แท็ก
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
เกริกไกร จีระแพทย์
สุรยุทธ์ จุลานนท์
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
ตึกไทยคู่ฟ้า
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ครั้งที่ 1 / 2550
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ครั้งที่ 1 / 2550 โดยมี นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน นายสุรพงษ์ ปรานศิลป์ อธิบดีกรมการข้าว เข้าร่วมประชุม ภายหลังการประชุม โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าภายใน และอธิบดีกรมการข้าว ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การประชุม กขช. ครั้งแรกในวันนี้ว่าสืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2550 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ในการที่จะให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ นายกรัฐมนตรีได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าว และให้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ เรียกโดยย่อ ว่า กขช. มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ โดยมี ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมการค้าภายในและอธิบดีกรมการข้าวเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงถึงผลการประชุมเรื่องแรกในวันนี้ว่า ที่ประชุมรับทราบแนวทางการทำงานของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ โดยระเบียบการบริหารจัดการภายในคณะกรรมการได้มีข้อตกลงว่า จะจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 4 คณะ คือ 1. คณะอนุกรรมการด้านการผลิต มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน ดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวทั้งหมด ทั้งต้นทุนการผลิต วัตถุดิบการผลิต เทคโนโลยีการผลิต 2. คณะอนุกรรมการด้านการตลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ดูแลระบบการตลาดข้าว โดยจะรวมถึงเรื่องการนำระบบตลาดมาใช้ให้มากขึ้น รวมทั้งพิจารณาแนวทางการแทรกแซงตลาดหากมีความจำเป็น 3. คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด มีหน้าที่ในการลงพื้นที่และแก้ไขปัญหา ตลอดจนเสนอแนะแนวทางที่ขึ้นมาจากระดับจังหวัด โดยหากสามารถดำเนินการได้ตามนี้ การบริหารจัดการข้าวของทั้งประเทศก็น่าจะครบวงจร นอกจากนี้มีคณะอนุกรรมการที่ได้มีการพิจารณาในวาระหลัง และตั้งขึ้นใหม่อีก 1 คณะคือ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ เรื่องที่ 2. ที่ประชุมอนุมัติการขยายระยะเวลารับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2550 ออกไป โดยในปัจจุบันข้าวเปลือกนาปรังมีกำหนดเวลาสิ้นสุดการรับจำนำในวันที่ 31 กรกฎาคม 2550 แต่มีหลายพื้นที่ที่ข้าวกำลังเก็บเกี่ยวอยู่ ยังไม่เข้าสู่การรับจำนำ จึงมีการเรียกร้องขยายระยะเวลารับจำนำออกไปอีก ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นชอบให้มีการขยายเวลาการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ภาคเหนือและภาคกลางออกไปอีก 1 เดือน เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ส่วนข้าวเปลือกนาปรังในภาคใต้ ที่ประชุมก็เห็นชอบให้ขยายเวลาการรับจำนำออกไปอีก 1 เดือน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2550 เรื่องที่ 3. ที่ประชุมเห็นชอบการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จัดทำขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ส่งออก สมาคมโรงสีและผู้แทนกลุ่มชาวนา ได้หารือร่วมกันตลอดมา โดยยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติจะครอบคลุมหลัก 4 ด้าน ซึ่งจะเป็น 2 ด้านใหญ่คือ ด้านการผลิตและด้านการตลาด โดยด้านการผลิตจะเน้นเรื่องตัวสินค้าและตัวผู้ผลิตหรือชาวนา ว่าจะทำอย่างไรให้ชาวนามีรายได้ดีขึ้น มีความรู้ดีขึ้น และมีสภาพการครองชีพที่ดีขึ้น ส่วนด้านการตลาด จะมีทั้งการตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้มีการพูดถึงระบบการบริหารจัดการเรื่องข้าวทั้งระบบที่จะต้องทำให้ต้นทุนการบริหารจัดการหรือโลจิสติกส์ต่ำลง
