แท็ก
วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา
สุรยุทธ์ จุลานนท์
กระทรวงคมนาคม
นายกรัฐมนตรี
โรงแรมคอนราด
รัฐวิสาหกิจ
นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น พร้อมชื่นชมผลงานของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ได้สร้างมูลค่าสินทรัพย์ของประเทศโดยรวมของรัฐวิสาหกิจให้มีมูลค่าสูงถึง 6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 350,000 ล้านบาท
เมื่อวานนี้ เวลา 20.00 น . ณ หอประชุมกองทัพเรือ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในงานมอบรางวัลแก่รัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2550 ซึ่งจัดโดยกระทรวงการคลัง นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวรายงานสรุปว่า กระทรวงการคลังตระหนักถึงความสำคัญของรัฐวิสาหกิจ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน และตอบสนองนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลด้วยดีอย่างต่อเนื่องตลอดมา ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ และพัฒนาองค์กรไปสู่มาตรฐานสากล อันจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และประชาชน กระทรวงการคลังจึงได้นำระบบประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมาใช้ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา และได้จัดให้มีงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น เพื่อมอบรางวัลให้แก่รัฐวิสาหกิจที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้ถือเป็นการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และปีนี้ถือเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้กำหนดหัวข้อของการจัดงานครั้งนี้ว่า “รัฐวิสาหกิจไทย เพลงใจแห่งสามัคคี” (Heart of Harmony) เพื่อให้รัฐวิสาหกิจพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจดีเด่นที่ได้รับรางวัลในปีนี้ มีทั้งสิ้น 5 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2. รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง และธนาคารอาคารสงเคราะห์ 3. รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 4. รางวัลการดำเนินการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทดีเด่น จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประเภทชมเชย จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน 5. รางวัลพัฒนาปรับสถานภาพองค์กรดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบรางวัลแก่รัฐวิสาหกิจดีเด่น และกล่าวแสดงความยินดีกับรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ได้รับรางวัล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและความพยายามของรัฐวิสาหกิจที่ได้ร่วมกันพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน ซึ่งไม่ใช่แต่รัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่ภูมิใจ แต่คนไทยทั้งประเทศก็รู้สึกภาคภูมิใจด้วยที่ประเทศของเรามีรัฐวิสาหกิจที่มีคุณภาพ
โดยปีนี้เป็นปีมหามงคลเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานของรัฐบาล ด้วยการยึดหลักของความพอดี พอเหมาะ พอควร ความมีเหตุผล ความรอบคอบไม่ประมาทในการตัดสินใจ ในการรักษาคุณธรรม รวมทั้งการสร้างความสามัคคีสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในทุกระดับชั้น จึงหวังว่ารัฐวิสาหกิจไทยจะได้น้อมนำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานยิ่งขึ้นไปด้วย เพราะเชื่อมั่นว่าการน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน จะสามารถทำให้รัฐวิสาหกิจไทยสร้างภูมิคุ้มกันกับปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งสามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และความผันผวนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนโครงการขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลขึ้น เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทาง การปฏิรูประบบการบริหารจัดการการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงของระบบขนส่งสาธารณะที่มีผู้ประกอบการเป็นทั้งรัฐวิสาหกิจและเอกชน ให้สามารถมีการบริหารจัดการเสมือนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเดียวกัน โดยที่รัฐไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการเองทั้งหมด และในระยะเวลาที่เหลืออยู่รัฐบาลจะเร่งพิจารณากำหนดแนวทาง การบริหารงานที่สำคัญๆ เช่น โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร การมีระบบตั๋วต่อตั๋วร่วม โดยเฉพาะในเส้นทางที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และการเข้าร่วมดำเนินการของเอกชนในเส้นทางใหม่ เป็นต้น โดยแนวทางต่างๆ ที่รัฐบาลได้วางไว้ จะทำให้ประชาชนผู้รับบริการได้รับความสะดวก สบาย ปลอดภัย และเป็นธรรม และทำให้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีระบบขนส่งที่ทันสมัยเทียบเท่ามหานครใหญ่ๆ แห่งอื่นของโลก
นอกจากนี้ ในเรื่องของการพัฒนาโลจิสติกส์ หรือ การจัดระเบียบการดำเนินงานทุกด้านที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐบาลต้องการจะเห็นผลของการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยขอความร่วมมือรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่งที่เกี่ยวข้องทำความเข้าใจและเร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่ง สินค้าและบริการของประเทศด้วย ซึ่งจะทำให้ตัวเลขต้นทุนการขนส่งของไทยที่เคยสูงถึงร้อยละ 19 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติจะลดลงอยู่ระหว่างร้อยละ 7-11 เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในโลกหรือในภูมิภาคเดียวกันกับไทย
ส่วนการนำรัฐวิสาหกิจไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ยังมีความเป็นห่วงในเรื่องหลักเกณฑ์และกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ยังขาดความชัดเจน เพราะอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น รัฐบาลได้นำเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเพื่อกำหนดขั้นตอนให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มีกระบวนการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจที่ประชาชนมีส่วนร่วม มีขั้นตอนที่ชัดเจน โปร่งใส เปิดเผย เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคไปพร้อม ๆ กัน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้เสนอให้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน และพระราชบัญญัติการบริหารการขนส่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของรัฐวิสาหกิจในสาขาพลังงานและสาขาขนส่งโดยตรง เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลทั้งด้านราคาและคุณภาพบริการ ออกจากการประกอบการให้ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมของผู้ประกอบการ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ พร้อมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาคุณภาพบริการและราคาได้มากขึ้นด้วย ถือว่าเป็นการป้องกันไม่ให้มีการใช้อำนาจผูกขาดไปในทางที่ไม่เหมาะสม ทางที่ไม่เหมาะสม น งต้นด้วยกันกับเราและให้การคุ้มครองผู้บริโภคได้มากขึ้น
ส่วนเรื่องการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจนั้น นายกรัฐมนตรีย้ำว่าจะต้องมีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการสาธารณะก็จะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพงานบริการและสามารถวัดผลงานได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วย นอกจากนี้ การส่งเสริมการบริหารงานภายในของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการอนุมัติให้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ได้ทำให้ภาครัฐ สามารถแต่งตั้งกรรมการที่มาจากการสรรหากรรมการมืออาชีพ ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของรัฐวิสาหกิจเข้ามาทำงานได้มากขึ้น
สุดท้าย นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมผลงานของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ได้สร้างมูลค่าสินทรัพย์ของประเทศโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ ให้มีมูลค่าสูงถึง 6 ล้านล้านบาทโดยประมาณ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 350,000 ล้านบาท หรือกว่าร้อยละ 6 รวมทั้งรัฐวิสาหกิจได้สร้างรายได้ในปี 2549 สูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท สูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20 รวมทั้งรัฐวิสาหกิจได้นำส่งรายได้ให้รัฐผ่านกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดินทุกปี และในปี 2550 นี้คาดว่าจะนำส่งรายได้แผ่นดินประมาณ 90,000 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งนำส่งรายได้สูงเป็นอันดับ 3 ของหน่วยงานจัดเก็บรายได้ รองจากกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิต อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกรัฐวิสาหกิจในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ทำให้เห็นว่ารัฐวิสาหกิจเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีความมั่นคงแข็งแรง และทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดเสถียรภาพด้วยการทำหน้าที่อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และ ความซื่อสัตย์สุจริต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อวานนี้ เวลา 20.00 น . ณ หอประชุมกองทัพเรือ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในงานมอบรางวัลแก่รัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2550 ซึ่งจัดโดยกระทรวงการคลัง นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวรายงานสรุปว่า กระทรวงการคลังตระหนักถึงความสำคัญของรัฐวิสาหกิจ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน และตอบสนองนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลด้วยดีอย่างต่อเนื่องตลอดมา ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ และพัฒนาองค์กรไปสู่มาตรฐานสากล อันจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และประชาชน กระทรวงการคลังจึงได้นำระบบประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมาใช้ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา และได้จัดให้มีงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น เพื่อมอบรางวัลให้แก่รัฐวิสาหกิจที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้ถือเป็นการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และปีนี้ถือเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้กำหนดหัวข้อของการจัดงานครั้งนี้ว่า “รัฐวิสาหกิจไทย เพลงใจแห่งสามัคคี” (Heart of Harmony) เพื่อให้รัฐวิสาหกิจพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจดีเด่นที่ได้รับรางวัลในปีนี้ มีทั้งสิ้น 5 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2. รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง และธนาคารอาคารสงเคราะห์ 3. รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 4. รางวัลการดำเนินการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทดีเด่น จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประเภทชมเชย จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน 5. รางวัลพัฒนาปรับสถานภาพองค์กรดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบรางวัลแก่รัฐวิสาหกิจดีเด่น และกล่าวแสดงความยินดีกับรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ได้รับรางวัล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและความพยายามของรัฐวิสาหกิจที่ได้ร่วมกันพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน ซึ่งไม่ใช่แต่รัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่ภูมิใจ แต่คนไทยทั้งประเทศก็รู้สึกภาคภูมิใจด้วยที่ประเทศของเรามีรัฐวิสาหกิจที่มีคุณภาพ
