แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
สุรยุทธ์ จุลานนท์
เศรษฐกิจพอเพียง
ออมสิน ธนาคาร
นายกรัฐมนตรี
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และประชุมหารือเรื่องค่าเงินบาท ร่วมกับคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
วันนี้ เวลา 17.00 น. ณ ห้องประชุม 107 ชั้น 3 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่ ถนนนครสวรรค์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และประชุมหารือเรื่องค่าเงินบาท ร่วมกับคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้บริหารธนาคารออมสิน ผู้บริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้บริหารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวก่อนการประชุมว่า รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพยายามรับฟัง รวมทั้งหาแนวทางปรับแก้ไขให้สอดคล้อง ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะช่วยกันคิดล่วงหน้าว่าจะทำอย่างไรในการแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีไม่อยากทำอะไรกับสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
ภายหลังการประชุม นายกรัฐมนตรีได้แถลงเกี่ยวกับการประชุมว่า ในการประชุมหารือร่วมกันกับคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สนช. และสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่ง ได้มีมาตรการทางการเงินที่จะช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ซึ่งรัฐบาลจะได้รับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้หารือร่วมกันในวันนี้ไปหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระทรวงการคลัง ซึ่งหากได้ข้อยุติแล้วจะสามารถนำโครงการแนวทางที่ได้หารือกันไปช่วยขับเคลื่อนในส่วนฐานรากได้ในวงเงินรวมประมาณ 1 แสนล้านบาท หากสามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 6 เดือนก็จะทำให้มีกระแสเงินหมุนเวียนในระดับฐานรากมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะนำไปพิจารณา
“เราจะเสริมในเรื่องเศรษฐกิจขั้นฐานรากให้ดีขึ้น ให้เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ตรงนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญ ถ้าหากว่ามาตรการที่หารือกันในวันนี้ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องหารือกับกระทรวงการคลังเป็นหลัก ก็จะสามารถที่จะดำเนินการได้ จะสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานรากของเราได้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้รับรายงานแนวทางในการดูแลค่าเงินบาทอย่างไรบ้าง จะมีการดำเนินการต่ออย่างไร และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการควรจะให้ใครเป็นผู้แสดงความรับผิดชอบ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในส่วนของมาตรการยังคงขอรับข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาให้มากที่สุด เพราะในขณะนี้มีส่วนงานสองส่วนที่ทำงานร่วมกันคือหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบจากการผันผวนของค่าเงินบาท แต่ที่ได้เรียนไปแล้วว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เราอยากได้ข้อมูลที่ค่อนข้างชัดเจน และถ้าสามารถที่จะดำเนินการได้โดยที่ไม่เกิดขึ้นและเราไม่ได้คาดคิดไว้ก่อนก็จะเป็นส่วนที่ดีมาก ที่สามารถจะวางแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งต่อผู้ประกอบการและแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องเตรียมการ ส่วนเรื่องการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ดูแล เท่าที่ได้รับข้อมูลได้พบปะกับผู้ว่าการ ธปท. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ในส่วนนี้ไม่น่าจะมีปัญหาในการที่จะดูแลไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนมีปัญหาที่จะมีผลกระทบอย่างมาก
