วันนี้ เวลา 21.30 น พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สนทนากับคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ในรายการ “คุยนอกทำเนียบ” ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 ซึ่งได้พูดคุยกันในเรื่องของรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยให้ได้โดยเร็ว
พิธีกร ขอถามจุดยืนของท่านเรื่องรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าผ่านด่านที่เราพูดถึงคดียุบพรรค ม็อบต่าง ๆ ท่านบอกว่าก็เดินไปตามกติกาตามครรลอง อีกด้านหนึ่งคือรัฐธรรมนูญ ท่านนายกรัฐมนตรียังมั่นใจ เขาบอกว่าจะคว่ำประชามติ จะไม่ป่วนอีกรอบ
นายกรัฐมนตรี อยู่ที่การทำความเข้าใจ ผมคิดว่าตรงนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ถ้าเราได้มีการแปรญัตติและมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านการแปรญัตติแล้ว หรือที่เรียกว่าร่าง 2 ถ้าไปถึงตรงนี้แล้วได้มีการพิจารณากันอย่างดี ทางสสร.เองก็ได้มีการกลั่นกรองจากกรรมาธิการยกร่างแล้ว ผมคิดว่าตรงนี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่ประชาชนจะได้มีโอกาสได้ดูว่าเมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว เราควรที่จะเดินไปข้างหน้ากันอย่างไร คือไปสู่การทำประชามติ ตรงนี้ได้มีการเขียนลงไปแล้วว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ยากเย็นอะไรมากมากนัก ไม่เหมือนกับฉับที่แล้ว ซึ่งตรงนั้นจะแก้ยาก
พิธีกร คือจะทำให้แก้ง่ายขึ้น
นายกรัฐมนตรี ถ้าไม่ดีก็ปรับได้
พิธีกร หมายถึงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้ไป เลือกตั้งไป ถึงเวลาไม่ได้ทำให้แก้ยาก รัฐบาลมาจากประชาชนมาจากประชาธิปไตย ก็ไปแก้เอา หลักเป็นอย่างนั้นที่ท่านมอง
นายกรัฐมนตรี ผมมองอย่างนั้น
พิธีกร มีอยู่สองความเคลื่อนไหวครับ อันหนึ่งคือเนื้อหาแท้ ๆ ว่าคนจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร อีกอันหนึ่งคือการเมืองจะคว่ำจะล้ม เพื่อจะสร้างเงื่อนไขอะไรหรือเปล่า ผมถามท่านเรื่องเนื้อก่อน ส่วนตัวท่านติดใจตรงไหนไหม ในฐานะพลเอก สุรยุทธ์ฯ เป็นประชาชนคนหนึ่ง
นายกรัฐมนตรี ในส่วนของคณะรัฐมนตรีที่ได้พิจารณากันแล้ว เรามองในประเด็นของฝ่ายบริหาร ในส่วนอื่น ๆ ผมยังไม่ขอพูดในวันนี้เพราะว่าจะพูดในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร ก็มีบางเรื่องที่ถือว่าจะเป็นการทำให้การบริหารงานของฝ่ายบริหารนั้นลำบาก ซึ่งได้ให้ข้อคิดเห็นไปแล้ว
พิธีกร แนวนโยบายอะไรที่ไปเขียนละเอียดเกินไป เดี๋ยวฝ่ายบริหารจะทำงานลำบาก
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ จนทำอะไรไม่ได้ เพราะว่าจะต้องทำตามนั้น นั่นเป็นเรื่องที่เสนอความเห็นไปแล้ว คิดว่าน่าจะได้มีการแปรญัตติ และมีการปรับแก้กัน นั่นเป็นประเด็นหลักในด้านฝ่ายบริหารคือไม่ควรที่จะเขียนอะไรที่จะไปจำกัดแนวความคิดในการทำงานของฝ่ายบริหารมากจนเกินไป แม้กระทั่งในเรื่องของการที่จะบรรจุหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงไปในรัฐธรรมนูญ ผมก็เห็นว่าไม่ควร เพราะเรื่องนี้เป็นปรัชญา คนที่ต้องการจะนำไปปฏิบัติไม่ควรจะต้องไป
พิธีกร ให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติ
นายกรัฐมนตรี น่าจะดีกว่า
พิธีกร ท่านคิดเผื่อรัฐบาลหน้า เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ใช้กับรัฐบาลนี้
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ ก็คิดเผื่อ เพราะในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารเราต้องดูว่ามีอะไรที่จะกระทบกับผู้ที่จะมาทำงานในด้านบริหารในโอกาสข้างหน้าบ้าง ซึ่งส่วนอื่น ๆ เขาก็ดูลักษณะอย่างนั้น เพราะเป็นบทบาทของแต่ละองค์กรทั้ง 12 องค์กรที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง
พิธีกร นี่คือทำหน้าที่รัฐบาลปัจจุบัน ถามความเห็นมา รัฐบาลเห็นเรื่องฝ่ายบริหารเขาจะทำงานยากนะตรงนี้ เสนอแก้ไขปรับปรุง แต่ถามท่านอย่างเช่น เรื่อง ส.ว. ส่วนตัวเห็นอย่างไร ท่านเคยเป็น ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง
นายกรัฐมนตรี ใช่ ส่วนตัวผมมองในประเด็นตรงนี้ว่า ถ้าหากว่ามาจากการเลือกตั้ง ทำอย่างไรที่จะไม่มีฐานเสียงใกล้เคียงกับการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ตรงนี้เป็นส่วนที่ผมอยากจะให้พวกเราได้ช่วยกันคิด คือบทเรียนมีมาแล้ว
พิธีกร สภาผัวสภาเมียที่เขาเรียกกัน
นายกรัฐมนตรี และก็ฐานเสียงอันเดียวกัน คือถ้ามาจากการเลือกตั้งประเด็นที่เราพูดกันจะลำบากคือ จะไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ผมว่ายาก เพราะว่าลงไปข้างล่างแล้วเราจะเห็นว่าในพื้นที่จะมีหัวคะแนน มีฐานเสียงของแต่ละพรรคการเมืองอยู่ ไม่มีใครที่จะบอกว่าผมเป็นคนว่าง ๆ ไม่มี
พิธีกร ในทางปฏิบัติทำไม่ได้
นายกรัฐมนตรี ทำไม่ได้ จะต้องมีฐานเสียงของพรรคการเมืองอยู่ ถ้าไม่ใช่พรรคนี้ที่ 1 ก็ต้องเป็นพรรคที่ 2 ไม่ก็เป็นพรรคเล็กพรรคน้อย ก็ว่ากันไป ต้องเป็นอย่างนั้น นั่นคือการเมืองในบ้านเรา ถ้าบอกว่าห้ามหาเสียง ห้ามไปเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้
พิธีกร อาจจะให้หาเสียง แต่ต้องแก้ว่าทำอย่างไรที่จะไม่ให้ใช้ฐานเสียงเดียวกัน ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นคนของพรรคการเมืองมาทำหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่ง
นายกรัฐมนตรี อย่างที่คุณสรยุทธ์พูดเมื่อสักครู่ว่าสภาผัวสภาเมีย
พิธีกร คือต้องไปหาทางแก้ตรงนี้ให้ได้ และถ้าสรรหาท่านเห็นอย่างไร สรรหาก็มีคนต่อต้าน
นายกรัฐมนตรี สรรหาจะต้องมีอำนาจที่จะมอบให้สภาน้อยลง ของอังกฤษเขาก็เป็นการสรรหา เพราะรูปแบบการปกครองของเราคล้าย ๆ กับอังกฤษ เขาจะมี House of Lords ซึ่งมาจากการสรรหาและอำนาจก็ไม่มากมายอะไร
พิธีกร เป็นสภาที่ปรึกษามากกว่า เหมือนเป็นพี่เลี้ยงคอยกลั่นกรอง แต่ไม่ได้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ไม่ใช่
นายกรัฐมนตรี เราก็ปรับเสียตรงนี้ ก็จะสอดคล้อง เราจะบอกว่าจะทำอย่างไร เราจะเอาวิธีไหน
พิธีกร ถ้ามองอย่างท่านนายกรัฐมนตรีก็คือไปได้ ไปหาคำตอบให้ได้ว่าเลือกตั้งก็ดีที่สุด แต่ทำอย่างไรจะเปราะนี้
นายกรัฐมนตรี บทเรียนเรามีแล้ว ไม่ต้องไปถามคนอื่น ไม่ต้องไปดูอังกฤษ ดูไทยก็ได้แล้ว
พิธีกร ถ้าหาทางแก้ตรงนี้ได้ก็เลือกตั้ง แต่ถ้าแก้ไม่ได้ก็สรรหา แต่ลดอำนาจ ถ้าสรรหาแล้วมามีอำนาจแบบเลือกตั้งท่านก็ไม่เห็นด้วย อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง อย่างองค์กรแก้วิกฤตคงจะถอดออกแล้ว มีประเด็นเรื่องของการที่เขาพยายามจะใส่เรื่องตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ลงในรัฐธรรมนูญด้วย เหมือนกับที่ศาลพิพากษา แต่ตัดเพื่ออนาคตด้วย คือถ้าใครไปทำแล้วถูกตัดสิทธิโดยศาล ถูกลงโทษยุบพรรค กรรมการบริหารจะถูกตัดสิทธิด้วย
