แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายประเสริฐ ตปนียางกูล ผู้ตรวจราชการและรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับการจัดสัมมนา “ขับเคลื่อนแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา:การสร้างความเชื่อมโยงภาครัฐ-เอกชน-มหาวิทยาลัย” ที่จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2550 เวลา 08.00-16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค โดยมีนายโฆสิต ปั่นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
สืบเนื่องจากสถาบันจัดอันดับนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) ได้จัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยในปี 2550 ลดลงจากอันดับที่ 29 จาก 53 ประเทศในปี 2549 มาอยู่ในอันดับที่ 33 จาก 55 ประเทศในปี 2550 ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ลดลงจากอันดับที่ 45 จาก 53 ประเทศ ในปี 2549 มาอยู่ในอันดับที่ 49 จาก 55 ประเทศ ในปี 2550 ด้านจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศ ลดลงจากอันดับที่ 22 จาก 53 ประเทศ ในปี 2549 มาเป็นอันดับที่ 27 จาก 55 ประเทศ ในปี 2550 และการจัดอันดับจำนวนสิทธิบัตรที่ให้กับคนในประเทศอยู่ในอันดับที่ 38 เช่นเดิม ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสำคัญมากในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา เพื่อที่จะเร่งรัดให้มีการสร้างปัญญาในสังคม สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างความสามารถของประเทศให้ยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันสร้างนวัตกรรมขึ้นมา คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ ไปร่วมกันจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ให้บรรลุเป้าหมายที่จะให้สถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 35 มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นภายในปี 2555 และเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านบุคลากรวิจัยและพัฒนาและจำนวนสิทธิบัตรที่เกิดจากผลงานการวิจัยให้เพิ่มสูงขึ้นได้ รวมทั้งขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายหลักไว้ 3 ประการ ประกอบด้วย เป้าหมายที่ 1 : ร้อยละ 35 ของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เป้าหมายที่ 2 : มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา การวิจัยและการเรียนการสอน และเป้าหมายที่ 3 : อันดับความสามารถในการแข่งขันของ IMD ในด้านบุคลากรวิจัยและพัฒนาและสิทธิบัตร อยู่ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลาง
การจัดสัมมนา “ขับเคลื่อนแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา:การสร้างความเชื่อมโยงภาครัฐ-เอกชน-มหาวิทยาลัย” ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพิ่มความสามารถในการพัฒนากำลังคนของประเทศ และความสามารถทางเทคโนโลยีของภาคการผลิตและบริการภายในปี 2555 และสร้างความสามารถทางการผลิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวต่อไป รวมทั้งมุ่งหวังให้เป็นเวทีกระตุ้นการสร้างความร่วมคิดร่วมทำ (collaboration) และเชื่อมโยงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการของภาคการผลิตและบริการอย่างแท้จริง
โดยจะมีผู้แทนจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมการสัมมนากว่า 150 คน เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นในการริเริ่มโครงการความร่วมมือเชื่อมโยงที่จะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยและภาคการผลิตและบริการ การจัดตั้งเครือข่ายนวัตกรรมอุตสาหกรรมกลุ่มย่อย เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ จะนำผลที่จะได้รับจากการสัมมนาดังกล่าวเป็นแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาไปสู่เป้าหมายร่วมกันต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
สืบเนื่องจากสถาบันจัดอันดับนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) ได้จัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยในปี 2550 ลดลงจากอันดับที่ 29 จาก 53 ประเทศในปี 2549 มาอยู่ในอันดับที่ 33 จาก 55 ประเทศในปี 2550 ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ลดลงจากอันดับที่ 45 จาก 53 ประเทศ ในปี 2549 มาอยู่ในอันดับที่ 49 จาก 55 ประเทศ ในปี 2550 ด้านจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศ ลดลงจากอันดับที่ 22 จาก 53 ประเทศ ในปี 2549 มาเป็นอันดับที่ 27 จาก 55 ประเทศ ในปี 2550 และการจัดอันดับจำนวนสิทธิบัตรที่ให้กับคนในประเทศอยู่ในอันดับที่ 38 เช่นเดิม ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสำคัญมากในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา เพื่อที่จะเร่งรัดให้มีการสร้างปัญญาในสังคม สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างความสามารถของประเทศให้ยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันสร้างนวัตกรรมขึ้นมา คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ ไปร่วมกันจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ให้บรรลุเป้าหมายที่จะให้สถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 35 มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นภายในปี 2555 และเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านบุคลากรวิจัยและพัฒนาและจำนวนสิทธิบัตรที่เกิดจากผลงานการวิจัยให้เพิ่มสูงขึ้นได้ รวมทั้งขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายหลักไว้ 3 ประการ ประกอบด้วย เป้าหมายที่ 1 : ร้อยละ 35 ของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เป้าหมายที่ 2 : มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา การวิจัยและการเรียนการสอน และเป้าหมายที่ 3 : อันดับความสามารถในการแข่งขันของ IMD ในด้านบุคลากรวิจัยและพัฒนาและสิทธิบัตร อยู่ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลาง
การจัดสัมมนา “ขับเคลื่อนแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา:การสร้างความเชื่อมโยงภาครัฐ-เอกชน-มหาวิทยาลัย” ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพิ่มความสามารถในการพัฒนากำลังคนของประเทศ และความสามารถทางเทคโนโลยีของภาคการผลิตและบริการภายในปี 2555 และสร้างความสามารถทางการผลิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวต่อไป รวมทั้งมุ่งหวังให้เป็นเวทีกระตุ้นการสร้างความร่วมคิดร่วมทำ (collaboration) และเชื่อมโยงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการของภาคการผลิตและบริการอย่างแท้จริง
โดยจะมีผู้แทนจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมการสัมมนากว่า 150 คน เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นในการริเริ่มโครงการความร่วมมือเชื่อมโยงที่จะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยและภาคการผลิตและบริการ การจัดตั้งเครือข่ายนวัตกรรมอุตสาหกรรมกลุ่มย่อย เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ จะนำผลที่จะได้รับจากการสัมมนาดังกล่าวเป็นแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาไปสู่เป้าหมายร่วมกันต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--