วันนี้ เวลา 09.30 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด “ขุดราก-ถอนโคน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพข้าราชการในการสืบค้นข้อมูลด้านอาชญากรรมและยาเสพติดจากผู้ต้องขังในเรือนจำ จัดโดยกระทรวงยุติธรรม ระหว่างวันที่ 11 — 15 มิถุนายน 2550 โดยมีนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ส. เจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน และเจ้าหน้าที่เรือนจำ ตลอดจนสื่อมวลชน ประมาณ 400 คน ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล กรุงเทพมหานคร
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวรายงานว่า รัฐบาลมีนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด โดยมุ่งเน้นที่จะกำจัดอาชญากรรมและยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย เพื่อความสงบสุขของประชาชน ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์มีผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจำซึ่งถูกศาลพิพากษาลงโทษเด็ดขาดแล้ว และที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล รวมทั้งสิ้นประมาณ 162,000 คน ผู้ต้องขังหรือนักโทษเหล่านี้ สังคมทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นทรัพยากรที่ไร้ประโยชน์ แต่กรมราชทัณฑ์และกระทรวงยุติธรรมมีแนวคิดมุมมองว่าผู้ต้องขังแต่ละคนที่ถูกจับและถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกล้วนแต่มีประสบการณ์มากมายในด้านหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการประกอบอาชญากรรมและการค้ายาเสพติด หากผู้ต้องขังเหล่านี้รู้สึกสำนึกผิดและกลับใจให้ข้อมูลที่แท้จริงต่อทางราชการก็จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายที่จะเข้าถึงผู้บงการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรมและการค้ายาเสพติด ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีใครทราบว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังเป็นใคร เพราะบุคคลเหล่านี้มักจะหลบซ่อนอยู่ในที่มืดแต่มีม่านฉากที่สวยงาม
กระทรวงยุติธรรมจึงคิดแสวงหาข้อมูลจากทรัพยากรที่อยู่ในเรือนจำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจับกุมปราบปรามอาชญากรและผู้ค้ายาเสพติดที่หลงเหลืออยู่มาลงโทษตามยุทธการ “ขุดราก —ถอนโคน” กระทรวงยุติธรรมเห็นว่าการแสวงหาข้อมูลเชิงลึกจากผู้ต้องขังหรือนักโทษนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงเกิดจากความสมัครใจมิได้เกิดจากการขู่เข็ญหลอกลวงจูงใจหรือให้คำมั่นสัญญาหรือโดยมิชอบด้วยประการอื่น ผู้ต้องขังหรือนักโทษที่ให้ความจริงจะต้องได้รับความปลอดภัย ครอบครัวและญาติพี่น้องของคนเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลจากทางราชการเช่นเดียวกัน และข้อมูลที่ได้รับต้องถือว่าเป็นความลับที่จะต้องปกปิด
การดำเนินการยุทธการ “ขุดราก — ถอนโคน” เป็นการบูรณาการอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน ที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายได้แก่กรมราชทัณฑ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ปปง. กรมสอบสวนคดีพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาร่วมในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติดที่กระทรวงยุติธรรมจัดขึ้นในวันนี้ และกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมานานพอสมควร และเคยทำงานร่วมกับเลขาธิการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งทุกคนต่างมีความมุ่งมั่นที่จะขจัดปัญหายาเสพติดนี้ให้หมดสิ้นไป ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้ปัญหานี้ได้บรรเทาลง ซึ่งได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอยู่เสมอในสังคมของเรา เพราะปัญหายาเสพติดนั้นนอกจากมีความเกี่ยวข้องทางสังคมแล้วยังเกี่ยวข้องในเรื่องทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง และเรื่องสุขภาพหรือความเข้มแข็งของประชากร แม้แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้กำหนดให้มี “วันต่อต้านยาเสพติด” เพื่อให้ประเทศชาติต่าง ๆ ตระหนักถึงภัยร้ายแรงของยาเสพติดที่มีต่อมวลมนุษยชาติ และต้องช่วยกันขจัดปัญหานี้ให้เบาบางลงหรือหมดไป ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยในขณะนี้ แม้ว่าเราจะสามารถควบคุมหรือจำกัดความรุนแรงของปัญหาไว้ได้ในระดับที่น่าพอใจ โดยความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน แต่ปัญหายาเสพติดก็อาจจะกลับมาเป็นปัญหาใหญ่ได้อีก หากมาตรการต่าง ๆ ผ่อนคลายความเข้มงวดลง เพราะการลักลอบค้ายาเสพติดทำได้ง่ายและได้เงินมาก จึงเป็นแรงจูงใจให้หลายคนกล้าที่จะกระทำความผิด ดังนั้น ถ้าหากฝ่ายที่เฝ้าระวังอ่อนล้า ปัญหานี้ก็พร้อมที่จะกลับคืนมาได้ทันที