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นกรณีที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว ถ้าเอาไปเขียนไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็เป็นส่วนหนึ่งอย่างที่เราพูดกัน เราจะมีกฎหมายอื่นไหม ที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของจริยธรรมคุณธรรมของนักการเมือง อย่างที่ผมพูดว่าในกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ควรจะมีอะไรเข้าไปมากมายนัก ควรจะมีกฎหมายอื่น ซึ่งเป็นกฎหมายลูกมารองรับ ถ้าเรามีอะไรเราก็เขียนไป ผลสุดท้ายเราก็ทำความเข้าใจยาก ถ้าเรามีประสบการณ์ตรงนี้ อยากจะให้เรื่องนี้ได้ดำเนินการสานต่อไปในอนาคต ก็มาออกกฎหมายอื่นในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมของนักการเมือง
พิธีกร จะห้ามอะไรอย่างไร ก็เขียนกฎหมายปกติ ไม่ต้องไปใส่ละเอียดในรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น
พิธีกร ผมมองเผื่อว่าถ้าใส่เยอะจะไปเป็นปัญหาในเรื่องการแสดงความคิดเห็นกันหลากหลายมาก ในเวลาที่ค่อนข้างมีจำกัดพอสมควร ท่านคิดอย่างไรที่มีคนพูดถึงเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นฉบับอมาตยาธิปไตย
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าในมุมมองของคนส่วนหนึ่งอาจจะมองในส่วนนั้นว่า
พิธีกร ข้าราชการเป็นใหญ่
นายกรัฐมนตรี จริง ๆ ไม่ได้เป็นข้าราชการเป็นใหญ่หรอกครับ อย่างที่เห็นอยู่ข้าราชการก็ลำบาก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 6-7 เดือนข้าราชการลำบาก ไม่ใช่ข้าราชการเป็นใหญ่ เพราะมองไปทางไหน ผมทำตามมติครม. ก็โดน
พิธีกร อันนั้นคือข้าราชการกลุ่มหนึ่ง
นายกรัฐมนตรี และจะบอกว่าข้าราชการที่ไหนที่เป็นใหญ่
พิธีกร อันนี้ที่เขาวิพากษ์วิจารณ์กัน
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น แม้กระทั่งใน สนช. เอง ข้าราชการที่เข้าไปอยู่ในนั้นทุกคนก็ระวังตัว เพราะจะเกิดผลอย่างนี้เหมือนกันต่อไปข้างหน้า
พิธีกร คือทำอะไรพลาดก็โดน
นายกรัฐมนตรี ก็มีเหมือนกัน
พิธีกร เลยนำมาซึ่งข้าราชการเกียร์ว่างหรือเปล่า ยอมรับความจริงหรือเปล่าว่าเป็นอย่างนั้น
นายกรัฐมนตรี เป็นส่วนหนึ่ง ทุกคนมีแรงกดดัน
พิธีกร ไม่ทำไม่ผิดอย่างนั้นหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี คือไม่ทำถ้าเรายังไม่ตัดสินใจ เรารอก่อน รอดูสถานการณ์คลี่คลายก่อน ก็ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างที่ผมบอกคือเรื่องไหนที่ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เมื่อผมเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องทำ จะต้องลงไปจี้ ผมก็ลงไปจี้ ก็เช่นเดียวกัน ผมก็รู้ว่าตรงไหนที่ทางส่วนข้าราชการยังระแวงอยู่ ยังกลัว ๆ กล้า ๆ อยู่
พิธีกร มันเป็นปัญหาจริง ๆ เขาอยู่เขาทำอะไรไปกลัวผิด แล้วกลัวโดนเช็คบิลทีหลัง
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ
พิธีกร เลยหยุดชะงัก อันนี้เป็นส่วนที่ทำให้ขยับช้า
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งในเรื่องของงบประมาณที่ทำให้ขยับช้า เพราะว่าเราเสียเวลาในการที่จะต้องมาปรับปรุงงบประมาณปี 2550 ใหม่ กว่าจะเอาออกมาใช้ได้เดือนมกราคม
พิธีกร ไม่เคยมีครั้งไหนที่งบประมาณประเทศรวนขนาดนี้มาก่อน
นายกรัฐมนตรี ครับ นี่ก็เป็นปัญหาที่สำคัญ หนึ่งคือเรื่องคน สองคือเรื่องเงิน สองตัวหลัก ๆ ถ้าพูดในแง่การบริหาร
พิธีกร ท่านทำอย่างไร
นายกรัฐมนตรี เราต้องค่อย ๆ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่องของงบประมาณ ผมผลักได้ว่าส่วนหนึ่งงบในส่วนราชการ งบในด้านการลงทุน จะต้องเร่งรัด ไปเปิดประมูลไปทำสัญญา ของรัฐวิสาหกิจก็เช่นเดียวกันต้องลงไปเร่งรัด
พิธีกร อย่างมีไม่ใช่ระบบ เขาเรียกว่าสภาพการณ์ นี่คือสภาพของความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือในช่วงที่มีปัญหากันอยู่อย่างนี้ พอเกิดขึ้น เลยทำให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีต้องลงไปจี้ แล้วทำได้ขนาดไหน
นายกรัฐมนตรี ขณะนี้ผมคิดว่าเราอยู่ในเกณฑ์ที่เราผ่านไปได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ แค่เรียกว่าจมูกปริ่มน้ำ ในเรื่องของการใช้งบประมาณ แต่ในช่วงเวลาที่ 4 เดือนที่เหลือ ตีว่า 3 เดือนแล้วกัน ในส่วนนี้สามารถที่จะดำเนินการไปได้อีก แต่ผมคิดดูแล้วใช้ไม่หมด ใช้ไม่ทัน คงจะต้องมีส่วนหนึ่งที่ยังคั่งค้างอยู่ บางส่วนอาจจะต้องขอผูกพันต่อไปในปีหน้า ก็เป็นเรื่องที่จะต้องทำกันภายในไม่เกินเดือนสิงหาคม
พิธีกร ทำไมก่อนหน้านี้ท่านถึงไม่ออกมาบอก อาจจะมีคนบอกว่าช้า คือคนกับเงิน เงิน เขาเรียกว่าเปิดท่อให้ออกไป แต่คนก็ไม่ง่าย ท่านต้องลงไปจี้ ทำไมท่านไม่ใช้สไตล์อีกหนึ่ง ที่บอกคนบอกว่านายกรัฐมนตรีเด็ดขาดลงมาถึงทำ ๆ
นายกรัฐมนตรี ทำไม่ได้เพราะอะไร เพราะเงินยังไม่มี 3 เดือนแรกเงินยังไม่มี แล้วผมจะสั่งให้ทำได้อย่างไร เมื่อเขาบอกว่าเงินไม่มา ผมจะไปทำอะไรเขา คือมันติดอยู่อย่างนี้ ในแง่ของการบริหาร ถ้าจะไปสั่งคน ๆ ก็บอกว่าเงินไม่มี ยกตัวอย่างเรื่องภาคใต้ จะมีการปรับองค์กร ปรับองค์กรเสร็จ เงินก็ยังลงไปไม่ถึง ข้างล่างก็บอกว่าทำอย่างไรครับ ผมอยากทำแต่เงินไม่มา อย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดได้ว่าเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ
พิธีกร ไม่ใช่มองว่าท่านไปยอมรับกับระบบที่ล่าช้า
นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ เราต้องพยายามผลักดัน ได้อย่างที่เห็นคือประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
พิธีกร อีกส่วนหนึ่งอาจจะถูกมองว่า อันนี้หมายถึงท่านกับคณะรัฐมนตรี ผมไม่ถามท่านเรื่องการปรับครม. เพราะท่านบอกว่าเวลาเหลือน้อย ถ้าปรับตอนนี้เอาคนมาเริ่มต้นใหม่ในเวลาที่เหลืออยู่ไม่ทันการณ์
นายกรัฐมนตรี สรุปถูกต้องแล้ว
พิธีกร จี้คนที่มีอยู่ดีกว่า ถ้าจะมีคนบอกว่าในทางการเมือง ต้องมีเวลาเกิดเหตุน้ำท่วม แผ่นดินไหว พืชผลมีปัญหา ปลาตาย ต้องมีรัฐมนตรีลงไปบัญชาการแก้ปัญหา สมัยประชาธิปไตยเขามี ส.ส. แต่รัฐบาลชุดนี้เหมือนไม่มีไหมครับ
นายกรัฐมนตรี ก็ไม่มีคนที่ลงไปถึงพื้นดินมากนัก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ขึ้นมา รัฐมนตรีที่รับผิดชอบก็ลงไป ไม่ใช่ว่าไม่ลง นั่นเป็นส่วนที่ผมอยากจะเรียนว่า บางทีเราก็มองในภาพเดิมที่ว่ามี ส.ส. ลงไปก่อน แล้วทางพรรคก็ส่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องลงไปแทน ในปัจจุบันนี้ไม่ได้มีพรรค และไม่ได้มี ส.ส.
