แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยบูรพา
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
วันนี้เวลา 13.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ ดร.เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานโยบายสาธารณะ และ Mr.Rae Kwon Chung Director,Environment and Sustainable Development Division, UNESCAP แถลงข่าวการจัดประชุมนานาชาติเรื่อง ความสุขและนโยบายสาธารณะ (Happiness and Public Policy) ระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2550 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ สรุปสาระสำคัญดังนี้
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดประชุมว่า สำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพของนโยบายสาธารณะผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจบนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนจากผลการศึกษาต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้คนในสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยได้ร่วมประชุมกับเครือข่ายภายในประเทศมาตั้งแต่ปีที่แล้ว สำหรับในปีนี้สำนักงานฯ จึงเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องนี้ให้มากขึ้นร่วมกับหน่วยงานในต่างประเทศด้วย ซึ่งในหลายประเทศมีการศึกษาในเรื่องวิธีการวัดความสุขและนัยต่อนโยบายในด้านต่าง ๆ อันจะนำมาสู่แนวทางการพัฒนานโยบายเพื่อความสุขของประชาชนและสังคมโดยรวม จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การพัฒนาที่มุ่งเน้นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นไม่เพียงพอสำหรับความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ดังนั้น กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศจึงเปลี่ยนไป โดยมุ่งพัฒนาสู่เป้าหมายอื่น นอกเหนือจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 8 ที่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาคน ฉบับที่ 9 ได้ผนวกปรัชญาเศรษฐกิจพิเพียงไว้ด้วย และในปัจจุบันแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 10 ได้มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันภายใต้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานโยบายสาธารณะ กล่าวว่า การประชุมนานานาชาติเรื่อง “ความสุขและนโยบายสาธารณะ” เป็นโอกาสอันดีสำหรับการสร้างองค์ความรู้ทางด้านนโยบายสาธารณะที่สร้างความเป็นสุขสำหรับประเทศไทยจากมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น โดยผ่านประสบการณ์การวิจัยและพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกสำหรับการประยุกต์ใช้กับกรณีประเทศไทยของรัฐบาล เพื่อนำประเทศไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในอนาคต อีกทั้งเป็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อยกระดับคุณภาพของนโยบายสาธารณะผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนจากผลการศึกษาต่าง ๆ และเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นให้กว้างขว้างมากยิ่งขึ้น เป็นเวทีในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดที่น่าสนใจของการพัฒนาในระดับสากล อาทิ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ในทิศทางที่จะนำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข นโยบายที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงวิธีการวัด และตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับหัวข้อการอภิปรายมีดังนี้ 1) ความสุขจากมุมมองนานาชาติ : ทำไมเรา จึงต้องการกระบวนทัศน์ใหม่ 2) การสร้างกรอบความคิดเรื่องความสุขและตัวชี้วัด 3) รูปแบบความสุขของแต่ละประเทศ 4) ความสุขและนโยบายเศรษฐกิจสังคม 5) เทคโนโลยีและความสุข การประชุมนานาชาติครั้งนี้จึงมีความก้าวหน้าในการนำเสนอประเด็นที่ค่อนข้างจะครอบคลุม รวมทั้งมีหัวข้อใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องความสุข ที่อาจจะไม่เคยมีการนำเสนอมาก่อนในการประชุมนานาชาติที่อื่น ทั้งนี้ ผลที่คาดว่าจะได้จากการประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างแนวทางในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อความสุข ที่สามารถเสนอให้รัฐบาลได้ และได้เผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องนี้แก่สาธารณชนมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายในการทำงานในเรื่องนี้ เพื่อจะได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ให้ก้าวหน้าต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดประชุมว่า สำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพของนโยบายสาธารณะผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจบนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนจากผลการศึกษาต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้คนในสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยได้ร่วมประชุมกับเครือข่ายภายในประเทศมาตั้งแต่ปีที่แล้ว สำหรับในปีนี้สำนักงานฯ จึงเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องนี้ให้มากขึ้นร่วมกับหน่วยงานในต่างประเทศด้วย ซึ่งในหลายประเทศมีการศึกษาในเรื่องวิธีการวัดความสุขและนัยต่อนโยบายในด้านต่าง ๆ อันจะนำมาสู่แนวทางการพัฒนานโยบายเพื่อความสุขของประชาชนและสังคมโดยรวม จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การพัฒนาที่มุ่งเน้นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นไม่เพียงพอสำหรับความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ดังนั้น กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศจึงเปลี่ยนไป โดยมุ่งพัฒนาสู่เป้าหมายอื่น นอกเหนือจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 8 ที่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาคน ฉบับที่ 9 ได้ผนวกปรัชญาเศรษฐกิจพิเพียงไว้ด้วย และในปัจจุบันแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 10 ได้มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันภายใต้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานโยบายสาธารณะ กล่าวว่า การประชุมนานานาชาติเรื่อง “ความสุขและนโยบายสาธารณะ” เป็นโอกาสอันดีสำหรับการสร้างองค์ความรู้ทางด้านนโยบายสาธารณะที่สร้างความเป็นสุขสำหรับประเทศไทยจากมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น โดยผ่านประสบการณ์การวิจัยและพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกสำหรับการประยุกต์ใช้กับกรณีประเทศไทยของรัฐบาล เพื่อนำประเทศไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในอนาคต อีกทั้งเป็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อยกระดับคุณภาพของนโยบายสาธารณะผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนจากผลการศึกษาต่าง ๆ และเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นให้กว้างขว้างมากยิ่งขึ้น เป็นเวทีในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดที่น่าสนใจของการพัฒนาในระดับสากล อาทิ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ในทิศทางที่จะนำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข นโยบายที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงวิธีการวัด และตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับหัวข้อการอภิปรายมีดังนี้ 1) ความสุขจากมุมมองนานาชาติ : ทำไมเรา จึงต้องการกระบวนทัศน์ใหม่ 2) การสร้างกรอบความคิดเรื่องความสุขและตัวชี้วัด 3) รูปแบบความสุขของแต่ละประเทศ 4) ความสุขและนโยบายเศรษฐกิจสังคม 5) เทคโนโลยีและความสุข การประชุมนานาชาติครั้งนี้จึงมีความก้าวหน้าในการนำเสนอประเด็นที่ค่อนข้างจะครอบคลุม รวมทั้งมีหัวข้อใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องความสุข ที่อาจจะไม่เคยมีการนำเสนอมาก่อนในการประชุมนานาชาติที่อื่น ทั้งนี้ ผลที่คาดว่าจะได้จากการประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างแนวทางในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อความสุข ที่สามารถเสนอให้รัฐบาลได้ และได้เผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องนี้แก่สาธารณชนมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายในการทำงานในเรื่องนี้ เพื่อจะได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ให้ก้าวหน้าต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--