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยในวันนี้ เชื่อว่าเรามีมาตรการต่าง ๆ ที่ค่อนข้างครอบคลุมทั่วถึงและต่อเนื่อง ทั้งการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ จัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดมาตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา และในขณะนี้ก็ได้มีการดำเนินงานทั้งในด้านการควบคุมตัวยาและผู้เสพยาเสพติด การแก้ไขปัญหาผู้เสพหรือผู้ติดยา การแยกกลุ่มเสียงต่าง ๆ การทำลายโครงสร้างเครือข่ายการค้ายาเสพติดในทุกระดับ ในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการกำหนดให้มีมาตรการเสริมอื่น ๆ เช่นการที่กระทรวงยุติธรรมมีนโยบายสืบค้นข้อมูล เบื้องลึกจากผู้ต้องขัง ซึ่งมีอยู่กว่า 160,000 คน ทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดนั้น จะช่วยเสริมสร้างให้การดำเนินงานบังเกิดความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นอีกส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา นอกเหนือจากการให้ความรู้แก่ประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดูแลและแก้ไขปัญหา การสร้างองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ และการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
“ผมขอขอบคุณผู้ต้องขังที่ให้ความร่วมมือในเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยเราอย่างยั่งยืนกันต่อไป ซึ่งคนไทยเรานั้นผมเชื่อมั่นว่าส่วนใหญ่เป็นคนที่มีจิตใจดีงาม มีความสุภาพอ่อนโยน มีศีลธรรมจรรยาที่ได้รับการปลูกฝังมาเป็นเวลายาวนาน แม้ว่าบางครั้งชีวิตของบางคนอาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ้างแต่พื้นฐานดังกล่าวก็ยังคงอยู่ ทำให้ทุกคนพร้อมที่จะสร้างความดีให้แก่ประเทศ เพื่อสังคมและเพื่อพี่น้องร่วมชาติสืบไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความตั้งใจที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้ต้องขังในครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นการทำความดีตอบแทนสังคม ตอบแทนบุญคุณต่อแผ่นดิน อีกทางหนึ่ง โดยนายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมยินดีในจิต อันเป็นกุศลของทุกคน และขอเตือนไปยังผู้ค้า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังอาชญากรรมต่าง ๆ และข้าราชการที่ทุจริตประพฤติมิชอบว่า สิ่งที่ได้ก่อกรรมไว้ จะไม่เป็นความลับตลอดไป และทุกคนจะได้รับผลจากสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วไม่ช้าก็เร็ว ตามกฎแห่งกรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการนี้ พร้อมกับอวยพรให้การดำเนินการตามโครงการบรรลุผลสำเร็จตามเจตจำนงทุกประการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวรายงานว่า รัฐบาลมีนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด โดยมุ่งเน้นที่จะกำจัดอาชญากรรมและยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย เพื่อความสงบสุขของประชาชน ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์มีผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจำซึ่งถูกศาลพิพากษาลงโทษเด็ดขาดแล้ว และที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล รวมทั้งสิ้นประมาณ 162,000 คน ผู้ต้องขังหรือนักโทษเหล่านี้ สังคมทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นทรัพยากรที่ไร้ประโยชน์ แต่กรมราชทัณฑ์และกระทรวงยุติธรรมมีแนวคิดมุมมองว่าผู้ต้องขังแต่ละคนที่ถูกจับและถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกล้วนแต่มีประสบการณ์มากมายในด้านหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการประกอบอาชญากรรมและการค้ายาเสพติด หากผู้ต้องขังเหล่านี้รู้สึกสำนึกผิดและกลับใจให้ข้อมูลที่แท้จริงต่อทางราชการก็จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายที่จะเข้าถึงผู้บงการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรมและการค้ายาเสพติด ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีใครทราบว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังเป็นใคร เพราะบุคคลเหล่านี้มักจะหลบซ่อนอยู่ในที่มืดแต่มีม่านฉากที่สวยงาม
กระทรวงยุติธรรมจึงคิดแสวงหาข้อมูลจากทรัพยากรที่อยู่ในเรือนจำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจับกุมปราบปรามอาชญากรและผู้ค้ายาเสพติดที่หลงเหลืออยู่มาลงโทษตามยุทธการ “ขุดราก —ถอนโคน” กระทรวงยุติธรรมเห็นว่าการแสวงหาข้อมูลเชิงลึกจากผู้ต้องขังหรือนักโทษนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงเกิดจากความสมัครใจมิได้เกิดจากการขู่เข็ญหลอกลวงจูงใจหรือให้คำมั่นสัญญาหรือโดยมิชอบด้วยประการอื่น ผู้ต้องขังหรือนักโทษที่ให้ความจริงจะต้องได้รับความปลอดภัย ครอบครัวและญาติพี่น้องของคนเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลจากทางราชการเช่นเดียวกัน และข้อมูลที่ได้รับต้องถือว่าเป็นความลับที่จะต้องปกปิด
