วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 2/2550 สรุปสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุมว่า เรื่องยาเสพติดเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยให้ถือว่าเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป เพราะในปัจจุบันการแพร่ระบาดของยาเสพติดมีวิธีการ ขบวนการ และสารเสพติดใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด เนื่องจากการดำเนินการที่ผ่านมามีประสิทธิภาพ ดังนั้น การดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการการบำบัดรักษา (Demand) เพราะเป็นการลดความต้องการการเสพยาเสพติด ซึ่งเป็นการป้องกันที่ยั่งยืน และทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ทั้งนี้ จะต้องสร้างความเข้าใจกับสถานประกอบการ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ และธุรกิจกลางคืน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันให้มากขึ้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญเรื่องเยาวชนที่ในสถานพินิจต่างๆ เนื่องจากเยาวชนเหล่านี้เป็นผู้ด้อยโอกาสในทุกๆ ด้าน จึงควรให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อให้เยาวชนเหล่านี้ไม่กลับไปสู่ปัญหายาเสพติดอีก ซึ่งจะทำให้ได้บุคลากรรุ่นใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประกอบกับจะทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะยาวสัมฤทธิ์ผล
ที่ประชุมเห็นชอบการจัดตั้งกรมบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามที่สำนักงาน ป.ป.ส. เสนอ และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา พร้อมร่างพระราชบัญญัติการจัดตั้งกรมบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. .... ต่อไป ทั้งนี้ กรมบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1) เสนอแนะนโยบาย พัฒนาระบบ/มาตรการ/กลไก การดำเนินงาน 2) บริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงาน 3) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประเมิน พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ 4) พัฒนาระบบบริการให้ครอบคลุม 5) กำกับ ควบคุม การดำเนินงานของสถานพยาบาลยาเสพติด 6) รับรองคุณภาพมาตรฐานสถานบำบัด 7) พัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบรายงาน พร้อมกันนี้ ที่ประชุมอนุมัติให้แต่งตั้งเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2545 รวมจำนวน 278 นาย
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ยาเสพติดและผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการรวมพลังไทยขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน (1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2550) สรุปได้ว่าสถานการณ์ลดความรุนแรงลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา โดยมีตัวบ่งชี้ดังนี้ 1) การนำเข้า ปริมาณการลักลอบนำเข้าตัวยาหลักลดลงร้อยละ 40 แม้ว่าปริมาณการนำเข้ากัญชาและเฮโรอีนเพิ่มมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อส่งต่อไปยังต่างประเทศ 2) การจับกุมคดีค้ายาเสพติดรายสำคัญ มีปริมาณของกลางยาเสพติดที่ยึดได้ ทั้ง ยาบ้า กัญชา โคเคน และเคตามีน ลดลงร้อยละ 44 3) กลุ่มผู้เสพ/ผู้ติด ที่เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 4) ด้านชนิดของยาเสพติด ปริมาณยาบ้าที่แพร่ระบาดภายในประเทศลดลงร้อยละ 44 ขณะที่ไอซ์ เอ็กซ์ตาซี่ และพืชกระท่อม รวมทั้งสารระเหยมีปริมาณเพิ่มขึ้น 5) พื้นที่ที่เป็นแหล่งค้า/แพร่ระบาดของยาเสพติด ลดความรุนแรงลง แต่บางพื้นที่ยังไม่สามารถละเลยได้ คือ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอสำคัญ เนื่องจากพบว่าสัดส่วนของผู้ถูกจับกุมและผู้เข้ารับการบำบัดรักษายังคงสูงอยู่
ที่ประชุมรับทราบยุทธศาสตร์และแผนงานการแก้ปัญหายาเสพติด ประจำปี 2551 ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่คงเหลือ ขยายการสถาปนาความมั่นคง ขยายการสร้างความยั่งยืนให้มากยิ่งขึ้น ปรากฏผลเป็นรูปธรรมทั้งปริมาณและคุณภาพ เพิ่มความสมดุลให้กับการสถาปนาความมั่นคงและสร้างความยั่งยืนให้มากยิ่งขึ้นกว่าปี 2550 ทั้งในส่วนของการพัฒนาระบบ กลไก มาตรการที่เป็นรูปธรรม เพื่อมิให้ปัญหายาเสพติดที่แก้ไขลุล่วงในขั้นพื้นฐานต้องหวนกลับมาอีก ซึ่งประกอบด้วย 7 ทิศทาง คือ 1) มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่คงเหลือเป็นทิศทางหลัก เพื่อลดปัญหายาเสพติดที่ยังดำรงอยู่ให้เหลือน้อยที่สุด 2) มุ่งเน้นขยายการดำเนินงาน สถาปนาความมั่นคง 3) พัฒนาระบบบำบัดรักษาแบบบูรณาการ ภายใต้โครงสร้างการบริหารจัดการบำบัดรักษาใหม่ 4) มุ่งเน้นป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนทั้งระบบ 5) มุ่งเน้นขยายบทบาทพลังชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 6) ขยายการดำเนินยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศเชิงรุก 