วันนี้ เวลา 13.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีประกาศวาระแห่งชาติว่าด้วย “การปลูกต้นไม้ใช้หนี้” ภายใต้ยุทธศาสตร์การพึ่งตนเองและความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พลังงาน อาหาร และยา เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนและสร้างความมั่นคงด้านรายได้ โดยมีผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชนจากศูนย์เรียนรู้การเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยจำนวน 1,300 คนจาก 50 จังหวัดในทุกภูมิภาคเข้าร่วมงาน จัดโดยสำนักอำนวยการคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และสำนักงานโครงการพัฒนาชุมชน / หมู่บ้าน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า เกษตรกรและคนยากจนที่มาร่วมงานในวันนี้ เป็นผู้แทนของประชาชนทั่วประเทศ เพื่อร่วมกับนายกรัฐมนตรีเปิดวาระแห่งชาติว่าด้วย “การปลูกต้นไม้ใช้หนี้” ซึ่งคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติได้ประมวลประสบการณ์และความรู้จากเกษตรกรต้นแบบ มากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ฯ และนำไปทดลองนำร่องในพื้นที่ 40 จังหวัด มากกว่า 400 ตำบล มีเกษตรกรนำร่องมากกว่า 46,000 คน จนได้ข้อสรุปจากการปฏิบัติที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นแนวทางที่ทำได้จริง ซึ่งผลจากการนำร่องในระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา ได้รับการยอมรับจนเกิดเป็นกระแส “การปลูกต้นไม้ใช้หนี้” ที่เกษตรกรหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เรียกร้องให้นำมาเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เพราะการปลูกต้นไม้นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรสามารถปลดเปลื้องหนี้สินของตนเอง ดังที่ได้เห็นจากเกษตรกรที่ทำสำเร็จแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งเกษตกรเรียกกันว่าเป็นการใช้หนี้ธรรมชาติ หรือหนี้แผ่นดิน หนี้ที่เกิดจากการทำลายป่า ทำลายธรรมชาติ และทำลายความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ไม่ว่าจะโดยใครหรือฝ่ายไหนก็ตามตลอดระยะเวลา 40 — 50 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยสำนักอำนวยการคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำประสบการณ์ องค์ความรู้ และการยอมรับของเกษตรกรดังกล่าว มาเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และได้รับความกรุณาจากนายกรัฐมนตรีให้จัดทำเป็นนโยบายของรัฐบาล และวางแนวทางการปฏิบัติให้เกษตรกรสามารถเข้าร่วมได้โดยง่ายและโดยตรง
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศวาระแห่งชาติ และกล่าวเปิดตัวนโยบาย “การปลูกต้นไม้ใช้หนี้” สรุปสาระสำคัญว่า วาระแห่งชาติว่าด้วยการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ เป็นความจำเป็นของเกษตรกรทุกคนที่จะต้องพึ่งตัวเองและมีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พลังงาน อาหาร และยา ทั้งนี้ นับตั้งแต่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อบริหารบ้านเมืองให้เกิดความสมานฉันท์ ความอยู่ดีมีสุข และความถูกต้องชอบธรรม รัฐบาลได้กำหนดนโยบายในหลาย ๆ ด้าน เพื่อนำประเทศชาติดำเนินไปสู่เป้าหมายดังกล่าว พร้อมทั้งได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ มาเป็นแนวทางในการทำงาน และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองของชุมชน ท้องถิ่น และการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ความยากจนของพี่น้องประชาชน ตลอดจนความมั่นคงยั่งยืนในการพัฒนาประเทศ สำหรับปัญหาหนี้สินและความยากจนของพี่น้องเกษตรกรนั้น ถือว่าเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่และได้เกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อยาวนาน โดยห้วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่ยาวนานพอสมควรที่ได้มีการทดลองในหลายวิธี และหาทางเลือกต่าง ๆ ที่จะแก้ไขปัญหา ซึ่งในวันนี้สิ่งที่อยู่ในความคิด อยู่ในความพยายามของทุกคนและของรัฐบาลด้วย คือการอัญเชิญแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักทฤษฎีใหม่ หลักการปลูกต้นไม้ 3 ชนิดได้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทดลอง ทรงรวบรวมมาตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ทรงครองราชย์ และได้พระราชทานสิ่งเหล่านี้ให้กับพวกเราทุกคน ซึ่งนับเป็นบุญกุศลของคนไทยทุกคน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาหนิ้สินและความยากจนของเกษตรกรและมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยตลอดเวลาหลายเดือนที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้รับทราบปัญหา พยายามหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมาโดยตลอด แม้ว่าจะมีข้อจำกัดจากระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายในปัจจุบัน ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาอยู่ไม่น้อย แต่ในวันนี้คณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติได้นำเสนอประสบการณ์และชุดองค์ความรู้สำหรับเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาอีกแนวทางหนึ่ง คือแนวความคิดปลูกต้นไม้ใช้หนี้ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้เป็นการเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหนี้สินของเกษตรกรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการแก้ปัญหาของชาติในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศที่ถูกทำลายมายาวนาน การแก้ปัญหาโลกร้อนอันเป็นปัญหาใหญ่ของประชาคมโลกในปัจจุบัน รวมทั้งยังเป็นการสร้างฐานทรัพยากรในการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งของชุมชนและของประเทศ ตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
“ ตามที่กล่าวในเบื้องต้นว่าไม่ลังเลเลยที่จะรับข้อเสนอของผู้นำชุมชนแห่งชาติ และข้อเสนอที่จะยกเป็นวาระแห่งชาติว่าด้วยการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ของคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ มาเป็นหนึ่งในวาระที่สำคัญของรัฐบาลในวันนี้ การปลูกต้นไม้ใช้หนี้จะเป็นเครื่องมืออันหนึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ของการพึ่งตนเอง และความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พลังงาน อาหาร และยา เป็นเครื่องมือที่เราเชื่อว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้ ผมจึงอยากจะขอร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้กำหนดแนวทางและมาตรการ เพื่อสนับสนุนโครงการให้พี่น้องเกษตรกรทั้งประเทศได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ ซึ่งจะมีวาระ 5 ปี หรือตลอดช่วงเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป รัฐบาลขอความร่วมแรงร่วมใจจากทุกท่าน ในการดำเนินงานตามโครงการนี้ เพื่อจะได้ร่วมกันนำป่าไม้ที่สูญเสียไป กลับคืนมา พร้อมกับช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้หลุดพ้นจากความทุกข์อันเกิดจากภาวะหนี้สิน และเพื่อความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเป็นเสมือนเสาเข็มที่ตอกรับการพัฒนาสังคมและเป็นรากฐานความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่อไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบต้นไม้มหาราชกับผู้แทนเครือข่าย 12 เครือข่ายจากทั่วประเทศ เพื่อนำกลับไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ของเกษตรกรทั่วประเทศเพื่อใช้หนี้แผ่นดิน โดยการคืนผืนป่า คืนชีวิตให้แผ่นดิน และเพื่อใช้หนี้ครัวเรือนโดยการปลดเปลื้องหนี้สินต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า เกษตรกรและคนยากจนที่มาร่วมงานในวันนี้ เป็นผู้แทนของประชาชนทั่วประเทศ เพื่อร่วมกับนายกรัฐมนตรีเปิดวาระแห่งชาติว่าด้วย “การปลูกต้นไม้ใช้หนี้” ซึ่งคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติได้ประมวลประสบการณ์และความรู้จากเกษตรกรต้นแบบ มากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ฯ และนำไปทดลองนำร่องในพื้นที่ 40 จังหวัด มากกว่า 400 ตำบล มีเกษตรกรนำร่องมากกว่า 46,000 คน จนได้ข้อสรุปจากการปฏิบัติที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นแนวทางที่ทำได้จริง ซึ่งผลจากการนำร่องในระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา ได้รับการยอมรับจนเกิดเป็นกระแส “การปลูกต้นไม้ใช้หนี้” ที่เกษตรกรหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เรียกร้องให้นำมาเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เพราะการปลูกต้นไม้นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรสามารถปลดเปลื้องหนี้สินของตนเอง ดังที่ได้เห็นจากเกษตรกรที่ทำสำเร็จแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งเกษตกรเรียกกันว่าเป็นการใช้หนี้ธรรมชาติ หรือหนี้แผ่นดิน หนี้ที่เกิดจากการทำลายป่า ทำลายธรรมชาติ และทำลายความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ไม่ว่าจะโดยใครหรือฝ่ายไหนก็ตามตลอดระยะเวลา 40 — 50 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยสำนักอำนวยการคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำประสบการณ์ องค์ความรู้ และการยอมรับของเกษตรกรดังกล่าว มาเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และได้รับความกรุณาจากนายกรัฐมนตรีให้จัดทำเป็นนโยบายของรัฐบาล และวางแนวทางการปฏิบัติให้เกษตรกรสามารถเข้าร่วมได้โดยง่ายและโดยตรง