พิธีกร กลไกตรงนี้เลยขาดหายไป
นายกรัฐมนตรี แน่นอน ผมพูดตั้งแต่ต้นแล้วว่า เราไม่ได้มีกลไกที่จะลงไปถึงฐานรากโดยตรง เราก็อาศัยกลไกของทางราชการที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันเท่านั้นเอง
พิธีกร เราชดเชยตรงนี้ไม่ได้ แก้ไขไม่ได้
นายกรัฐมนตรี แก้ไขไม่ได้เลยในระยะเวลาสั้น ๆ
พิธีกร หาตัวเชื่อมอะไรต่าง ๆ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่ารัฐบาลนี้
นายกรัฐมนตรี เราก็ทำอยู่แล้วในส่วนของผู้นำชุมชนที่จะเอาเข้ามาร่วมงาน ไม่ได้เฉพาะเรื่องแค่นี้ เป็นเรื่องที่จะต้องสร้างชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไปในอนาคตว่า ชุมชนจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร ตรงนี้พูดกันได้ว่า เราจะมองในภาพรวมของการบริหารจัดการ ในภาพเดิมในสิ่งเหล่านั้นผมว่าน่าจะเป็นลักษณะของอมาตยาธิปไตยมากกว่าสิ่งที่เราจะทำต่อไปในอนาคต คือสิ่งที่เราจะเสนอว่าถ้าเผื่อชุมชนมีความเข้มแข็ง มีระบบการดูแล มีการแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุเภทภัยอะไรมา และมีการวางระบบการแก้ไขไว้ นั่นจะเป็นสิ่งที่เหมาะกว่าที่จะต้องมีคนจากส่วนกลางลงไป ซึ่งแก้ไขอะไรก็ไม่ได้มาก ถ้าลงไปสิ่งที่เห็นคือเป็นกำลังใจเท่านั้นเอง
พิธีกร คือกำลังใช้เวลานี้ไปสร้างกลไก แต่มันจะไม่เหมือนเดิม ที่เป็นลักษณะของ ส.ส. ผู้แทนผ่านไปถึงรัฐมนตรีทันอกทันใจ อยากจะทำอย่างนั้นไหม พอถึงเวลาลงไปทันอกทันใจ พบปะประชาชน
นายกรัฐมนตรี ถ้าเรามองดูการบริหารงานของประเทศอื่น ๆ ทั่วไปในภาพรวมแล้ว เราจะเห็นว่าจะต้องมีการวางทั้งสองส่วนที่คู่ขนานกัน คือในเรื่องของพรรคการเมือง และกลไกที่จะลงไปทำงาน จะมาใช้อันหนึ่งอันใดเต็มที่ไม่ได้ โดยที่ไม่ได้ใช้อีกอันหนึ่ง ก็คงไม่ได้ ขณะนี้ผมไม่ได้มีกลไกทางการเมือง ผมมาใช้มือขวาเต็มที่
พิธีกร มือซ้ายเหมือนพักไว้เฉย ๆ
นายกรัฐมนตรี ครับ ก็ต้องช้าเป็นธรรมดา พูดง่าย ๆ ว่าคนเล่นบาสเกตบอล แล้วบอกว่ามีแขนข้างเดียว ก็เลี้ยงได้ชู้ทได้ แต่ว่าไม่เหมือนกับคนที่มีสองมือที่จะเล่นบาสเกตบอล
พิธีกร ท่านจะขอความเห็นใจไหม
นายกรัฐมนตรี ผมไม่ได้ขอความเห็นใจ ผมยอมรับว่ามีปัญหา ผมเข้ามาทำงานในยามที่ประเทศชาติมีปัญหา ผมเต็มใจที่จะมารับภาระตรงนี้เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไป ไม่ได้คิดว่าจะต้องเข้ามามีชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย แต่อยากที่จะให้ทุกคนร่วมกันแล้วช่วยกันแก้ไขตรงนี้ อย่างที่พูดถึงเรื่องชุมชน ก็เป็นความร่วมมือที่ชาวบ้านเขาอยากจะร่วมมือ รัฐบาลทำไมถึงไม่ยื่นมือลงไปจับ ข้าราชการทำไมไม่ยื่นมือลงไปจับ สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่ผมอยากจะให้เกิดขึ้นในสังคมของเราต่อไป
พิธีกร ท่านไม่ได้อยู่แบบรอวัน มี สนช. บางท่านบอกทุกวันไปเดินฉีกปฎิทินหมดไปอีกวัน เมื่อไรจะหมดเสียที จะได้ไปแล้ว
นายกรัฐมนตรี ตอนนี้ผมไม่ได้มีปฏิทินฉีกแล้ว ปฏิทินฉีกคงหมดสมัยไปแล้ว
พิธีกร เหมือนนับว่าเมื่อไรจะได้ไปเสียที อันนี้ที่เขาติฉินนินทา
นายกรัฐมนตรี ผมก็พูดอยู่เป็นประจำ ถ้าหากว่าทำอะไรที่สั้น ๆ ลงกว่าเดิมได้ อย่างพูดเรื่องการเลือกตั้ง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ว่าถ้าเราจะผ่านจากห้วงเวลานี้ไปสู่รัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งจะเห็นได้ชัดเจนว่าจะมีอะไรที่ดีขึ้นต่อไป ผมมีประสบการณ์ในช่วงที่ทำงานคือ เป็นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง ทำงานกับต่างประเทศยากที่สุด ผมถึงบอกว่างานของกระทรวงการต่างประเทศประสบผลสำเร็จ
พิธีกร ท่านรู้สภาพความเป็นจริงว่ารัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเหนื่อยมาก ต่างประเทศยากที่สุด
นายกรัฐมนตรี เหนื่อยมาก เขาก็ไม่อยากพูดด้วย พูดกันตรง ๆ
พิธีกร ถึงแม้ภาพจะปรากฏออกมา เขาต้อนรับขับสู้คุยกันดี
นายกรัฐมนตรี อันนั้นหมายถึงว่าในส่วนที่เขายอมรับแล้ว ส่วนที่เขาไม่ยอมรับยังมีอีกเยอะ
พิธีกร อันนี้คือความเป็นจริงของสังคมโลกปัจจุบัน ท่านถึงบอกว่ารีบไปสู่การเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรี มีรัฐบาลที่มาตามครรลอง มาตามระบอบประชาธิปไตยที่เราต้องการกัน และจะได้พัฒนาก้าวหน้ากันต่อไป
พิธีกร ประเทศจะได้เดินหน้าต่อไปได้ แต่ก็มีอีกขั้วหนึ่งคือท่านจะรีบให้เลือกตั้งไปทำไม รู้เห็นเป็นใจกับอำนาจเก่าหรือเปล่า เพราะเลือกตั้งไป เดี๋ยวอำนาจเก่าก็กลับมา อันนี้เกิดก่อนคดียุบพรรค เสียงติฉินนินทาที่ว่า กลุ่มนี้เขาไม่อยากให้รีบเลือกตั้ง แล้วจะมีปัญหากลุ่มอำนาจเก่าจะกลับมา
นายกรัฐมนตรี ตอนนี้ภาพก็ชัดแล้วว่าเมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไปแล้ว กลุ่มอำนาจเก่าก็ยังเข้ามาไม่ได้ อีก 4 ปีข้างหน้าก็ยังทำอะไรไม่ได้
พิธีกร แต่เขามีนอมินีได้
นายกรัฐมนตรี นอมินีก็คงไม่เหมือนตัวเอง
พิธีกร ไม่ง่ายเหมือนที่ตัวเองทำ
นายกรัฐมนตรี ครับ บางทีนอมินีก็ 70 ต่อ 30 ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
พิธีกร คือไม่สามารถที่จะควบคุมบงการอะไรได้ทั้งหมดก็ว่ากันไป ถึงตอนนี้ท่านอยากให้เลือกตั้งเร็ว
นายกรัฐมนตรี ผมไม่ได้อยาก ผมเพียงแต่เสนอว่าถ้าเราดำเนินกรรมวิธีอะไรต่าง ๆ ได้สั้นลง น่าที่จะขยับวันเลือกตั้งเข้ามาได้ ยังไม่ได้มีการหารือกันตรงนี้ เป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้นเองว่าถ้าทำเข้ามาให้สั้นได้ ก็น่าจะดี
พิธีกร จุดประสงค์คือไม่ได้แปลว่าฉันอยากไปแล้ว แต่รีบส่งประเทศไปสู่จุดที่เป็นรัฐบาลเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรี ครับ คือว่าวางฐานรากให้ดี อยู่ในครรลองที่ถูกต้องแล้วควรทำให้เร็ว อย่าไปมัวชักช้าอยู่ แต่ถ้าฐานรากยังไม่พร้อมอย่าไปทำ เหมือนกับการก่อสร้างบ้าน ถ้าฐานรากปูนยังไม่แห้ง ต่อไปแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
พิธีกร ก็ย้อนกลับมาที่รัฐธรรมนูญ ตัวนี้แหละที่จะเป็นคำตอบ ที่ท่านบอกว่าฐานรากที่ว่านี้ อย่างน้อยต้องส่งให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปได้สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ให้กลายเป็นเละเทะ พูดถึงเนื้อหายกตัวอย่างบางประเด็น เรื่องการเมือง อย่างที่บอกจะมีความพยายามที่จะคว่ำรัฐธรรมนูญ ประชามติ แล้วพอ คมช. อาจจะมาถามท่านเล็กน้อยว่าเอาฉบับไหน จะต้องถามไหม
นายกรัฐมนตรี ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ได้เขียนไว้เลยว่าต้องถามคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องของคมช.