โดยปีนี้เป็นปีมหามงคลเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานของรัฐบาล ด้วยการยึดหลักของความพอดี พอเหมาะ พอควร ความมีเหตุผล ความรอบคอบไม่ประมาทในการตัดสินใจ ในการรักษาคุณธรรม รวมทั้งการสร้างความสามัคคีสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในทุกระดับชั้น จึงหวังว่ารัฐวิสาหกิจไทยจะได้น้อมนำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานยิ่งขึ้นไปด้วย เพราะเชื่อมั่นว่าการน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน จะสามารถทำให้รัฐวิสาหกิจไทยสร้างภูมิคุ้มกันกับปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งสามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และความผันผวนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนโครงการขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลขึ้น เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทาง การปฏิรูประบบการบริหารจัดการการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงของระบบขนส่งสาธารณะที่มีผู้ประกอบการเป็นทั้งรัฐวิสาหกิจและเอกชน ให้สามารถมีการบริหารจัดการเสมือนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเดียวกัน โดยที่รัฐไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการเองทั้งหมด และในระยะเวลาที่เหลืออยู่รัฐบาลจะเร่งพิจารณากำหนดแนวทาง การบริหารงานที่สำคัญๆ เช่น โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร การมีระบบตั๋วต่อตั๋วร่วม โดยเฉพาะในเส้นทางที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และการเข้าร่วมดำเนินการของเอกชนในเส้นทางใหม่ เป็นต้น โดยแนวทางต่างๆ ที่รัฐบาลได้วางไว้ จะทำให้ประชาชนผู้รับบริการได้รับความสะดวก สบาย ปลอดภัย และเป็นธรรม และทำให้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีระบบขนส่งที่ทันสมัยเทียบเท่ามหานครใหญ่ๆ แห่งอื่นของโลก
นอกจากนี้ ในเรื่องของการพัฒนาโลจิสติกส์ หรือ การจัดระเบียบการดำเนินงานทุกด้านที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐบาลต้องการจะเห็นผลของการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยขอความร่วมมือรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่งที่เกี่ยวข้องทำความเข้าใจและเร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่ง สินค้าและบริการของประเทศด้วย ซึ่งจะทำให้ตัวเลขต้นทุนการขนส่งของไทยที่เคยสูงถึงร้อยละ 19 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติจะลดลงอยู่ระหว่างร้อยละ 7-11 เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในโลกหรือในภูมิภาคเดียวกันกับไทย
ส่วนการนำรัฐวิสาหกิจไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ยังมีความเป็นห่วงในเรื่องหลักเกณฑ์และกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ยังขาดความชัดเจน เพราะอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น รัฐบาลได้นำเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเพื่อกำหนดขั้นตอนให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มีกระบวนการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจที่ประชาชนมีส่วนร่วม มีขั้นตอนที่ชัดเจน โปร่งใส เปิดเผย เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคไปพร้อม ๆ กัน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้เสนอให้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน และพระราชบัญญัติการบริหารการขนส่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของรัฐวิสาหกิจในสาขาพลังงานและสาขาขนส่งโดยตรง เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลทั้งด้านราคาและคุณภาพบริการ ออกจากการประกอบการให้ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมของผู้ประกอบการ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ พร้อมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาคุณภาพบริการและราคาได้มากขึ้นด้วย ถือว่าเป็นการป้องกันไม่ให้มีการใช้อำนาจผูกขาดไปในทางที่ไม่เหมาะสม ทางที่ไม่เหมาะสม น งต้นด้วยกันกับเราและให้การคุ้มครองผู้บริโภคได้มากขึ้น
ส่วนเรื่องการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจนั้น นายกรัฐมนตรีย้ำว่าจะต้องมีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการสาธารณะก็จะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพงานบริการและสามารถวัดผลงานได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วย นอกจากนี้ การส่งเสริมการบริหารงานภายในของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการอนุมัติให้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ได้ทำให้ภาครัฐ สามารถแต่งตั้งกรรมการที่มาจากการสรรหากรรมการมืออาชีพ ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของรัฐวิสาหกิจเข้ามาทำงานได้มากขึ้น
สุดท้าย นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมผลงานของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ได้สร้างมูลค่าสินทรัพย์ของประเทศโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ ให้มีมูลค่าสูงถึง 6 ล้านล้านบาทโดยประมาณ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 350,000 ล้านบาท หรือกว่าร้อยละ 6 รวมทั้งรัฐวิสาหกิจได้สร้างรายได้ในปี 2549 สูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท สูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20 รวมทั้งรัฐวิสาหกิจได้นำส่งรายได้ให้รัฐผ่านกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดินทุกปี และในปี 2550 นี้คาดว่าจะนำส่งรายได้แผ่นดินประมาณ 90,000 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งนำส่งรายได้สูงเป็นอันดับ 3 ของหน่วยงานจัดเก็บรายได้ รองจากกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิต อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกรัฐวิสาหกิจในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ทำให้เห็นว่ารัฐวิสาหกิจเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีความมั่นคงแข็งแรง และทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดเสถียรภาพด้วยการทำหน้าที่อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และ ความซื่อสัตย์สุจริต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--