ต่อข้อถามว่า จากที่ได้มีการหารือกับภาคเอกชนในวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นเรื่องการเตรียมการว่าในภาคการผลิตส่วนใดที่น่าจะมีปัญหา จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและเตรียมการ โดยการช่วยเหลือจะมีทั้งสองส่วน ซึ่งในส่วนของผู้ผลิตจะมีมาตรการทางการเงินเข้าไปช่วยหรือไม่ สำหรับกรณีที่ไม่สามารถจะช่วยได้ มีความจำเป็นจะต้องปลดคนงานหรือย้ายฐานการผลิต จะได้เตรียมการรองรับคนงานที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น โดยอาจจะมีการฝึกงาน เปลี่ยนงาน ที่กระทรวงแรงงานจะเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแล้วว่าเราจำเป็นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเตรียมการในส่วนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการแสดงความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่ดูแลอย่างไร มีคนผิดหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในเรื่องความเสียหายที่ว่านี้เป็นลักษณะไหนอย่างไร ไม่แน่ใจเพราะว่าเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการย้ายเงินจากประเทศทางตะวันตก มาลงทุนด้านตะวันออก ไม่แน่ใจว่าเป็นความผิดของใคร เพราะการที่เขาย้ายการลงทุนเข้ามา หมายความว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทางนี้ดีกว่าทางบ้านเขา จึงได้ย้ายเงินมาลงทุนทางนี้ การที่ถามว่ามีคนผิดหรือไม่ ไม่ทราบว่าจะไปโทษใครว่าผิด
ต่อข้อถามว่า จะต้องใช้เวลาในการรับฟังข้อมูลจากหน่วยงานของภาครัฐนานเท่าใด นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คงไม่นาน เพราะว่าเราคงจะรอนานไม่ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ผู้สื่อข่าวถามว่า วงเงินที่จะช่วยขับเคลื่อนในส่วนฐานรากประมาณ 1 แสนล้านบาทมาจากไหนและจะกระตุ้นอะไรเป็นพิเศษ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นเรื่องของสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่งที่ได้ทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่แล้ว หากสนใจในรายละเอียดสามารถสอบถามได้จากทั้ง 4 ธนาคาร ผมเพียงแต่พูดตัวเลขรวม การที่จะทำงานร่วมกันระหว่างธนาคารทั้ง 4 แห่งกับภาครัฐจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังจะพิจารณาต่อข้อถามว่า มาตรการในการดูแลค่าเงินบาทที่มีอยู่ในปัจจุบันเพียงพอหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คงกลับไปกลับมาอยู่ตรงนี้ ที่หารือกับ 4 ธนาคารในวันนี้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจไม่เกี่ยวกับเรื่องของค่าเงินบาท ในเรื่องของค่าเงินบาทยังไม่ได้มีการดำเนินการอะไรนอกจากขอข้อมูลเพื่อเตรียมการ ถ้าหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะได้มีทางแก้ไขได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งเป้าไว้หรือไม่ว่าจะให้เงินบาทแข็งค่าที่เท่าไร จะหยุดค่าเงินบาทไว้ที่เท่าไร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เราไม่ได้คิดว่าจะให้ค่าเงินบาทแข็ง เราต้องการให้มีเสถียรภาพ อย่าให้ผันผวนมากจนกระทั่งมีผลกระทบทั้งสองด้าน ผู้ส่งออกมีปัญหาถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไป เราไม่อยากให้มีปัญหาอย่างนั้น ทำอย่างไรที่จะให้มีเสถียรภาพ ขณะที่อีกด้านก็คือพลังงานที่นำเข้า เมื่อเงินบาทแข็งค่าก็ใช้จ่ายเงินน้อยลงในการซื้อน้ำมันเข้ามา เป็นส่วนที่มองคนละด้านของเหรียญ จึงอยากให้มีเสถียรภาพ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มากเกินไปจนกระทบการนำเข้าและส่งออก ถ้าหากว่าสภาพการเงินที่นำเข้ามาลงทุนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เราสามารถที่จะดูแลบริหารได้
ต่อข้อถามว่า วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายฐานการผลิตและการปลดคนงานหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ยังไม่มี เพียงแต่ขอความร่วมมือที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของภาครัฐและเอกชน จะได้เป็นการเตรียมความพร้อมไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต ถ้าเราสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าตรงนี้คือจุดอ่อน จะต้องเตรียมการไว้รองรับจะได้แก้กันได้ไม่ให้มีผลกระทบแรง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้มาตรการดอกเบี้ยเข้ามาในเรื่องของเงินบาทในขณะนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ ธปท.จะดูแล คงไม่เข้าไปก้าวก่ายหน้าที่ของผู้ว่าการ ธปท. ที่ผ่านมาในการดูแลค่าเงินบาท คิดว่า ธปท.ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งก็เห็นตรงกันในแนวทางว่าไม่ให้มีความผันผวนมากนัก ได้พยายามทุกวิถีทาง ทุกคนตระหนักในส่วนนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 17.00 น. ณ ห้องประชุม 107 ชั้น 3 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่ ถนนนครสวรรค์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และประชุมหารือเรื่องค่าเงินบาท ร่วมกับคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้บริหารธนาคารออมสิน ผู้บริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้บริหารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวก่อนการประชุมว่า รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพยายามรับฟัง รวมทั้งหาแนวทางปรับแก้ไขให้สอดคล้อง ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะช่วยกันคิดล่วงหน้าว่าจะทำอย่างไรในการแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีไม่อยากทำอะไรกับสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
ภายหลังการประชุม นายกรัฐมนตรีได้แถลงเกี่ยวกับการประชุมว่า ในการประชุมหารือร่วมกันกับคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สนช. และสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่ง ได้มีมาตรการทางการเงินที่จะช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ซึ่งรัฐบาลจะได้รับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้หารือร่วมกันในวันนี้ไปหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระทรวงการคลัง ซึ่งหากได้ข้อยุติแล้วจะสามารถนำโครงการแนวทางที่ได้หารือกันไปช่วยขับเคลื่อนในส่วนฐานรากได้ในวงเงินรวมประมาณ 1 แสนล้านบาท หากสามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 6 เดือนก็จะทำให้มีกระแสเงินหมุนเวียนในระดับฐานรากมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะนำไปพิจารณา
“เราจะเสริมในเรื่องเศรษฐกิจขั้นฐานรากให้ดีขึ้น ให้เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ตรงนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญ ถ้าหากว่ามาตรการที่หารือกันในวันนี้ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องหารือกับกระทรวงการคลังเป็นหลัก ก็จะสามารถที่จะดำเนินการได้ จะสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานรากของเราได้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้รับรายงานแนวทางในการดูแลค่าเงินบาทอย่างไรบ้าง จะมีการดำเนินการต่ออย่างไร และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการควรจะให้ใครเป็นผู้แสดงความรับผิดชอบ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในส่วนของมาตรการยังคงขอรับข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาให้มากที่สุด เพราะในขณะนี้มีส่วนงานสองส่วนที่ทำงานร่วมกันคือหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบจากการผันผวนของค่าเงินบาท แต่ที่ได้เรียนไปแล้วว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เราอยากได้ข้อมูลที่ค่อนข้างชัดเจน และถ้าสามารถที่จะดำเนินการได้โดยที่ไม่เกิดขึ้นและเราไม่ได้คาดคิดไว้ก่อนก็จะเป็นส่วนที่ดีมาก ที่สามารถจะวางแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งต่อผู้ประกอบการและแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องเตรียมการ ส่วนเรื่องการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ดูแล เท่าที่ได้รับข้อมูลได้พบปะกับผู้ว่าการ ธปท. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ในส่วนนี้ไม่น่าจะมีปัญหาในการที่จะดูแลไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนมีปัญหาที่จะมีผลกระทบอย่างมาก