พิธีกร เขาบอกอาจจะไปหยิบฉบับไหนมา
นายกรัฐมนตรี เขียนไว้อย่างนั้นชัดเจน
พิธีกร ปรับปรุงแก้ไขเสร็จแล้วประกาศใช้ ฝ่ายนั้นบอกว่ารัฐธรรมนูญมาจากอำนาจเผด็จการ แล้วจะได้ก่อความวุ่นวาย อันนี้เป็นอีกเปราะหนึ่งที่มีการวิเคราะห์กัน ท่านกังวลไหม
นายกรัฐมนตรี ผมไม่กังวล ผมอยากที่จะทำความเข้าใจในช่วงนี้ว่า ร่างที่กำลังดำเนินการอยู่ อย่างที่พูดในตอนต้นคือแก้ไขปรับปรุงเสียให้เป็นที่ยอมรับได้ เวลาเรามีผู้คนเราก็มี ทำไมเราไม่ทำเสียตอนนี้
พิธีกร เดินเข้ามาแก้ เสนอความคิดเข้ามาแก้
นายกรัฐมนตรี ครับ แล้วจะได้ปรับกัน แน่นอนว่าความคิดเห็นทางการเมืองในลักษณะที่จะทำให้ไม่ผ่านนี่มี แต่คนส่วนใหญ่เมื่อเข้าใจแล้วผมคิดว่ามันผ่าน
พิธีกร ท่านเห็นบางประเด็นใช่ไหม ที่คนร่างกับคนที่เขาอยู่วงนอกต่อสู้กันทางความคิดเห็นอย่างรุนแรง จนกระทั่งฝ่ายข้างนอกคือเละแล้ว ไม่มีทาง ก็มีปรากฏการณ์อย่างนี้ถึงขั้นจะปลุกออกมารณรงค์เรื่องธงเขียวให้คว่ำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ว่าจะออกมาอย่างไรก็ตามที ไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาหรือ
นายกรัฐมนตรี ก็อยู่ที่ประชาชน ถ้าประชาชนเข้าใจรู้ว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่กำลังแก้ไขบทเรียนจากอดีตเป็นอย่างไร อะไรที่ไม่ดี เราก็หาทางแก้ไข และอะไรที่ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในนั้น ออกมาไว้ข้างนอก มันก็ไปได้
พิธีกร แปลว่าฝ่าย สสร. ต้องฟัง
นายกรัฐมนตรี ควรจะฟัง
พิธีกร นอกจากจะเสนอความเห็นในนามคณะรัฐมนตรี แต่ส่วนอื่นก็เป็นเรื่องของ สสร. ท่านกำลังบอกว่าอะไรที่เป็นปัญหามาก ๆ เอาออกไปก่อนอย่างนั้นหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นทางหนึ่ง
พิธีกร เพื่อให้เกิดฐานและไปสู่การเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นนี่เป็นอีกเปราะหนึ่ง ตกลงท่านไม่กังวล
นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ถึงกับกังวลมากมาย แน่นอนว่ามีข้อมูลเหมือนอย่างคุณสรยุทธ์ฯ ว่า มันมีทางอย่างนี้อย่างนั้น ผมยังมีความมั่นใจในวินิจฉัยของคนไทยส่วนใหญ่ ถ้าเราเข้าใจเหมือนอย่างที่พูดเรื่องการวินิจฉัยคดียุบพรรค ถ้าเราศึกษาเราจะยิ่งเสริมให้เข้าใจว่า รัฐธรรมนูญมีความสำคัญอย่างไร เป็นกฎกติกาอันใหม่ที่เราจะเล่นต่อไปข้างหน้า ควรจะเขียนอย่างไร ให้เป็นกฎกติกาที่ดูบทเรียนจากตรงนี้ แล้วเขียนกฎกติกาใหม่เสีย ก็เห็นชัด ๆ ทีนี้ถ้าเราไม่มองภาพอย่างนี้ ตรงนี้ไม่ได้ ต้องเขียนกฎตรงนี้ไว้ 5 ปีเอาไปใส่อีก ตรงนี้ห้ามเอามือจับ ก็วุ่นกันไปหมด
พิธีกร เรื่องยากที่สุดคือทำความเห็นที่หลากหลาย ให้เดินไปด้วยกันให้ได้
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ เพราะฉะนั้นในความคิดเห็นของผมเอง รัฐธรรมนูญถ้ายิ่งเปิดไว้กว้าง ๆ แล้วไปออกกฎหมายลูกก็ยิ่งจะง่าย ถ้าไปจำกัดกรอบมากมาย ยิ่งยาก และยิ่งเป็นปัญหา
พิธีกร ท่านไม่คิดในกรอบความคิดที่ว่า นักการเมืองต้องตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่า เลว เพราะฉะนั้นต้องหาทางสร้างกลไกล้อมกรอบ เมื่อสักครู่ท่านบอกผมว่าเขียนกว้าง ๆ เป็นหลัก และไปเขียนกฎหมายลูก แล้วให้รัฐบาลประชาธิปไตยเขามาจัดการ
นายกรัฐมนตรี ใช่
พิธีกร มันคนละขั้วเลยนะ
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นอันหนึ่งที่เราดูได้ว่า ต่อกรณีที่ว่าเรามองภาพในทางลบกับนักการเมือง ซึ่งผมว่าเราก็ไม่ถูกนัก เพราะถ้าพูดแล้วเป็นเรื่องของบุคคล อย่างที่พูดตั้งแต่ต้นว่า ถ้าเรารู้ว่าเหตุมาจากตรงไหน จะเข้าใจผล คือเราจะบอกว่าใช้คำว่านักการเมืองทั้งหมดก็กลายเป็นปลาอยู่ในข้องเดียวกัน มันเน่าตัวหนึ่งก็เน่าหมด ก็แยะ ผมคิดว่าควรจะแยกแยะได้ว่าใครที่ทำไม่ดี
พิธีกร ถ้าไม่ได้เขียนจำกัดอะไรต่าง ๆ ก็จะมีอีกข้างหนึ่ง คือเหมือนท่านนายกรัฐมนตรีอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งบอกว่าอย่างนี้ปฏิวัติทำไมล่ะ อย่างนี้ปล่อยเสือออกจากป่าหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี มันมีวิธีการที่จะทำให้เกิดความสมดุลใน 3 อำนาจ ซึ่งตรงนี้เขียนไว้ให้ดี แล้วไปออกกฎหมายลูก อำนาจฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ อย่างทีผมพูดเมื่อสักครู่
พิธีกร ให้ถ่วงดุลกัน
นายกรัฐมนตรี ส.ส.กับ ส.ว. เรื่องของอำนาจมาจากฐานมาจากอะไร ถ้าเผื่อเราทำไม่ดี เรามีวิธีการที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรมได้ไหม ตรงนี้เป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นกฎหมายของ กกต. ก็ทำได้ ท่านประธานกกต. ได้พูดกับผมว่ามีเครื่องมือใหม่ คือเครื่องมือที่ท่านลงคะแนนโดยไม่ต้องไปกากระดาษกันแล้ว ผมบอกว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้การที่จะมีการทุจริตทำไม่ชอบกับเรื่องของการนับคะแนน เรื่องของการส่งหีบบัตร จะได้หมดไป ต้องไประบบดิจิตอลใหม่ แทนที่จะเป็นระบบธรรมดา
พิธีกร เอาเทคโนโลยีมาช่วย ทำหลาย ๆ ทางพร้อม ๆกัน และอย่างที่ท่านบอกเอากลาง ๆ ไว้ และให้ไปเลือกตั้งได้ ถ้าประชามติไม่ผ่านจริง ๆ ท่านบอกว่าเป็นอำนาจของ คมช.ตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปี 49 หยิบฉบับหนึ่งฉบับใดมาปรับปรุงและแก้ไข และประกาศใช้
นายกรัฐมนตรี ภายในเวลา 30 วัน
พิธีกร เวลาก็ล็อคไว้พอสมควร แต่ถ้ามาถามท่าน ๆ คิดอย่างไร เพราะมีบางคนพยายามที่จะถามจุดยืนของพลเอก สุรยุทธ์ฯ ว่าฉบับไหนดี
นายกรัฐมนตรี ผมยังไม่ได้ลงลึกไปในเรื่องฉบับไหน แต่ผมยังมีความมั่นใจอย่างที่ว่าคืออยากให้ประชาชนได้ช่วยกันที่จะทำให้ร่างที่มีอยู่ ดี จนเป็นที่ยอมรับได้ ผมไม่ใช้คำว่าดีที่สุด มันไม่มี แล้วจากนั้นก็นำไปสู่การนำไปใช้ น่าจะเป็นประโยชน์กว่า มันเห็นชัดว่าสิ่งที่ทำ 30 วันกับสิ่งที่ทำมาตั้ง 6 เดือน อันไหนจะดีกว่ากัน
พิธีกร 30 วัน ถ้ามาหยิบรัฐธรรมนูญปี 40 ก็อาจจะดีกว่าหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี แล้วแต่ว่าใครจะมองในมุมไหน บางคนบอกว่าหยิบมาอีก ทีนี้อำนาจฝ่ายบริหารก็มากอีก
พิธีกร รัฐธรรมนูญปี 40 มีจุดอ่อนคือกลไกตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหาร แล้วแต่มุมมอง ถ้ามองในมุมของท่านคือพยายามทำให้ผ่าน
นายกรัฐมนตรี มาช่วยกันเถอะ พูดกันในมุมของผม
พิธีกร ตรงไหนถ้ารู้สึกว่าไม่สบายจริง ๆ มาพูดกัน
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