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติอย่างกว้างขวาง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยนายกรัฐมนตรีได้เน้นให้มองภาพเกษตรกรเป็นหลัก ยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติอาจจะมองมหภาคมากเกินไป นายกรัฐมนตรีจึงอยากให้เอาตัวเกษตรกรเป็นที่ตั้ง ว่าทำอย่างไรให้เกษตรกรผลิตข้าวแล้วจะไม่ขาดทุน เกษตรกรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติทั้งเรื่องการชลประทานหรือเรื่องที่ดินให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น และนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ฝ่ายเลขานุการจัดทำงบประมาณเสนอต่อนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์หน้า เพื่อนำเข้ากระบวนการแปรญัตติต่อไป
ด้านอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในเรื่องยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ คณะกรรมการ กขช. ได้ให้ความสำคัญเพราะถือว่าเป็นมิติใหม่ที่จะทำให้เกิดยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติขึ้นได้จริง โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ มีทั้งหมด 6 กลยุทธ์ ที่เป็นขบวนการที่ต้องการให้การดำเนินการเรื่องข้าวในระยะต่อไปเกิดความสมบูรณ์ มีทางออกและทางเลือก ทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรและทางเลือกทางการตลาดให้ประเทศได้อย่างชัดเจน ในส่วนนี้นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงว่ามีการวัด กลยุทธ์บางกลยุทธ์ในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนชาวนา จึงอยากให้มีการส่งเสริม สนับสนุนด้านคุณภาพชีวิต และให้มีหลักประกันที่แน่นอนเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน อันจะทำให้ลดปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานหรือการขายที่ดินทำกินลงไปได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทั้งสองกระทรวง และฝ่ายเลขานุการ ได้หารือการจัดทำงบประมาณที่ให้ลำดับความสำคัญด้วยว่าในการของบประมาณที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2551 จะทำเรื่องใดก่อน โดยให้มีการนำเสนอเพื่อจะนำเรื่องนี้ไปของบประมาณเพื่อแปรญัตติให้ทันในปี 2551 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงการหาแนวทางดำเนินการให้ระบบการผลิตเกิดผลประโยชน์ที่มีผลผลิตต่อไร่ มีการดูแลพัฒนาอาชีพเกษตรกรให้เป็นการประกอบธุรกิจชาวนาที่เป็นอาชีพที่อยู่ได้ และให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มในอัตราส่วนเท่าใด ซึ่งยุทธศาสตร์ได้เขียนไว้ชัดเจน โดยจะต้องมีการผลิตข้าวที่ไม่ใช่เป็นการตัดต่อพันธุกรรม และบางส่วนจะกำหนดเขตพื้นที่ จะมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวอินทรีย์เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ การที่เรามีสินค้าที่มีคุณภาพแตกต่างกันจะทำให้จับตลาดได้ทั้งตลาดใหญ่และตลาดเล็ก
นอกจากนี้ จะมีการจัดระบบการส่งออกและระบบการค้าภายในของประเทศให้ชัดเจนขึ้น เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ให้เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ นายกรัฐมนตรีจึงอยากให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวระดับชาติขึ้น เพื่อให้ส่วนงานต่าง ๆ ที่รับงบประมาณและภารกิจไป สามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน โดยผลของยุทธศาสตร์ที่ขับเคลื่อนต้องเป็นตัวเลขที่ชัดเจน ว่าผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้นเท่าใด คุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้นคือจากส่วนใด การขยายพันธุ์ข้าว พันธุ์หลักพันธุ์ขยายจะมีจำนวนพื้นที่เท่าใด ในกรอบที่วางไว้ 5 ปีจะสามารถขยายได้ครบเมื่อไร ทุกอย่างจะต้องเป็นตัวเลขที่วัดได้ ส่วนเรื่องการตลาดต่างประเทศและตลาดภายใน ได้ที่ประชุมเน้นว่าเป้าหมายของเกษตรกรและผลผลิตเป็นเป้าหมายหลัก