7) พัฒนาประสิทธิภาพบริหารจัดการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุมว่า เรื่องยาเสพติดเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยให้ถือว่าเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป เพราะในปัจจุบันการแพร่ระบาดของยาเสพติดมีวิธีการ ขบวนการ และสารเสพติดใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด เนื่องจากการดำเนินการที่ผ่านมามีประสิทธิภาพ ดังนั้น การดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการการบำบัดรักษา (Demand) เพราะเป็นการลดความต้องการการเสพยาเสพติด ซึ่งเป็นการป้องกันที่ยั่งยืน และทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ทั้งนี้ จะต้องสร้างความเข้าใจกับสถานประกอบการ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ และธุรกิจกลางคืน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันให้มากขึ้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญเรื่องเยาวชนที่ในสถานพินิจต่างๆ เนื่องจากเยาวชนเหล่านี้เป็นผู้ด้อยโอกาสในทุกๆ ด้าน จึงควรให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อให้เยาวชนเหล่านี้ไม่กลับไปสู่ปัญหายาเสพติดอีก ซึ่งจะทำให้ได้บุคลากรรุ่นใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประกอบกับจะทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะยาวสัมฤทธิ์ผล
ที่ประชุมเห็นชอบการจัดตั้งกรมบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามที่สำนักงาน ป.ป.ส. เสนอ และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา พร้อมร่างพระราชบัญญัติการจัดตั้งกรมบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. .... ต่อไป ทั้งนี้ กรมบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1) เสนอแนะนโยบาย พัฒนาระบบ/มาตรการ/กลไก การดำเนินงาน 2) บริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงาน 3) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประเมิน พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ 4) พัฒนาระบบบริการให้ครอบคลุม 5) กำกับ ควบคุม การดำเนินงานของสถานพยาบาลยาเสพติด 6) รับรองคุณภาพมาตรฐานสถานบำบัด 7) พัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบรายงาน พร้อมกันนี้ ที่ประชุมอนุมัติให้แต่งตั้งเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2545 รวมจำนวน 278 นาย
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ยาเสพติดและผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการรวมพลังไทยขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน (1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม 2550) สรุปได้ว่าสถานการณ์ลดความรุนแรงลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา โดยมีตัวบ่งชี้ดังนี้ 1) การนำเข้า ปริมาณการลักลอบนำเข้าตัวยาหลักลดลงร้อยละ 40 แม้ว่าปริมาณการนำเข้ากัญชาและเฮโรอีนเพิ่มมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อส่งต่อไปยังต่างประเทศ 2) การจับกุมคดีค้ายาเสพติดรายสำคัญ มีปริมาณของกลางยาเสพติดที่ยึดได้ ทั้ง ยาบ้า กัญชา โคเคน และเคตามีน ลดลงร้อยละ 44 3) กลุ่มผู้เสพ/ผู้ติด ที่เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 4) ด้านชนิดของยาเสพติด ปริมาณยาบ้าที่แพร่ระบาดภายในประเทศลดลงร้อยละ 44 ขณะที่ไอซ์ เอ็กซ์ตาซี่ และพืชกระท่อม รวมทั้งสารระเหยมีปริมาณเพิ่มขึ้น 5) พื้นที่ที่เป็นแหล่งค้า/แพร่ระบาดของยาเสพติด ลดความรุนแรงลง แต่บางพื้นที่ยังไม่สามารถละเลยได้ คือ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอสำคัญ เนื่องจากพบว่าสัดส่วนของผู้ถูกจับกุมและผู้เข้ารับการบำบัดรักษายังคงสูงอยู่
ที่ประชุมรับทราบยุทธศาสตร์และแผนงานการแก้ปัญหายาเสพติด ประจำปี 2551 ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่คงเหลือ ขยายการสถาปนาความมั่นคง ขยายการสร้างความยั่งยืนให้มากยิ่งขึ้น ปรากฏผลเป็นรูปธรรมทั้งปริมาณและคุณภาพ เพิ่มความสมดุลให้กับการสถาปนาความมั่นคงและสร้างความยั่งยืนให้มากยิ่งขึ้นกว่าปี 2550 ทั้งในส่วนของการพัฒนาระบบ กลไก มาตรการที่เป็นรูปธรรม เพื่อมิให้ปัญหายาเสพติดที่แก้ไขลุล่วงในขั้นพื้นฐานต้องหวนกลับมาอีก ซึ่งประกอบด้วย 7 ทิศทาง คือ 1) มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่คงเหลือเป็นทิศทางหลัก เพื่อลดปัญหายาเสพติดที่ยังดำรงอยู่ให้เหลือน้อยที่สุด 2) มุ่งเน้นขยายการดำเนินงาน สถาปนาความมั่นคง 3) พัฒนาระบบบำบัดรักษาแบบบูรณาการ ภายใต้โครงสร้างการบริหารจัดการบำบัดรักษาใหม่ 4) มุ่งเน้นป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนทั้งระบบ 5) มุ่งเน้นขยายบทบาทพลังชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 6) ขยายการดำเนินยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศเชิงรุก 7) พัฒนาประสิทธิภาพบริหารจัดการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--