พิธีกร ขอถามจุดยืนของท่านเรื่องรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าผ่านด่านที่เราพูดถึงคดียุบพรรค ม็อบต่าง ๆ ท่านบอกว่าก็เดินไปตามกติกาตามครรลอง อีกด้านหนึ่งคือรัฐธรรมนูญ ท่านนายกรัฐมนตรียังมั่นใจ เขาบอกว่าจะคว่ำประชามติ จะไม่ป่วนอีกรอบ
นายกรัฐมนตรี อยู่ที่การทำความเข้าใจ ผมคิดว่าตรงนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ถ้าเราได้มีการแปรญัตติและมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านการแปรญัตติแล้ว หรือที่เรียกว่าร่าง 2 ถ้าไปถึงตรงนี้แล้วได้มีการพิจารณากันอย่างดี ทางสสร.เองก็ได้มีการกลั่นกรองจากกรรมาธิการยกร่างแล้ว ผมคิดว่าตรงนี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่ประชาชนจะได้มีโอกาสได้ดูว่าเมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว เราควรที่จะเดินไปข้างหน้ากันอย่างไร คือไปสู่การทำประชามติ ตรงนี้ได้มีการเขียนลงไปแล้วว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ยากเย็นอะไรมากมากนัก ไม่เหมือนกับฉับที่แล้ว ซึ่งตรงนั้นจะแก้ยาก
พิธีกร คือจะทำให้แก้ง่ายขึ้น
นายกรัฐมนตรี ถ้าไม่ดีก็ปรับได้
พิธีกร หมายถึงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้ไป เลือกตั้งไป ถึงเวลาไม่ได้ทำให้แก้ยาก รัฐบาลมาจากประชาชนมาจากประชาธิปไตย ก็ไปแก้เอา หลักเป็นอย่างนั้นที่ท่านมอง
นายกรัฐมนตรี ผมมองอย่างนั้น
พิธีกร มีอยู่สองความเคลื่อนไหวครับ อันหนึ่งคือเนื้อหาแท้ ๆ ว่าคนจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร อีกอันหนึ่งคือการเมืองจะคว่ำจะล้ม เพื่อจะสร้างเงื่อนไขอะไรหรือเปล่า ผมถามท่านเรื่องเนื้อก่อน ส่วนตัวท่านติดใจตรงไหนไหม ในฐานะพลเอก สุรยุทธ์ฯ เป็นประชาชนคนหนึ่ง
นายกรัฐมนตรี ในส่วนของคณะรัฐมนตรีที่ได้พิจารณากันแล้ว เรามองในประเด็นของฝ่ายบริหาร ในส่วนอื่น ๆ ผมยังไม่ขอพูดในวันนี้เพราะว่าจะพูดในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร ก็มีบางเรื่องที่ถือว่าจะเป็นการทำให้การบริหารงานของฝ่ายบริหารนั้นลำบาก ซึ่งได้ให้ข้อคิดเห็นไปแล้ว
พิธีกร แนวนโยบายอะไรที่ไปเขียนละเอียดเกินไป เดี๋ยวฝ่ายบริหารจะทำงานลำบาก
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ จนทำอะไรไม่ได้ เพราะว่าจะต้องทำตามนั้น นั่นเป็นเรื่องที่เสนอความเห็นไปแล้ว คิดว่าน่าจะได้มีการแปรญัตติ และมีการปรับแก้กัน นั่นเป็นประเด็นหลักในด้านฝ่ายบริหารคือไม่ควรที่จะเขียนอะไรที่จะไปจำกัดแนวความคิดในการทำงานของฝ่ายบริหารมากจนเกินไป แม้กระทั่งในเรื่องของการที่จะบรรจุหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงไปในรัฐธรรมนูญ ผมก็เห็นว่าไม่ควร เพราะเรื่องนี้เป็นปรัชญา คนที่ต้องการจะนำไปปฏิบัติไม่ควรจะต้องไป
พิธีกร ให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติ
นายกรัฐมนตรี น่าจะดีกว่า
พิธีกร ท่านคิดเผื่อรัฐบาลหน้า เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ใช้กับรัฐบาลนี้
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ ก็คิดเผื่อ เพราะในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารเราต้องดูว่ามีอะไรที่จะกระทบกับผู้ที่จะมาทำงานในด้านบริหารในโอกาสข้างหน้าบ้าง ซึ่งส่วนอื่น ๆ เขาก็ดูลักษณะอย่างนั้น เพราะเป็นบทบาทของแต่ละองค์กรทั้ง 12 องค์กรที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง
พิธีกร นี่คือทำหน้าที่รัฐบาลปัจจุบัน ถามความเห็นมา รัฐบาลเห็นเรื่องฝ่ายบริหารเขาจะทำงานยากนะตรงนี้ เสนอแก้ไขปรับปรุง แต่ถามท่านอย่างเช่น เรื่อง ส.ว. ส่วนตัวเห็นอย่างไร ท่านเคยเป็น ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง
นายกรัฐมนตรี ใช่ ส่วนตัวผมมองในประเด็นตรงนี้ว่า ถ้าหากว่ามาจากการเลือกตั้ง ทำอย่างไรที่จะไม่มีฐานเสียงใกล้เคียงกับการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ตรงนี้เป็นส่วนที่ผมอยากจะให้พวกเราได้ช่วยกันคิด คือบทเรียนมีมาแล้ว
พิธีกร สภาผัวสภาเมียที่เขาเรียกกัน
นายกรัฐมนตรี และก็ฐานเสียงอันเดียวกัน คือถ้ามาจากการเลือกตั้งประเด็นที่เราพูดกันจะลำบากคือ จะไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ผมว่ายาก เพราะว่าลงไปข้างล่างแล้วเราจะเห็นว่าในพื้นที่จะมีหัวคะแนน มีฐานเสียงของแต่ละพรรคการเมืองอยู่ ไม่มีใครที่จะบอกว่าผมเป็นคนว่าง ๆ ไม่มี
พิธีกร ในทางปฏิบัติทำไม่ได้
นายกรัฐมนตรี ทำไม่ได้ จะต้องมีฐานเสียงของพรรคการเมืองอยู่ ถ้าไม่ใช่พรรคนี้ที่ 1 ก็ต้องเป็นพรรคที่ 2 ไม่ก็เป็นพรรคเล็กพรรคน้อย ก็ว่ากันไป ต้องเป็นอย่างนั้น นั่นคือการเมืองในบ้านเรา ถ้าบอกว่าห้ามหาเสียง ห้ามไปเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้
พิธีกร อาจจะให้หาเสียง แต่ต้องแก้ว่าทำอย่างไรที่จะไม่ให้ใช้ฐานเสียงเดียวกัน ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นคนของพรรคการเมืองมาทำหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่ง
นายกรัฐมนตรี อย่างที่คุณสรยุทธ์พูดเมื่อสักครู่ว่าสภาผัวสภาเมีย
พิธีกร คือต้องไปหาทางแก้ตรงนี้ให้ได้ และถ้าสรรหาท่านเห็นอย่างไร สรรหาก็มีคนต่อต้าน
นายกรัฐมนตรี สรรหาจะต้องมีอำนาจที่จะมอบให้สภาน้อยลง ของอังกฤษเขาก็เป็นการสรรหา เพราะรูปแบบการปกครองของเราคล้าย ๆ กับอังกฤษ เขาจะมี House of Lords ซึ่งมาจากการสรรหาและอำนาจก็ไม่มากมายอะไร
พิธีกร เป็นสภาที่ปรึกษามากกว่า เหมือนเป็นพี่เลี้ยงคอยกลั่นกรอง แต่ไม่ได้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ไม่ใช่
นายกรัฐมนตรี เราก็ปรับเสียตรงนี้ ก็จะสอดคล้อง เราจะบอกว่าจะทำอย่างไร เราจะเอาวิธีไหน
พิธีกร ถ้ามองอย่างท่านนายกรัฐมนตรีก็คือไปได้ ไปหาคำตอบให้ได้ว่าเลือกตั้งก็ดีที่สุด แต่ทำอย่างไรจะเปราะนี้
นายกรัฐมนตรี บทเรียนเรามีแล้ว ไม่ต้องไปถามคนอื่น ไม่ต้องไปดูอังกฤษ ดูไทยก็ได้แล้ว
พิธีกร ถ้าหาทางแก้ตรงนี้ได้ก็เลือกตั้ง แต่ถ้าแก้ไม่ได้ก็สรรหา แต่ลดอำนาจ ถ้าสรรหาแล้วมามีอำนาจแบบเลือกตั้งท่านก็ไม่เห็นด้วย อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง อย่างองค์กรแก้วิกฤตคงจะถอดออกแล้ว มีประเด็นเรื่องของการที่เขาพยายามจะใส่เรื่องตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ลงในรัฐธรรมนูญด้วย เหมือนกับที่ศาลพิพากษา แต่ตัดเพื่ออนาคตด้วย คือถ้าใครไปทำแล้วถูกตัดสิทธิโดยศาล ถูกลงโทษยุบพรรค กรรมการบริหารจะถูกตัดสิทธิด้วย