การดำเนินการยุทธการ “ขุดราก — ถอนโคน” เป็นการบูรณาการอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน ที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายได้แก่กรมราชทัณฑ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ปปง. กรมสอบสวนคดีพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาร่วมในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติดที่กระทรวงยุติธรรมจัดขึ้นในวันนี้ และกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมานานพอสมควร และเคยทำงานร่วมกับเลขาธิการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งทุกคนต่างมีความมุ่งมั่นที่จะขจัดปัญหายาเสพติดนี้ให้หมดสิ้นไป ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้ปัญหานี้ได้บรรเทาลง ซึ่งได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอยู่เสมอในสังคมของเรา เพราะปัญหายาเสพติดนั้นนอกจากมีความเกี่ยวข้องทางสังคมแล้วยังเกี่ยวข้องในเรื่องทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง และเรื่องสุขภาพหรือความเข้มแข็งของประชากร แม้แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้กำหนดให้มี “วันต่อต้านยาเสพติด” เพื่อให้ประเทศชาติต่าง ๆ ตระหนักถึงภัยร้ายแรงของยาเสพติดที่มีต่อมวลมนุษยชาติ และต้องช่วยกันขจัดปัญหานี้ให้เบาบางลงหรือหมดไป ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยในขณะนี้ แม้ว่าเราจะสามารถควบคุมหรือจำกัดความรุนแรงของปัญหาไว้ได้ในระดับที่น่าพอใจ โดยความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน แต่ปัญหายาเสพติดก็อาจจะกลับมาเป็นปัญหาใหญ่ได้อีก หากมาตรการต่าง ๆ ผ่อนคลายความเข้มงวดลง เพราะการลักลอบค้ายาเสพติดทำได้ง่ายและได้เงินมาก จึงเป็นแรงจูงใจให้หลายคนกล้าที่จะกระทำความผิด ดังนั้น ถ้าหากฝ่ายที่เฝ้าระวังอ่อนล้า ปัญหานี้ก็พร้อมที่จะกลับคืนมาได้ทันที
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยในวันนี้ เชื่อว่าเรามีมาตรการต่าง ๆ ที่ค่อนข้างครอบคลุมทั่วถึงและต่อเนื่อง ทั้งการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ จัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดมาตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา และในขณะนี้ก็ได้มีการดำเนินงานทั้งในด้านการควบคุมตัวยาและผู้เสพยาเสพติด การแก้ไขปัญหาผู้เสพหรือผู้ติดยา การแยกกลุ่มเสียงต่าง ๆ การทำลายโครงสร้างเครือข่ายการค้ายาเสพติดในทุกระดับ ในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการกำหนดให้มีมาตรการเสริมอื่น ๆ เช่นการที่กระทรวงยุติธรรมมีนโยบายสืบค้นข้อมูล เบื้องลึกจากผู้ต้องขัง ซึ่งมีอยู่กว่า 160,000 คน ทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดนั้น จะช่วยเสริมสร้างให้การดำเนินงานบังเกิดความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นอีกส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา นอกเหนือจากการให้ความรู้แก่ประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดูแลและแก้ไขปัญหา การสร้างองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ และการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
“ผมขอขอบคุณผู้ต้องขังที่ให้ความร่วมมือในเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยเราอย่างยั่งยืนกันต่อไป ซึ่งคนไทยเรานั้นผมเชื่อมั่นว่าส่วนใหญ่เป็นคนที่มีจิตใจดีงาม มีความสุภาพอ่อนโยน มีศีลธรรมจรรยาที่ได้รับการปลูกฝังมาเป็นเวลายาวนาน แม้ว่าบางครั้งชีวิตของบางคนอาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ้างแต่พื้นฐานดังกล่าวก็ยังคงอยู่ ทำให้ทุกคนพร้อมที่จะสร้างความดีให้แก่ประเทศ เพื่อสังคมและเพื่อพี่น้องร่วมชาติสืบไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความตั้งใจที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้ต้องขังในครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นการทำความดีตอบแทนสังคม ตอบแทนบุญคุณต่อแผ่นดิน อีกทางหนึ่ง โดยนายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมยินดีในจิต อันเป็นกุศลของทุกคน และขอเตือนไปยังผู้ค้า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังอาชญากรรมต่าง ๆ และข้าราชการที่ทุจริตประพฤติมิชอบว่า สิ่งที่ได้ก่อกรรมไว้ จะไม่เป็นความลับตลอดไป และทุกคนจะได้รับผลจากสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วไม่ช้าก็เร็ว ตามกฎแห่งกรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการนี้ พร้อมกับอวยพรให้การดำเนินการตามโครงการบรรลุผลสำเร็จตามเจตจำนงทุกประการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--