่มีความใกล้เคียงกันในประเทศอื่น อาทิ International Law Enforcement Academy ในประเทศไทย
สำหรับประเด็นด้านการค้าและการลงทุน นายกรัฐมนตรีแสดงความพอใจที่มูลค่าทางการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นมากในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียกล่าวว่า การค้าระหว่างไทย-อินโดนีเซียเติบโตอย่างเนื่องถึง 20% มากกว่า การค้าภายในกลุ่มอาเชียนที่ขยายตัว 14% พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียได้กล่าวเชิญชวนให้นักลงทุนชาวไทยเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียมากขึ้น เนื่องจากอินโดนีเซียเพิ่งมีการแก้ไขกฏหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน โดยเฉพาะด้านการประมง ซึ่งไทยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ โดยในขณะนี้ อินโดนีเซียได้เปิดโอกาสให้ นักธรุกิจไทยสามารถเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการประมงได้อย่างครบวงจร แทนการให้เข้ามาลงทุนในลักษณะการให้สัมปทาน หรือ license เช่นที่ผ่านมา
นอกจากนี้ มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่า การยกร่างกฎบัตรอาเซียนจะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งนี้ อาเซียนมีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์อย่างมาก เนื่องจาก เป็นจุดที่เชื่อมระหว่าง East Asia-West Asia ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีศักยภาพอย่างยิ่งยวดในอนาคต ดังนั้น หากอาเซียนมุ่งพัฒนาความเชื่อมโยงทางด้านคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกันและมีความแข็งแกร่งเท่าไหร่ กลุ่มประเทศสมาชิกจะยิ่งได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น
ทั้งนี้ ผู้นำของทั้งสองประเทศคงจะมีโอกาสพบปะกันครั้งหน้าระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐและการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่ไทยและอินโดนีเซียดำเนินความสัมพันธ์กันมาอย่างดี รวมถึงความสำเร็จของการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ 6 (Joint Commission for Bilateral Cooperation between Thailand and Indonesia-JC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียขอขอบคุณสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และพร้อมให้การสนับสนุนต่อนโยบายของไทยในการฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยของไทยและเห็นถึงความพยายามของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียมีความยินดีที่การประชุม JC ในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะเป็นการประชุมครั้งแรกในรอบสี่ปี แต่ก็สามารถผลักดันความร่วมมือในสาขาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีพัฒนาการที่ต่อเนื่อง
ระหว่างการสนทนามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความมุ่งมั่นที่จะจัดระบบการศึกษาในสามจังหวัดภาคใต้ รวมทั้งการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างทั่วถึง และให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสทางอาชีพให้แก่นักศึกษาไทยที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซียและตะวันออกกลาง ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียพร้อมให้การสนับสนุนและเห็นด้วยกับนโยบาย 3E (Education, Employment, Entrepreneurship) ในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวของรัฐบาลไทย พร้อมกับกล่าวว่า แม้แต่ในอินโดนีเซียเอง ก็สนับสนุนการศึกษาเชิงวิชาชีพในโรงเรียนสอนศาสนา เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในสาขาต่างๆ อาทิ ด้านข่าวกรอง ซึ่งไทย-อินโดนีเซียมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ความร่วมมือด้านความมั่นคง ซึ่งที่ผ่านมา ผู้นำทหารของไทยและอินโดนีเซียได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสำเร็จในการประชุมคณะกรรมการระดับสูงระหว่างไทย อินโดนีเซียด้านความมั่นคง High Level Committee- HLC ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ได้ถือโอกาสแจ้งว่า อินโดนีเซียมีสถาบันที่เรียกว่า Jakarta Center for Law Enforcement Cooperation ซึ่งยินดีร่วมมือกับสถาบันที่มีความใกล้เคียงกันในประเทศอื่น อาทิ International Law Enforcement Academy ในประเทศไทย
สำหรับประเด็นด้านการค้าและการลงทุน นายกรัฐมนตรีแสดงความพอใจที่มูลค่าทางการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นมากในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียกล่าวว่า การค้าระหว่างไทย-อินโดนีเซียเติบโตอย่างเนื่องถึง 20% มากกว่า การค้าภายในกลุ่มอาเชียนที่ขยายตัว 14% พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียได้กล่าวเชิญชวนให้นักลงทุนชาวไทยเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียมากขึ้น เนื่องจากอินโดนีเซียเพิ่งมีการแก้ไขกฏหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน โดยเฉพาะด้านการประมง ซึ่งไทยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ โดยในขณะนี้ อินโดนีเซียได้เปิดโอกาสให้ นักธรุกิจไทยสามารถเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการประมงได้อย่างครบวงจร แทนการให้เข้ามาลงทุนในลักษณะการให้สัมปทาน หรือ license เช่นที่ผ่านมา
นอกจากนี้ มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่า การยกร่างกฎบัตรอาเซียนจะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งนี้ อาเซียนมีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์อย่างมาก เนื่องจาก เป็นจุดที่เชื่อมระหว่าง East Asia-West Asia ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีศักยภาพอย่างยิ่งยวดในอนาคต ดังนั้น หากอาเซียนมุ่งพัฒนาความเชื่อมโยงทางด้านคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกันและมีความแข็งแกร่งเท่าไหร่ กลุ่มประเทศสมาชิกจะยิ่งได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น
ทั้งนี้ ผู้นำของทั้งสองประเทศคงจะมีโอกาสพบปะกันครั้งหน้าระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐและการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--