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นกรณีที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว ถ้าเอาไปเขียนไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็เป็นส่วนหนึ่งอย่างที่เราพูดกัน เราจะมีกฎหมายอื่นไหม ที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของจริยธรรมคุณธรรมของนักการเมือง อย่างที่ผมพูดว่าในกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ควรจะมีอะไรเข้าไปมากมายนัก ควรจะมีกฎหมายอื่น ซึ่งเป็นกฎหมายลูกมารองรับ ถ้าเรามีอะไรเราก็เขียนไป ผลสุดท้ายเราก็ทำความเข้าใจยาก ถ้าเรามีประสบการณ์ตรงนี้ อยากจะให้เรื่องนี้ได้ดำเนินการสานต่อไปในอนาคต ก็มาออกกฎหมายอื่นในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมของนักการเมือง
พิธีกร จะห้ามอะไรอย่างไร ก็เขียนกฎหมายปกติ ไม่ต้องไปใส่ละเอียดในรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น
พิธีกร ผมมองเผื่อว่าถ้าใส่เยอะจะไปเป็นปัญหาในเรื่องการแสดงความคิดเห็นกันหลากหลายมาก ในเวลาที่ค่อนข้างมีจำกัดพอสมควร ท่านคิดอย่างไรที่มีคนพูดถึงเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นฉบับอมาตยาธิปไตย
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าในมุมมองของคนส่วนหนึ่งอาจจะมองในส่วนนั้นว่า
พิธีกร ข้าราชการเป็นใหญ่
นายกรัฐมนตรี จริง ๆ ไม่ได้เป็นข้าราชการเป็นใหญ่หรอกครับ อย่างที่เห็นอยู่ข้าราชการก็ลำบาก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 6-7 เดือนข้าราชการลำบาก ไม่ใช่ข้าราชการเป็นใหญ่ เพราะมองไปทางไหน ผมทำตามมติครม. ก็โดน
พิธีกร อันนั้นคือข้าราชการกลุ่มหนึ่ง
นายกรัฐมนตรี และจะบอกว่าข้าราชการที่ไหนที่เป็นใหญ่
พิธีกร อันนี้ที่เขาวิพากษ์วิจารณ์กัน
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น แม้กระทั่งใน สนช. เอง ข้าราชการที่เข้าไปอยู่ในนั้นทุกคนก็ระวังตัว เพราะจะเกิดผลอย่างนี้เหมือนกันต่อไปข้างหน้า
พิธีกร คือทำอะไรพลาดก็โดน
นายกรัฐมนตรี ก็มีเหมือนกัน
พิธีกร เลยนำมาซึ่งข้าราชการเกียร์ว่างหรือเปล่า ยอมรับความจริงหรือเปล่าว่าเป็นอย่างนั้น
นายกรัฐมนตรี เป็นส่วนหนึ่ง ทุกคนมีแรงกดดัน
พิธีกร ไม่ทำไม่ผิดอย่างนั้นหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี คือไม่ทำถ้าเรายังไม่ตัดสินใจ เรารอก่อน รอดูสถานการณ์คลี่คลายก่อน ก็ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างที่ผมบอกคือเรื่องไหนที่ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เมื่อผมเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องทำ จะต้องลงไปจี้ ผมก็ลงไปจี้ ก็เช่นเดียวกัน ผมก็รู้ว่าตรงไหนที่ทางส่วนข้าราชการยังระแวงอยู่ ยังกลัว ๆ กล้า ๆ อยู่
พิธีกร มันเป็นปัญหาจริง ๆ เขาอยู่เขาทำอะไรไปกลัวผิด แล้วกลัวโดนเช็คบิลทีหลัง
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ
พิธีกร เลยหยุดชะงัก อันนี้เป็นส่วนที่ทำให้ขยับช้า
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งในเรื่องของงบประมาณที่ทำให้ขยับช้า เพราะว่าเราเสียเวลาในการที่จะต้องมาปรับปรุงงบประมาณปี 2550 ใหม่ กว่าจะเอาออกมาใช้ได้เดือนมกราคม
พิธีกร ไม่เคยมีครั้งไหนที่งบประมาณประเทศรวนขนาดนี้มาก่อน
นายกรัฐมนตรี ครับ นี่ก็เป็นปัญหาที่สำคัญ หนึ่งคือเรื่องคน สองคือเรื่องเงิน สองตัวหลัก ๆ ถ้าพูดในแง่การบริหาร
พิธีกร ท่านทำอย่างไร
นายกรัฐมนตรี เราต้องค่อย ๆ ปรับปรุงแก้ไข ในเรื่องของงบประมาณ ผมผลักได้ว่าส่วนหนึ่งงบในส่วนราชการ งบในด้านการลงทุน จะต้องเร่งรัด ไปเปิดประมูลไปทำสัญญา ของรัฐวิสาหกิจก็เช่นเดียวกันต้องลงไปเร่งรัด
พิธีกร อย่างมีไม่ใช่ระบบ เขาเรียกว่าสภาพการณ์ นี่คือสภาพของความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือในช่วงที่มีปัญหากันอยู่อย่างนี้ พอเกิดขึ้น เลยทำให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีต้องลงไปจี้ แล้วทำได้ขนาดไหน
นายกรัฐมนตรี ขณะนี้ผมคิดว่าเราอยู่ในเกณฑ์ที่เราผ่านไปได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ แค่เรียกว่าจมูกปริ่มน้ำ ในเรื่องของการใช้งบประมาณ แต่ในช่วงเวลาที่ 4 เดือนที่เหลือ ตีว่า 3 เดือนแล้วกัน ในส่วนนี้สามารถที่จะดำเนินการไปได้อีก แต่ผมคิดดูแล้วใช้ไม่หมด ใช้ไม่ทัน คงจะต้องมีส่วนหนึ่งที่ยังคั่งค้างอยู่ บางส่วนอาจจะต้องขอผูกพันต่อไปในปีหน้า ก็เป็นเรื่องที่จะต้องทำกันภายในไม่เกินเดือนสิงหาคม
พิธีกร ทำไมก่อนหน้านี้ท่านถึงไม่ออกมาบอก อาจจะมีคนบอกว่าช้า คือคนกับเงิน เงิน เขาเรียกว่าเปิดท่อให้ออกไป แต่คนก็ไม่ง่าย ท่านต้องลงไปจี้ ทำไมท่านไม่ใช้สไตล์อีกหนึ่ง ที่บอกคนบอกว่านายกรัฐมนตรีเด็ดขาดลงมาถึงทำ ๆ
นายกรัฐมนตรี ทำไม่ได้เพราะอะไร เพราะเงินยังไม่มี 3 เดือนแรกเงินยังไม่มี แล้วผมจะสั่งให้ทำได้อย่างไร เมื่อเขาบอกว่าเงินไม่มา ผมจะไปทำอะไรเขา คือมันติดอยู่อย่างนี้ ในแง่ของการบริหาร ถ้าจะไปสั่งคน ๆ ก็บอกว่าเงินไม่มี ยกตัวอย่างเรื่องภาคใต้ จะมีการปรับองค์กร ปรับองค์กรเสร็จ เงินก็ยังลงไปไม่ถึง ข้างล่างก็บอกว่าทำอย่างไรครับ ผมอยากทำแต่เงินไม่มา อย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดได้ว่าเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ
พิธีกร ไม่ใช่มองว่าท่านไปยอมรับกับระบบที่ล่าช้า
นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ เราต้องพยายามผลักดัน ได้อย่างที่เห็นคือประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
พิธีกร อีกส่วนหนึ่งอาจจะถูกมองว่า อันนี้หมายถึงท่านกับคณะรัฐมนตรี ผมไม่ถามท่านเรื่องการปรับครม. เพราะท่านบอกว่าเวลาเหลือน้อย ถ้าปรับตอนนี้เอาคนมาเริ่มต้นใหม่ในเวลาที่เหลืออยู่ไม่ทันการณ์
นายกรัฐมนตรี สรุปถูกต้องแล้ว
พิธีกร จี้คนที่มีอยู่ดีกว่า ถ้าจะมีคนบอกว่าในทางการเมือง ต้องมีเวลาเกิดเหตุน้ำท่วม แผ่นดินไหว พืชผลมีปัญหา ปลาตาย ต้องมีรัฐมนตรีลงไปบัญชาการแก้ปัญหา สมัยประชาธิปไตยเขามี ส.ส. แต่รัฐบาลชุดนี้เหมือนไม่มีไหมครับ
นายกรัฐมนตรี ก็ไม่มีคนที่ลงไปถึงพื้นดินมากนัก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ขึ้นมา รัฐมนตรีที่รับผิดชอบก็ลงไป ไม่ใช่ว่าไม่ลง นั่นเป็นส่วนที่ผมอยากจะเรียนว่า บางทีเราก็มองในภาพเดิมที่ว่ามี ส.ส. ลงไปก่อน แล้วทางพรรคก็ส่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องลงไปแทน ในปัจจุบันนี้ไม่ได้มีพรรค และไม่ได้มี ส.ส.
