วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมรัฐสภา ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1 ได้มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ นัดพิเศษ ซึ่งมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม เพื่อทำพิธีส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ... (ฉบับรับฟังความคิดเห็น)แก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กรและบุคคลตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2549
นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้กล่าวว่า เนื่องจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งคำชี้แจงเสร็จแล้ว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 26 จึงขอเชิญคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และผู้แทนองค์กรและบุคคลตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญเข้าประจำที่ ประกอบด้วย ผู้แทนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้แทนคณะรัฐมนตรี ผู้แทนศาลฎีกา ผู้แทนศาลปกครองสูงสุด ผู้แทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้แทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้แทนหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้แทนหรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้แทนสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา เพื่อมอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ...(ฉบับรับฟังความคิดเห็น)
จากนั้นนายประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และกล่าวมอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ว่า ตามที่ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2550 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีการประชุม การสัมมนา ระดมความคิดเห็นและการรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งประชาชน เพื่อนำมาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยการดำเนินการดังกล่าวนี้ คณะกรรมาธิการได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษา รวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 4 คณะ คือ 1. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนและการกระจายอำนาจ 2. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรอบที่ 2 ว่าด้วยสถาบันการเมือง 3. 2. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล4. คณะอนุกรรมาธิการติดตามผลการประสานงานการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน
บัดนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมคำชี้แจงความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และเหตุผลในการแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มี ทั้งหมด 15 หมวด จำนวน 299 มาตรา ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว” พุทธศักราช 2549 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 28 ได้กำหนดให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมคำชี้แจงความแตกต่างและเหตุผลในการแก้ไข ให้แก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร และบุคคล เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นในคำแปรญัตติ ภายใน 30 วันนับแต่วันส่งมอบเอกสาร คณะกรรมาธิการฯ จึงขอส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับรับฟังความคิดเห็น) และเอกสารเปรียบเทียบพร้อมเหตุผลในการแก้ไขให้แก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และผู้แทนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นต่อไป
นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอให้องค์กรและบุคคล ตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญเสนอความคิดเห็น และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอคำแปรญัตติของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2550 โดยให้ยื่นที่ห้องประชุมกรรมาธิการ โดยประธานที่ประชุมได้เชิญตัวแทนองค์กรและบุคคล ตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแสดงความคิดเห็นตามลำดับ
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวในนามของคณะรัฐมนตรีว่า ขอแสดงความยินดีกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนของประชาชนอย่างเต็มศักยภาพ จนได้ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก เพื่อส่งให้องค์กรและบุคคลตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งประชาชนทุกกลุ่มอาชีพได้นำไปศึกษาและร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางต่อไป และทุกคนต่างได้รับทราบกันดีแล้วว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นร่างที่ได้ร่างขึ้นบนสถานการณ์ที่จะต้องนำพาประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ดีขึ้น เพื่อจะได้ดำเนินการให้มีการเลือกตั้งภายในปีพุทธศักราช 2550 นี้ และสามารถแก้ไขปัญหาของการผูกขาดอำนาจรัฐ การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เกิดผลให้การดำเนินการทางการเมืองขาดความโปร่งใส ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐบกพร่อง รวมทั้งการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มที่
จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีสาระสำคัญที่มุ่งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบอยู่ได้เป็นอย่างดี เพื่อที่ประเทศจะได้มีการเลือกตั้งที่ถูกต้อง บริสุทธิ์ยุติธรรม และนำมาซึ่งรัฐบาลของประชาชนอย่างภาคภูมิใจ โดยรัฐบาลและผู้แทนองค์กรตามรัฐธรรมนูญทุกองค์กรจะได้เร่งพิจารณาศึกษาประเด็นและสาระสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อเสนอความเห็นที่สำคัญต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