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศวาระแห่งชาติ และกล่าวเปิดตัวนโยบาย “การปลูกต้นไม้ใช้หนี้” สรุปสาระสำคัญว่า วาระแห่งชาติว่าด้วยการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ เป็นความจำเป็นของเกษตรกรทุกคนที่จะต้องพึ่งตัวเองและมีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พลังงาน อาหาร และยา ทั้งนี้ นับตั้งแต่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อบริหารบ้านเมืองให้เกิดความสมานฉันท์ ความอยู่ดีมีสุข และความถูกต้องชอบธรรม รัฐบาลได้กำหนดนโยบายในหลาย ๆ ด้าน เพื่อนำประเทศชาติดำเนินไปสู่เป้าหมายดังกล่าว พร้อมทั้งได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ มาเป็นแนวทางในการทำงาน และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองของชุมชน ท้องถิ่น และการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ความยากจนของพี่น้องประชาชน ตลอดจนความมั่นคงยั่งยืนในการพัฒนาประเทศ สำหรับปัญหาหนี้สินและความยากจนของพี่น้องเกษตรกรนั้น ถือว่าเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่และได้เกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อยาวนาน โดยห้วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่ยาวนานพอสมควรที่ได้มีการทดลองในหลายวิธี และหาทางเลือกต่าง ๆ ที่จะแก้ไขปัญหา ซึ่งในวันนี้สิ่งที่อยู่ในความคิด อยู่ในความพยายามของทุกคนและของรัฐบาลด้วย คือการอัญเชิญแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักทฤษฎีใหม่ หลักการปลูกต้นไม้ 3 ชนิดได้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทดลอง ทรงรวบรวมมาตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ทรงครองราชย์ และได้พระราชทานสิ่งเหล่านี้ให้กับพวกเราทุกคน ซึ่งนับเป็นบุญกุศลของคนไทยทุกคน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาหนิ้สินและความยากจนของเกษตรกรและมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยตลอดเวลาหลายเดือนที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้รับทราบปัญหา พยายามหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมาโดยตลอด แม้ว่าจะมีข้อจำกัดจากระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายในปัจจุบัน ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาอยู่ไม่น้อย แต่ในวันนี้คณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติได้นำเสนอประสบการณ์และชุดองค์ความรู้สำหรับเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาอีกแนวทางหนึ่ง คือแนวความคิดปลูกต้นไม้ใช้หนี้ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้เป็นการเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหนี้สินของเกษตรกรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการแก้ปัญหาของชาติในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศที่ถูกทำลายมายาวนาน การแก้ปัญหาโลกร้อนอันเป็นปัญหาใหญ่ของประชาคมโลกในปัจจุบัน รวมทั้งยังเป็นการสร้างฐานทรัพยากรในการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งของชุมชนและของประเทศ ตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
“ ตามที่กล่าวในเบื้องต้นว่าไม่ลังเลเลยที่จะรับข้อเสนอของผู้นำชุมชนแห่งชาติ และข้อเสนอที่จะยกเป็นวาระแห่งชาติว่าด้วยการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ของคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ มาเป็นหนึ่งในวาระที่สำคัญของรัฐบาลในวันนี้ การปลูกต้นไม้ใช้หนี้จะเป็นเครื่องมืออันหนึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ของการพึ่งตนเอง และความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พลังงาน อาหาร และยา เป็นเครื่องมือที่เราเชื่อว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้ ผมจึงอยากจะขอร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้กำหนดแนวทางและมาตรการ เพื่อสนับสนุนโครงการให้พี่น้องเกษตรกรทั้งประเทศได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ ซึ่งจะมีวาระ 5 ปี หรือตลอดช่วงเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป รัฐบาลขอความร่วมแรงร่วมใจจากทุกท่าน ในการดำเนินงานตามโครงการนี้ เพื่อจะได้ร่วมกันนำป่าไม้ที่สูญเสียไป กลับคืนมา พร้อมกับช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้หลุดพ้นจากความทุกข์อันเกิดจากภาวะหนี้สิน และเพื่อความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเป็นเสมือนเสาเข็มที่ตอกรับการพัฒนาสังคมและเป็นรากฐานความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่อไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบต้นไม้มหาราชกับผู้แทนเครือข่าย 12 เครือข่ายจากทั่วประเทศ เพื่อนำกลับไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ของเกษตรกรทั่วประเทศเพื่อใช้หนี้แผ่นดิน โดยการคืนผืนป่า คืนชีวิตให้แผ่นดิน และเพื่อใช้หนี้ครัวเรือนโดยการปลดเปลื้องหนี้สินต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--