ถ้าทั้งสองอย่างนี้บังเกิดผล เมื่อมีกระบวนการต่อเนื่องก็จะสอดรับกันโดยปริยาย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ครั้งที่ 1 / 2550 โดยมี นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน นายสุรพงษ์ ปรานศิลป์ อธิบดีกรมการข้าว เข้าร่วมประชุม ภายหลังการประชุม โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าภายใน และอธิบดีกรมการข้าว ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การประชุม กขช. ครั้งแรกในวันนี้ว่าสืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2550 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ในการที่จะให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ นายกรัฐมนตรีได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าว และให้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ เรียกโดยย่อ ว่า กขช. มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ โดยมี ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมการค้าภายในและอธิบดีกรมการข้าวเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงถึงผลการประชุมเรื่องแรกในวันนี้ว่า ที่ประชุมรับทราบแนวทางการทำงานของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ โดยระเบียบการบริหารจัดการภายในคณะกรรมการได้มีข้อตกลงว่า จะจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 4 คณะ คือ 1. คณะอนุกรรมการด้านการผลิต มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน ดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวทั้งหมด ทั้งต้นทุนการผลิต วัตถุดิบการผลิต เทคโนโลยีการผลิต 2. คณะอนุกรรมการด้านการตลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ดูแลระบบการตลาดข้าว โดยจะรวมถึงเรื่องการนำระบบตลาดมาใช้ให้มากขึ้น รวมทั้งพิจารณาแนวทางการแทรกแซงตลาดหากมีความจำเป็น 3. คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด มีหน้าที่ในการลงพื้นที่และแก้ไขปัญหา ตลอดจนเสนอแนะแนวทางที่ขึ้นมาจากระดับจังหวัด โดยหากสามารถดำเนินการได้ตามนี้ การบริหารจัดการข้าวของทั้งประเทศก็น่าจะครบวงจร นอกจากนี้มีคณะอนุกรรมการที่ได้มีการพิจารณาในวาระหลัง และตั้งขึ้นใหม่อีก 1 คณะคือ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ เรื่องที่ 2. ที่ประชุมอนุมัติการขยายระยะเวลารับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2550 ออกไป โดยในปัจจุบันข้าวเปลือกนาปรังมีกำหนดเวลาสิ้นสุดการรับจำนำในวันที่ 31 กรกฎาคม 2550 แต่มีหลายพื้นที่ที่ข้าวกำลังเก็บเกี่ยวอยู่ ยังไม่เข้าสู่การรับจำนำ จึงมีการเรียกร้องขยายระยะเวลารับจำนำออกไปอีก ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นชอบให้มีการขยายเวลาการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ภาคเหนือและภาคกลางออกไปอีก 1 เดือน เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ส่วนข้าวเปลือกนาปรังในภาคใต้ ที่ประชุมก็เห็นชอบให้ขยายเวลาการรับจำนำออกไปอีก 1 เดือน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2550 เรื่องที่ 3. ที่ประชุมเห็นชอบการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จัดทำขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ส่งออก สมาคมโรงสีและผู้แทนกลุ่มชาวนา ได้หารือร่วมกันตลอดมา โดยยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติจะครอบคลุมหลัก 4 ด้าน ซึ่งจะเป็น 2 ด้านใหญ่คือ ด้านการผลิตและด้านการตลาด โดยด้านการผลิตจะเน้นเรื่องตัวสินค้าและตัวผู้ผลิตหรือชาวนา ว่าจะทำอย่างไรให้ชาวนามีรายได้ดีขึ้น มีความรู้ดีขึ้น และมีสภาพการครองชีพที่ดีขึ้น ส่วนด้านการตลาด จะมีทั้งการตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้มีการพูดถึงระบบการบริหารจัดการเรื่องข้าวทั้งระบบที่จะต้องทำให้ต้นทุนการบริหารจัดการหรือโลจิสติกส์ต่ำลง
