นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวในรายการ “สายตรงทำเนียบ” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับกรณีที่ลูกจ้างในโครงการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ ของกระทรวงมหาดไทย ร้องเรียนผ่านสายด่วน 1111 เพราะไม่มั่นใจว่าจะได้รับการจ้างงานต่อหรือไม่ว่า โครงการแก้ไขปัญหาสังคมฯ เป็นโครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว โดยได้จ้างผู้ที่จบปริญญาตรีมาเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ที่ส่อไปในทางที่จะไม่สามารถทำมาหากินได้ เรื่องที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย รายได้ การประกอบอาชีพ ประมาณ 7,500 กว่าคนทั่วประเทศ ประจำอยู่ตามอำเภอเพื่อลงไปทำงานตามหมู่บ้านและกระจายไปตามหน่วยงานบางแห่ง ซึ่งโครงการฯ นี้สัญญาจะสิ้นสุดในปี 2551 แต่ของบประมาณได้แค่ปี 2550 และขณะนี้ได้ขอขยายการจ้างงานในโครงการฯ นี้ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2550 รวมทั้งได้หาแนวทางที่จะช่วยเหลือลูกจ้างเหล่านี้ไว้ 3 แนวทาง คือ 1. ให้ปลัดจังหวัด นายอำเภอ สำรวจว่าแต่ละจังหวัดมีอัตราการว่างงานเท่าไร 2. อัตราการจ้างงานของท้องถิ่นสามารถจ้างได้ส่วนหนึ่ง 3. ส่วนราชการเมื่อถูกยุบอัตราของข้าราชการแต่ละหน่วยงานก็สามาถแปลงไปเป็นพนักงานราชการได้
อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า ในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการในลักษณะของการจัดทำเป็นแผนชุมชน เพื่อจะให้เห็นว่าจะต้องแก้ไขปัญหาในภาพรวม และเมื่อมีการจัดทำแผนชุมชนแล้ว ต่อไปศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ก็มีโอกาสจะใช้ลูกจ้างเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ได้ในการจัดทำแผนชุมชน หรืออาจจ้างทำงานในโครงการเกี่ยวกับงานทะเบียนของกระทรวงมหาดไทยที่จะต้องจ้างคนออกไปเก็บข้อมูล
ส่วนปัญหาเรื่องการขอสัญชาติไทยนั้น อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า ขณะนี้มีบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและยังไม่ได้สัญชาติไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณ 1.2 แสนคน โดยได้ทำการสำรวจและขึ้นทะเบียนประวัติไว้แล้วประมาณ 2 แสนกว่าคน ที่เหลือยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบประวัติ และกำลังจะขอขยายเวลาในการขึ้นทะเบียนให้กับเด็กที่มีบิดามารดาอยู่ในไทยและมีโอกาสที่จะได้สัญชาติไทย จากสิ้นเดือนมิถุนายนออกไปเป็นสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งนี้ เด็กเหล่านี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ขอขึ้นทะเบียนไว้แล้ว โดยทางอำเภอจะตรวจสอบในชั้นต้น จากนั้นจังหวัดจะตรวจสอบและส่งมายังกรมการปกครองเพื่อตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง กลุ่มที่ 2 อยู่ในกลุ่ม 1.2 แสนคนที่ยังไม่ได้สัญชาติไทย ทั้งนี้ เมื่อผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว จึงจะไปสู่กระบวนการขอสัญชาติได้ ซึ่งจะต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า ในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการในลักษณะของการจัดทำเป็นแผนชุมชน เพื่อจะให้เห็นว่าจะต้องแก้ไขปัญหาในภาพรวม และเมื่อมีการจัดทำแผนชุมชนแล้ว ต่อไปศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ก็มีโอกาสจะใช้ลูกจ้างเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ได้ในการจัดทำแผนชุมชน หรืออาจจ้างทำงานในโครงการเกี่ยวกับงานทะเบียนของกระทรวงมหาดไทยที่จะต้องจ้างคนออกไปเก็บข้อมูล
ส่วนปัญหาเรื่องการขอสัญชาติไทยนั้น อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า ขณะนี้มีบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและยังไม่ได้สัญชาติไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณ 1.2 แสนคน โดยได้ทำการสำรวจและขึ้นทะเบียนประวัติไว้แล้วประมาณ 2 แสนกว่าคน ที่เหลือยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบประวัติ และกำลังจะขอขยายเวลาในการขึ้นทะเบียนให้กับเด็กที่มีบิดามารดาอยู่ในไทยและมีโอกาสที่จะได้สัญชาติไทย จากสิ้นเดือนมิถุนายนออกไปเป็นสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งนี้ เด็กเหล่านี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ขอขึ้นทะเบียนไว้แล้ว โดยทางอำเภอจะตรวจสอบในชั้นต้น จากนั้นจังหวัดจะตรวจสอบและส่งมายังกรมการปกครองเพื่อตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง กลุ่มที่ 2 อยู่ในกลุ่ม 1.2 แสนคนที่ยังไม่ได้สัญชาติไทย ทั้งนี้ เมื่อผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว จึงจะไปสู่กระบวนการขอสัญชาติได้ ซึ่งจะต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--