พิธีกร กลไกตรงนี้เลยขาดหายไป
นายกรัฐมนตรี แน่นอน ผมพูดตั้งแต่ต้นแล้วว่า เราไม่ได้มีกลไกที่จะลงไปถึงฐานรากโดยตรง เราก็อาศัยกลไกของทางราชการที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันเท่านั้นเอง
พิธีกร เราชดเชยตรงนี้ไม่ได้ แก้ไขไม่ได้
นายกรัฐมนตรี แก้ไขไม่ได้เลยในระยะเวลาสั้น ๆ
พิธีกร หาตัวเชื่อมอะไรต่าง ๆ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่ารัฐบาลนี้
นายกรัฐมนตรี เราก็ทำอยู่แล้วในส่วนของผู้นำชุมชนที่จะเอาเข้ามาร่วมงาน ไม่ได้เฉพาะเรื่องแค่นี้ เป็นเรื่องที่จะต้องสร้างชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไปในอนาคตว่า ชุมชนจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร ตรงนี้พูดกันได้ว่า เราจะมองในภาพรวมของการบริหารจัดการ ในภาพเดิมในสิ่งเหล่านั้นผมว่าน่าจะเป็นลักษณะของอมาตยาธิปไตยมากกว่าสิ่งที่เราจะทำต่อไปในอนาคต คือสิ่งที่เราจะเสนอว่าถ้าเผื่อชุมชนมีความเข้มแข็ง มีระบบการดูแล มีการแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุเภทภัยอะไรมา และมีการวางระบบการแก้ไขไว้ นั่นจะเป็นสิ่งที่เหมาะกว่าที่จะต้องมีคนจากส่วนกลางลงไป ซึ่งแก้ไขอะไรก็ไม่ได้มาก ถ้าลงไปสิ่งที่เห็นคือเป็นกำลังใจเท่านั้นเอง
พิธีกร คือกำลังใช้เวลานี้ไปสร้างกลไก แต่มันจะไม่เหมือนเดิม ที่เป็นลักษณะของ ส.ส. ผู้แทนผ่านไปถึงรัฐมนตรีทันอกทันใจ อยากจะทำอย่างนั้นไหม พอถึงเวลาลงไปทันอกทันใจ พบปะประชาชน
นายกรัฐมนตรี ถ้าเรามองดูการบริหารงานของประเทศอื่น ๆ ทั่วไปในภาพรวมแล้ว เราจะเห็นว่าจะต้องมีการวางทั้งสองส่วนที่คู่ขนานกัน คือในเรื่องของพรรคการเมือง และกลไกที่จะลงไปทำงาน จะมาใช้อันหนึ่งอันใดเต็มที่ไม่ได้ โดยที่ไม่ได้ใช้อีกอันหนึ่ง ก็คงไม่ได้ ขณะนี้ผมไม่ได้มีกลไกทางการเมือง ผมมาใช้มือขวาเต็มที่
พิธีกร มือซ้ายเหมือนพักไว้เฉย ๆ
นายกรัฐมนตรี ครับ ก็ต้องช้าเป็นธรรมดา พูดง่าย ๆ ว่าคนเล่นบาสเกตบอล แล้วบอกว่ามีแขนข้างเดียว ก็เลี้ยงได้ชู้ทได้ แต่ว่าไม่เหมือนกับคนที่มีสองมือที่จะเล่นบาสเกตบอล
พิธีกร ท่านจะขอความเห็นใจไหม
นายกรัฐมนตรี ผมไม่ได้ขอความเห็นใจ ผมยอมรับว่ามีปัญหา ผมเข้ามาทำงานในยามที่ประเทศชาติมีปัญหา ผมเต็มใจที่จะมารับภาระตรงนี้เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไป ไม่ได้คิดว่าจะต้องเข้ามามีชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย แต่อยากที่จะให้ทุกคนร่วมกันแล้วช่วยกันแก้ไขตรงนี้ อย่างที่พูดถึงเรื่องชุมชน ก็เป็นความร่วมมือที่ชาวบ้านเขาอยากจะร่วมมือ รัฐบาลทำไมถึงไม่ยื่นมือลงไปจับ ข้าราชการทำไมไม่ยื่นมือลงไปจับ สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่ผมอยากจะให้เกิดขึ้นในสังคมของเราต่อไป
พิธีกร ท่านไม่ได้อยู่แบบรอวัน มี สนช. บางท่านบอกทุกวันไปเดินฉีกปฎิทินหมดไปอีกวัน เมื่อไรจะหมดเสียที จะได้ไปแล้ว
นายกรัฐมนตรี ตอนนี้ผมไม่ได้มีปฏิทินฉีกแล้ว ปฏิทินฉีกคงหมดสมัยไปแล้ว
พิธีกร เหมือนนับว่าเมื่อไรจะได้ไปเสียที อันนี้ที่เขาติฉินนินทา
นายกรัฐมนตรี ผมก็พูดอยู่เป็นประจำ ถ้าหากว่าทำอะไรที่สั้น ๆ ลงกว่าเดิมได้ อย่างพูดเรื่องการเลือกตั้ง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ว่าถ้าเราจะผ่านจากห้วงเวลานี้ไปสู่รัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งจะเห็นได้ชัดเจนว่าจะมีอะไรที่ดีขึ้นต่อไป ผมมีประสบการณ์ในช่วงที่ทำงานคือ เป็นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง ทำงานกับต่างประเทศยากที่สุด ผมถึงบอกว่างานของกระทรวงการต่างประเทศประสบผลสำเร็จ
พิธีกร ท่านรู้สภาพความเป็นจริงว่ารัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเหนื่อยมาก ต่างประเทศยากที่สุด
นายกรัฐมนตรี เหนื่อยมาก เขาก็ไม่อยากพูดด้วย พูดกันตรง ๆ
พิธีกร ถึงแม้ภาพจะปรากฏออกมา เขาต้อนรับขับสู้คุยกันดี
นายกรัฐมนตรี อันนั้นหมายถึงว่าในส่วนที่เขายอมรับแล้ว ส่วนที่เขาไม่ยอมรับยังมีอีกเยอะ
พิธีกร อันนี้คือความเป็นจริงของสังคมโลกปัจจุบัน ท่านถึงบอกว่ารีบไปสู่การเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรี มีรัฐบาลที่มาตามครรลอง มาตามระบอบประชาธิปไตยที่เราต้องการกัน และจะได้พัฒนาก้าวหน้ากันต่อไป
พิธีกร ประเทศจะได้เดินหน้าต่อไปได้ แต่ก็มีอีกขั้วหนึ่งคือท่านจะรีบให้เลือกตั้งไปทำไม รู้เห็นเป็นใจกับอำนาจเก่าหรือเปล่า เพราะเลือกตั้งไป เดี๋ยวอำนาจเก่าก็กลับมา อันนี้เกิดก่อนคดียุบพรรค เสียงติฉินนินทาที่ว่า กลุ่มนี้เขาไม่อยากให้รีบเลือกตั้ง แล้วจะมีปัญหากลุ่มอำนาจเก่าจะกลับมา
นายกรัฐมนตรี ตอนนี้ภาพก็ชัดแล้วว่าเมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไปแล้ว กลุ่มอำนาจเก่าก็ยังเข้ามาไม่ได้ อีก 4 ปีข้างหน้าก็ยังทำอะไรไม่ได้
พิธีกร แต่เขามีนอมินีได้
นายกรัฐมนตรี นอมินีก็คงไม่เหมือนตัวเอง
พิธีกร ไม่ง่ายเหมือนที่ตัวเองทำ
นายกรัฐมนตรี ครับ บางทีนอมินีก็ 70 ต่อ 30 ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
พิธีกร คือไม่สามารถที่จะควบคุมบงการอะไรได้ทั้งหมดก็ว่ากันไป ถึงตอนนี้ท่านอยากให้เลือกตั้งเร็ว
นายกรัฐมนตรี ผมไม่ได้อยาก ผมเพียงแต่เสนอว่าถ้าเราดำเนินกรรมวิธีอะไรต่าง ๆ ได้สั้นลง น่าที่จะขยับวันเลือกตั้งเข้ามาได้ ยังไม่ได้มีการหารือกันตรงนี้ เป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้นเองว่าถ้าทำเข้ามาให้สั้นได้ ก็น่าจะดี
พิธีกร จุดประสงค์คือไม่ได้แปลว่าฉันอยากไปแล้ว แต่รีบส่งประเทศไปสู่จุดที่เป็นรัฐบาลเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรี ครับ คือว่าวางฐานรากให้ดี อยู่ในครรลองที่ถูกต้องแล้วควรทำให้เร็ว อย่าไปมัวชักช้าอยู่ แต่ถ้าฐานรากยังไม่พร้อมอย่าไปทำ เหมือนกับการก่อสร้างบ้าน ถ้าฐานรากปูนยังไม่แห้ง ต่อไปแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
พิธีกร ก็ย้อนกลับมาที่รัฐธรรมนูญ ตัวนี้แหละที่จะเป็นคำตอบ ที่ท่านบอกว่าฐานรากที่ว่านี้ อย่างน้อยต้องส่งให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปได้สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ให้กลายเป็นเละเทะ พูดถึงเนื้อหายกตัวอย่างบางประเด็น เรื่องการเมือง อย่างที่บอกจะมีความพยายามที่จะคว่ำรัฐธรรมนูญ ประชามติ แล้วพอ คมช. อาจจะมาถามท่านเล็กน้อยว่าเอาฉบับไหน จะต้องถามไหม
นายกรัฐมนตรี ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ได้เขียนไว้เลยว่าต้องถามคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องของคมช.