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติอย่างกว้างขวาง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยนายกรัฐมนตรีได้เน้นให้มองภาพเกษตรกรเป็นหลัก ยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติอาจจะมองมหภาคมากเกินไป นายกรัฐมนตรีจึงอยากให้เอาตัวเกษตรกรเป็นที่ตั้ง ว่าทำอย่างไรให้เกษตรกรผลิตข้าวแล้วจะไม่ขาดทุน เกษตรกรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติทั้งเรื่องการชลประทานหรือเรื่องที่ดินให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น และนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ฝ่ายเลขานุการจัดทำงบประมาณเสนอต่อนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์หน้า เพื่อนำเข้ากระบวนการแปรญัตติต่อไป
ด้านอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในเรื่องยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ คณะกรรมการ กขช. ได้ให้ความสำคัญเพราะถือว่าเป็นมิติใหม่ที่จะทำให้เกิดยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติขึ้นได้จริง โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ มีทั้งหมด 6 กลยุทธ์ ที่เป็นขบวนการที่ต้องการให้การดำเนินการเรื่องข้าวในระยะต่อไปเกิดความสมบูรณ์ มีทางออกและทางเลือก ทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรและทางเลือกทางการตลาดให้ประเทศได้อย่างชัดเจน ในส่วนนี้นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงว่ามีการวัด กลยุทธ์บางกลยุทธ์ในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนชาวนา จึงอยากให้มีการส่งเสริม สนับสนุนด้านคุณภาพชีวิต และให้มีหลักประกันที่แน่นอนเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน อันจะทำให้ลดปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานหรือการขายที่ดินทำกินลงไปได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทั้งสองกระทรวง และฝ่ายเลขานุการ ได้หารือการจัดทำงบประมาณที่ให้ลำดับความสำคัญด้วยว่าในการของบประมาณที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2551 จะทำเรื่องใดก่อน โดยให้มีการนำเสนอเพื่อจะนำเรื่องนี้ไปของบประมาณเพื่อแปรญัตติให้ทันในปี 2551 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงการหาแนวทางดำเนินการให้ระบบการผลิตเกิดผลประโยชน์ที่มีผลผลิตต่อไร่ มีการดูแลพัฒนาอาชีพเกษตรกรให้เป็นการประกอบธุรกิจชาวนาที่เป็นอาชีพที่อยู่ได้ และให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มในอัตราส่วนเท่าใด ซึ่งยุทธศาสตร์ได้เขียนไว้ชัดเจน โดยจะต้องมีการผลิตข้าวที่ไม่ใช่เป็นการตัดต่อพันธุกรรม และบางส่วนจะกำหนดเขตพื้นที่ จะมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวอินทรีย์เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ การที่เรามีสินค้าที่มีคุณภาพแตกต่างกันจะทำให้จับตลาดได้ทั้งตลาดใหญ่และตลาดเล็ก
นอกจากนี้ จะมีการจัดระบบการส่งออกและระบบการค้าภายในของประเทศให้ชัดเจนขึ้น เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ให้เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ นายกรัฐมนตรีจึงอยากให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวระดับชาติขึ้น เพื่อให้ส่วนงานต่าง ๆ ที่รับงบประมาณและภารกิจไป สามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน โดยผลของยุทธศาสตร์ที่ขับเคลื่อนต้องเป็นตัวเลขที่ชัดเจน ว่าผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้นเท่าใด คุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้นคือจากส่วนใด การขยายพันธุ์ข้าว พันธุ์หลักพันธุ์ขยายจะมีจำนวนพื้นที่เท่าใด ในกรอบที่วางไว้ 5 ปีจะสามารถขยายได้ครบเมื่อไร ทุกอย่างจะต้องเป็นตัวเลขที่วัดได้ ส่วนเรื่องการตลาดต่างประเทศและตลาดภายใน ได้ที่ประชุมเน้นว่าเป้าหมายของเกษตรกรและผลผลิตเป็นเป้าหมายหลัก ถ้าทั้งสองอย่างนี้บังเกิดผล เมื่อมีกระบวนการต่อเนื่องก็จะสอดรับกันโดยปริยาย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--