พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวในรายการ “สายตรงทำเนียบ” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ถึงกรณีที่เคยระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนจะร้อนแรงมากขึ้น ว่า จากการประเมินสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบคดีต่าง ๆ ของกลุ่มอำนาจเก่า คดียุบพรรค ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งมีทั้งผู้ที่เดือดร้อนจริงและมีการจัดตั้ง ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มที่ไม่ชอบรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็ออกมาต่อต้าน ด้วยเหตุนี้จึงประเมินว่าสถานการณ์จะร้อนแรง
ต่อข้อถามว่า รัฐบาลจะรับมือกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ต่อต้านรัฐบาลและคมช.อย่างไร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า คมช.ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี และเสนอให้รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ควรใช้ ควรรอให้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อน และพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ก็รับฟังเหตุผล
ดังนั้น การดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุมในช่วงนี้ จึงต้องให้เป็นไปตามกฎหมายก่อน เช่น กลุ่มที่จะมาชุมนุมในวันพรุ่งนี้ (8 เม.ย.) ที่ท้องสนามหลวง ก็ต้องไปขออนุญาตกับทาง กทม. ซึ่ง กทม. บอกว่า ไม่สามารถอนุญาตได้ เพราะให้รัฐบาลใช้พื้นที่จัดงานสงกรานต์แล้ว จึงขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะทำอย่างไร ถ้าปฏิบัติตามกฎหมายและไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าทำผิดกฎหมายก็เป็นเรื่องของตำรวจที่จะต้องเข้าไปดำเนินการ ทหารจะเป็นเพียงส่วนสนับสนุน แต่ถ้าตำรวจไม่สามารถจัดการได้และร้องขอให้ทหารเข้าไปช่วย เราก็จะช่วยเหลือ ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน และถ้าสถานการณ์ลุกลามจนไม่สามารถควบคุมได้ ก็ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลเปิดช่องไว้แล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังย้ำว่ารัฐบาลและคมช. ไม่มีความขัดแย้งกันรุนแรงตามที่เป็นข่าว เพียงแต่มีความเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องของการประกาศใช้พระราชกำหนดดังกล่าวเท่านั้น
สำหรับการดูแลรักษาความปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวยืนยันว่า ในช่วงเทศกาลสำคัญที่ประชาชนต้องการมีความสุขมากที่สุด รัฐบาลและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งนอนใจ และมีการได้เตรียมการหาทางป้องกันไม่ให้เหตุที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ต่อข้อถามว่า รัฐบาลจะรับมือกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ต่อต้านรัฐบาลและคมช.อย่างไร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า คมช.ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี และเสนอให้รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ควรใช้ ควรรอให้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อน และพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ก็รับฟังเหตุผล
ดังนั้น การดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุมในช่วงนี้ จึงต้องให้เป็นไปตามกฎหมายก่อน เช่น กลุ่มที่จะมาชุมนุมในวันพรุ่งนี้ (8 เม.ย.) ที่ท้องสนามหลวง ก็ต้องไปขออนุญาตกับทาง กทม. ซึ่ง กทม. บอกว่า ไม่สามารถอนุญาตได้ เพราะให้รัฐบาลใช้พื้นที่จัดงานสงกรานต์แล้ว จึงขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะทำอย่างไร ถ้าปฏิบัติตามกฎหมายและไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าทำผิดกฎหมายก็เป็นเรื่องของตำรวจที่จะต้องเข้าไปดำเนินการ ทหารจะเป็นเพียงส่วนสนับสนุน แต่ถ้าตำรวจไม่สามารถจัดการได้และร้องขอให้ทหารเข้าไปช่วย เราก็จะช่วยเหลือ ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน และถ้าสถานการณ์ลุกลามจนไม่สามารถควบคุมได้ ก็ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลเปิดช่องไว้แล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังย้ำว่ารัฐบาลและคมช. ไม่มีความขัดแย้งกันรุนแรงตามที่เป็นข่าว เพียงแต่มีความเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องของการประกาศใช้พระราชกำหนดดังกล่าวเท่านั้น
สำหรับการดูแลรักษาความปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวยืนยันว่า ในช่วงเทศกาลสำคัญที่ประชาชนต้องการมีความสุขมากที่สุด รัฐบาลและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งนอนใจ และมีการได้เตรียมการหาทางป้องกันไม่ให้เหตุที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--