พิธีกร เขาบอกอาจจะไปหยิบฉบับไหนมา
นายกรัฐมนตรี เขียนไว้อย่างนั้นชัดเจน
พิธีกร ปรับปรุงแก้ไขเสร็จแล้วประกาศใช้ ฝ่ายนั้นบอกว่ารัฐธรรมนูญมาจากอำนาจเผด็จการ แล้วจะได้ก่อความวุ่นวาย อันนี้เป็นอีกเปราะหนึ่งที่มีการวิเคราะห์กัน ท่านกังวลไหม
นายกรัฐมนตรี ผมไม่กังวล ผมอยากที่จะทำความเข้าใจในช่วงนี้ว่า ร่างที่กำลังดำเนินการอยู่ อย่างที่พูดในตอนต้นคือแก้ไขปรับปรุงเสียให้เป็นที่ยอมรับได้ เวลาเรามีผู้คนเราก็มี ทำไมเราไม่ทำเสียตอนนี้
พิธีกร เดินเข้ามาแก้ เสนอความคิดเข้ามาแก้
นายกรัฐมนตรี ครับ แล้วจะได้ปรับกัน แน่นอนว่าความคิดเห็นทางการเมืองในลักษณะที่จะทำให้ไม่ผ่านนี่มี แต่คนส่วนใหญ่เมื่อเข้าใจแล้วผมคิดว่ามันผ่าน
พิธีกร ท่านเห็นบางประเด็นใช่ไหม ที่คนร่างกับคนที่เขาอยู่วงนอกต่อสู้กันทางความคิดเห็นอย่างรุนแรง จนกระทั่งฝ่ายข้างนอกคือเละแล้ว ไม่มีทาง ก็มีปรากฏการณ์อย่างนี้ถึงขั้นจะปลุกออกมารณรงค์เรื่องธงเขียวให้คว่ำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ว่าจะออกมาอย่างไรก็ตามที ไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาหรือ
นายกรัฐมนตรี ก็อยู่ที่ประชาชน ถ้าประชาชนเข้าใจรู้ว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่กำลังแก้ไขบทเรียนจากอดีตเป็นอย่างไร อะไรที่ไม่ดี เราก็หาทางแก้ไข และอะไรที่ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในนั้น ออกมาไว้ข้างนอก มันก็ไปได้
พิธีกร แปลว่าฝ่าย สสร. ต้องฟัง
นายกรัฐมนตรี ควรจะฟัง
พิธีกร นอกจากจะเสนอความเห็นในนามคณะรัฐมนตรี แต่ส่วนอื่นก็เป็นเรื่องของ สสร. ท่านกำลังบอกว่าอะไรที่เป็นปัญหามาก ๆ เอาออกไปก่อนอย่างนั้นหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นทางหนึ่ง
พิธีกร เพื่อให้เกิดฐานและไปสู่การเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นนี่เป็นอีกเปราะหนึ่ง ตกลงท่านไม่กังวล
นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ถึงกับกังวลมากมาย แน่นอนว่ามีข้อมูลเหมือนอย่างคุณสรยุทธ์ฯ ว่า มันมีทางอย่างนี้อย่างนั้น ผมยังมีความมั่นใจในวินิจฉัยของคนไทยส่วนใหญ่ ถ้าเราเข้าใจเหมือนอย่างที่พูดเรื่องการวินิจฉัยคดียุบพรรค ถ้าเราศึกษาเราจะยิ่งเสริมให้เข้าใจว่า รัฐธรรมนูญมีความสำคัญอย่างไร เป็นกฎกติกาอันใหม่ที่เราจะเล่นต่อไปข้างหน้า ควรจะเขียนอย่างไร ให้เป็นกฎกติกาที่ดูบทเรียนจากตรงนี้ แล้วเขียนกฎกติกาใหม่เสีย ก็เห็นชัด ๆ ทีนี้ถ้าเราไม่มองภาพอย่างนี้ ตรงนี้ไม่ได้ ต้องเขียนกฎตรงนี้ไว้ 5 ปีเอาไปใส่อีก ตรงนี้ห้ามเอามือจับ ก็วุ่นกันไปหมด
พิธีกร เรื่องยากที่สุดคือทำความเห็นที่หลากหลาย ให้เดินไปด้วยกันให้ได้
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ เพราะฉะนั้นในความคิดเห็นของผมเอง รัฐธรรมนูญถ้ายิ่งเปิดไว้กว้าง ๆ แล้วไปออกกฎหมายลูกก็ยิ่งจะง่าย ถ้าไปจำกัดกรอบมากมาย ยิ่งยาก และยิ่งเป็นปัญหา
พิธีกร ท่านไม่คิดในกรอบความคิดที่ว่า นักการเมืองต้องตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่า เลว เพราะฉะนั้นต้องหาทางสร้างกลไกล้อมกรอบ เมื่อสักครู่ท่านบอกผมว่าเขียนกว้าง ๆ เป็นหลัก และไปเขียนกฎหมายลูก แล้วให้รัฐบาลประชาธิปไตยเขามาจัดการ
นายกรัฐมนตรี ใช่
พิธีกร มันคนละขั้วเลยนะ
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นอันหนึ่งที่เราดูได้ว่า ต่อกรณีที่ว่าเรามองภาพในทางลบกับนักการเมือง ซึ่งผมว่าเราก็ไม่ถูกนัก เพราะถ้าพูดแล้วเป็นเรื่องของบุคคล อย่างที่พูดตั้งแต่ต้นว่า ถ้าเรารู้ว่าเหตุมาจากตรงไหน จะเข้าใจผล คือเราจะบอกว่าใช้คำว่านักการเมืองทั้งหมดก็กลายเป็นปลาอยู่ในข้องเดียวกัน มันเน่าตัวหนึ่งก็เน่าหมด ก็แยะ ผมคิดว่าควรจะแยกแยะได้ว่าใครที่ทำไม่ดี
พิธีกร ถ้าไม่ได้เขียนจำกัดอะไรต่าง ๆ ก็จะมีอีกข้างหนึ่ง คือเหมือนท่านนายกรัฐมนตรีอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งบอกว่าอย่างนี้ปฏิวัติทำไมล่ะ อย่างนี้ปล่อยเสือออกจากป่าหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี มันมีวิธีการที่จะทำให้เกิดความสมดุลใน 3 อำนาจ ซึ่งตรงนี้เขียนไว้ให้ดี แล้วไปออกกฎหมายลูก อำนาจฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ อย่างทีผมพูดเมื่อสักครู่
พิธีกร ให้ถ่วงดุลกัน
นายกรัฐมนตรี ส.ส.กับ ส.ว. เรื่องของอำนาจมาจากฐานมาจากอะไร ถ้าเผื่อเราทำไม่ดี เรามีวิธีการที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรมได้ไหม ตรงนี้เป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นกฎหมายของ กกต. ก็ทำได้ ท่านประธานกกต. ได้พูดกับผมว่ามีเครื่องมือใหม่ คือเครื่องมือที่ท่านลงคะแนนโดยไม่ต้องไปกากระดาษกันแล้ว ผมบอกว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้การที่จะมีการทุจริตทำไม่ชอบกับเรื่องของการนับคะแนน เรื่องของการส่งหีบบัตร จะได้หมดไป ต้องไประบบดิจิตอลใหม่ แทนที่จะเป็นระบบธรรมดา
พิธีกร เอาเทคโนโลยีมาช่วย ทำหลาย ๆ ทางพร้อม ๆกัน และอย่างที่ท่านบอกเอากลาง ๆ ไว้ และให้ไปเลือกตั้งได้ ถ้าประชามติไม่ผ่านจริง ๆ ท่านบอกว่าเป็นอำนาจของ คมช.ตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปี 49 หยิบฉบับหนึ่งฉบับใดมาปรับปรุงและแก้ไข และประกาศใช้
นายกรัฐมนตรี ภายในเวลา 30 วัน
พิธีกร เวลาก็ล็อคไว้พอสมควร แต่ถ้ามาถามท่าน ๆ คิดอย่างไร เพราะมีบางคนพยายามที่จะถามจุดยืนของพลเอก สุรยุทธ์ฯ ว่าฉบับไหนดี
นายกรัฐมนตรี ผมยังไม่ได้ลงลึกไปในเรื่องฉบับไหน แต่ผมยังมีความมั่นใจอย่างที่ว่าคืออยากให้ประชาชนได้ช่วยกันที่จะทำให้ร่างที่มีอยู่ ดี จนเป็นที่ยอมรับได้ ผมไม่ใช้คำว่าดีที่สุด มันไม่มี แล้วจากนั้นก็นำไปสู่การนำไปใช้ น่าจะเป็นประโยชน์กว่า มันเห็นชัดว่าสิ่งที่ทำ 30 วันกับสิ่งที่ทำมาตั้ง 6 เดือน อันไหนจะดีกว่ากัน
พิธีกร 30 วัน ถ้ามาหยิบรัฐธรรมนูญปี 40 ก็อาจจะดีกว่าหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี แล้วแต่ว่าใครจะมองในมุมไหน บางคนบอกว่าหยิบมาอีก ทีนี้อำนาจฝ่ายบริหารก็มากอีก
พิธีกร รัฐธรรมนูญปี 40 มีจุดอ่อนคือกลไกตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหาร แล้วแต่มุมมอง ถ้ามองในมุมของท่านคือพยายามทำให้ผ่าน
นายกรัฐมนตรี มาช่วยกันเถอะ พูดกันในมุมของผม
พิธีกร ตรงไหนถ้ารู้สึกว่าไม่สบายจริง ๆ มาพูดกัน
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--