ต่อข้อถามว่า จากที่ได้มีการหารือกับภาคเอกชนในวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นเรื่องการเตรียมการว่าในภาคการผลิตส่วนใดที่น่าจะมีปัญหา จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและเตรียมการ โดยการช่วยเหลือจะมีทั้งสองส่วน ซึ่งในส่วนของผู้ผลิตจะมีมาตรการทางการเงินเข้าไปช่วยหรือไม่ สำหรับกรณีที่ไม่สามารถจะช่วยได้ มีความจำเป็นจะต้องปลดคนงานหรือย้ายฐานการผลิต จะได้เตรียมการรองรับคนงานที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น โดยอาจจะมีการฝึกงาน เปลี่ยนงาน ที่กระทรวงแรงงานจะเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแล้วว่าเราจำเป็นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเตรียมการในส่วนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการแสดงความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่ดูแลอย่างไร มีคนผิดหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในเรื่องความเสียหายที่ว่านี้เป็นลักษณะไหนอย่างไร ไม่แน่ใจเพราะว่าเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการย้ายเงินจากประเทศทางตะวันตก มาลงทุนด้านตะวันออก ไม่แน่ใจว่าเป็นความผิดของใคร เพราะการที่เขาย้ายการลงทุนเข้ามา หมายความว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทางนี้ดีกว่าทางบ้านเขา จึงได้ย้ายเงินมาลงทุนทางนี้ การที่ถามว่ามีคนผิดหรือไม่ ไม่ทราบว่าจะไปโทษใครว่าผิด
ต่อข้อถามว่า จะต้องใช้เวลาในการรับฟังข้อมูลจากหน่วยงานของภาครัฐนานเท่าใด นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คงไม่นาน เพราะว่าเราคงจะรอนานไม่ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ผู้สื่อข่าวถามว่า วงเงินที่จะช่วยขับเคลื่อนในส่วนฐานรากประมาณ 1 แสนล้านบาทมาจากไหนและจะกระตุ้นอะไรเป็นพิเศษ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นเรื่องของสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่งที่ได้ทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่แล้ว หากสนใจในรายละเอียดสามารถสอบถามได้จากทั้ง 4 ธนาคาร ผมเพียงแต่พูดตัวเลขรวม การที่จะทำงานร่วมกันระหว่างธนาคารทั้ง 4 แห่งกับภาครัฐจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังจะพิจารณาต่อข้อถามว่า มาตรการในการดูแลค่าเงินบาทที่มีอยู่ในปัจจุบันเพียงพอหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คงกลับไปกลับมาอยู่ตรงนี้ ที่หารือกับ 4 ธนาคารในวันนี้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจไม่เกี่ยวกับเรื่องของค่าเงินบาท ในเรื่องของค่าเงินบาทยังไม่ได้มีการดำเนินการอะไรนอกจากขอข้อมูลเพื่อเตรียมการ ถ้าหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะได้มีทางแก้ไขได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งเป้าไว้หรือไม่ว่าจะให้เงินบาทแข็งค่าที่เท่าไร จะหยุดค่าเงินบาทไว้ที่เท่าไร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เราไม่ได้คิดว่าจะให้ค่าเงินบาทแข็ง เราต้องการให้มีเสถียรภาพ อย่าให้ผันผวนมากจนกระทั่งมีผลกระทบทั้งสองด้าน ผู้ส่งออกมีปัญหาถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไป เราไม่อยากให้มีปัญหาอย่างนั้น ทำอย่างไรที่จะให้มีเสถียรภาพ ขณะที่อีกด้านก็คือพลังงานที่นำเข้า เมื่อเงินบาทแข็งค่าก็ใช้จ่ายเงินน้อยลงในการซื้อน้ำมันเข้ามา เป็นส่วนที่มองคนละด้านของเหรียญ จึงอยากให้มีเสถียรภาพ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มากเกินไปจนกระทบการนำเข้าและส่งออก ถ้าหากว่าสภาพการเงินที่นำเข้ามาลงทุนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เราสามารถที่จะดูแลบริหารได้
ต่อข้อถามว่า วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายฐานการผลิตและการปลดคนงานหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ยังไม่มี เพียงแต่ขอความร่วมมือที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของภาครัฐและเอกชน จะได้เป็นการเตรียมความพร้อมไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต ถ้าเราสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าตรงนี้คือจุดอ่อน จะต้องเตรียมการไว้รองรับจะได้แก้กันได้ไม่ให้มีผลกระทบแรง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้มาตรการดอกเบี้ยเข้ามาในเรื่องของเงินบาทในขณะนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ ธปท.จะดูแล คงไม่เข้าไปก้าวก่ายหน้าที่ของผู้ว่าการ ธปท. ที่ผ่านมาในการดูแลค่าเงินบาท คิดว่า ธปท.ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งก็เห็นตรงกันในแนวทางว่าไม่ให้มีความผันผวนมากนัก ได้พยายามทุกวิถีทาง ทุกคนตระหนักในส่วนนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--