สำหรับในส่วนของรัฐบาลได้เตรียมมาตรการสนับสนุนกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีความรู้เรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกาศเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นในร่างรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ด้วยแล้ว ซึ่งต่อจากนี้ไปจะได้เร่งประชาสัมพันธ์และเพิ่มการทำความเข้าใจกับประชาชนทุกภาคส่วนให้มากขึ้นต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้กล่าวว่า เนื่องจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งคำชี้แจงเสร็จแล้ว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 26 จึงขอเชิญคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และผู้แทนองค์กรและบุคคลตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญเข้าประจำที่ ประกอบด้วย ผู้แทนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้แทนคณะรัฐมนตรี ผู้แทนศาลฎีกา ผู้แทนศาลปกครองสูงสุด ผู้แทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้แทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้แทนหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้แทนหรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้แทนสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา เพื่อมอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ...(ฉบับรับฟังความคิดเห็น)
จากนั้นนายประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และกล่าวมอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ว่า ตามที่ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2550 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีการประชุม การสัมมนา ระดมความคิดเห็นและการรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งประชาชน เพื่อนำมาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยการดำเนินการดังกล่าวนี้ คณะกรรมาธิการได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษา รวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 4 คณะ คือ 1. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนและการกระจายอำนาจ 2. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรอบที่ 2 ว่าด้วยสถาบันการเมือง 3. 2. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล4. คณะอนุกรรมาธิการติดตามผลการประสานงานการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน
บัดนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมคำชี้แจงความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และเหตุผลในการแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มี ทั้งหมด 15 หมวด จำนวน 299 มาตรา ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว” พุทธศักราช 2549 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 28 ได้กำหนดให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมคำชี้แจงความแตกต่างและเหตุผลในการแก้ไข ให้แก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร และบุคคล เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นในคำแปรญัตติ ภายใน 30 วันนับแต่วันส่งมอบเอกสาร คณะกรรมาธิการฯ จึงขอส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับรับฟังความคิดเห็น) และเอกสารเปรียบเทียบพร้อมเหตุผลในการแก้ไขให้แก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และผู้แทนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นต่อไป
นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอให้องค์กรและบุคคล ตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญเสนอความคิดเห็น และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอคำแปรญัตติของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2550 โดยให้ยื่นที่ห้องประชุมกรรมาธิการ โดยประธานที่ประชุมได้เชิญตัวแทนองค์กรและบุคคล ตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแสดงความคิดเห็นตามลำดับ
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวในนามของคณะรัฐมนตรีว่า ขอแสดงความยินดีกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนของประชาชนอย่างเต็มศักยภาพ จนได้ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก เพื่อส่งให้องค์กรและบุคคลตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งประชาชนทุกกลุ่มอาชีพได้นำไปศึกษาและร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางต่อไป และทุกคนต่างได้รับทราบกันดีแล้วว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นร่างที่ได้ร่างขึ้นบนสถานการณ์ที่จะต้องนำพาประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ดีขึ้น เพื่อจะได้ดำเนินการให้มีการเลือกตั้งภายในปีพุทธศักราช 2550 นี้ และสามารถแก้ไขปัญหาของการผูกขาดอำนาจรัฐ การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เกิดผลให้การดำเนินการทางการเมืองขาดความโปร่งใส ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐบกพร่อง รวมทั้งการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มที่
จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีสาระสำคัญที่มุ่งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบอยู่ได้เป็นอย่างดี เพื่อที่ประเทศจะได้มีการเลือกตั้งที่ถูกต้อง บริสุทธิ์ยุติธรรม และนำมาซึ่งรัฐบาลของประชาชนอย่างภาคภูมิใจ โดยรัฐบาลและผู้แทนองค์กรตามรัฐธรรมนูญทุกองค์กรจะได้เร่งพิจารณาศึกษาประเด็นและสาระสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อเสนอความเห็นที่สำคัญต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
สำหรับในส่วนของรัฐบาลได้เตรียมมาตรการสนับสนุนกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีความรู้เรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกาศเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นในร่างรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ด้วยแล้ว ซึ่งต่อจากนี้ไปจะได้เร่งประชาสัมพันธ์และเพิ่มการทำความเข้าใจกับประชาชนทุกภาคส่วนให้มากขึ้นต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--